วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ผ้าขาวม้า

ผ้าขาวม้า ไม่ใช่คำไทยแท้ แต่เป็นภาษาเปอร์เซีย ที่มีคำเต็มว่า "กามาร์บันด์" (Kamar band) "กามาร์หมายถึง เอว หรือ ท่อนล่างของร่างกาย "บันด์แปลว่า พัน รัด หรือ คาด เมื่อนำทั้งสองคำมารวมกัน จึงหมายถึง เข็มขัด ผ้าพัน หรือ คาดสะเอว คำว่า "กามาร์บันด์"ยังปรากฎอยู่ในภาษาอื่นๆ อีก เช่น ภาษามลายู มีคำว่า "กามาร์บัน" (Kamarban) ภาษาฮินดี้มีคำว่า "กามาร์บันด์" (Kamar band) และในภาษาอังกฤษมีคำว่า "คัมเมอร์บันด์" (Commer band) หมายถึงผ้ารัดเอว ในชุดทัคซิโด้ (Tuxedo) ซึ่งเป็นชุดสำหรับออกงานราตรีสโมสร
จากงานวิจัย เรื่อง "ผ้าขาวม้าของ อาภรณ์พันธ์ จันทร์สว่างอธิบายไว้ว่า "ผ้าขาวม้าเป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า "กามา" (Kamar) ซึ่งเป็นภาษาอิหร่านทีใช้กันอยู่ที่ประเทศสเปน เข้าใจว่าสเปนเอาคำว่า "กามาของภาษาแขกไปใช้ด้วย เพราะในประวัติศาสตร์ ประเทศทั้งสองมีการติดต่อกันมาช้านาน
จากรากฐานของข้อมูล แสดงให้เห็นว่าผ้าขาวม้าเป็นผ้าโบราณ ที่ใช้ประโยชน์กันมานานแล้ว คนไทยรู้จักใช้ผ้าขาวม้ามาตั้งแต่ สมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ถ้านับเวลาย้อนไป จะตรงกับยุคสมัยเชียงแสนในสมัยเชียงแสนผู้หญิงมักนุ่งผ้าถุง ส่วนผู้ชายเริ่มใช้ผ้าเคียนเอว(ผ้าขาวม้าซึ่งได้วัฒนธรรมมาจากไทยใหญ่ (ไทยใหญ่ใช้โพกศีรษะส่วนไทยเรายังมุ่นมวยผมอยู่ เมื่อเห็นประโยชน์ของผ้าจึงนำมาใช้บ้าง แต่เปลี่ยนมาเป็นผ้าเคียนเอว เมื่อเดินทางไกลจึงนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวก ซึ่งให้ประโยชน์มาก เช่น ใช้ห่ออาวุธ และเก็บสัมภาระในการเดินทาง ปูที่นอน นุ่งอาบน้ำ ใช้เช็ดร่างกาย เมื่อไทยใหญ่เห็นประโยชน์ของการใช้ผ้า จึงนำมาเคียนเอวตามอย่างบ้าง

"
เคียนเป็นคำไทย มีความหมายตามพจนานุกรม คือ พัน ผูก พาดโพก คาด คลุม เมื่อนำมารวมกับคำว่า "ผ้าและส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น เอว จึงมีความหมายว่า เป็นผ้าสำหรับคาดเอว ซึ่งคนไทยโบราณจะรู้จัก "ผ้าเคียนเอวมากกว่า "ผ้าขาวม้าเนื่องจากใช้เรียกกันมาแต่โบราณ ส่วนคำว่า "ผ้าขาวม้ามานิยมใช้เรียกกันในภายหลัง
หลักฐานที่แสดงว่าคนไทยเริ่มใช้ผ้าขาวม้าในสมัยเชียงแสน มีปรากฎให้เห็นจากภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ วัดภูมินทร์ น่าน และเมื่อดูการแต่งกายของ หญิง - ชาย ไทยในสมัยอยุธยา จากภาพเขียนในสมุดภาพ "ไตรภูมิสมัยอยุธยาราวต้นศตวรรษ ที่ 22 จะเห็นได้ว่าชาวอโยธยานิยมใช้ผ้าขาวม้าพาดบ่า คาดพุง หรือนุ่งโจงกระเบนแล้วใช้ผ้าขาวม้าคล้องคอตลบห้อยชายทั้งสองข้างไว้ด้านหลัง สมัยรัตนโกสินทร์ชาวไทยทั้งชาย - หญิงนิยมใช้ผ้าขาวม้ามาทำประโยชน์กันมากยิ่งขึ้น โดยไม่จำกัดแต่เพียงเพศชายอย่างเดียวเหมือนในอดีต และไม่จำกัดเฉพาะทำเป็นเครื่องตกแต่งร่างกายอย่างเดียว

