วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การสร้างกรุงรัตนโกสินทร์

การสร้างกรุงรัตนโกสินทร์   สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ ทรงขอให้คนจีน (บรรพบุรุษของพระยาโชฏึกเศรษฐี ต้นสกุล โชติกเสถียร) ที่ทำแปลงสวนผักอยู่บริเวณที่จะสร้างพระบรมมหาราชวังนั้น ย้ายไปอยู่ที่สำเพ็งหรือ สามเพ็ง(วัดปทุมคงคา) และวัดสามปลื้ม (วัดจักรวรรดิ์ราชาวาส)แทน เพื่อใช้สถานที่นั้นสร้างพระบรมมหาราชวังตามแบบอย่างกรุงศรีอยุธยา
รัตนโกสินทร์
กรุงเทพฯ เพิ่งได้รับการโหวต ให้เป็นเมืองท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในโลกมาหมาดๆ เรื่องนี้ไม่ได้มาง่ายๆ
เพราะเรื่องทางลบของกรุงเทพฯก็มีข่าวอยู่บ่อยๆ แต่อย่างน้อยต้องยกคุณความดีทั้งหมด ให้กับบรรพบุรุษของเรา ที่ท่านได้สร้างและรักษามาให้ลูกหลานจนถึงวันนี้ เลยอยากพาย้อนอดีตดูสักวัน
พื้นที่ของกรุงธนบุรีหรือบางกอกนั้น ได้มีการสร้างพระนครแห่งใหม่คือ กรุงรัตนโกสินทร์ หรือ กรุงเทพมหานคร (BANGKOK) ขึ้น หลังจากที่เกิดจลาจลในกรุงธนบุรีเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ จึงได้มีการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ที่บางกอกฝั่งตะวันออก

สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

ได้โปรดให้ย้ายเมืองหลวงจากกรุงธนบุรีมาตั้ง ที่ฝั่งบางกอกตะวันออกและทำการสร้างพระราชวังโดยพระราชทานนามว่า “ กรุงรัตนโกสินทร์อินทอยุธยา” (ต่อมาสมัย ร.๓ ทรงแก้นามพระนครเป็น “กรุงรัตนโกสินทร์มหินทราอยุธยา” สมัย ร.๔ ทรงเปลี่ยนเป็น “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา” ต่อมาเปลี่ยนคำว่า “บวรรัตนโกสินทร์” เป็น “อมรรัตนโกสินทร์” แล้วเติมสร้อยนามต่อมา(หนังสือกินเนสบุ๊ค ได้ยกให้เป็นชื่อเมืองที่ยาวที่สุดในโลก)คือ“กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยามหาดิลกภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์” สถานที่ตั้งกรุงรัตนโกสินทร์นั้นเป็นชุมชนเก่า ที่เรียกว่าบางกอก คำว่าบางกอก นั้นสันนิษฐานว่าน่าจะมาจากบริเวณแห่งนั้นที่มีต้นมะกอกมาก หรือมาจากคำว่า “บางเกาะ” หรือ “บางโคก”เนื่องจากพื้นที่บางกอกทั้งฝั่งธนบุรีและกรุงเทพนั้นมีคลองและแม่ น้ำล้อมรอบ คล้ายเกาะ และเป็นที่เนินสูงเหมือนเกาะสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ ทรงขอให้คนจีน (บรรพบุรุษของพระยาโชฏึกเศรษฐี ต้นสกุล โชติกเสถียร) ที่ทำแปลงสวนผักอยู่บริเวณที่จะสร้างพระบรมมหาราชวังนั้น ย้ายไปอยู่ที่สำเพ็งหรือ สามเพ็ง(วัดปทุมคงคา) และวัดสามปลื้ม (วัดจักรวรรดิ์ราชาวาส)แทน เพื่อใช้สถานที่นั้นสร้างพระบรมมหาราชวังตามแบบอย่างกรุงศรีอยุธยา

