วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556

Authorware 7

คู่มือการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ โดย ครูวรกิจ เพียรพิสัย

ผู้หญิงควรอ่าน

ข้อคิด ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช



ข้อคิด ม..ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช
วันนี้เอาข้อคิดของท่านอาจารย์ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ตอนอายุได้ 74 ปี
เขียนลงในงานเขียนชื่อ "ชรากถาเกี่ยวกับ ความแก่ มาฝาก

"
ความแตกต่างของคนหนุ่มกับคนแก่ แตกต่างกันตรงที่ คนหนุ่มนั้นไม่เคยแก่
แต่คนแก่นั้นเคยหนุ่มมาแล้ว"
"(
แต่) ผมอาจจะมีอะไรพิเศษอยู่บ้าง ก็ตรงที่ผม
ไม่ติดใจในความเป็นหนุ่ม เมื่อยังหนุ่มก็หนุ่มเต็มที่
ครั้นเมื่อความหนุ่มผ่านพ้นไปก็ไม่อาลัยเสียดาย
ยอมรับว่าชราและความแก่เต็มที่เช่นเดียวกับที่เคยหนุ่มเต็มที่

...... (
เมื่อคิดได้อย่างนี้)
ใจคอมันก็เบิกบานเหมือนกับเมื่อยังหนุ่มเต็มที่
....
และเมื่อรู้ว่าตัวแก่ก็ยอมรับว่าแก่ แล้วก็อยู่มันไปตามเรื่อง
แบบคนแก่
ไม่ตั้งกฎเกณฑ์จู้จี้กับคนอื่นหรือกับตนเอง และไม่เรียกร้องอะไรจากคนอื่น
ไม่กะเกณฑ์ให้คนอื่นต้องมาสนใจหรือคอยเอาใจ ...
เพราะกฎเกณฑ์ต่างๆที่ตั้งเอาไว้ให้ตนเองปฎิบัติ
หรือกิจกรรมอะไรต่อมิอะไรอีกมากมายนั้น พอแก่ต่อไปอีก
มันก็จะปฏิบัติไม่ได้ เพราะแก่เกินไป ...
เมื่อปฏิบัติไม่ได้ก็จะเป็นกังวล หงุดหงิด และขมขื่น
เพิ่มน้ำหนักแห่งทุกข์ให้กับตนเอง
ซึ่งไม่ควรอย่างยิ่งที่คนแก่จะทำเรื่องเหล่านั้นให้เกิดขึ้นมา ...
ผมจึงอยากเป็นคนแก่ที่อยู่ตามสบาย ยอมรับความแก่อย่างไม่เป็นกังวล
ความแก่นั้นทำให้ผมนุ่มนวลละมุนละไมกว่าแต่ก่อน
เหมือนผลไม้สุกคาต้น หมดความแข็งกระด้าง
มุทะลุดุดันที่เคยมีมา หมดรสเปรี้ยว รสฝาด และหมดยาง ..."

วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

24. พระอ.จวน กุลเชฏฺโฐ


24. พระอ.จวน กุลเชฏฺโฐ - วัดเจติยาคีริวิหาร (ภูทอก) อ.ศรีวิไล หนองคาย

- พระอริยเจ้าผู้มีกายและจิตสมควรแก่วิมุตติธรรม
- ท่านมีนิสัยโน้มน้อมมาทางพระธรรมตั้งแต่เยาว์วัย, เมื่อได้ฟังธรรมจากพระกรรมฐาน จิตสงบรวมเป็นหนึ่ง สามารถแยกกายและจิตได้ ท่านจึงได้สละทรัพย์และบ้านเรือนอกบวช
- ท่านมีความเพียรพยายามเป็นเลิศ, มีสติในการแก้ไขกิเลสเฉียบพลัน, อุบายธรรมและปฏิปทาเป็นปัจเจก แปลกจากครูบาอาจารย์รูปอื่น

