วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556

Authorware 7

คู่มือการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ โดย ครูวรกิจ เพียรพิสัย

ผู้หญิงควรอ่าน

ข้อคิด ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช



ข้อคิด ม..ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช
วันนี้เอาข้อคิดของท่านอาจารย์ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ตอนอายุได้ 74 ปี
เขียนลงในงานเขียนชื่อ "ชรากถาเกี่ยวกับ ความแก่ มาฝาก

"
ความแตกต่างของคนหนุ่มกับคนแก่ แตกต่างกันตรงที่ คนหนุ่มนั้นไม่เคยแก่
แต่คนแก่นั้นเคยหนุ่มมาแล้ว"
"(
แต่) ผมอาจจะมีอะไรพิเศษอยู่บ้าง ก็ตรงที่ผม
ไม่ติดใจในความเป็นหนุ่ม เมื่อยังหนุ่มก็หนุ่มเต็มที่
ครั้นเมื่อความหนุ่มผ่านพ้นไปก็ไม่อาลัยเสียดาย
ยอมรับว่าชราและความแก่เต็มที่เช่นเดียวกับที่เคยหนุ่มเต็มที่

...... (
เมื่อคิดได้อย่างนี้)
ใจคอมันก็เบิกบานเหมือนกับเมื่อยังหนุ่มเต็มที่
....
และเมื่อรู้ว่าตัวแก่ก็ยอมรับว่าแก่ แล้วก็อยู่มันไปตามเรื่อง
แบบคนแก่
ไม่ตั้งกฎเกณฑ์จู้จี้กับคนอื่นหรือกับตนเอง และไม่เรียกร้องอะไรจากคนอื่น
ไม่กะเกณฑ์ให้คนอื่นต้องมาสนใจหรือคอยเอาใจ ...
เพราะกฎเกณฑ์ต่างๆที่ตั้งเอาไว้ให้ตนเองปฎิบัติ
หรือกิจกรรมอะไรต่อมิอะไรอีกมากมายนั้น พอแก่ต่อไปอีก
มันก็จะปฏิบัติไม่ได้ เพราะแก่เกินไป ...
เมื่อปฏิบัติไม่ได้ก็จะเป็นกังวล หงุดหงิด และขมขื่น
เพิ่มน้ำหนักแห่งทุกข์ให้กับตนเอง
ซึ่งไม่ควรอย่างยิ่งที่คนแก่จะทำเรื่องเหล่านั้นให้เกิดขึ้นมา ...
ผมจึงอยากเป็นคนแก่ที่อยู่ตามสบาย ยอมรับความแก่อย่างไม่เป็นกังวล
ความแก่นั้นทำให้ผมนุ่มนวลละมุนละไมกว่าแต่ก่อน
เหมือนผลไม้สุกคาต้น หมดความแข็งกระด้าง
มุทะลุดุดันที่เคยมีมา หมดรสเปรี้ยว รสฝาด และหมดยาง ..."

วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

24. พระอ.จวน กุลเชฏฺโฐ


24. พระอ.จวน กุลเชฏฺโฐ - วัดเจติยาคีริวิหาร (ภูทอก) อ.ศรีวิไล หนองคาย

- พระอริยเจ้าผู้มีกายและจิตสมควรแก่วิมุตติธรรม
- ท่านมีนิสัยโน้มน้อมมาทางพระธรรมตั้งแต่เยาว์วัย, เมื่อได้ฟังธรรมจากพระกรรมฐาน จิตสงบรวมเป็นหนึ่ง สามารถแยกกายและจิตได้ ท่านจึงได้สละทรัพย์และบ้านเรือนอกบวช
- ท่านมีความเพียรพยายามเป็นเลิศ, มีสติในการแก้ไขกิเลสเฉียบพลัน, อุบายธรรมและปฏิปทาเป็นปัจเจก แปลกจากครูบาอาจารย์รูปอื่น

-2493 ท่านจำพรรษาที่ถ้ำพวง อ.ส่องดาว สกลนคร ได้เกิดจิตปฏิพัทธ์หญิงสาวคนหนึ่ง - จึงคิดหาอุบายแก้ไข โดยยกภาษิต "เนื้อไม่ได้กิน หนังไม่ได้รองนั่ง ยังเอากระดูกมาแขวนคอ"
- ท่านจึงดัดนิสัยตนเองที่ไปหลงรักผู้หญิงเข้า โดยเอากระดูกช้างมาแขวนคอห้อยต่องแต่ง ท่านตั้งใจมั่นว่า 
"ตราบใดที่ใจยังตัดใจอาลัยรักในสตรีไม่ได้ ยืน เดิน นั่ง นอน ออกบิณฑบาตร ฉันข้าว ก็จะเอากระดูกช้างแขวนคอไว้ตราบนั้น" 
-ไม่ว่าท่านจะเดินจงกรม นั่งสมาธิ หรือรับกิจนิมนต์ไปในหมู่บ้านก็ตาม ท่านเอากระดูกช้างแขวนคอไว้ตลอด จนชาวบ้านเล่าลือกันว่า "ท่านเป็นบ้า"

- เมื่อท่านทำปฏิบัติอย่างนี้ เกิดความละอายใจ เห็นโทษภัยในความลุ่มหลง จิตก็คลายกำหนัดรักใคร่ในหญิงนั้น - เมื่อหลวงปู่ขาว อนาลโย ได้ถามถึงเหตุที่ท่านทำเช่นนั้น ท่านได้กราบเรียนดังที่กล่าว หลวงปู่ขาวชมว่า "อุบายนี้ดีนักแล"

- ท่านชอบท่องเที่ยวแสวงหาครูบาอาจารย์ที่อยู่ตามป่าเขาลึกๆ เช่น เข้าไปศึกษากับพระอ.หล้า ขนฺติโก พระอริยเจ้าผู้อยู่แต่เพียงโดดเดี่ยวบนสันเทือนเขาภูพาน
- ท่านมีสหธรรมิกคือ พระอ.สิงห์ทอง ธมฺมวโร - ได้รับอบรมจากพระอ.มั่นและหลวงปู่ขาว

- พระอ.มั่นยกย่องท่านว่า "กาเยนะ วาจายะ วะเจตวิทธิยา ท่านจวน! เป็นผู้มีกายและจิตสมควรแก่ข้อปฏิบัติธรรม เป็นผู้สามารถรวมจิตทีเดียวถึงฐีติจิต"

- เกิดวันเสาร์ 10 กค.2463 - แรม 10 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก - บ้านเหล่ามันแกว ต.ดงมะยาง อำนาจเจริญ
- อายุ 14-15 ปี ได้พบพระธุดงค์มาปักกลดใกล้บ้าน ก็บังเกิดความเลื่อมใส ตั้งปณิธานว่าต่อไปจะบวชอย่างท่านบ้าง - พระธุดงค์ได้มอบหนังสือ "ไตรสรณคมน์" ของพระอ.สิงห์ ขนฺตฺยาคโม ไว้ให้ - ท่านได้อ่านจึงปฏิบัติตาม เริ่มสวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ บริกรรมภาวนาจิตรวมเป็นหนึ่ง จิตอยู่เฉพาะจิต กายอยู่เฉพาะกาย เวทนาใดก็ไม่มีปรากฎเลย
- หลังจบป.6 อายุย่าง 18 ท่านได้เข้าทำราชการกรมทางหลวงแผ่นดินอยู่ 4 ปี
- ภายหลังได้รับหนังสือ "จตุราลักษณ์" ของพระอ.เสาร์ กนฺตสีโล เมื่อท่านอ่านถึงบทมรณานุสติ จิตก็สลดสังเวชว่า "เราก็ต้องตาย"

- อายุ 20 ปี ท่านสละเงินที่เก็บหอมรอมริบทั้งหมด เป็นเจ้าภาพสร้างมหากฐินคนเดียว, สร้างพระประธาน, สร้างห้องน้ำถวายสงฆ์จนเงินหมด
- อายุ 21ปี อุปสมบทเป็นพระภิกษุมหานิกาย สอบได้นักธรรมตรีพรรษานั้น และต่อมาลาสิกขา
- หลังสึกเป็นฆราวาส ท่านเดินทางไปแสวงหาอาจารย์กรรมฐานธรรมยุต และได้อุปสมบทเป็นพระธรรมยุต 24 มีค.2486 - อุปสมบทแล้ว ท่านได้ท่องปาฏิโมกข์และ 7 ตำนานจบภายใน 1 เดือน
- 2488 พรรษาที่ 3 ท่านอธิษฐานทำความเพียรจะไม่นอนและไม่ฉันตลอดพรรษา ท่านอธิษฐานว่า
"ถ้ายังมีบุญวาสนาอยู่พรหมจรรย์แล้ว ขอให้ได้นิมิตเห็นพระอ.มั่น ภูริทตฺโต"
- หลังจากนั้น 3 วัน ท่านได้นิมิตว่า 
ได้เดินทางไปสำนักพระอ.มั่น เห็นท่านกวานลานวัดอยู่ พอเห็นก็รู้ว่านี่คือท่านพระอ.มั่น ท่านเหลือบมาเห็นเข้าก็ทักพระอ.จวนอย่างดีใจว่า "อ้อ ท่านจวนมาแล้ว ท่านจวนมาแล้ว" มีความรู้สึกคล้ายพ่อเห็นลูก ลูกเห็นพ่อ - พอท่านตรงเข้าไปจะกราบนมัสการ พระอ.มั่นก็โก่งหลัง บอกให้ท่านขึ้นขี่หลังเหมือนขี่ม้า แล้วท่านจึงพาเหาะขึ้นบนอากาศจนลิบเมฆ แล้วมาลงที่กลางภูเขาลูกหนึ่ง แล้วบอกว่า "เอาละ ลงนี่แหละ พอดีพอควรแล้ว"
- ท่านพิจารณาเกิดปีติยินดีว่า คงจะมีวาสนาบารมีอยู่ในเพศพรหมจรรย์ จึงเร่งทำความเพียรต่อไป

