วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต


•ถ้าไม่มีใครยอมยื่นมือมาช่วยเหลือโยม จงอย่าลืมว่ายังเหลืออีกหนึ่ง ตรงปลายแขนโยมเอง ที่พร้อมช่วยเสมอ
•ชีวิตเหมือนบันได ที่ยิ่งไต่สูงขึ้น ก็ยิ่งเห็นทิวทัศน์กว้างขึ้น
•ชีวิตไม่ใช่คำถามที่มีคำตอบ แต่เป็นเหตุการณ์ที่มีประสบการณ์
•อยู่คนเดียวให้ระวังความคิด อยู่ร่วมมิตรให้ระวังวาจา
•ชื่อเสียงต้องใช้เวลาหลายสิบปีกว่าจะสร้างขึ้นมาได้ แต่ใช้เวลาแค่ไม่กี่นาที ที่จะทำให้มันกลายเป็นชื่อเสียได้
•คำถามที่โง่ที่สุด คือคำถามที่ไม่ได้ถาม
•อินา ทานัง ทุกขังโลเก การเป็นหนี้เป็นทุกข์ในโลก
•จะก้าวกระโดดได้ไกลขึ้น โยมต้องถอยหลังก่อน
•เลื่อนตัวเอง แต่อย่าลดคนอื่นลง
•ฆ่าเวลา เป็นการฆ่าตกรรมโอกาสดีๆ
•ความสามารถทำให้โยมไปถึงจุดสุดยอด แต่ความอ่อนน้อมทำให้โยมอยู่จุดนั้นได้นานที่สุด
•ครูเป็นผู้ที่เปิดประตู แต่นักเรียนต้องเดินเข้าไปเอง
•ความสุขเกิดกับตัวเองได้ หากทำให้เกิดกับผู้อื่นก่อน


หนังสือ หลวงพี่มาแล้ว จากพระมหาสมปอง

เดล คาร์เนกี คู่มือสู่ความสำเร็จ

วิบากกรมของหัวกะทิ

อารมณ์ต่างๆ

อารมณ์ต่างๆ มันไม่ยิ่งใหญ่อะไร มันเปลี่ยนได้ทั้งหมด.
บางคนไปสู้กับความคิด จนเหนื่อยเมื่อยล้า จนคร่ำเครียด. 
ไม่จำเป็นต้องไปถึงขนาดนั้นหรอก 
สิ่งที่เราจะแก้ไข มันง่ายอยู่.
เวลาใดที่มันคิด เรากลับมากำหนดอิริยาบถ
พลิกมือเคลื่อนไหวไปมานั่นแหละ. 
ก็เท่านี้ มันไม่ยิ่งใหญ่อะไร. 
แต่ถ้าเราไม่รู้ มันก็ยิ่งใหญ่มาก. 
มันดึง มันลากไป จนกลายเป็นอารมณ์ 
จนถอนตัวไม่ออก. 
มันตกหล่ม ไม่แก้ ไม่ช่วยตัวเอง ปล่อยให้ตกอยู่.
การถอนออกจากหล่ม ก็คือ 
กลับมาที่การกำหนดกายเคลื่อนไหว. 
อะไรก็ตาม ถ้าเรากลับมานี่ มันเปลี่ยนได้ทั้งหมด. 
จะเป็นความง่วง ความคิด ความลังเลสงสัย 
ความปวด ความเมื่อย เวทนาอะไรต่างๆก็ตาม 
เราเปลี่ยนให้เป็นความรู้สึกตัว. 
สิ่งที่รู้ ก็มีอยู่จริงๆ. 
เรียกว่า แก้อารมณ์ 
เปลี่ยนอารมณ์ให้กับตัวเอง. 
สอนตัวเอง ให้ตัวเองมีประสบการณ์. 
เวลาใดที่มันหลงไป กลับมากำหนดกายเคลื่อนไหว. 
หาประสบการณ์เรื่อยๆไป 
มันก็มีโอกาสชำนิชำนาญ ในการเห็นความคิด 
เห็นความง่วง เห็นอาการต่างๆที่เกิดขึ้นกับกายกับใจ. 
เอาสติ เข้าไปกำหนดรู้ทุกครั้งทุกคราวไป.
สติที่เข้าไปรู้ทุกครั้งทุกคราว 
มันก็มีโอกาสแก่กล้า 
เป็นประสบการณ์แข็งแกร่งขึ้น ง่ายขึ้นๆ. 
(หลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ)