-2493 ท่านจำพรรษาที่ถ้ำพวง อ.ส่องดาว สกลนคร ได้เกิดจิตปฏิพัทธ์หญิงสาวคนหนึ่ง - จึงคิดหาอุบายแก้ไข โดยยกภาษิต "เนื้อไม่ได้กิน หนังไม่ได้รองนั่ง ยังเอากระดูกมาแขวนคอ"
- ท่านจึงดัดนิสัยตนเองที่ไปหลงรักผู้หญิงเข้า โดยเอากระดูกช้างมาแขวนคอห้อยต่องแต่ง ท่านตั้งใจมั่นว่า 
"ตราบใดที่ใจยังตัดใจอาลัยรักในสตรีไม่ได้ ยืน เดิน นั่ง นอน ออกบิณฑบาตร ฉันข้าว ก็จะเอากระดูกช้างแขวนคอไว้ตราบนั้น" 
-ไม่ว่าท่านจะเดินจงกรม นั่งสมาธิ หรือรับกิจนิมนต์ไปในหมู่บ้านก็ตาม ท่านเอากระดูกช้างแขวนคอไว้ตลอด จนชาวบ้านเล่าลือกันว่า "ท่านเป็นบ้า"

- เมื่อท่านทำปฏิบัติอย่างนี้ เกิดความละอายใจ เห็นโทษภัยในความลุ่มหลง จิตก็คลายกำหนัดรักใคร่ในหญิงนั้น - เมื่อหลวงปู่ขาว อนาลโย ได้ถามถึงเหตุที่ท่านทำเช่นนั้น ท่านได้กราบเรียนดังที่กล่าว หลวงปู่ขาวชมว่า "อุบายนี้ดีนักแล"

- ท่านชอบท่องเที่ยวแสวงหาครูบาอาจารย์ที่อยู่ตามป่าเขาลึกๆ เช่น เข้าไปศึกษากับพระอ.หล้า ขนฺติโก พระอริยเจ้าผู้อยู่แต่เพียงโดดเดี่ยวบนสันเทือนเขาภูพาน
- ท่านมีสหธรรมิกคือ พระอ.สิงห์ทอง ธมฺมวโร - ได้รับอบรมจากพระอ.มั่นและหลวงปู่ขาว

- พระอ.มั่นยกย่องท่านว่า "กาเยนะ วาจายะ วะเจตวิทธิยา ท่านจวน! เป็นผู้มีกายและจิตสมควรแก่ข้อปฏิบัติธรรม เป็นผู้สามารถรวมจิตทีเดียวถึงฐีติจิต"

- เกิดวันเสาร์ 10 กค.2463 - แรม 10 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก - บ้านเหล่ามันแกว ต.ดงมะยาง อำนาจเจริญ
- อายุ 14-15 ปี ได้พบพระธุดงค์มาปักกลดใกล้บ้าน ก็บังเกิดความเลื่อมใส ตั้งปณิธานว่าต่อไปจะบวชอย่างท่านบ้าง - พระธุดงค์ได้มอบหนังสือ "ไตรสรณคมน์" ของพระอ.สิงห์ ขนฺตฺยาคโม ไว้ให้ - ท่านได้อ่านจึงปฏิบัติตาม เริ่มสวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ บริกรรมภาวนาจิตรวมเป็นหนึ่ง จิตอยู่เฉพาะจิต กายอยู่เฉพาะกาย เวทนาใดก็ไม่มีปรากฎเลย
- หลังจบป.6 อายุย่าง 18 ท่านได้เข้าทำราชการกรมทางหลวงแผ่นดินอยู่ 4 ปี
- ภายหลังได้รับหนังสือ "จตุราลักษณ์" ของพระอ.เสาร์ กนฺตสีโล เมื่อท่านอ่านถึงบทมรณานุสติ จิตก็สลดสังเวชว่า "เราก็ต้องตาย"