- 2489 พรรษาที่ 4 ท่านได้ติดตาม พระอริยคุณาธาร (มหาเส็ง ปุสฺโส) ไปอยู่กับพระอ.มั่น วัดป่าบ้านหนองผือ สกล
- ขณะที่ท่านอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองผือใหม่ๆ ใจก็อดคิดตามประสาปุถุชนไม่ได้ว่า
"เขาเล่าลือกันว่า ท่านพระอาจารย์ใหญ่เป็นพระอรหันต์ เราก็ไม่ทราบว่าจริงหรือไม่ ถ้าเป็นอรหันต์จริง คืนนี้ก็ให้มีปาฏิหาริย์ให้เห็นปรากฎด้วย"
- คืนวันนั้น พอท่านภาวนา ก็ปรากฎนิมิตเห็นท่านพระอ.มั่นเดินจงกรมอยู่บนอากาศ และเหาะขึ้นลงตลอดเวลา และเวลานอนหลับก็ยังฝันเห็นนท่านเดินอยู่บนอากาศเช่นเดียวกัน - ท่านจึงยกมือไหว้ และกล่าวขอขมาว่าเชื่อแล้ว

- หลังจากนั้น ท่านก็เกิดคิดขึ้นมาอีกว่า 
"เอ เขาว่าท่านอาจารย์ใหญ่รู้วาระจิตของลูกศิษย์ทุกคน จริงไหมหนอ เราน่าจะทดลองดู ถ้าท่านอาจารย์ใหญ่รู้วาระจิตของเรา ขอให้ท่านอาจารย์ใหญ่มาหาเรา ที่กุฏิคืนวันนี้เถอะ"
- พอท่านคิดได้ประเดี๋ยวเดียว ก็ได้ยินเสียงไม้เท้าเคาะใกล้เข้ามา และกระแทกเปรี้ยงเข้าที่ฝากุฏิของท่าน พร้อมกับเสียงพระอ.มั่นเอ็ดลั่นว่า
"ท่านจวน ทำไมจึงไปคิดอย่างนั้น นั่นไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ รำคาญเรานี่"

- พรรษาที่ 5-6 ปี2490-2491 จำพรรษาที่วัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่ คืนหนึ่ง ขณะนั่งภาวนาในโบสถ์มีนิมิตว่า มีพระเถระรูปหนึ่งได้มาให้โอวาทตักเตือนว่า
"ท่านจวน ท่านอย่าวางแผ่นดิน เพราะความประพฤติของท่านยังไม่สม่ำเสมอ"
- ท่านได้มาพิจารณาดู - แผ่นดินแปลว่า ให้มีความหนักแน่นเหมือนแผ่นดิน - เมื่อถูกกระทบกระเทือนจากอารมณ์ ก็อย่าวอกแวกตั้งใจให้เป็นสมาธิ ไม่หวั่นไหวฟุ้งซ่าน - ท่านจึงได้เขียนจดหมายกราบเรียนถามพระอ.มั่นถึงนิมิตนี้
- พระอ.มั่นได้ตอบจดหมายว่า
"ถึงท่านจวนที่อาลัยยิ่ง
...ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผมได้แนะนำให้ท่านนั้น ขอให้ท่านจงตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติดำเนินไปตามคำที่ผมแนะนำ อย่าได้ประมาท เพื่อจะได้เป็นเกียรติยศแก่พระพุทธศาสนาต่อไป"


- หลังจากนั้นท่านออกวิเวกอยู่บนดอยกับชาวเขาทางเหนือติดพม่า เข้าเชียงตุง พม่า แล้วกลับอีสาน- เมื่อกราบนมัสการพระอ.มั่นที่วัดบ้านหนองผือ พระอ.มั่นได้ถามว่าการภาวนาเป็นอย่างไรบ้าง - ท่านกราบเรียนว่า
"ไม่ดีเหมือนอยู่กับพ่อแม่ครูบาอาจารย์"
พระอ.มั่นจึงบอกว่า "ต่อไปนี้ให้ภาวนาอยู่ทางภาคอีสานนี้แหละ อย่าไปที่อื่นอีกเลย"
- จากนั้นท่านธุดงค์อยู่ป่าเขาถ้ำอีสานมาตลอด

- พรรษา 27-38 พ.ศ.2512-2523 ท่านสร้างวัดเจติยาคิรีวิหาร (ภูทอก) อ.ศรีวิไล หนองคาย ให้เป็นศาสนสถานที่สำคัญสำหรับผู้มุ่งปฏิบัติธรรม - เมื่อใครไปแล้วต่างเกิดซาบซึ้งศรัทธาถ้วนหน้า


- อนุปาทิเสสนิพพานวันอาทิตย์ที่ 27 เมย.2523 - ด้วยอุบัติเหตุเครื่องบินตก ณ ท้องนาทุ่งรังสิต อ.คลองหลวง ปทุมธานี - พร้อมกับพระอ.บุญมา ฐิตเปโม, พระอ.วัน อุตฺตโม, พระอ.สิงห์ทอง ธมฺมวโร, พระอ.สุพัฒน์ สุขกาโม
- 59 ปี 38 พรรษา

ข้อมูล : http://www.bloggang.com

25. พระอ.สิงห์ทอง ธมฺมวโร


25. พระอ.สิงห์ทอง ธมฺมวโร - วัดป่าแก้วชุมพล บ้านชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

- พระอริยเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ประเภทสุขวิปัสสโก
- เป็นผู้เคร่งครัดปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ, มีปฏิปทาเที่ยงตรงต่ออริยมรรคอริยผล, มีนิสัยเด็ดเดี่ยวเอาจริงเอาจัง, มีความเพียรเป็นเลิศ, โปรดการเดินจงกรมเป็นพิเศษ, การใช้ปัจจัยสี่ก็ใช้อย่างประหยัดมัธยัสถ์ ไม่สุรุ่ยสุร่าย แม้ของนั้นจะมีมากก็ตาม, ท่านไม่นิยมการก่อสร้างทุกชนิด, แม้งานในวัดก็ไม่ให้มี, ชอบให้พระเณรสร้างจิตใจเพื่อมรรคผลนิพพาน

- ท่านเป็นพระผู้มีอารมณ์ขัน, แสดงออกตรงไปตรงมา, อารมณ์ดีเสมอ, เทศนาและโอวาทท่านน่าฟังมาก โดยเฉพาะเมื่ออยู่กับศิษย์ใกล้ชิด ท่านจะมีเรื่องราวขำขันชวนหัวเราะอยู่เสมอ แต่เป็นหลักธรรมชวนพิจารณา

- ท่านเป็นศิษย์ใกล้ชิดหลวงตามหาบัว และได้รับความไว้วางใจจากหลวงตามหาบัวเป็นพิเศษ
1. ให้เป็นประธานฝ่ายบรรพชิตในการดำเนินงานศพของหลวงปู่บัว - พระอริยเจ้าแห่งวัดป่าหนองแซง อุดร
2. ให้เป็นประธานดำเนินงานศพของหลวงตามหาบัว หากหลวงตาละสังขารไปก่อนท่าน

- เกิดวันเสาร์ 12 กค. 2467- ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 8 ปีชวด - บ้านศรีฐาน ต.กระจาย ยโสธร
- ท่านมีเพื่อนสหธรรมิกและเพื่อนตาย คือ พระอ.จวน กุลเชฏฺโฐ, พระอ.วัน อุตฺตโม - ท่านทั้งสามมักจะไปไหนไปด้วยกัน, รับกิจนิมนต์มักจะไปพร้อมกัน, แม้สุดท้ายนิพพาน ท่านก็นิพพานพร้อมกัน