อยากบทรักดี ต้องออกกำลังกาย


ทุก คนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าประโยชน์ที่ได้รับจากการออกกำลังกายทั้งทางด้าน ร่างกายและจิตใจมีมากมายหลายประการ ช่วยป้องกันการเกิดโรคเรื้อรัง (Chronic diseases) ชนิดต่างๆ
เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง รวมถึงการเป็นอัมพฤกษ์ (Stroke) เป็นต้น นอกจากนี้การออกกำลังกายยังมีส่วนช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะกระดูก พรุนเมื่ออายุมากขึ้น คนที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอยังสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคเกี่ยวกับระบบ การเผาผลาญของร่างกาย อันได้แก่ โรคเบาหวาน และ โรคอ้วนผิดปกติ (Obesity) เป็นต้น

ส่วน ประโยชน์ทางด้านจิตใจก็ส่งผลทำให้มีสุขภาพจิตดีขึ้น โดยช่วยลดความเครียด มีอารมณ์ดี และเพิ่มความมั่นใจในตัวเอง นอกจากนี้การออกกำลังกายยังมีประโยชน์อีกมากมายหลายอย่าง ถ้าปฏิบัติอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ

แต่การออกกำลังกายก็ยัง มีประโยชน์ในอีกด้านหนึ่งด้วย วันนี้ เราจึงอยากมานำเสนอเรื่องราว ของการออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพทางเพศที่ดีแก่หนุ่มและสาว

เพิ่มประสิทธิภาพทางเพศได้ด้วยการออกกำลังกาย

เรา สามารถปฏิบัติภารกิจเซ็กส์ ในระยะเวลานานขึ้น บ่อยครั้งขึ้น และที่สำคัญจะช่วยให้ถึงจุดสุดยอด (orgasm) ได้ดีขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ร่างกายมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง และมีความทนทานดีขึ้นจากการออกกำลังกายแบบ weight training ระบบการหมุนเวียนของเลือดที่ส่งไปเลี้ยงตามส่วนต่างๆ ของร่างกายดี ซึ่งมาจากการออกกำลังกายแบบ aerobic exercise โดยที่ผู้ชายจะมีเลือดหมุนเวียนและไปเลี้ยงที่บริเวณอวัยวะเพศ ทำให้อวัยวะเพศแข็งตัว (erection) ได้ดี และนานขึ้น

ถ้า เป็นคนที่มีปัจจัยเสี่ยงทำให้อวัยวะเพศอ่อนตัว (erectile dysfunction) การออกกำลังกายสามารถช่วยลดปัจจัยเสี่ยงนี้ได้โดยที่ไม่ต้องพึ่งยาช่วยเลย นอกจากนี้ใครที่เคยประสบกับการหลั่งเร็วผิดปกติ หรือที่เรียกว่า ล่มปากอ่าว การออกกำลังกายก็สามารถช่วยลดปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ได้เช่นเดียวกัน ในผู้ชาย การออกกำลังกายยังมีผลทำให้ระดับของฮอร์โมนเพศ หรือ Testosterone เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งมีผลกระตุ้นความรู้สึกทางเพศได้เหมือนกัน นอกเหนือจากนี้การออกกำลังกายสม่ำเสมอจะทำให้เรามีรูปร่างดี ในผู้ชายก็จะมีกล้ามเนื้อแข็งแรงได้สัดส่วน ไม่มีไขมันส่วนเกิน ในผู้หญิงก็เช่นเดียวกันจะมีสัดส่วนและส่วนเว้าส่วนโค้งน่ามอง ยิ่งเพิ่มเสน่ห์ และความมั่นใจในตัวเองสูงขึ้น ซึ่งจะมีผลต่อเพศตรงข้ามด้วย

หลักการออกกำลังกายในผู้ชาย

หลัก การออกกำลังกายโดยทั่วไปแล้วก็ไม่แตกต่างจากการออกกำลังกายตามปกติ โดยที่ความหนักของการออกกำลังกายในลักษณะAerobic exercise จะอยู่ที่ระดับปานกลาง อาจใช้ความรู้สึกของตัวเราเองเป็นตัวกำหนด หรือใช้อัตราการเต้นของหัวใจที่ระดับ65-75% ของ maximum heart rate โดยที่ maximum heart rate = (220 - อายุ) และใช้เวลาในการออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อครั้ง สามารถออกกำลังกายได้ 3 - 4 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยอาจจะใช้วิธีการวิ่ง ปั่นจักรยาน หรือว่ายน้ำ เป็นต้น