- อายุ 20 ปี ท่านสละเงินที่เก็บหอมรอมริบทั้งหมด เป็นเจ้าภาพสร้างมหากฐินคนเดียว, สร้างพระประธาน, สร้างห้องน้ำถวายสงฆ์จนเงินหมด
- อายุ 21ปี อุปสมบทเป็นพระภิกษุมหานิกาย สอบได้นักธรรมตรีพรรษานั้น และต่อมาลาสิกขา
- หลังสึกเป็นฆราวาส ท่านเดินทางไปแสวงหาอาจารย์กรรมฐานธรรมยุต และได้อุปสมบทเป็นพระธรรมยุต 24 มีค.2486 - อุปสมบทแล้ว ท่านได้ท่องปาฏิโมกข์และ 7 ตำนานจบภายใน 1 เดือน
- 2488 พรรษาที่ 3 ท่านอธิษฐานทำความเพียรจะไม่นอนและไม่ฉันตลอดพรรษา ท่านอธิษฐานว่า
"ถ้ายังมีบุญวาสนาอยู่พรหมจรรย์แล้ว ขอให้ได้นิมิตเห็นพระอ.มั่น ภูริทตฺโต"
- หลังจากนั้น 3 วัน ท่านได้นิมิตว่า 
ได้เดินทางไปสำนักพระอ.มั่น เห็นท่านกวานลานวัดอยู่ พอเห็นก็รู้ว่านี่คือท่านพระอ.มั่น ท่านเหลือบมาเห็นเข้าก็ทักพระอ.จวนอย่างดีใจว่า "อ้อ ท่านจวนมาแล้ว ท่านจวนมาแล้ว" มีความรู้สึกคล้ายพ่อเห็นลูก ลูกเห็นพ่อ - พอท่านตรงเข้าไปจะกราบนมัสการ พระอ.มั่นก็โก่งหลัง บอกให้ท่านขึ้นขี่หลังเหมือนขี่ม้า แล้วท่านจึงพาเหาะขึ้นบนอากาศจนลิบเมฆ แล้วมาลงที่กลางภูเขาลูกหนึ่ง แล้วบอกว่า "เอาละ ลงนี่แหละ พอดีพอควรแล้ว"
- ท่านพิจารณาเกิดปีติยินดีว่า คงจะมีวาสนาบารมีอยู่ในเพศพรหมจรรย์ จึงเร่งทำความเพียรต่อไป

- 2489 พรรษาที่ 4 ท่านได้ติดตาม พระอริยคุณาธาร (มหาเส็ง ปุสฺโส) ไปอยู่กับพระอ.มั่น วัดป่าบ้านหนองผือ สกล
- ขณะที่ท่านอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองผือใหม่ๆ ใจก็อดคิดตามประสาปุถุชนไม่ได้ว่า
"เขาเล่าลือกันว่า ท่านพระอาจารย์ใหญ่เป็นพระอรหันต์ เราก็ไม่ทราบว่าจริงหรือไม่ ถ้าเป็นอรหันต์จริง คืนนี้ก็ให้มีปาฏิหาริย์ให้เห็นปรากฎด้วย"
- คืนวันนั้น พอท่านภาวนา ก็ปรากฎนิมิตเห็นท่านพระอ.มั่นเดินจงกรมอยู่บนอากาศ และเหาะขึ้นลงตลอดเวลา และเวลานอนหลับก็ยังฝันเห็นนท่านเดินอยู่บนอากาศเช่นเดียวกัน - ท่านจึงยกมือไหว้ และกล่าวขอขมาว่าเชื่อแล้ว

- หลังจากนั้น ท่านก็เกิดคิดขึ้นมาอีกว่า 
"เอ เขาว่าท่านอาจารย์ใหญ่รู้วาระจิตของลูกศิษย์ทุกคน จริงไหมหนอ เราน่าจะทดลองดู ถ้าท่านอาจารย์ใหญ่รู้วาระจิตของเรา ขอให้ท่านอาจารย์ใหญ่มาหาเรา ที่กุฏิคืนวันนี้เถอะ"
- พอท่านคิดได้ประเดี๋ยวเดียว ก็ได้ยินเสียงไม้เท้าเคาะใกล้เข้ามา และกระแทกเปรี้ยงเข้าที่ฝากุฏิของท่าน พร้อมกับเสียงพระอ.มั่นเอ็ดลั่นว่า
"ท่านจวน ทำไมจึงไปคิดอย่างนั้น นั่นไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ รำคาญเรานี่"

- พรรษาที่ 5-6 ปี2490-2491 จำพรรษาที่วัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่ คืนหนึ่ง ขณะนั่งภาวนาในโบสถ์มีนิมิตว่า มีพระเถระรูปหนึ่งได้มาให้โอวาทตักเตือนว่า
"ท่านจวน ท่านอย่าวางแผ่นดิน เพราะความประพฤติของท่านยังไม่สม่ำเสมอ"
- ท่านได้มาพิจารณาดู - แผ่นดินแปลว่า ให้มีความหนักแน่นเหมือนแผ่นดิน - เมื่อถูกกระทบกระเทือนจากอารมณ์ ก็อย่าวอกแวกตั้งใจให้เป็นสมาธิ ไม่หวั่นไหวฟุ้งซ่าน - ท่านจึงได้เขียนจดหมายกราบเรียนถามพระอ.มั่นถึงนิมิตนี้
- พระอ.มั่นได้ตอบจดหมายว่า
"ถึงท่านจวนที่อาลัยยิ่ง
...ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผมได้แนะนำให้ท่านนั้น ขอให้ท่านจงตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติดำเนินไปตามคำที่ผมแนะนำ อย่าได้ประมาท เพื่อจะได้เป็นเกียรติยศแก่พระพุทธศาสนาต่อไป"