- ระหว่างจำพรรษาที่วัดป่าศรีฐานใน ท่านได้เกิดสุบินนิมิตว่า 
"มีพาหนะ 3 ชนิดคือ ช้างเผือก, ม้าขาว และวัวอุสุภราช - ท่านได้ขี่พาหนะทั้ง 3 ตัวในขณะเดียวกัน และได้ยินเสียงดนตรีบรรเลงออกมาจากหมู่บ้าน ดังมายังศาลาวัด คล้ายชาวบ้านจะมาทอดผ้าป่าหรือทำการกุศลชนิดใดชนิดหนึ่ง - แต่พอมาถึง ปรากฎว่าไม่มีคน มีแต่ดอกไม้นานชนิดลอยมาสูงระดับหน้าอกแล้วเวียนรอบศาลา - ตื่นจากความฝัน ทำให้ท่านมั่นใจว่า การบวชของท่านนั้นจะบรรลุผลอันพึงพอใจ"

- พรรษาที่ 5 จำพรรษากับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ - วัดป่าบ้านนาหัวช้าง อ.พรรณานิคม ปัจจุบันคือวัดป่าอุดมสมพร
- พรรษาที่ 6 จำพรรษากับหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร - วัดป่าบ้านโคกมะนาว อ.พรรณานิคม ท่านเล่าว่า
"การภาวนาเริ่มจะยาก ภาวนาผ่านทุกขเวทนาไม่ได้" ต่อสู้หลายหนแต่เอาชนะไม่ได้ -จึงนำอุบายที่หลวงตามหาบัวแนะนำ โดยให้ใช้สติปัญญาพิจารณาแยกแยะธาตุขันธ์ด้วยการตั้งสัจจะว่า
"จะสู้กับทุกขเวทนี้แบบสละชีวิต เพื่อให้รู้เห็นความจริงของทุกข์ ถึงแม้จะปวดหนักปวดเบาขนาดไหน จะไม่ยอมลุกหนี จะปล่อยให้มันออกมาเลย - ถ้าผ่านทุกขเวทนี้ไม่ได้แล้ว จะไม่ยอมลุกจากที่นั่งเด็ดขาด"
- ท่านต่อสู้อยู่นานหลายชั่วโมง ปรากฎว่าท่านผ่านไปได้ จิตสงบรวมลงน่าอัศจรรย์ ทำให้ท่านมีกำลังใจในการปฏิบัติอย่างมาก

- วิเวกไปอ.สว่างแดนดิน, อ.ส่องดาว,อ.วาริชภูมิ ได้ไปพักกับหลวงปู่ขาว อนาลโย - ขณะพักที่บ้านหวายสะนอย (ภูเหล็ก) อ.ส่องดาวกับหลวงปู่ขาวนั้น ท่านว่าการภาวนาดีมาก นอนนิดเดียวก็อิ่ม จิตสงบละอียดดีมาก
- 2495-2497 พรรษาที่ 9-11 จำพรรษากับหลวงตามหาบัว ที่บ้านห้วยทราย อ.คำชะอี มุกดาหาร
-2499-2502 พรรษาที่ 13-16 จำพรรษากับหลวงตามหาบัวที่วัดป่าบ้านตาด อุดร
- 2508 หลวงปู่ขาวได้แนะนำให้ชาวบ้านชุมพล ไปนิมนต์ท่านมาอยู่เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าแก้วชุมพล

- อนุปาทิเสสนิพพานวันอาทิตย์ 27 เม.ย. 2523 - ด้วยอุบัติเหตุเครื่องบินตก ณ ท้องนาทุ่งรังสิต คลองหลวง ปทุมธานี - พร้อมกับพระอ.บุญมา ฐิตเปโม, พระอ.จวน กุลเชฏฺโฐ, พระอ.วัน อุตฺตโม, พระอ.สุพัฒน์ สุขกาโม
- 55 ปี 35 พรรษา

ข้อมูล : http://www.bloggang.com

26. หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต


26. หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต- วัดภูจ้อก้อ ต.หนองสูงใต้ อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร

- พระอริยเจ้าผู้เป็นดั่งผ้าเช็ดเท้าท่านพระอ.มั่น
- ท่านบากบั่น อุตสาหะ, พยายามอย่างยิ่งยวดเพื่อหาทางพ้นทุกข์ ,บารมีธรรมคำสั่งสอนเป็นที่ซาบซึ้งถึงใจ และหยั่งรากฝังลึกลงในหัวใจของมหาชน, สั่งสอนศิษย์ด้วยเมตตาธรรม ดุจพ่อแม่อบรมสั่งสอนลูก
- เป็นศิษย์รุ่นสุดท้ายของพระอ.มั่นที่สำคัญยิ่งรูปหนึ่ง,หลังท่านละสังขารไม่นาน อัฐเป็นพระธาตุ
- หลวงตามหาบัวชมและยกย่องท่านว่า 
"เป็นพระที่ซื่อสัตย์ต่อครูอาจารย์ เอาใจใส่ในอาจาริยวัตรเสมอ, แม้ถูกดุด่าก็อดทนต่อคำสั่งสอน ไม่เหนื่อยหน่ายต่อโอวาทธรรมที่ครูอาจารย์พร่ำสอน และเป็นดั่งผ้าเช็ดเท้าของท่านอาจารย์มั่น"

- ท่านถวายอุปัฏฐากแด่ท่านพระอ.มั่นอย่างใกล้ชิด, มีภาระหลายหน้าที่ เช่น สรงน้ำ, ซักย้อมสงบจีวร, ตามไฟถวายเมื่อองค์ท่านจงกรมในยามค่ำคืน่, ดูแลไฟให้ความอบอุ่นยามหนาวเย็น, ชำระอุจจาระปัสสาวะเมื่อองค์ท่านอาพาธ - ท่านได้สังเกตศึกษา ปฏิปทา และจริยาวัตรพระอ.มั่นอย่างใกล้ชิดต่อเนื่องตลอดเวลา 4 ปีสุดท้ายของพระอ.มั่น

- เกิดวันจันทร์ 19 กพ.2454 - ขึ้น 3 ค่ำ ปีกุน - บ้านกุดสระ อ.เมือง อุดร
- อายุ 18 ปี บวชเณร, อุปสมบท 2473 ไม่นานลาสิกขา - ได้แต่งงาน 2 ครั้ง มีบุตร 1 คนกับภรรยาคนแรก, มีบุตร 3 คนกับภรรยาคนต่อมา
- อายุ 32 ปี บวชอีกครั้ง 2486 , ญัตติเป็นธรรมยุต 2488 

- 2489 ฝากตัวเป็นศิษย์พระอ.มั่น และตั้งสัจวาจาว่า 
"ขอมอบกายถวายชีวิตต่อท่านพระอ.มั่น ผูกขาดทุกลมปราณ ตลอดทั้งคณะสงฆ์ในที่นี้ทุกๆ องค์ด้วย"
- พระอ.มั่น สอนสั้นๆว่า 
"กรรมฐาน 40 ห้อง เป็นน้องอาปานสติ - อานาปานสติเป็นยอดมงกุฎของกรรมฐานทั้งหลาย"

- หลวงตามหาบัว ซึ่งเป็นพระเถระที่ดูแลหมู่คณะได้กล่าวเตือนว่า
"เอาให้ดีนะ เมื่อคุณได้มอบกายถวายตัวกับองค์ท่านแบบแจบจมอย่างนี้แล้ว ต้องเข่นหนักนะ"

- 2493 จำพรรษากับหลวงปู่เทสก์ เทสฺรงฺสี- วัดโคกลอย พังงา
- 2494-95 จำพรรษากับหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ - วัดป่าตะโหนด อ.ตะกั่วทุ่ง พังงา
- 2496-2499 จำพรรษากับหลวงตามหาบัว - ป่าบ้านห้วยทราย อ.คำชะอี มุกดาหาร
- 2500 เป็นต้นมา จำพรรษาที่วัดภูจ้อก้อ

- 19 มค.2539 หลวงตามหาบัว ได้มาเยี่ยมอาการอาพาธของหลวงปู่หล้า ซึ่งแพทย์กราบเรียนว่าไม่สามารถแก้ไขให้ดีขึ้นอีกได้ - หลวงตามหาบัวได้เมตตาแนะนำว่า เมื่อการรักษาไม่เกิดประโยชน์อะไรแล้ว ก็ควรหยุดการรักษา ปล่อยให้ท่านอยู่กับธรรมชาติของท่าน"

- ละสังขาร 19 มค.2539 เวลา 13.59
- ถวายเพลิงศพ 28 มค.2539 โดยหลวงตามหาบัวเป็นประธาน 
- 84 ปี 52 พรรษา

ข้อมูล : http://www.bloggang.com

27. หลวงปู่ผาง ปริปุณฺโณ


27. หลวงปู่ผาง ปริปุณฺโณ- วัดประสิทธิธรรม บ้านดงเย็น อ.บ้านดุง อุดรธานี

- พระอริยเจ้าผู้ปรารภความเพียร 
- ท่านท่องเที่ยวธุดงค์ไปทั่วไทย, ไม่หวั่นไหวในสุขและทุกข์, นอบน้อมถ่อมตนเข้าหาสำนึกครูบาอาจารย์เสมอ, มีความเป็นอยู่เรียบง่าย แต่ทุกท่วงท่ากิริยาแฝงไปด้วยความหมายแห่งธรรม