ถ้า เป็นการออกกำลังกายแบบ weight training ให้ใช้น้ำหนักที่สามารถยกได้ 12-15 ครั้งใน เซต และออกกำลังกายท่าละ1-2 เซต โดยเน้นกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้อง สะโพก ก้น หลังส่วนล่าง รวมไปถึงกล้ามเนื้อบริเวณหัวไหล่ และต้นแขน จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ แต่ถ้าต้องการเพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อ (endurance training) ให้ลดความหนักของ weightลงมา โดยน้ำหนักที่ใช้ต้องสามารถยกได้ประมาณ 20 ครั้งต่อเซต ในคนส่วนใหญ่จะมีการตึงตัวของกล้ามเนื้อหน้าขาที่ใช้ในการงอข้อสะโพก (เนื่องจากนั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน) ซึ่งอาจทำให้เป็นตะคริวได้ ดังนั้นในช่วงของการออกกำลังกายควรต้องมีการยืดกล้ามเนื้อส่วนนี้ร่วมด้วย

หลักการออกกำลังกายในผู้หญิง

วิธี การออกกำลังกายในผู้หญิงก็จะใช้หลักการเดียวกันกับผู้ชาย ทั้งการออกกำลังกายแบบ aerobic exercise และ weight training ซึ่งจะได้ประโยชน์ในลักษณะเดียวกัน การที่มีเลือดไหลเวียนบริเวณอวัยวะเพศเพิ่มมากขึ้นจะทำให้เกิดมีสารหล่อลื่น เพิ่มมากขึ้นด้วย ในขณะเดียวกันการทำงานของระบบประสาทก็จะดีขึ้น ทั้งในแง่การรับรู้ความรู้สึก ความไวต่อความรู้สึกมากขึ้น จะช่วยให้ผู้หญิงมีความสุข และพึงพอใจขณะปฏิบัติภารกิจด้วย

นอก เหนือจากการออกกำลังกายตามปกติดังที่กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีอีกวิธีหนึ่งที่เรียกว่า Kegels exercise ซึ่งเป็นการออกกำลังกายคล้ายๆ กับการกลั้นปัสสาวะ ทำค้างเอาไว้ประมาณ 10 วินาที โดยยังคงหายใจตามปกติ (อย่ากลั้นหายใจในขณะที่ทำ) แล้วปล่อยตามสบาย ทำสลับกันเช่นนี้อย่างน้อยประมาณ นาทีอย่างต่อเนื่อง หรือทำให้ได้ประมาณ 100 ครั้งต่อวัน ในการทำ Kegels exercise นี้อาจทำร่วมกับการออกกำลังกายในท่า Bridging ในลักษณะนอนหงายชันเข่าทั้งสองข้าง แล้วค่อยๆ ยกสะโพกขึ้นแล้วในช่วงระหว่างยกสะโพกขึ้นให้ทำ Kegels exercise ไปพร้อมๆ กัน


แต่ อย่างไรก็ตามสิ่งที่ควรระวังในเรื่องของการออกกำลังกาย คือควรทำในระดับความหนักที่เหมาะสม ไม่หักโหมจนเกินไป เพราะการออกกำลังกายมากจนเกินไปอาจทำให้เกิดผลเสียต่อทั้งสภาพร่างกายและจิต ใจได้ บางคนออกกำลังกายหนักจนเกินไปในที่สุดแล้วก็จะรู้สึกอ่อนล้าจนไม่อาจปฏิบัติ ภารกิจได้ หรือมีความต้องการและความรู้สึกทางเพศลดลง ในบางคนอาจมีอาการอ่อนตัวของอวัยวะเพศไปเลยและร่างกายก็จะมีการผลิตเสปิร์มลดน้อยลง ซึ่งรวมถึงคุณภาพของเสปิร์มก็ลดลงไปด้วย

ส่วน ผู้หญิงก็อาจมีอาการล้า และความต้องการลดลงเช่นเดียวกับผู้ชาย อาจพบว่ามีประจำเดือนมาไม่ปกติ หรืออาจจะเกิดการขาดประจำเดือนไปได้เหมือนกัน ดังนั้นจึงควรได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ หรือแพทย์ที่สามารถให้คำแนะนำในการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมกับคุณแต่ละคนได้