พระบรมมหาราชวัง ประกอบด้วย 
วังชั้นนอก วังชั้นใน และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ประตูพระบรมมหาราชวังชั้นนอกมีหลายประตูคือ ประตู วิมานเทเวศร์ วิเศษชัยศรี มณีนพรัตน์ สวัสดิโสภา เทวาพิทักษ์ ศักดิ์ชัยสิทธ์ วิจิตรบรรจง อนงคารักษ์ พิทักษ์บวร สุนทรทิษา เทวาภิรมย์ อุดมสุดารักษ์ ส่วนประตูพระราชวังชั้นในมีชื่อว่า สุวรรณบริบาล พิมานชัยศรี สีกรลีลาศ เทวราชดำรงศร อุดรสิงหรักษ์ จักรพรรดิ์ภิรมย์ กมลาสประเวศ อมเรศร์สัญจร สนามราชกิจ ดุสิตศาสดา กัลยาวดี ศรีสุดาวงษ์ อนงคลีลา ยาตราสตรี ศรีสุนทร พรหมศรีสวัสดิ์ พรหมโสภา แถลงราชกิจ ปริตประเวศ ราชสำราญ และพิศาลทักษิณ ซึ่งบางประตูก็ถูกรื้อไปแล้ว

ได้มีการสร้างป้อมหอรบไว้รอบกำแพงพระบรมมหาราชวัง บางป้อมมีหลังคาคลุม มีชื่อ ป้อมอินทรังสรรค์ (อยู่มุมกำแพงด้านตะวันตก สร้างสมัย ร.๑ รูปแปดเหลี่ยม ป้อมนี้ถูกรื้อสมัย ร.๖ เพื่อสร้างถนนนอกกำแพงด้านตะวันตก) ป้อมขันธ์เขื่อนเพชร (อยู่ทางตะวันออกของประตูวิเศษชัยศรี สร้างสมัย ร.๑ รูปแปดเหลี่ยม) ป้อมเผด็จดัสกร (มุมกำแพงด้านตะวันออกข้างเหนือ ใกล้ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง สร้างสมัย ร.๑ รูปแปดเหลี่ยม เคยมีเสาธงสูงตั้งอยู่) ป้อมสัญจรใจวิง (อยู่ด้านตะวันออก สร้างสมัย ร.๔) ป้อมสิงขรขันฑ์ (สร้างสมัย ร.๑) ป้อมขยันยิงยุทธ (อยู่ด้านเหนือของพระที่นั่งสุทไธสวรรค์ สร้างสมัย ร.๔) ป้อมฤทธิรุดโรมรัน (อยู่ด้านใต้ของพระที่นั่งสุทไธสวรรค์ สร้างสมัย ร.๔) ป้อมอนันตคิรี (อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้อยู่ใกล้พระที่นั่งสุทไธสวรรค์ถนนสนามไชย ตรงข้ามสวนสราญรมย์ กระทรวงการต่างประเทศ สร้างสมัย ร.๑) ป้อมมณีปราการ (อยู่มุมวังด้านตะวันออก สร้างสมัย ร.๑ บุรณะสมัย ร.๒ เป็นรูปหอรบ) ป้อมพิศาลสีมา (สร้างสมัย ร.๑ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นป้อมสัตตบรรพต ) ป้อมภูผาสุทัศน์ (อยู่มุมวังด้านตะวันตกใกล้ประตูพิทักษ์บวร สร้างสมัย ร.๑) ป้อมสัตตบรรพต (อยู่ทางตะวันตกของป้อมอนันตคิรี สร้างสมัย ร.๒ รูปหอรบ ป้อมนี้ถูกรื้อสมัย ร.๖ เพื่อสร้างถนนนอกกำแพงด้านตะวันตก) ป้อมโสฬสศิลา (ปรับปรุงสมัย ร.๒ รูปหอรบ) ป้อมมหาโลหะ(ปรับปรุงสมัย ร.๒ รูปหอรบ) ป้อมทัศนานิกร (สร้างสมัย ร.๕) ป้อมพรหมอำนวยศิลป และ ป้อมอินทรอำนวยศร  สำหรับป้อมรอบกำแพงพระราชวังบวรสถานมงคล (ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โรงละคอนแห่งชาติ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ) มีชื่อ ป้อมทับทิมศรี เขื่อนขันธ์ นิลวัฒนา มุกดาพิศาล เพชรบูรพา วิเชียรอาคเนย์ เพชรไพฑูรย์ เขื่อนเพชร และมณีมรกต ป้อมเหล่านี้ได้ถูกรื้อลงหมดแล้ว ในปี พ.ศ. ๒๓๒๖ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ โปรดให้ทำการรื้อป้อมวิชาเยนทร์ และกำแพงเมืองธนบุรีข้างฟากตะวันออกเสีย เพื่อขยายพระนคร 

พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท 
สร้างสมัย ร.๑ ใช้แบบใกล้เคียงกับพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์สมัยอยุธยา พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทใช้อาคารแบบฝรั่ง ส่วนบนใช้ทรงไทยยอดปราสาทสร้างสมัย ร.๕ ใน พ.ศ.๒๔๑๙ พระที่นั่งบรมพิมาน สร้างสมัย ร.๕ แบบยุโรป
สิ่งก่อสร้างสมัย ร.๑ นี้ ส่วนหนึ่งใช้อิฐซึ่งรื้อมาจากป้อมกำแพงและสถานที่ต่างๆ ในกรุงศรีอยุธยา ทำให้โบราณสถานต่างๆ ในกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายเสียหายไปมาก
กำแพงพระราชวังที่สร้างครั้งแรกในสมัยรัชกาล ที่ ๑ นั้น ใช้ เป็นระเนียดปักกันดินและเรียงอิฐที่ขนมาจากกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี ต่อมาจึงปรับปรุงเป็นกำแพงก่ออิฐถือปูน

ในด้านความมั่นคง ทางยุทธศาสตร์
 มีการสร้างป้อมรอบกรุงรัตนโกสินทร์สำหรับป้องกันการโจมตีของข้าศึก ๑๔ ป้อมตามแนวแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองคูเมือง มีชื่อป้อมเรียงทวนเข็มนาฬิกาดังนี้
ป้อมพระสุเมรุ อยู่ที่ปากคลองบางลำพูบน ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของพระนคร
ป้อมอิสินทร อยู่ระหว่างป้อมพระสุเมรุกับป้อมพระอาทิตย์ปากคลองคูเมืองเดิมหรือคลองหลอดด้านเหนือ
ป้อมพระอาทิตย์ อยู่สุดถนนพระอาทิตย์ ปากคลองคูเมืองเดิมด้านใต้
ป้อมพระจันทร์ อยู่ที่บริเวณท่าพระจันทร์ ตรงข้ามโรงพยาบาลศิริราช
ป้อมมหายักษ์ อยู่ริมน้ำ เยื้องหน้าพระอุโบสถวัดพระเชตุพน ตรงข้ามวัดอรุณราชวราราม ปัจจุบันเป็นตลาดท่าเตียน
ป้อมมหาฤกษ์ ป้อมนี้น่าจะสร้างทับบนพื้นที่ของป้อมวิชาเยนทร์แบบฝรั่งเศส สมัยสมเด็จพระนารายณ์ อยู่ตรงข้ามป้อมวิชัยประสิทธิ์ ที่เป็นกองทัพเรือฝั่งธนบุรี อยู่ใกล้ปากคลองตลาดด้านเหนือ สมัย ร.๕ โปรดให้ใช้ที่ของป้อมมหาฤกษ์นี้สร้างโรงเรียนสุนันทาลัยซึ่งต่อมาเปลี่ยน ชื่อเป็นโรงเรียนราชินี ที่ปากคลองตลาด
ป้อมผีเสื้อ อยู่ปากคลองตลาดหรือคลองคูเมืองเดิมฝั่งใต้ ติดแม่น้ำเจ้าพระยา
ป้อมจักรเพชร เหนือปากคลองโอ่งอ่าง ใกล้สะพานพุทธ
ป้อมมหาไชย อยู่เหนือคลองคูพระนครหรือคลองโอ่งอ่างด้านสะพานหัน ติดถนนมหาไชย ใกล้วังบูรพาภิรมย์ ป้อมนี้ต่อมาถูกรื้อเพื่อสร้างตึกแถวก่อนสงครามโลกครั้งที่ สอง ปัจจุบันคืออาคารรวมทุนไทย
ป้อมเสือทยาน อยู่เหนือประตูสามยอดตรงสะพานดำรงสถิต
ป้อมหมูทลวง อยู่ตรงข้ามสวนรมณีย์นาถในปัจจุบัน ซึ่งเดิมเคยเป็นเรือนจำคลองเปรม
ป้อมมหากาฬ อยู่ใกล้สะพานผ่านฟ้าลีลาศ
ป้อมมหาปราบ อยู่ระหว่างสะพานผ่านฟ้ากับสะพานวันชาติ
และป้อมยุคนธร อยู่ใกล้วัดบวรนิเวศ
ภายหลังต่อมา ป้อมต่างๆนี้ได้ถูกรื้อไปหลายป้อม สำหรับป้อมที่ยังคงเหลืออยู่นั้นได้แก่ป้อมมหากาฬ ที่ผ่านฟ้าใกล้วัดสระเกศ และป้อมพระสุเมรุ ที่ถนนพระอาทิตย์ บางลำพูเท่านั้น