"
ผ้าขาวม้าเป็นอาภรณ์อเนกประสงค์ มีลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วนใหญ่ทอมาจากฝ้าย แต่บางครั้งอาจทอจากเส้นไหมในบางท้องถิ่นนิยมทอจากเส้นด้ายดิบและเส้นป่าน นิยมทอสลับสีกันเป็นลายตาหมากรุกหรือเป็นลายทาง โดยมากผลิตในแถบภาคเหนือหรือภาคอีสาน มีขนาดความกว้าง - ยาวแตกต่างกันออกไปส่วนใหญ่จะกว้างประมาณ 3 คืบ ยาว 5 คืบ อายุของการใช้งานจะประมาณ 1 - 3 ปี สำหรับราคาก็จะแตกต่างกันออกไปตามวัสดุที่ใช้(ถ้าเป็นผ้าไหมเนื้อดีจะมีราคาแพง ซึ่งนิยมใช้แตะพาดบ่า หรือพาดไหล่)

"
ผ้าขาวม้าเป็นอาภรณ์ที่อยู่คู่กับคนไทยมาทุกยุคทุกสมัย โดยนิยมใช้กันทั่วๆ ไปโดยเฉพาะตามชนบท โดยประวัติผ้าขาวม้าอาจจะไม่ใช่ผ้าของคนไทย แต่ระยะเวลาที่ยาวนานกว่า 900 ปี ที่ผ่านไป ผ้าขาวม้านับได้ว่าเป็นผ้าสารพัดประโยขน์อย่างแท้จริง เพราะอย่างน้อยด้วยรูปลักษณ์และลวดลายที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องซึ่งได้รวมไว้ทั้งศาสตร์แห่งสีสันและศิลป์แห่งลายผ้าไทยนำมาผสมผสานกันอย่างกลมกลืน
ผ้าขาวม้าเป็นผ้าที่อำนวยความสะดวกให้กับคนไทยมาหลายศตวรรษ โดยไม่มีทีท่าว่าจะสูญหายไปง่ายๆ เนื่องด้วยประโยชน์ของผ้ามีมากมายนานัปการ ทั้งนี้เพราะผ้าขาวม้ามีความเกี่ยวข้องกับวิถีทางแห่งการดำรงชีวิตมากมายหลายอย่างด้วยกัน จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า "ผ้าขาวม้าคือสิ่งมหัศจรรย์แห่งสายใยที่ถักทอไว้อย่างประณีต จากตำนานกาลเวลา และคุณค่าอันน่ายกย่อง สรุปความได้ว่าประโยชน์ของผ้าขาวม้าใช้กันตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย.
เครื่องแต่งกายสมัยเชียงแสน จากภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดภูมินทร์ น่าน


ผ้าขาวม้า : อาภรณ์สารพัดประโยชน์
 
1. ใช้นุ่งอาบน้ำ
2. ทำความสะอาดร่างกาย
3. ทำความสะอาดร่างกาย
4. ใช้ซับเหงื่อ
5. ปูรองนั่ง
6. นอนโพกศีรษะกันแดด
7.โพกศีรษะกันแดด
8. ผูกทำเปล
9. ใช้นุ่งอยู่บ้านแทนกางเกง
10. คาดเอว
11. ห่ม - คลุม ร่างกาย
12. ใช้ห่อของแทนย่าม
13. นุ่งกระโจมอกแทนผ้าถุง
14. ปัดฝุ่น - แมลง - ยุง
15.ใช้มัดแทนเชือก
16. ใช้ผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้า
17. ม้วนหนุนแทนหมอน
18. บังแดด - ฝน - ลม
19. ทำความสะอาดสิ่งของ -เครื่องใช้
20. ใช้เช็ดตัวแทนผ้าเช็ดตัว
21. ทำผ้าขี้ริ้ว - พรมเช็ดเท้า (เมื่อชำรุดแล้ว )
22. ใช้โบกแทนพัด
23. ใช้แทนผ้าพันแผล
24.ทำผ้ากันเปื้อน
25. คลุมโต๊ะ
26.ผ้าอนามัยสำหรับคุณผู้หญิง
27. ทำผ้าอ้อมสำหรับเด็ก
28. อุปกรณ์การเล่นของเด็ก
29. ผูกคอตาย ( ยามสิ้นคิด )
ฯลฯ

ที่มา : สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น