ขอบคุณ : นิตยสาร Health Today และ Never-Age.com

อิทธิบาท ๔


*****อิทธิบาท ๔*****


http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/458/16458/images/mom1/buddha69.jpg
อิทธิบาท ๔
                        ตถาคตสฺส โข อานนฺท จตฺตาโร อิทฺธิปาทา ภาวิตา ฯเปฯ โส  อากงฺขมาโน อานนฺท ตถาคโต กปฺปํ วา ติฏฺเฐยฺย กปฺปาวเสสํ วา
                   ดูก่อน...อานนท์ อิทธิบาท ๔ ตถาคตได้เจริญแล้ว ได้ทำให้มากแล้ว ได้ทำให้เป็นยานแล้วได้ทำให้เป็นที่ตั้งอาศัยแล้ว ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้วดูก่อน...อานนท์ ตถาคตนั้น เมื่อหวังอยู่ ก็จะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป
หรือตลอดส่วนที่เหลือแห่งกัป.....ดังนี้.....
                        ชื่อว่า "อิทธิ" โดยความหมายว่า เป็นผลสำเร็จ ชื่อว่า "บาท" โดยความหมายว่า เป็นเหตุเบื้องต้นบาทแห่งอิทธิ คือ เหตุเบื้องต้นแห่งความสำเร็จ.
                        ชื่อว่า อิทธิบาท มี ๔ อย่าง คือ.....
                        ฉันทิทธิบาท (อิทธิบาท คือ ฉันทะ - ความพอใจ)
                        วิริยิทธิบาท (อิทธิบาท คือ วิริยะ - ความเพียร)
                        จิตติทธิบาท (อิทธิบาท คือ จิต)
                        วิมังสิทธิบาท (อิทธบาท คือ วิมังสา - ปัญญาตริตรอง)
                        สภาวธรรม ๔ อย่าง มีฉันทะ เป็นต้น ชื่อว่า เป็น อิทธิบาท
                         ใน คราวที่เจริญอธิกุศล คือสมถะ หรือวิปัสสนา โดยพระโยคาวจรกระทำธรรม ๔ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งนี้ ให้เป็นธุระ คือให้ออกหน้า เป็นประธาน เป็นใหญ่  หมายความว่า มุ่งเจริญกุศล โดยมีความพอใจใคร่จะทำกิจนั้นเป็นใหญ่ หรือมีความเพียรในการทำกิจนั้นเป็นใหญ่ เป็นต้น.
                        คำว่า ได้เจริญแล้ว คือ ทำให้เกิดได้แล้ว
                        คำว่า ได้ทำให้มากแล้ว คือ ได้เพิ่มพูนแล้ว
                        คำว่า ได้ทำให้เป็นยานแล้ว คือ ได้ทำให้เป็นดุจยานพาหนะแล้ว ความว่า ถึงความชำนาญ มีกำลัง ถึงความแกล้วกล้า ในทุกๆสิ่งที่ต้องการ
                        คำว่า ได้ทำให้เป็นที่ตั้งอาศัยแล้ว คือได้ทำให้เป็นที่ตั้งมั่นแห่งจิต
                        คำว่า ตลอดกัป ชื่อว่า กัป ใน ที่นี้ ได้แก่กำหนดอายุกาล คือประมาณอายุของมนุษย์ในครั้งนั้นๆ ประมาณอายุเฉลี่ยของมนุษย์ สูงสุดคือ อสงไขยปี ต่ำสุด คือ ๑๐ ปี ในครั้งกาลแห่งพระศาสดาพระองค์นี้ ประมาณอายุของมนุษย์ คือ ๑๐๐ ปี ผู้ใดอายุเกิน ๑๐๐ ปี ไปบ้างก็เล็กน้อย ไม่ถึง ๒๐๐ ปี เพราะฉะนั้น เพราะอานุภาพแห่งพระอิทธิบาท ที่ได้ทรงเจริญแล้ว เป็นต้น ถ้าหากพระองค์ทรงหวัง ก็ทรงพระชนม์ชีพอยู่ได้ตลอดกัป คือ ๑๐๐ พรรษา.