- ท่านเป็นศิษย์ต้นและเป็นทายาทธรรมของหลวงปู่พรหม จิรปุญโญ
- ท่านได้ปฏิบัติธรรมติดตามพระอรหันต์องค์สำคัญๆทั้งนั้น เช่น พระอ.มั่น, หลวงปู่พรหม , หลวงปู่แหวน, หลวงปู่ฝั้น, หลวงปู่ชอบ, หลวงปู่ขาว, หลวงปู่ตื้อ, หลวงปู่เทสก์ เป็นต้น

- เกิด 5 เมย.2469 - แรม 6 ค่ำ เดือน 4 ปีขาล - บ้านดงเย็น อุดร
- อุปสมบทอายุ 20 ปี- 2490 จำพรรษากับหลวงปู่พรหมที่วัดประสิทธิธรรมกับหลวงปู่พรหม, ออกพรรษาแล้วได้ติดตามพระอ.มั่น ที่วัดบ้านหนองผือ สกล
- 2491 ตั้งใจจะไปจำพรรษากับพระอ.มั่น แต่กุฏิไม่เพียงพอ - พระอ.มั่นจึงเมตตาให้ท่านไปจำพรรษาที่วัดม่วงไข่ สกล
- 2492 จำพรรษาภูเก้า อ.โนนสัง อุดร - ออกพรรษา วิเวกไปอ.ศรีเชียงใหม่ หนองคาย พักศึกษากับหลวงปู่เทสก์
- 2493 ติดตามหลวงปู่พรหม ซึ่งเตรียมงานประชุมเพลิงองค์หลวงปู่มั่น และได้กราบนมัสการหลวงปู่ขาว - ติดตามหลวงปู่ขาวไปธุดงค์ตามเทือกเขาภูพาน ,ไปศึกษากับหลวงปู่คำดี ปภาโสที่วัดถ้ำผาปู่ เลย ติดตามหลวงปู่คำดีไปยังภูเขาควาย ประเทศลาว
- 2494 จำพรรษาวัดบ้านนาเชือก จ.เลย, ออกพรรษาไปอุปัฏฐากหลวงปู่พรหม- ได้ปฏิบัติธรรมกับหลวงตามหาบัว ,หลวงปู่บัวคำ ,อ.บัว ที่บ้านสามผง
- 2496 จำพรรษากับพระอ.ทองสุก,พระอ.เมฆที่อ.วังสะพุง - ออกพรรษาแล้ววิเวกไปถ้ำผาบิ้ง เพื่อศึกษาธรรมกับหลวงปู่ชอบ
- 2497 ศึกษาธรรมกับหลวงปู่แหวน ที่วัดป่าบ้านปง อ.แม่แตง เชียงใหม่ - หลวงปู่ชอบพาท่านธุดงค์ไปวัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว เชียงใหม่ ได้พบหลวงปู่สิม,หลวงปู่ตื้อ, หลวงปู่หลุย
- 2506 วิเวกทางดงหม้อทอง, ภูวัว ภูทอก -ไปพักกับพระอ.จวน แล้ววิเวกต่อยังภูลังกา
- 2507 จำพรรษากับหลวงตามหาบัว ที่วัดป่าบ้านตาด, วิเวกทางหนองคาย, ลุ่มน.โขง
- 2508 จำพรรษาที่น้ำหนาว เพชรบูรณ์
- 2509 จำพรรษาที่วัดป่าแก้วชุมพล กับพระอ.สิงห์ทอง ธมฺมวโร จ.สกลนคร
- 2512-2516 จำพรรษาที่วัดประสิทธิธรรม ประชุมเพลิงหลวงปู่พรหมเรียบร้อย ท่านได้นำคณะศรัทธาก่อสร้างเจดีย์บรรจุอัฐธาตุและอัฐบริขารของหลวงปู่พรหม
- 2539 จำพรรษาที่วัดประสิทธิธรรม บ้านดงเย็น อ.บ้านดุง อุดร

- อนุปาทิเสสนิพพานด้วยโรคมะเร็งในตับ - ศุกร์ 15 กพ. 2545 - 23.35 น.
- 76 ปี 54 พรรษา

ข้อมูล : http://www.bloggang.com

28. หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต


28. หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต - วัดอุดมคงคาคีรีเขต (ดูน) ต.นางาม อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

- พระอริยเจ้าผู้เป็นที่พึ่งของเหล่าพวกกายทิพย์ มีภูตผี พญานาค เทวบุตร เทวดา เป็นต้น
- เหล่าเทวดามักเรียกชื่อท่านว่า "หลวงพ่อน้อยสัตย์ซื่อ" - เพราะเทวดาเอาเหล็กไหลของศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายมาวางไว้ในถ้ำน้ำหนาวที่ท่านพักภาวนาอยู่ ท่านไม่เคยจะสนใจจะหยิบฉวยเอาเลย
- หลวงตามหาบัวกล่าวยกย่องท่านว่า "ท่านเป็นพระประเภทเพชรน้ำหนึ่ง"

- ท่านอุปสมบทถึง 3 ครั้ง ครั้งสุดท้ายได้ถวายตัวเป็นศิษย์พระอ.มั่น ที่วัดบ้านหนองผือ
- พระอ.มั่นได้ให้โอวาทว่า "ให้เที่ยวไปองค์เดียว อยู่คนเดียว และตายคนเดียว"

- ท่านรู้ภาษาสัตว์ ไม่ว่าสัตว์บกหรือสัตว์น้ำ ท่านสามารถสั่งสอนให้อยู่ในโอวาทได้อย่างน่าอัศจรรย์ โดยเฉพาะจระเข้กับงู ผูกพันใกล้ชิดกับท่านเป็นพิเศษ - ท่านสามารถเรียกให้ไปมาได้
- วันที่ท่านนิพพาน จระเข้ที่ท่านเลี้ยง ร้องไห้เสียงดังถึง 3 วัน - ท่านจึงมีคุณสมบัติเด่นในเรื่องลึกลับที่ปุถุชนสัมผัสและเข้าใจได้ยาก

- ท่านเป็นพระพูดน้อยแต่ปฏิบัติมาก ธรรมะที่ท่านแสดงใจความสั้นๆ แต่แหลมคมว่า
"ชีวิตของเรามีเพียงบาตรใบเดียวก็อยู่ได้ และเพียงพอแล้ว"
ท่านทรงจำภาษิตอีสานเก่าๆ ที่เป็นคติธรรมเตือนใจ เช่น
"มีซือบ่ให้ปรากฎ มียศบ่ให้ลือชา มีตำราบ่ให้เฮียนยาก"

- สิ่งใดๆ ถ้าท่านได้ตั้งสัจจะว่าจะทำอะไรแล้ว ท่านจะต้องทำได้จริงๆ แม้นจะยากลำบากสักเพียงใด ท่านจะพยายามทำให้สำเร็จจนได้
- สัจจะบารมี คือคุณธรรมอันเลิศที่หลวงปู่ผางถือปฏิบัติ และเป็นปฏิปทาที่ควรถือเอาเป็นแบบอย่าง

- หลวงปู่คำดี ปภาโส พระอริยเจ้าแห่งวัดถ้ำผาปู่ จ.เลย ได้กล่าวยกย่องหลวงปู่ผางว่า
"หลวงพ่อผาง ท่านเป็นพระที่ปฏิบัติจริงจังมาก ปฏิบัติแบบสละชีวิต ในคราวที่ท่านบำเพ็ญเพียรที่ถ้ำน้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ ในปี 2513 ได้พบโมกขธรรม(หลุดพ้น) จิตของท่านสว่างไสวทั้งกลางวันและกลางคืน"

- เกิดอังคาร 5 สค.2445 - ขึ้น 2 ค่ำเดือน 9 ปีขาล - บ้านกุดกะเสียน อ.เขืองใน อุบล
- 2465 อายุ 20 อุปสมบทพระมหานิกาย และลาสิกขา ได้มีครอบครัวอยู่หลายปี แต่ไม่มีลูก
- อายุ 43 ปี ได้ชวนภรรยาออกบวช ภรรยาได้บวชเป็นแม่ชี ท่านบวชในสงฆ์มหานิกาย แต่ไปศึกษากับพระอ.สิงห์ และพระอ.มหาปิ่น จึงเกิดความเลื่อมใส
- อายุ 47 ปี ขอญัตติ 2491 - อบรมในสำนักพระอ.สิงห์พอสมควร จึงธุดงค์วิเวกลำพัง และเข้าอบรมกับพระอ.มั่น พอสมควร จากนั้นท่องเที่ยววิเวกผู้เดียวในป่าเขาจ.เพชรบูรณ์ ถิ่นทุรกันดารหลายปี
-2492 จำพรรษาวัดป่าบังลังก์ศิลาทิพย์ บ้านแท่น ,แล้วธุดงค์ต่อยังภูผาแดง อ.มัญจาคีรี - ชาวบ้านเรียนที่นั่นว่า "ดูน" มีน้ำไหลออกมาจากภูเขาตลอดปี และชาวบ้านถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะไม่มีพระรูปใดเข้าไปอยู่ได้ - ท่านอยู่จำพรรษาที่นั่นหลายปี และได้ตั้งชื่อวัดว่า "วัดอุดมคงคาคีรีเขต"