- หลังจากนั้นท่านออกวิเวกอยู่บนดอยกับชาวเขาทางเหนือติดพม่า เข้าเชียงตุง พม่า แล้วกลับอีสาน- เมื่อกราบนมัสการพระอ.มั่นที่วัดบ้านหนองผือ พระอ.มั่นได้ถามว่าการภาวนาเป็นอย่างไรบ้าง - ท่านกราบเรียนว่า
"ไม่ดีเหมือนอยู่กับพ่อแม่ครูบาอาจารย์"
พระอ.มั่นจึงบอกว่า "ต่อไปนี้ให้ภาวนาอยู่ทางภาคอีสานนี้แหละ อย่าไปที่อื่นอีกเลย"
- จากนั้นท่านธุดงค์อยู่ป่าเขาถ้ำอีสานมาตลอด

- พรรษา 27-38 พ.ศ.2512-2523 ท่านสร้างวัดเจติยาคิรีวิหาร (ภูทอก) อ.ศรีวิไล หนองคาย ให้เป็นศาสนสถานที่สำคัญสำหรับผู้มุ่งปฏิบัติธรรม - เมื่อใครไปแล้วต่างเกิดซาบซึ้งศรัทธาถ้วนหน้า


- อนุปาทิเสสนิพพานวันอาทิตย์ที่ 27 เมย.2523 - ด้วยอุบัติเหตุเครื่องบินตก ณ ท้องนาทุ่งรังสิต อ.คลองหลวง ปทุมธานี - พร้อมกับพระอ.บุญมา ฐิตเปโม, พระอ.วัน อุตฺตโม, พระอ.สิงห์ทอง ธมฺมวโร, พระอ.สุพัฒน์ สุขกาโม
- 59 ปี 38 พรรษา

ข้อมูล : http://www.bloggang.com

25. พระอ.สิงห์ทอง ธมฺมวโร


25. พระอ.สิงห์ทอง ธมฺมวโร - วัดป่าแก้วชุมพล บ้านชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

- พระอริยเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ประเภทสุขวิปัสสโก
- เป็นผู้เคร่งครัดปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ, มีปฏิปทาเที่ยงตรงต่ออริยมรรคอริยผล, มีนิสัยเด็ดเดี่ยวเอาจริงเอาจัง, มีความเพียรเป็นเลิศ, โปรดการเดินจงกรมเป็นพิเศษ, การใช้ปัจจัยสี่ก็ใช้อย่างประหยัดมัธยัสถ์ ไม่สุรุ่ยสุร่าย แม้ของนั้นจะมีมากก็ตาม, ท่านไม่นิยมการก่อสร้างทุกชนิด, แม้งานในวัดก็ไม่ให้มี, ชอบให้พระเณรสร้างจิตใจเพื่อมรรคผลนิพพาน

- ท่านเป็นพระผู้มีอารมณ์ขัน, แสดงออกตรงไปตรงมา, อารมณ์ดีเสมอ, เทศนาและโอวาทท่านน่าฟังมาก โดยเฉพาะเมื่ออยู่กับศิษย์ใกล้ชิด ท่านจะมีเรื่องราวขำขันชวนหัวเราะอยู่เสมอ แต่เป็นหลักธรรมชวนพิจารณา

- ท่านเป็นศิษย์ใกล้ชิดหลวงตามหาบัว และได้รับความไว้วางใจจากหลวงตามหาบัวเป็นพิเศษ
1. ให้เป็นประธานฝ่ายบรรพชิตในการดำเนินงานศพของหลวงปู่บัว - พระอริยเจ้าแห่งวัดป่าหนองแซง อุดร
2. ให้เป็นประธานดำเนินงานศพของหลวงตามหาบัว หากหลวงตาละสังขารไปก่อนท่าน

- เกิดวันเสาร์ 12 กค. 2467- ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 8 ปีชวด - บ้านศรีฐาน ต.กระจาย ยโสธร
- ท่านมีเพื่อนสหธรรมิกและเพื่อนตาย คือ พระอ.จวน กุลเชฏฺโฐ, พระอ.วัน อุตฺตโม - ท่านทั้งสามมักจะไปไหนไปด้วยกัน, รับกิจนิมนต์มักจะไปพร้อมกัน, แม้สุดท้ายนิพพาน ท่านก็นิพพานพร้อมกัน