คำว่า หรือตลอดส่วนที่เหลือแห่งกัป ความ ว่าในเวลานั้น พระองค์ทรงพระชนม์มายุ ๘๐ พรรษา กัปมี ๑๐๐ ปี เพราะฉะนั้น ส่วนที่เหลือแห่งกัป คือ ๒๐ ปี ถ้าหากทรงหวัง ก็จะทรงมีพระชนม์มายุยืนยาวต่อไปอีก ๒๐ พรรษา
                    บุคคลเมื่อประกอบด้วยคุณธรรม ๔ อย่างนี้แล้ว ย่อมประสบความสำเร็จในสิ่งที่ไม่เหลือวิสัยของมนุษย์ ซึ่งโดยตรงทางหมายถึง ความดับทุกข์โดยสิ้นเชิง ที่เรียกว่า นิพพาน ส่วนเรื่องอื่นนอกนั้นไป ถือว่าเป็นเรื่องพิเศษและไม่มีขอบขีดจำกัด เพราะมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนอกเหนือวิสัยธรรมดาอยู่มาก เช่นเรื่องที่ว่าคนเราอาจมีอายุยืนถึงกัลป์ด้วยอำนาจแห่งอิทธิบาททั้ง ๔ นี้ ซึ่งข้อนี้ มิได้มีความหมายขัดกัน ในข้อที่ว่าอิทธิบาท ๔ นี้ จะเป็นสิ่งที่ทำให้อายุยืนถึงปานนั้นได้หรือไม่ แต่มีปัญหาอยู่ที่ว่า คนเราจะสามารถเจริญอิทธิบาทให้มากถึงเท่านั้น ได้หรือไม่ต่างหาก เพราะฉะนั้น ท่านจึงถือว่าหลักเกี่ยวกับอิทธิบาทนี้ คงมีความหมายไปตามตัวหนังสือ โดยไม่ต้องมีขอบขีดจำกัดว่าอะไรบ้าง สรุปความสั้นๆ ว่าวิสัยของใคร ทำให้เขาเจริญอิทธิบาทได้มากเท่าใด เขาย่อมได้รับผลเต็มกำลัง ของอิทธิบาทนั้น แม้ในสิ่งที่บางคนถือว่าเป็นของเหลือวิสัย โดยเฉพาะเช่น การบรรลุนิพพาน ในที่บางแห่ง ท่านเติมคำว่า อธิปไตย เข้าข้างท้ายคำเหล่านี้ เป็น ฉันทาธิปไตย วิริยาธิปไตย วิมังสาธิปไตย ไปดังนี้ก็มี แปลว่า ความมีฉันทะเป็นใหญ่ เป็นต้น ซึ่งที่แท้ก็ได้แก่ อิทธิบาท อย่างเดียวกัน นั่นเอง แต่ใช้คำว่า ที่มีความหมายที่เห็นได้ชัดยิ่งขึ้นว่าในการทำกิจใดๆ ก็ดีย่อมมีฉันทะ เป็นต้น เหล่านี้เป็นใหญ่ หรือเป็นประธาน ในความสำเร็จ เป็นการชวนให้สนใจ ในสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาทนี้ยิ่งขึ้น มีพระพุทธภาษิตยืนยันอยู่ในที่หลายแห่ง ว่าการตรัสรู้ อนุตรสัมมา สัมโพธิญาณของพระองค์เองสำเร็จได้โดยมี อิทธิบาท๔ นี้ เป็นประธานแห่งการกระทำ ในลำดับนั้นๆ ฉะนั้น จึงถือว่าเป็นอุปกรณ์อันขาดเสียไม่ได้ในความสำเร็จทุกชนิด ผู้ปฏิบัติ เพื่อความ ความดับทุกข์ จึงต้องสนใจเป็นพิเศษ แม้การประกอบประโยชน์ ในทางโลก ก็ใช้หลักเกณฑ์ อันเดียวกันนี้ได้เป็นอย่างดี โดยเท่าเทียมกัน แม้ที่สุด แต่ในกรณีที่เป็น การทำชั่ว ทำบาป ก็ยังอาจนำไปใช้ ให้บรรลุผล ได้ตามที่ ตนประสงค์ ฉะนั้น ท่านจึงจัดเป็นหลักธรรมที่สำคัญหมวดหนึ่ง ในบรรดาโพธิปักขิยธรรมทั้งหลายนี้นับว่า เป็นอุปกรณ์ในฐานะเป็นเครื่องช่วยให้เกิดการปฏิบัติ ดำเนินไปได้โดยปราศจากอุปสรรคตั้งแต่ต้นจนถึงจุดหมายปลายทาง จะเห็นว่าอิทธิบาทสี่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะ การมีอิทธิบาทสี่ก็คือการมีกำลังใจที่จะยิ้มต่อสู้อย่างไม่เห็นความลำบากใดๆ คิดตลอดเวลาว่าสบายมาก