- วันเสาร์ที่ 30 เม.ย.2520- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษ์ เสด็จพระราชดำเนินปิดทองฝังลูกนิมิต และนมัสการหลวงปู่ผาง

- อนุปาทิเสสนิพพาน 24 มีค.2525 เวลา 16.45- วัดอุดมคงคาคีรีเขต 
- 80 ปี 34 พรรษา

ข้อมูล : http://www.bloggang.com

18. หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน


18. หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน (พระธรรมวิสุทธิมงคล) - วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง อุดรธานี

- พระอริยเจ้าผู้เป็นมหาบุรุษของแผ่นดิน
- ท่านยิ่งใหญ่ด้วยบุญบารมี เป็นมหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุค, ทำประโยชน์ใหญ่ให้แก่ชาติและพระพุทธศาสนา, เป็นพระของแผ่นดินไทยที่ประวัติศาสตร์ต้องจดจารึกเป็นศักดิ์ศรีและเกียรติยศประดับวงศ์พระพุทธศาสนาอย่างสง่างาม, ปฏิปทาและคำสอนของท่านหาผู้ใดเสมอเหมือนได้ยาก
- ท่านสามารถทำในเรื่องที่บุคคลอื่นทำได้ยาก เรื่องที่ยากแสนยาก เมื่อท่านดำริ กลับเป็นเรื่องง่ายประดุจพลิกแผ่นดินได้ ท่านคิดทำเรื่องใดไม่ว่าน้อยใหญ่ กิจนั้นสำเร็จราวปาฏิหาริย์

- ท่านเล่าว่า "เดิมจริงๆ ท่านเคยปรารถนาพุทธภูมิ แต่มาพิจารณาเห็นว่าจะเป็นการเนิ่นช้า จึงถอนความปรารถนานั้นเสีย มุ่งตรงเข้าสู่แดนนิพพานโดยตรง"
- พระอ.มั่น ไว้วางใจและยกย่องท่านว่า 
"เป็นผู้ฉลาดทั้งภายนอกภายใน ต่อไปจะเป็นที่พึ่งแก่หมู่คณะได้มาก"
ยามที่พระอ.มั่นนิพพานไป ท่านจึงเป็นแม่ทัพใหญ่ ทดแทนสืบทอดมรดกมรรคปฏิปทาเหมือนยามที่ท่านพระอ.มั่นยังปรากฎอยู่

- 2482 พระอ.มั่นได้กล่าวยกย่องและทำนายภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งซึ่งยังไม่เคยพบเห็นกันมาก่อน ด้วยอนาคตังสญาณว่า
"ในอนาคตอีกไม่นาน จักมีพระหนุ่มรูปหนึ่ง เข้ามาหาเราเพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ เธอจะทำประโยชน์ใหญ่ให้แก่ประเทศชาติและพระพุทธศาสนา"
- และต่อมาเป็นที่ทราบกัว่า ภิกษุหนุ่มรูปนั้นคือ "พระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน"

- เกิด 12 สค.2456 - บ้านตาด อุดรธานี
- ก่อนเกิด โยมบิดาได้สุบินนิมิตว่า "ได้มีด มีดด้ามงาที่ฝักเคลือบด้วยเงิน"
โยมมารดาสุบินนิมิตว่า "ได้ต่างหูทองคำ 1 ข้าง สวยงามมาก"
- โยมตาได้ทำนายสุบินนิมิตไว้ 2 อย่าง
1. ถ้าไปในทางชั่ว มหาโจรสู้ไม่ได้ ยังเป็นหัวหน้ามหาโจรอีก
2. ถ้าไปในทางที่ดีแล้ว จะดีจนถึงที่สุด

- ท่านศึกษาปริยัติ 7 ปี สอบได้นักธรรมเอกและเปรียญธรรม 3 ประโยค - ได้รับความอนุเคราะห์จากสมเด็จมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) เป็นอย่างยิ่ง

- 2485-2492 ท่านได้ไปศึกษาและปฏิบัติธรรมกับพระอ.มั่น 8 ปี - ยอมสยบในภูมิจิตภูมิธรรมอันละเอียดอ่อนแยบยลที่ท่านพระอ.มั่นอบรมสั่งสอนถึง 3 วาระ
- วาระที่ 1 - ท่านนั่งสมาธิตลอดรุ่งติดต่อกันหลายวัน จนก้นพุพองแตกน้ำเหลืองไหลเยิ้ม - 
พระอ.มั่นให้อุบายว่า "กิเลสไม่ได้อยู่ที่กายนะ มันอยู่ที่ใจ -เหมือนสารถีฝึกม้า ถ้าม้าหายพยศ การฝึกหนักควรลดลง"
- วาระที่ 2 - ท่านติดสมาธิอยู่ถึง 5 ปี ่จิตสงบแน่วไม่หวั่นไหวดั่งภูผาหิน 
พระอ.มั่นให้อุบายว่า "สุขในสมาธิเท่ากับเนื้อติดฟัน -สมาธิทั้งแท่ง เป็นสมุยทัยทั้งแท่ง - ให้ออกเดินทางด้านปัญญา"
- วาระที่ 3 - ท่านเพลินในการพิจารณาด้านปัญญาทั้งวันทั้งคืนเกินตัว ไม่หลับไม่นอน คิดตำหนิสมาธิว่านอนตายอยู่เฉยๆ ปัญญาต่างหากสามารถแก้กิเลสได้ พระอ.มั่นให้อุบายว่า "บ้าหลงสังขาร" 
- คือการพิจารณาเพลินเกินตัว ไม่รู้จักประมาณ - สมุทัยแทรกเข้าในจุดนี้ - ให้พักจิตเข้าสมาธิ เหมือนถอนเสี้ยนหนาม -จากนั้นก็เข้าสู้มหาสติมหาปัญญา กิเลสที่ใดตามต้อนจนหมด

- ท่านอยู่อุปัฏฐากรับใช้พระอ.มั่นจนนิพพานในวันที่ 11 พย.2492

- ท่านได้บรรลุธรรมขั้นสูงสุดวันที่ 15 พค.2493 - แรม 11 ค่ำ เดือน 6 - เวลา 5 ทุ่มตรง บนหลังเขา วัดดอยธรรมเจดีย์ จ.สกลนคร

- มกราคม 2553 หลวงตาพระมหาบัวญาณสัมปันโน อายุ 97 ปี พรรษา 76 ได้ยอมสละชีวิตเลือดเนื้อ รบกับความจนในชาติอย่างเด็ดเดี่ยว เมตตามอบทองคำและดอลลาร์เข้าสู่คลังหลวง รวม 15 ครั้ง ทองคำ 967 แท่ง น้ำหนักรวม 12,087.5 กก. ดอลลาร์ 10,214,600$ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนสินทรัพย์ค้ำชูประเทศไทยให้อยู่ยั่งยืนมั่นคง 
-(ข้อมูล 2553)

- ด้วยความเมตตาไม่มีประมาณต่อสัตวโลก หลวงตายังสงเคราะห์ต่อไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่ - แม้ชีวิตล้มมลายลงไป ปัจจัยทั้งหมดที่มหาชนศรัทธานำมาถวายในงานศพในอนาคต ท่านมีพินัยกรรมให้นำมอบเข้าสู่พระคลังหลวง ให้เป็นสมบัติของชาติเป็นทุนของลูกหลานสืบไป

- นี่คือชีวิตพระอรหันต์ที่ยังทรงธาตุขันธ์ให้ชาวโลกได้ชื่นชมบุญบารมี - บาทวิถีที่ท่านก้าวย่างผ่านไป นำความสงบสุขและแสงสว่างมาให้แก่สัตวโลกทั้งปวง

ข้อมูล : http://www.bloggang.com

19. หลวงปู่มหาเขียน ฐิตสีโล


19. หลวงปู่มหาเขียน ฐิตสีโล (พระอริยเวที) - วัดรังสีปาลิวัน ต.โพน อ.คำม่วง กาฬสินธุ์

พระอริยเจ้าผู้แตกฉานในอรรถและธรรม
- ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ชำนาญทั้งคันถธุระและวิปัสสนาธุระ - ท่านละทิ้งเกียรติยศตำแหน่งในการบริหารคณะสงฆ์ มุ่งเพียงเกียรติอันยิ่งใหญ่คือพระนิพพาน - ละจากความเป็นพระบ้านเข้าสู่ความเป็นพระป่าได้อย่างสนิทใจ 