กำแพงเมืองกรุงรัตนโกสินทร์
กำแพงเมืองที่สร้างขึ้นนี้ มีประตูเมืองอยู่หลายแห่งซึ่งจะเปิดเมื่อเวลาย่ำรุ่ง(พระอาทิตย์ขึ้น) และปิดเมื่อย่ำค่ำ (พระอาทิตย์ตก) ในสมัยรัชกาลที่ ๑ นั้น สร้างประตูเมืองเป็นประตูทรงมณฑปเครื่องไม้ ทาดินแดงแบบกรุงศรีอยุธยา ต่อมาสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้เปลี่ยนประตูจากยอดไม้ทรงมณฑปเป็นประตูก่ออิฐ ด้านบนประตูทำเป็นหอรบ ไม่มียอด สมัยรัชกาลที่ ๕ เปลี่ยนแบบประตูเมืองจากทรงหอรบเป็นประตูยอด เช่น
ประตูสามยอด อยู่ใกล้กองปราบสามยอด ใกล้สะพานดำรงสถิตย์ถนนเจริญกรุง ประตูนี้ถูกรื้อในสมัย ร.๕ เพื่อขยายสร้างเป็นถนนเจริญกรุง
ประตูพฤฒิมาศ หรือ พฤฒิบาศ หรือพฤฒาบาศ อยู่ด้านตะวันออก ตรงผ่านฟ้าใกล้ป้อมมหากาฬ ออกไปวัดปรินายก ประตูนี้ถูกรื้อสมัย ร. ๕ เพื่อสร้างสะพานผ่านฟ้าและถนนราชดำเนิน
ประตูสำราญราษฎร์ อยู่ที่ถนนมหาชัยใกล้วัดราชนัดดา ตรงข้ามกับคุก ชาวบ้านเรียกกันว่า ประตูผี เพราะเป็นประตูเดียวที่ให้นำศพของราษฎรที่ตายในกำแพงพระนคร ออกไปเผานอกพระนครที่วัดสระเกศ
ประตูสะพานหัน เป็นประตูพระนคร ที่จะออกไปสู่ย่านคนจีนที่สำเพ็ง สะพานหันเป็นสะพานเหล็กข้ามคลองคูพระนคร สร้างสมัย ร.๔ สามารถหมุนหันให้เรือผ่านได้ ประตูนี้ถูกรื้อสมัยรัชกาลที่ ๖ แล้วสร้างตึกแถวแทน
สำหรับถนนในกรุงรัตนโกสินทร์สมัยแรกนั้นเป็น ถนนดินแคบๆ พอที่คน ช้างม้า และเกวียนเดินได้เท่านั้น สมัยรัชกาลที่ ๔ โปรดให้สร้างถนนบำรุงเมืองทำด้วยอิฐตะแคง พอถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงมีการปรับปรุงถนนบำรุงเมืองและเฟื่องนคร เป็นแบบสิงคโปร์และอินเดีย สร้างตึกแถวริมถนนตามแบบตึกของหลวงที่กำหนดไว้ ถนนตั้งแต่ป้อมพระสุเมรุถึงป้อมมหากาฬชื่อถนนพระสุเมรุ ถนนไปทางท่าช้างวังหน้าชื่อถนนพระอาทิตย์ ถนนมหาไชยเริ่มจากโรงไฟฟ้าวัดเลียบ ผ่านประตูผีถึงผ่านฟ้า 

การสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง

พ.ศ.๒๓๒๗ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ ทรงโปรดให้ทำการสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้ว เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกต ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง
ในบริเวณพระบรมมหาราชวังนั้น มีพระปรางค์ประดับด้วย กระเบื้องเคลือบสี ๘ องค์ทางหน้าวัดด้านตะวันออก มีชื่อดังนี้
พระสัมมาสัมพุทธมหาเจดีย์(สีขาว)
พระสัทธรรมปริยัติวรามหาเจดีย์ (สีน้ำเงิน)
พระอริยสงฆ์สาวกมหาเจดีย์ (สีชมภู)
พระอริยสาวกภิกษุณีสังฆมหาเจดีย์ (สีเขียว)
พระปัจเจกโพธิสัมพุทธามหาเจดีย์ (สีม่วง)
พระจักรวัติราชมหาเจดีย์ (สีน้ำเงิน)
พระโพธิสัตวกฤษฎามหาเจดีย์ (สีแดง)
พระศรีอริยเมตยมหาเจดีย์ (สีเหลือง)
วัดพระศรีรัตนศาสดารามนี้จะมีการบูรณะใหญ่ทุก ๕๐ ปี เริ่มแต่สมัย ร.๓ - ร.๕ - ร.๗ และในรัชกาลปัจจุบัน ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นแม่กองซ่อมใหญ่ในการฉลองพระนครครบ ๒๐๐ ปี ของ กรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.๒๕๒๕
ปีมะเส็ง พ.ศ.๒๓๒๘ มีการสมโภชพระนครกรุงรัตนโกสินทร์แห่งใหม่ โดยนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นสวดพระพุทธมนต์บนเชิงเทินบนใบเสมารอบพระนคร เสมาละ ๑ องค์ ตั้งโรงทานรอบพระนครและมีมหรสพต่างๆ (ตั้งแต่นั้นมากรุงรัตนโกสินทร์ได้เจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับตั้งแต่ รัชกาลที่.๑ - ๙ )
 
ที่มา TraveLAround

----- Forwarded Message -----
From: MaiY <maiysjc@gmail.com>
To: dhammasawasdee <DhammaSawasdee@googlegroups.com>
Sent: Thursday, 23 June 2011 6:22 PM
Subject: {นานาสาระ ธรรมะสวัสดี: ฉบับที่ 9415} คำถาม การสร้างกรุงรัตนโกสินทร์

 


กรุงเทพฯ เพิ่งได้รับการโหวต ให้เป็นเมืองท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในโลกมาหมาดๆ เรื่องนี้ไม่ได้มาง่ายๆ

เพราะ เรื่องทางลบของกรุงเทพฯก็มีข่าวอยู่บ่อยๆ แต่อย่างน้อยต้องยกคุณความดีทั้งหมด ให้กับบรรพบุรุษของเรา ที่ท่านได้สร้างและรักษามาให้ลูกหลานจนถึงวันนี้ เลยอยากพาย้อนอดีตดูสักวัน
พื้นที่ ของกรุงธนบุรีหรือบางกอกนั้น ได้มีการสร้างพระนครแห่งใหม่คือ กรุงรัตนโกสินทร์ หรือ กรุงเทพมหานคร (BANGKOK) ขึ้น หลังจากที่เกิดจลาจลในกรุงธนบุรีเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ จึงได้มีการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ที่บางกอกฝั่งตะวันออก
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
 ได้ โปรดให้ย้ายเมืองหลวงจากกรุงธนบุรีมาตั้งที่ฝั่งบางกอกตะวันออกและทำการ สร้างพระราชวังโดยพระราชทานนามว่า “ กรุงรัตนโกสินทร์อินทอยุธยา” (ต่อมาสมัย ร.๓ ทรงแก้นามพระนครเป็น “กรุงรัตนโกสินทร์มหินทราอยุธยา” สมัย ร.๔ ทรงเปลี่ยนเป็น “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา” ต่อมาเปลี่ยนคำว่า “บวรรัตนโกสินทร์” เป็น “อมรรัตนโกสินทร์” แล้วเติมสร้อยนามต่อมา(หนังสือกินเนสบุ๊ค ได้ยกให้เป็นชื่อเมืองที่ยาวที่สุดในโลก)คือ
“กรุงเทพ มหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยามหาดิลกภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์”
สถาน ที่ตั้งกรุงรัตนโกสินทร์นั้นเป็นชุมชนเก่าที่เรียกว่าบางกอก คำว่าบางกอก นั้นสันนิษฐานว่าน่าจะมาจากบริเวณแห่งนั้นที่มีต้นมะกอกมาก หรือมาจากคำว่า “บางเกาะ” หรือ “บางโคก”เนื่องจากพื้นที่บางกอกทั้งฝั่งธนบุรีและกรุงเทพนั้นมีคลองและแม่ น้ำล้อมรอบ คล้ายเกาะ และเป็นที่เนินสูงเหมือนเกาะ
สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ ทรงขอให้คนจีน (บรรพบุรุษของพระยาโชฏึกเศรษฐี ต้นสกุล โชติกเสถียร) ที่ทำแปลงสวนผักอยู่บริเวณที่จะสร้างพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดารามนั้น ย้ายไปอยู่ที่ใด



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น