                    บุคคลเมื่อประกอบด้วย คุณธรรม ๔ อย่างนี้แล้ว ย่อมประสบความสำเร็จ ในสิ่งที่ ไม่เหลือวิสัยของมนุษย์ ซึ่งโดยตรงทางหมายถึงความดับทุกข์โดยสิ้นเชิง ที่เรียกว่า นิพพาน ส่วนเรื่องอื่น นอกนั้นไป ถือว่าเป็น เรื่องพิเศษ และ ไม่มี ขอบขีดจำกัด เพราะมีปัญหาเกี่ยวกับ เรื่องนอกเหนือ วิสัยธรรมดา อยู่มาก เช่นเรื่องที่ว่า คนเราอาจมีอายุยืน ถึงกัลป์ ด้วยอำนาจแห่งอิทธิบาททั้ง ๔ นี้ ซึ่งข้อนี้มิได้มีความหมาย ขัดกัน ในข้อที่ว่า อิทธิบาท ๔ นี้จะเป็นสิ่งที่ทำให้อายุยืนถึงปานนั้นได้หรือไม่ แต่มีปัญหาอยู่ที่ว่า คนเราจะสามารถ เจริญอิทธบาทให้มากถึงเท่านั้นได้หรือไม่ ต่างหาก เพราะฉะนั้น ท่านจึงถือว่า หลักเกี่ยวกับอิทธิบาท นี้ คงมีความหมาย ไปตามตัวหนังสือ โดยไม่ต้องมีขอบขีดจำกัดว่าอะไรบ้าง สรุปความสั้นๆว่าวิสัยของใคร ทำให้เขาเจริญอิทธิบาทได้มากเท่าใด เขาย่อมได้รับผลเต็มกำลังของอิทธิบาทนั้น แม้ในสิ่งที่บางคน ถือว่าเป็นของเหลือวิสัย โดยเฉพาะเช่น การบรรลุนิพพาน
                   ในที่บางแห่ง ท่านเติมคำว่า อธิปเตยย เข้าข้างท้ายคำเหล่านี้ เป็น ฉันทาธิปไตย วิริยาธิปไตย วิมังสาธิปไตย ไปดังนี้ก็มี แปลว่า ความมีฉันทะเป็นใหญ่ เป็นต้น ซึ่งที่แท้ ก็ได้แก่ อิทธิบาท อย่างเดียวกัน นั่นเอง แต่ใช้คำว่า ที่มีความหมาย ที่เห็นได้ชัด ยิ่งขึ้นว่า ในการทำกิจใดๆ ก็ดี ย่อมมีฉันทะ เป็นต้น เหล่านี้เป็นใหญ่ หรือเป็นประธานในความสำเร็จ เป็นการชวนให้สนใจในสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท นี้ยิ่งขึ้น มีพระพุทธภาษิต ยืนยัน อยู่ในที่ หลายแห่ง ว่า การตรัสรู้ อนุตรสัมมา
สัมโพธิญาณ ของพระองค์เอง สำเร็จได้โดยมี อิทธิบาท๔ นี้ เป็นประธาน แห่งการกระทำ ในลำดับนั้นๆ ฉะนั้น จึงถือว่าเป็น อุปกรณ์อันขาดเสียไม่ได้ในความสำเร็จทุกชนิด ผู้ปฏิบัติ เพื่อความ ความดับทุกข์ จึงต้องสนใจเป็นพิเศษ แม้การประกอบ ประโยชน์ ในทางโลก ก็ใช้หลักเกณฑ์ อันเดียวกันนี้ได้เป็นอย่างดี โดยเท่าเทียมกัน แม้ที่สุด แต่ในกรณีที่เป็น การทำชั่ว ทำบาป ก็ยังอาจนำไปใช้ ให้บรรลุผลได้ตามที่ตนประสงค์ ฉะนั้น ท่านจึงจัดเป็น หลักธรรม ที่สำคัญหมวดหนึ่ง ในบรรดา โพธิปักขิยธรรม ทั้งหลายนี้นับว่า เป็นอุปกรณ์ในฐานะเป็น เครื่องช่วยให้เกิดการปฏิบัติ ดำเนินไปได้ โดยปราศจากอุปสรรค ตั้งแต่ต้น จนถึง จุดหมายปลายทาง

แผนผังเชิงยุทธศาสตร์

ภูมิปัญญาชาวบ้าน

คู่มือความปลอดภัย