- อุปนิสัยพูดจริงทำจริง, เรียนจริงปฏิบัติจริง บากบั่นมุมานะ ไม่ท้อแท้ต่ออุปสรรคที่มาถึง, รักสงบ, สำรวมระวัง, ปฏิบัติตนเคร่งครัดในธรรมวินัย, ไม่ชอบคลุกคลี, ซื่อตรงต่อธรรมวินัย, หนักแน่นด้วยหิริโอตตัปปะธรรม, มักน้อย, สันโดษ, เรียบง่าย มีระเบียบบริบูรณ์ด้วยข้อปฏิบัติไตรศึกษา ถวายตัวเป็นศิษย์พระอ.มั่น ณ วัดหนองผือนาใน สกล
-ท่านได้บำเพ็ญคุณประโยชน์ไว้ในพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก ทั้งด้านการศึกษา ด้านการปกครอง ด้านการเผยแผ่ ตั้งแต่บรรพชาอุปสมบทจนตลอดอายุขัย

- เกิดวันพุธ 29 ตค 2456 - เดือน12 ปีฉลู - หมู่บ้านโพน อ.คำม่วง กาฬสินธุ์
- 2484 สอบไล่ได้เปรียญธรรม 9 ประโยคที่วัดบวรนิเวศวิหาร พร้อมกับสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)

- ครั้งได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระอ.มั่น กัณฑ์แรกเรื่อง "โทษของการเกิด" และกัณฑ์ที่2 เรื่อง "มุตโตทัย" - ท่านถึงกับลุกจากที่นั่งไปกราบพระอ.มั่น พร้อมกล่าวคำปฏิญาณว่า
"สาสเน อุรํ ทตฺวา ขอมอบกายถวายชีวิตนี้แก่พระพุทธศาสนา ชีวิตทั้งชีวิตนี้ขอมอบไว้ในพระศาสนา ขอให้ท่านพระอาจารย์เป็นสักขีพยานด้วย"
- จากนั้นตราบจนสิ้นอายุขัย ท่านได้ทำสัจวาจานั้นให้เป็นที่ปรากฎแก่ชนทั้งหลาย

- ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดสุทธจินดาลำดับที่ 3 - ท่านมีแนวคิดกว้างไกล บริหารภายในวัด ตั้งเป้าไว้สูงให้พระเณรศิษย์วัดปฏิบัติตามเคร่งครัดและคัดเลือกหมู่คณะเข้ารับการอบรมที่วัดบวร ให้กลับมาเป็นบุคคลากรบริหารวัดช่วยเจ้าอาวาส
- ท่านริเริ่มก่อตั้งมูลนิธิ "สุทธจินดาราชสีมามูลนิธิ" - ได้ผลงานตามวัตถุประสงค์ ทุนทรัพย์เติบใหญ่
- เมื่อวางรากฐานการปกครองและการศึกษา เข้าสู่ความเจริญตามเป้าหมาย - ท่านได้ประกาศท่ามกลางคณะสงฆ์อย่างอาจหาญว่า "จะออกปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานในป่า"
- ตั้งแต่ 2500 เป็นต้น ท่านได้สร้างวัด รังสีปาลิวัน บ้านโพน อ.คำม่วง กาฬสินธุ์ และได้ออกบำเพ็ญตามถ้ำ ผาหลายแห่ง

- ท่านปรารภถึงชีวิตท่านขณะเป็นพระอยู่ในเมืองว่า
"ชีวิตวันหนึ่งคืนหนึ่ง รู้สึกว่าจะน้อยมาก สำหรับที่จะทำความเพียร ไม่เพียงพอเลย - วันหนึ่งๆ มีแต่ต้อนรับผู้คน พูดคุยเรื่องต่างๆ เสียเวลาทำความเพียร เป็นการทำชีวิตให้เป็นหมัน เพราะเรื่องที่พูดนั้นเป็นเรื่องข้างนอกทั้งนั้นเป็นการคลุกคลีด้วยหมู่คณะจนเกินไป อันเป็นทางให้เกิดความประมาท- เป็นปปัญจธรรมคือธรรมอันเป็นเหตุให้เนิ่นช้าในคุณธรรมอันยิ่งขึ้นไป - หลงตัวลืมตัวมัวเมามืดมน อนธการ - คิดๆดูแล้ว ก็สงสารหมู่คณะที่อยู่ในเมือง
ถ้าจะให้เรากลับมาอยู่ในเมืองอีก ให้ตายเสียยังจะดีกว่า - เพราะรู้สึกอึดอัดคับแค้นใจมาก - ฟัง คิด พิจารณา เกิดมากี่ภพกี่ชาติ จึงจะมีโอกาสงามสำหรับบำเพ็ญสมณธรรมเช่นชาตินี้ - "ทุลฺลภขณสมฺปตฺติ"สมณศักดิ์ ตำแหน่ง ห้ามอบายภูมิไม่ได้ - แต่คุณความดี และศีล สมาธิ ปัญญาเท่านั้น ที่ห้ามอบายภูมิได้"

- 4 มิย. 2527 อายุ 71 ปี ท่านป่วยอัมพาต เพราะเส้นโลหิตในสมองแตก ทำให้พูดออกมาไม่เป็นคำพูด ฟังยาก แขนขาซีกขวาไม่ทำงาน ช่วยตัวเองได้ 10% - ท่านป่วยนานถึง 19 ปี ลูกศิษ์ใกล้ชิดช่วยสับเปลี่ยนดูแลพยาบาลมาโดยสม่ำเสมอ
- อนุปาทิเสสนิพพานอย่างสงบ 5 กพ 2546 - เวลา 20.25 - 90 ปี 68 พรรษา
ถวายเพลิงศพวันเสาร์ 15 มีค. 2546

ข้อมูล : http://www.bloggang.com

20. หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท


20. หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท - วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม อ.สามโคก จ.ปทุมธานี

พระอริยเจ้าผู้เป็นดั่งผ้าขี้ริ้วห่อทอง - เด็ดเดี่ยวอาจหาญ 
- พระอ.มั่นได้ยกย่องท่านว่า "เป็นผ้าขี้ริ้วห่อทอง" 
- อุปนิสัยตรงไปตรงมา มีปฏิปทา ยอมหักไม่ยอมงอ , ท่านสละอวัยวะ ทรัพย์ และชีวิตเพื่อธรรม, เป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที, จงรักภักดีต่อท่านพระอ.มั่นยิ่งกว่าชีวิต
- ท่านได้รับความไว้วางใจจากพระอ.มั่น ให้เดินทางไปเฝ้าอุปัฏฐากหลวงปู่เสาร์ ซึ่งอาพาธหนักถึงเมืองนครจำปาศักดิ์ ลาว จนกระทั่งหลวงปู่เสาร์มรณภาพ

- ท่านไม่กว้างขวางเรื่องปริยัติธรรมภายนอก, รอบรู้เฉพาะเรื่องจิตตภาวนา - ท่านปฏิบัติลำบาก แต่รู้เร็ว - คำสอนของท่านเป็นปัจเจกะ มุ่งเน้นด้านจิตใจ - ท่านมีบารมีธรรมที่บ่มบำเพ็ญมาแต่ชาติปางก่อน เป็นสิ่งที่ช่วยเกื้อหนุนอยู่อย่างลึกลับ การปฏิบัติของท่านจึงนับว่ารู้ธรรมเร็วในยุคปัจจุบัน
- ท่านสอนให้พวกเรามองอะไร ไม่ควรมองแต่เพียงด้านเดียว - การมองอะไร ไม่เพียงใช้สายตาเป็นเครื่องตัดสินเท่านั้น แต่ต้องใช้แววตาคือปัญญา - เหมือนดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงสว่างแก่โลก ย่อมไม่ละเลยทั้งกอไผ่และภูผา
- การปฏิบัติของท่านมุ่งเน้นที่ผลการปฏิบัติ มากกว่ารูปแบบการปฏิบัติ เพราะนี่เป็นนิสัยสะท้านโลกาและปฏิปทาที่เป็นปัจจัตตัง ยากที่ใครๆ จะเลียนแบบได้

- หลวงตามหาบัว ได้ยกย่องชมเชยท่านว่า "พระอาจารย์เจี๊ยะเป็นผ้าขี้ริ้วห่อทอง เป็นเพชรน้ำหนึ่งที่หาได้โดยยากยิ่ง"

- เกิดวันอังคาร 6 มิย.2459 - ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 7 ปีมะโรง - บ้านคลองน้ำเค็ม อ.แหลมสิงห์ จันทบุรี
- ค้าขายผลไม้, นิสัยนักเลง, ตรงไปตรงมา, จริงจังในหน้าที่การงาน, ยอมหักแต่ไม่ยอมงอ, พูดจาโฮกฮาก ไม่กลัวคน
- อุปสมบท 11 กค 2480 วัดจันทนาราม
- จำพรรษากับพระอ.กงมา ที่ป่าช้าผีดิบบ้านหนองบัว ปัจจุบันคือวัดทรายงาม จันทบุรี

