วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เลวิเทติ้ง เทรนด์ฮิตใหม่

เลวิเทติ้ง เทรนด์ฮิตใหม่ จ่อกลบกระแสแพลงกิ้ง



Levitating

Levitating

Levitating

Levitating


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก yowayowacamera.com

          เลวิเทติ้ง เทรนด์ฮิตใหม่ ทำตัวลอยในอากาศต้านแรงโน้มถ่วงโลก จ่อกลบกระแส แพลงกิ้ง

          เรียกได้ว่าไม่ว่าจะหันไปทางไหนตอนนี้ในสังคมออนไลน์ของไทย ก็มักจะพบกับภาพการทำท่าแพลงกิ้งที่ถูกโพสต์ขึ้นแทบทุกหนทุกแห่ง และยิ่งได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อย ๆ หลังมีดาราไทยหลายต่อหลายคนฮิตมาทำท่าแพลงกิ้ง แล้วถ่ายภาพมาโพสต์ลงทั้งในเฟซบุ๊กหรือทวิตเตอร์ จนตอนนี้วัยรุ่น - ลูกเด็กเล็กแดง - หนุ่มสาวออฟฟิศต่างก็จ้องจะประชันภาพการแพลงกิ้งสวย ๆ เจ๋ง ๆ ที่ตัวเองทำได้ให้คนอื่นได้ชมกั

          แต่ในขณะเดียวกัน ในประเทศแถบตะวันตกและญี่ปุ่น เทรนด์การทำท่าแพลงกิ้งถือได้ว่าเริ่มเอาท์เอยเชยแหลกไปซะแล้ว เมื่อมีเทรนด์ท่าถ่ายรูปใหม่ถือกำเนิดขึ้นมา นั่นก็คือ "เลวิเทติ้ง" หรือ "Levitating" ซึ่งจะเป็นการถ่ายภาพในขณะที่ร่างกายเรากำลังลอยค้างอยู่บนอากาศ เหมือนเรามีวิชาตัวเบาลอยตัวได้ โดยผู้นำเทรนด์ดังกล่าวก็คือสาวน้อยหน้าใสชาวญี่ปุ่นนามว่า นัทสึมิ ฮายาชิ (Natsumi Hayashi) ที่โพสต์ภาพที่เธอทำท่า เลวิเทติ้ง ทุก ๆ วันลงบนเว็บไซต์ส่วนตัวของเธอนั่นเอง

          ฮายาชิ ได้เปิดเผยแรงบันดาลใจในการถ่ายภาพในท่าเลวิเทติ้งนั้นเกิดมาจากเธอปิ๊งไอ เดียการถ่ายภาพแบบนี้ หลังจากได้ยินสำนวนที่ว่า "เท้า ที่เหยียบยืนบนผืนดิน แสดงให้เห็นว่าเราต่างก็เป็นคนอย่างแท้จริง" ซึ่งสำหรับเธอแล้ว เธอไม่อยากจะเป็นเช่นคนธรรมดาคนหนึ่ง จึงทำตัวเองให้แตกต่างจากคนทั่วไปโดยการกระโดดขึ้นบนอากาศด้วยท่วงท่าต่าง ๆ แล้วถ่ายภาพขณะลอยตัวด้วยกล้องชัตเตอร์ความเร็วสูง ซึ่งภาพที่ออกมานั้นก็ทำให้เธอแตกต่างจากคนอื่นสมใจ เพราะมันแสดงให้เห็นว่าเธอกำลังลอยตัวอยู่บนอากาศอย่างเป็นธรรมชาติเลยที เดียว แต่กว่าจะได้ภาพที่เป็นธรรมชาติและสมบูรณ์แบบออกมา 1 ภาพ ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลย เพราะเธอต้องกระโดดประมาณ 60 ครั้งโดยเฉลี่ยกว่าจะได้ช็อตที่ต้องการ และบางภาพก็ต้องกระโดดถึง 300 กว่าครั้งเลยก็มี


Levitating



          สำหรับ คำว่า เลวิเทติ้ง หากแปลกันอย่างตรง ๆ ก็คือการต้านแรงโน้มถ่วงโลก หรือการที่ส่วนหนึ่งส่วนใดของสิ่งของไม่สัมผัสกับพื้นโลกเลย อย่างเช่นการที่แม่เหล็กขั้วเดียวกันดันตัวออกจากกัน และหลักการนี้ก็ถูกนำมาใช้ในการสร้างรถไฟแมกเลฟ (Maglev) ที่เหมือนรถไฟลอยได้อยู่บนราง แต่จริง ๆ แล้วเป็นการใช้ทฤษฎีเลวิเทชั่นมาสร้างนั่นเอง

          ทั้งนี้ ขณะ นี้ การถ่ายภาพแนวเลวิเทติ้งเริ่มจะได้รับความนิยมกันไปทั่วโลกแล้ว โดยเฉพาะในแถบอเมริกาใต้ ไปจนถึงสแกนดิเนเวีย และญี่ปุ่น ส่วนจะเข้ามาเป็นกระแสฮอตฮิตในเมืองไทยเมื่อไหร่ ทีนี้ก็ต้องรอติดตามกันต่อไปแล้วล่ะ



Levitating

Levitating

Levitating

Levitating

Levitating

Levitating

Levitating

Levitating



Levitating

Levitating

Levitating

Levitating

Levitating

Levitating

Levitating


-- 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น