- ระหว่างจำพรรษาที่วัดป่าศรีฐานใน ท่านได้เกิดสุบินนิมิตว่า 
"มีพาหนะ 3 ชนิดคือ ช้างเผือก, ม้าขาว และวัวอุสุภราช - ท่านได้ขี่พาหนะทั้ง 3 ตัวในขณะเดียวกัน และได้ยินเสียงดนตรีบรรเลงออกมาจากหมู่บ้าน ดังมายังศาลาวัด คล้ายชาวบ้านจะมาทอดผ้าป่าหรือทำการกุศลชนิดใดชนิดหนึ่ง - แต่พอมาถึง ปรากฎว่าไม่มีคน มีแต่ดอกไม้นานชนิดลอยมาสูงระดับหน้าอกแล้วเวียนรอบศาลา - ตื่นจากความฝัน ทำให้ท่านมั่นใจว่า การบวชของท่านนั้นจะบรรลุผลอันพึงพอใจ"

- พรรษาที่ 5 จำพรรษากับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ - วัดป่าบ้านนาหัวช้าง อ.พรรณานิคม ปัจจุบันคือวัดป่าอุดมสมพร
- พรรษาที่ 6 จำพรรษากับหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร - วัดป่าบ้านโคกมะนาว อ.พรรณานิคม ท่านเล่าว่า
"การภาวนาเริ่มจะยาก ภาวนาผ่านทุกขเวทนาไม่ได้" ต่อสู้หลายหนแต่เอาชนะไม่ได้ -จึงนำอุบายที่หลวงตามหาบัวแนะนำ โดยให้ใช้สติปัญญาพิจารณาแยกแยะธาตุขันธ์ด้วยการตั้งสัจจะว่า
"จะสู้กับทุกขเวทนี้แบบสละชีวิต เพื่อให้รู้เห็นความจริงของทุกข์ ถึงแม้จะปวดหนักปวดเบาขนาดไหน จะไม่ยอมลุกหนี จะปล่อยให้มันออกมาเลย - ถ้าผ่านทุกขเวทนี้ไม่ได้แล้ว จะไม่ยอมลุกจากที่นั่งเด็ดขาด"
- ท่านต่อสู้อยู่นานหลายชั่วโมง ปรากฎว่าท่านผ่านไปได้ จิตสงบรวมลงน่าอัศจรรย์ ทำให้ท่านมีกำลังใจในการปฏิบัติอย่างมาก

- วิเวกไปอ.สว่างแดนดิน, อ.ส่องดาว,อ.วาริชภูมิ ได้ไปพักกับหลวงปู่ขาว อนาลโย - ขณะพักที่บ้านหวายสะนอย (ภูเหล็ก) อ.ส่องดาวกับหลวงปู่ขาวนั้น ท่านว่าการภาวนาดีมาก นอนนิดเดียวก็อิ่ม จิตสงบละอียดดีมาก
- 2495-2497 พรรษาที่ 9-11 จำพรรษากับหลวงตามหาบัว ที่บ้านห้วยทราย อ.คำชะอี มุกดาหาร
-2499-2502 พรรษาที่ 13-16 จำพรรษากับหลวงตามหาบัวที่วัดป่าบ้านตาด อุดร
- 2508 หลวงปู่ขาวได้แนะนำให้ชาวบ้านชุมพล ไปนิมนต์ท่านมาอยู่เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าแก้วชุมพล

- อนุปาทิเสสนิพพานวันอาทิตย์ 27 เม.ย. 2523 - ด้วยอุบัติเหตุเครื่องบินตก ณ ท้องนาทุ่งรังสิต คลองหลวง ปทุมธานี - พร้อมกับพระอ.บุญมา ฐิตเปโม, พระอ.จวน กุลเชฏฺโฐ, พระอ.วัน อุตฺตโม, พระอ.สุพัฒน์ สุขกาโม
- 55 ปี 35 พรรษา

ข้อมูล : http://www.bloggang.com

26. หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต


26. หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต- วัดภูจ้อก้อ ต.หนองสูงใต้ อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร

- พระอริยเจ้าผู้เป็นดั่งผ้าเช็ดเท้าท่านพระอ.มั่น
- ท่านบากบั่น อุตสาหะ, พยายามอย่างยิ่งยวดเพื่อหาทางพ้นทุกข์ ,บารมีธรรมคำสั่งสอนเป็นที่ซาบซึ้งถึงใจ และหยั่งรากฝังลึกลงในหัวใจของมหาชน, สั่งสอนศิษย์ด้วยเมตตาธรรม ดุจพ่อแม่อบรมสั่งสอนลูก
- เป็นศิษย์รุ่นสุดท้ายของพระอ.มั่นที่สำคัญยิ่งรูปหนึ่ง,หลังท่านละสังขารไม่นาน อัฐเป็นพระธาตุ
- หลวงตามหาบัวชมและยกย่องท่านว่า 
"เป็นพระที่ซื่อสัตย์ต่อครูอาจารย์ เอาใจใส่ในอาจาริยวัตรเสมอ, แม้ถูกดุด่าก็อดทนต่อคำสั่งสอน ไม่เหนื่อยหน่ายต่อโอวาทธรรมที่ครูอาจารย์พร่ำสอน และเป็นดั่งผ้าเช็ดเท้าของท่านอาจารย์มั่น"

- ท่านถวายอุปัฏฐากแด่ท่านพระอ.มั่นอย่างใกล้ชิด, มีภาระหลายหน้าที่ เช่น สรงน้ำ, ซักย้อมสงบจีวร, ตามไฟถวายเมื่อองค์ท่านจงกรมในยามค่ำคืน่, ดูแลไฟให้ความอบอุ่นยามหนาวเย็น, ชำระอุจจาระปัสสาวะเมื่อองค์ท่านอาพาธ - ท่านได้สังเกตศึกษา ปฏิปทา และจริยาวัตรพระอ.มั่นอย่างใกล้ชิดต่อเนื่องตลอดเวลา 4 ปีสุดท้ายของพระอ.มั่น

- เกิดวันจันทร์ 19 กพ.2454 - ขึ้น 3 ค่ำ ปีกุน - บ้านกุดสระ อ.เมือง อุดร
- อายุ 18 ปี บวชเณร, อุปสมบท 2473 ไม่นานลาสิกขา - ได้แต่งงาน 2 ครั้ง มีบุตร 1 คนกับภรรยาคนแรก, มีบุตร 3 คนกับภรรยาคนต่อมา
- อายุ 32 ปี บวชอีกครั้ง 2486 , ญัตติเป็นธรรมยุต 2488 

- 2489 ฝากตัวเป็นศิษย์พระอ.มั่น และตั้งสัจวาจาว่า 
"ขอมอบกายถวายชีวิตต่อท่านพระอ.มั่น ผูกขาดทุกลมปราณ ตลอดทั้งคณะสงฆ์ในที่นี้ทุกๆ องค์ด้วย"
- พระอ.มั่น สอนสั้นๆว่า 
"กรรมฐาน 40 ห้อง เป็นน้องอาปานสติ - อานาปานสติเป็นยอดมงกุฎของกรรมฐานทั้งหลาย"

- หลวงตามหาบัว ซึ่งเป็นพระเถระที่ดูแลหมู่คณะได้กล่าวเตือนว่า
"เอาให้ดีนะ เมื่อคุณได้มอบกายถวายตัวกับองค์ท่านแบบแจบจมอย่างนี้แล้ว ต้องเข่นหนักนะ"

- 2493 จำพรรษากับหลวงปู่เทสก์ เทสฺรงฺสี- วัดโคกลอย พังงา
- 2494-95 จำพรรษากับหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ - วัดป่าตะโหนด อ.ตะกั่วทุ่ง พังงา
- 2496-2499 จำพรรษากับหลวงตามหาบัว - ป่าบ้านห้วยทราย อ.คำชะอี มุกดาหาร
- 2500 เป็นต้นมา จำพรรษาที่วัดภูจ้อก้อ

- 19 มค.2539 หลวงตามหาบัว ได้มาเยี่ยมอาการอาพาธของหลวงปู่หล้า ซึ่งแพทย์กราบเรียนว่าไม่สามารถแก้ไขให้ดีขึ้นอีกได้ - หลวงตามหาบัวได้เมตตาแนะนำว่า เมื่อการรักษาไม่เกิดประโยชน์อะไรแล้ว ก็ควรหยุดการรักษา ปล่อยให้ท่านอยู่กับธรรมชาติของท่าน"

- ละสังขาร 19 มค.2539 เวลา 13.59
- ถวายเพลิงศพ 28 มค.2539 โดยหลวงตามหาบัวเป็นประธาน 
- 84 ปี 52 พรรษา

ข้อมูล : http://www.bloggang.com