- ท่านปฏิบัติกรรมฐานด้วยอิริยาบถ 3 คือ ยืนภาวนา, เดินจงกรม, นั่งสมาธิ แบบสละตาย ด้วยการตั้งสัจจะอธิษฐานว่า
"ข้าพเจ้าจะถือเนสัชชิก คือ ในเวลาค่ำคืน ไม่นอนตลอดไตรมาส - ด้วยพุทธานุภาพ ธัมมานุภาพ สังฆานุภาพ ถ้าหากแม้นว่าข้าพเจ้าไม่ทำตามสัจจะนี้ ขอให้ข้าพเจ้าถูกฟ้าผ่าตาย, แผ่นดินสูบตาย, ไฟไหม้ตาย, น้ำท่วมตาย - แต่ถ้าหากว่าข้าพเจ้า ปฏิบัติตามสัจจะที่ตั้งไว้ได้ ขอจงเป็นผู้เจริญงอกงามในธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วเทอญ"

- พรรษาที่ 3 จิตท่านเกิดรวมครั้งใหญ่ใต้ต้นกระบก ด้วยการหยั่งสติปัญญาลงในกายานุปัสสนา หยั่งลงสู่ความจริงประจักษ์ใจ -โลกสมมุติทั้งหลายไม่มีปรากฎขึ้นกับใจ ประหนึ่งว่าแผ่นดินแผ่นฟ้าละลายหมด เหลือแต่จิตดวงบริสุทธิ์เท่านั้น
- ปลายปี 2482 ท่านกราบลาพระอ.กงมา และท่านพ่อลี เดินทางไปยังเชียงใหม่ พร้อมสหธรรมิกคือ พระอ.เฟื่อง โชติโก เพื่อนำธรรมที่รู้เห็นไปเล่าถวายพระอ.มั่น

- พระอ.มั่นทราบเหตุการณ์ล่วงหน้าโดยตลอด จึงปูอาสนะนั่งรอท่า อยู่บนแคร่น้อยๆ - เมื่อได้โอกาสอันสมควรจึงเล่าเรื่องภาวนาให้พระอ.มั่นฟังว่า "ได้พิจารณากาย จนกระทั่งใจนี้มันขาดไปเลย"
- พระอ.มั่นนั่งฟังนิ่ง ยอมรับแบบอริยมุนี ไม่คัดค้านในสิ่งที่เล่าถวายแม้แต่น้อย

- อีกไม่นาน ฟันของท่านพระอ.มั่นหลุด แล้วท่านก็ยื่นให้ - ลป.เจี๊ยะเล่าว่า
"ท่านคงรู้ได้ด้วยอนาคตังสญาณ ว่าเราจะมีวาสนาสร้างภูริทัตตเจดีย์บรรจุทันตธาตุถวายท่านเป็นแน่แท้"
- 2483-2485 หลวงปู่เจี๊ยะเป็นพระคลิานุปัฏฐาก และเป็นปัจฉาสมณะ เป็นประดุจเงาตามตัวพระอ.มั่นมาโดยตลอด
- พระอ.มั่นได้กล่าวชมเชยหลวงปู่เจี๊ยะท่ามกลางหมู่สงฆ์ว่า
"ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ท่านรูปนี้ปฏิบัติลำบากแต่รู้เร็ว - ปฏิบัติเพียง 3 ปี เท่ากับเราปฏิบัติภาวนามาเป็นเวลา 22 ปี อันนี้อยู่ที่นิสัยวาสนา เพราะนิสัยวาสนาของคนมันต่างกัน"

-2492 ท่านภาวนาในป่าดงลึก เชิงเขาบายศรี อ.ท่าใหม่ จันทบุรี เกิดป่วยเป็นไข้มาลาเรียอย่างหนัก ขณะป่วยหนักนั้น ท่านเล่าว่า
"จิตเป็นธรรมชาติที่อัศจรรย์ตลอดเวลา พิจารณาจนกระทั่งจิตดับหมด หยุดความคิดค้น จิตปล่อยวางสิ่งทั้งปวง คว่ำวัฏจักร วัฏจิต แหวกอวิชชาและโมหะอันเป็นประดุจตาข่าย กิเลสขาดสะบั้นออกจากใจ จิตมีอิสระอย่างสูงสุดเกินที่จะประมาณได้"

- 2493 หลังถวายเพลิงศพพระอ.มั่น - ท่านกลับไปจันทบุรี เพื่อโปรดโยมมารดาซึ่งป่วยหนัก หวังจะทดแทนบุญคุณข้าวป้อนด้วยอรรถด้วยธรรม- ท่านจึงสร้างวัดเขาแก้ว ต.ท่าช้าง , และสร้างวัดบ้านสถานีกสิกรรม อ.พลิ้ว ถวายหลวงตามหาบัว

- 2520 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ได้นิมนต์ท่านเป็นเจ้าอาวาส และรวมสร้างวัดญาณสังวราราม ชลบุรี
- 2526 คณะศรัทธาถวายที่ดินบ้านคลองสระ อ.สามโคก ปทุมแก่หลวงตามหาบัว หลวงตาได้นิมนต์ท่านมาอยู่เป็นเจ้าอาส และท่านได้สร้างวัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม

- แม้ท่านจะเป็นเถระผู้ใหญ่ และสร้างวัดใหญ่โตแล้ว ท่านก็ยังเที่ยวภาวนาตามป่าตามเขาท้องถ้ำเงื้อมผา จนร่างกายเดินไม่ไหว
- อนุปาทิเสสนิพพานด้วยความสงบและอาจหาญในธรรม 23 สค 2547 เวลา 23.55 น- รพ.ศิริราช - 88 ปี 68 พรรษา

ข้อมูล : http://www.bloggang.com

21. หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ


21. หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ - วัดราษฎรสงเคราะห์ (วัดป่าหนองแซง) อ.หนองวัวซอ อุดร

- พระอริยเจ้าผู้บรรลุโสดาบันตั้งแต่ยังเป็นคฤหัสถ์
- เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ในวัยชรา
- ท่านบวชเป็นตาปะขาวถือศีล8 เคร่งครัด, ติดตามหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ออกธุดงค์ จนบรรลุโสดาบันตั้งแต่เป็นคฤหัสถ์ ท่านมีวิถีจิตมุ่งสู่ความหลุดพ้น
- พระอ.มั่นได้กล่าวทำนายไว้ว่า "ในกาลข้างหน้า ถึงเวลาบารมีสุกงอมเต็มที่ จะมีคนมาโปรด"

- ต่อมา ท่านได้รับอุบายธรรมขั้นสูงจากหลวงตามหาบัว ที่วัดป่าแก้วชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ตามคำทำนายของพระอ.มั่น
- หลวงตามหาบัว แนะวิธีปฏิบัติให้ตอนเย็น- พอรุ่งเช้า ท่านก็จบกิจพรหมจรรย์ เป็นพระอรหันต์
- ท่านเล่าว่า "อวิชชาขาดมันรุนแรงถึงขั้นกายไหว ประหนึ่งว่าคานกุฏิที่อยู่ได้ขาดไปด้วย อัศจรรย์พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ และอัศจรรย์อุบายธรรมที่หลวงตาแนะนำพร่ำสอน -คืนนั้นทั้งคืน จิตตื่นอยู่ไม่หลับไม่นอน เสวยวิมุตติสุข หาสุขอื่นยิ่งกว่าไม่มี"

- หลวงปู่บัว เป็นผู้แก้จิต และแนะนำธรรมขั้นสุดท้ายให้แก่หลวงปู่ศรี มหาวีโร - พระอริยเจ้าแห่งวัดป่ากุง ร้อยเอ็ด - หลวงปู่ศรีจึงเคารพรักท่านเป็นอย่างมาก

- ท่านสามารถระลึกชาติย้อนหลังได้หลายชาติ - ท่านเล่าว่า เคยเกิดที่บริเวณวัดป่าหนองแซงนี้ นานถึง 4 ชาติ และชาตินี้เป็นชาติที่ 5 ชาติสุดท้าย
- ท่านเคยเกิดเป็นหมูป่า, ชาติต่อมาเป็นควายป่า ถูกพรานใจบาปยิงตาย ก่อนตายได้รับทุกข์ทรมานยิ่ง - พรานใจบาปนี้เที่ยวล่าฆ่าสัตว์ตายจำนวนมาก ไม่เคยก่อสร้างบุญกุศล เมื่อเขาตายไปได้เป็นเปรต เสวยผลกรรมเผ็ดร้อน อยู่บริเวณวัดป่าหนองแซงแห่งนี้

- ท่านไม่ได้เรียนเขียนอ่าน แต่ธรรมภายในท่านลึกซึ้ง ท่านภาวนาพุทโธตั้งแต่เป็นฆราวาส, บวชผ้าขาวถือศีล8 เคร่งครัด 3 ปี ติดตามหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ธุดงค์ตามป่าตามเขา ผจญสัตว์ป่าและอันตรายต่างๆ
- ระหว่างเป็นผ้าขาว ได้ฟังธรรมครูบาอาจารย์หลายรูป เช่น พระอ.สุวรรณ สุจิณฺโณ, ลป.สิงห์, ลป.ขาว, ลป.จันทร์ เขมปตฺโต, หลวงปู่อ่อนสา, หลวงปู่คำดี, หลวงตามหาบัว
- แม้อยู่ในวัยชรา แต่ความเพียรพยายามเหมือนพระหนุ่มๆ 
- ท่านพอใจต่อการรักษาสัจจะ หากศิษย์คนใดมีจิตใจแน่วแน่ที่จะรักษาสัจจะแล้ว จะเป็นที่นิยมและชอบใจของท่านยิ่งนัก

- เกิด 2431 ที่บ้านเขืองใหญ่ ต.หมูม่น อ.ธวัชบุรี(โป่งลิง) ร้อยเอ็ด
- เป็นช่างประจำหมู่บ้าน, เก่งวิชาอาคมไสยศาสตร์, อาชีพหมอผี ปราบผีสางนางไพร เป็นที่นับถือคนถิ่นนั้น - ท่านยึดมั่นคุณธรรม 2 ประการคือ การมีสัจจะ และการรักษาศีลอย่างเคร่งครัด
- อุปสมบทปี 2482 อายุ 52 ปี วัดบึงพระลานชัย - จำพรรษาอยู่กับพระอ.เพ็ง พุทฺธธมฺโม พระลูกชาย ที่วัดป่าศรีไพรวัน ร้อยเอ็ด

- กลางพรรษาแรก ท่านเจ็บรูหูมาก ได้นั่งสมาธิพิจารณาทุกขเวทนาใต้ต้นลำดวนในวัดติดต่อกัน 3 วัน 3 คืน จึงรู้แจ้งในอริยสัจจ์ จึงเอาชนะความเจ็บปวดได้ 
- จากนั้นเข้าถวายตัวเป็นศิษย์พระอ.มั่น ที่วัดบ้านหนองผือ สกลนคร - เมื่อไปถึง พระอ.มั่นถามทันทีว่า 
"นั่งอยู่ใต้ต้นลำดวนอยู่ 3 วัน 3 คืนนั้น ท่านได้พิจารณาอะไรบ้าง"
- ท่านถึงกับตกใจที่พระอ.มั่นรู้ได้เช่นนั้น จึงกราบเรียนท่านว่า
"กำหนดดูปฏิสนธิตั้งแต่เริ่มแรก พิจารณาการเกิดตั้งแต่เข้าไปอยู่ในครรภ์มารดาต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน"

- 2495 หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ กับพระอ.ศรี มหาวีโร รับนิมนต์จากท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์(จูม พนฺธุโล) วัดโพธิสมภรณ์ อุดร เพื่อสร้างวัดกรรมฐานที่บ้านหนองแซง อุดร - เป็นที่เที่ยวผ่านไปมาของพระอ.กรรมฐานเสมอ เช่น พระอ.ชอบ ฐานสโม, พระอ.หลุย จนฺทสาโร, พระอ.คำดี ปภาโส

- อนุปาทิเสสนิพพาน 2518 - วัดป่าหนองแซง - 87ปี 36 พรรษา

ข้อมูล : http://www.bloggang.com

22. หลวงปู่ชา สุภทฺโท


22. หลวงปู่ชา สุภทฺโท (พระโพธิญาณเถร) - วัดหนองป่าพง ต.โนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

พระอริยเจ้าผู้ก้าวล่วงความสงสัยในนิกาย
- ท่านไม่ได้ญัตติเป็นพระฝ่ายธรรมยุต, เป็นผู้ทรงธรรม, เก่งเทศนาโวหารและการเปรียบเปรย, ข้อธรรมของท่านชวนให้คนได้คิดเสมอ, สติปัญญาไว, ดัดนิสัยสานุศิษย์ได้ฉับพลัน, มีบุญบารมีมาก, มีหลวงพ่อพุธ ฐานิโย เป็นสหธรรมิก
- มีนิสัยโน้มเอียงในทางธรรมตั้งแต่วัยเด็ก, กลัวบาป, เป็นคนซื่อสัตย์ ไม่โกหก, รักความยุติธรรม เกลียดความอยุติธรรม, ชอบเล่นแต่งตัวเป็นพระ, พอใจภูมิใจที่ได้แสดงเป็นพระ, ยินดีในผ้ากาสาวพัสตร์และเพศพรหมจรรย์

- ท่านมีความสามารถในการสอนธรรมให้ชาวต่างชาติ, มีศิษย์ต่างชาติจำนวนมาก, มีวัดสาขาทั้งในและต่างประเทศ, มีกฎระเบียบจากวัดหนองป่าพง เป็นต้นแบบทุกสาขาทั่วโลก
- เกิดวันศุกร์ 17 มิย.2461- ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย- บ้านก่อ อ.วารินชำราบ อุบล

- บรรพชาเป็นสามเณ เมื่อ2474 ปฏิบัติครูอาจารย์ 3 ปี และได้ลาสิกขาบทมาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนา
- อุปสมบท 2482 -พรรษาที่ 1-2 สอบนักธรรมชั้นตรีได้ โยมพ่อมักจะบอกว่า "อย่าลาสิกขานะลูก อยู่เป็นพระอย่างนี้แหละดี สึกออกมามันยุ่งยากลำบาก หาความสบายไม่ได้"
- 2490 เดินทางไปกราบนมัสการพระอ.มั่น ที่สำนักหนองผือนาใน สกลนคร - พระอ.มั่นเทศน์สั้นๆว่า"การประพฤติปฏิบัตินั้น ถ้าถือพระธรรมวินัยเป็นหลักแล้ว ก็ไม่ต้องสงสัยในนิกายทั้งสอง" และพระอ.มั่นอธิบายเรื่อง พละ 5,อิทธิบาท 4 - คืนที่ 2 พระอ.มั่นได้แสดงปกิณกธรรมต่างๆ จนจึงท่านคลายความสงสัย มีความรู้ลึกซึ้ง จิตหยั่งสู่สมาธิ เกิดปีติ เหมือนตัวลอยอยู่บนอาสนะ นั่งฟังจนเที่ยงคืน
- ท่านพักสำนักพระอ.มั่นได้ไม่นานนัก แต่ท่านพอใจในรสพระธรรมที่ได้ดื่มด่ำเป็นอย่างยิ่ง ท่านเทียบว่า"คนตาดีพบดวงไฟก็มองเห็นแสงสว่าง ส่วนคนตาบอดถึงจะนั่งเฝ้าดวงไฟ ก็ไม่เห็นอะไร

- หลังกราบนมัสการพระอ.มั่น และศรัทธาท่านแกร่งกล้าขึ้น พร้อมเอาชีวิตเป็นเดิมพันในการทำความเพียร เพราะแนวปฏิบัติชัดเจนขึ้น 
- จากนั้น ท่านธุดงค์รอนแรมภาวนาตามป่าเขา ไม่ว่าอยู่ที่ใด มีความรู้สึกว่าพระอ.มั่นคอยติดตามให้คำแนะนำอยู่เสมอ - ผจญภัยอันตรายต่างๆ เป็นไข้ป่า มาลาเรีย ไม่มียารักษาโรค ต้องอาศัยธรรมโอสถช่วยเหลือตนเอง ยอมเป็น ยอมตาย จนจิตใจของท่านกล้าแกร่ง จิตมีธรรมเป็นที่พึ่ง

- ท่านพาลูกศิษย์เดินธุดงค์ไปอ.บ้านแพง นครพนม ได้ขึ้นภูลังกาเพื่อกราบนมัสการ พระอ.วัง - หลังสนทนาแล้ว ท่านเข้าใจในความละเอียดลึกซึ้งของธรรมปฏิบัติมากขึ้น พักอยู่ภูลังกา 3 วันจึงลงมาถึงวัดหนึ่งที่เชิงเขา - ฝนตก ได้หลบฝนเข้าไปนั่งใต้ถุนศาลา จิตกำลังพิจารณาธรรมอยู่ - ทันใดนั้น จิตก็ตั้งมั่นขึ้นแล้วเปลี่ยนไปเหมือนอยู่คนละโลก ดูอะไรก็เปลี่ยนไปหมด เหมือนหน้ามือเป็นหลังมือ, เหมือนแดดจ้าที่มีก้อนเมฆเคลื่อนมาบดบัง แสงแดดก็วาบหายไป, เปลี่ยนนขณะจิตไปวาบๆ ตั้งขึ้นมาก็เปลี่ยนวาบ, เห็นขวด ก็ไม่ใช่ขวด - ดูแล้วไม่เป็นอะไร เป็นธาตุ เป็นของสมมุติขึ้นทั้งนั้น - ไม่ใช่ขวดแท้ ไม่ใช่กระโถนแท้ - น้อมเข้ามาหาตัวเอง ดูทุกสิ่งในร่างกายไม่ใช่ของเรา มันล้วนแต่ของสมมุติ 

- มีค.2497 ท่านเดินธุดงค์มาที่ดงป่าพง เห็นเป็นที่สัปปายะ จึงสร้างเป็นวัดหนองป่าพง
- อนุปาทิเสสนิพพาน - พฤหัส 16 มค 2535 - วัดหนองป่าพง -74 ปี 52 พรรษา