วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ภาพ Close up ปากปล่องภูเขาไฟ

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2010  ทีมงานกลุ่มนักวิทยาศาสตร์และนักสำรวจผู้หาญกล้า
เสี่ยงภัยก้าวเท้ากัน เดินลึกลงไปเหยียบ ริมทะเลลาวา ปากปล่องภูเขาไฟ ไนอิรากองโก (Nyiragongo Crater)
ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ที่ลาวากำลังเดือด ปุดๆ  ซึ่งเป็นปากปล่องภูเขาไฟ ที่ตั้งอยู่ในใจกลางของภูมิภาค Great lakes–ของทวีปแอฟริกา เพื่อทำตามความฝันของทีมงานที่ต้องการเดินบนชายฝั่งของทะเลลาวาที่ใหญ่ที่สุดในโลก

สมาชิกของทีมงานรู้สึกตื่นเต้น เหมือนตอนเด็กๆเคยได้ดู สารคดีของปี 1960 เรื่อง "ระเบิดปีศาจ" (The Devil's Blast) ของ
อารอน ทาซีฟฟ์ (Haroun Tazieff) ผู้ซึ่งเป็นคนแรก ที่เปิดเผยให้สาธารณชนได้รับรู้เรื่อง
"การปะทุของลาวาที่ก้นปล่องภูเขาไฟไนอิรากองโก"

ช่างภาพ โอลิเวียร์  กรุนเวลด์ (Olivier Grunewald) เข้าไปใกล้ปากปล่องได้ในระยะไกล้ เมตร
แทบไม่อยากจะเชื่อ มันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจริงๆ
จากริมขอบของภูเขาไฟ (สูง11,380 ฟุตเหนือพื้นดิน ที่ความลึก 1,300 ฟุต)
ทะเลเพลิงลาวา เป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ ของทวีปแอฟริกา หรือของโลกกันแน่ ? 


ทะเลเพลิงลาวา ที่โชติช่วงอยู่ตลอดเวลา ของภูเขาไฟ Nyiragongo เป็นทะเลลาวาที่ใหญ่ที่สุดในโลก
มีปริมาณของลาวา ประมาณ 282 ล้านลูกบาศก์ฟุต ในปี 1977และปี 2002 การไหลของลาวา เนื่องจากปากปล่องภูเขาไฟแตก ได้ทำลายพื้นที่ส่วนใหญ่ของเมืองโกมา (Goma) ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (The Democratic Republic of Congo)


ที่พื้นผิวของทะเลลาวา มีการระเบิดของฟองก๊าซ เป็นฟองก๊าซที่มีอยู่ตลอดเวลา
ซึ่งเกิดจาก ความร้อนของเปลือกโลก ที่เดือดพล่านอยู่ภายใน



ถึงแม้ว่า ลาวาของภูเขาไฟจะไหลออกมาอยู่ตลอดเวลา
แต่ทีมงานสำรวจ คน ยังหวังจะเดินไปให้ถึง ชายขอบปากปล่องด้านล่าง


ภูเขาไฟไนอิรากองโก เป็นหนึ่งใน ภูเขาไฟของเทือกเขา วิรังกา(Virunga) สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก


ในตอนเริ่มต้นของ การไต่ลงมาที่ระดับที่สอง ต้องระวังการตกร่วงของหินซึ่งมีความเสี่ยงมาก
ควันก๊าซจากปากปล่อง เริ่มสร้างปัญหาต่อสายตานักไต่


สมาชิกของทีมสำรวจ ต้องเตรียมเครื่องมือ อาหาร น้ำซึ่งรวมกันแล้ว มีน้ำหนักถึง 1,300 ปอนด์
เพื่อให้เพียงพอ ต่อการปักหลักอยู่ที่ ปากปล่องภูเขาไฟข้างล่าง วัน


การเตรียมตัวของการสำรวจครั้งนี ทางทีมงานต้อง เตรียมพร้อมฝึกฝนกันถึง เดือน ก่อนลงมือปฏิบัติงาน


จาคส์ บาร์เทลเลมี่ (Jacques Barthelemy) นักปีนเขาและผู้มีประสบการณ์ ในการไต่ภูเขาไฟไนอิรากองโก
ใช้เชือกหย่อนถุงเครื่องมือ ลงไปที่ระดับที่สอง


ทีมงานต้องสวมหน้ากากป้องกันแก๊ เวลานอน เพื่อป้องกันไอร้อนและก๊าซ จากภูเขาไฟ



สมาชิกของทีมงาน ใช้เครื่องมือ laser telemeter เพื่อวัดความเปลี่ยนแปลงของ ขนาดของทะเลเพลิงลาวา



ดาริโอ เทเดสโก (Dario Tedesco) ผู้เชี่ยวชาญ และศึกษาเรื่องภูเขาไฟ กำลังรวบรวมก๊าซ
เพื่อศึกษาเพิ่มเติม เกี่ยวกับการระเบิดของภูเขาไฟ


ก๊าซร้อนในบ่อขนาดเล็กของภูเขาไฟ  นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า
มันมีความสำคัญที่จะ ใช้ตรวจวัดปล่องภูเขาไฟในหลายๆช่วงเวลา
เพื่อให้เข้าใจ ถึงภูเขาไฟ  และรู้กำหนดระยะเวลาที่มันจะปะทุ


ยามค่ำคืน แค้มป์พักสว่างไสว ด้วยแสงจาก ทะเลเพลิงลาวา ริมปากปล่องภูเขาไฟ


เป้าหมายของการเดินทางไปให้ถึง ทะเลลาวาริมปากปล่องภูเขาไฟ
ก่อนหน้านี้ ไม่เคยพบใครทำได้มาก่อน


สมาชิกของทีมงาน กำลังติดต่อกันผ่านวิทยุ เพื่อรายงานเกี่ยวกับ
ข้อมูลการเคลื่อนไหว และทิศทางการฟุ้งกระจายของก๊าซ


ผู้ที่ปีนลงไปข้างล่างใกล้ทะเลลาวา เขาต้องตัดสินใจให้ดีที่สุด สำหรับไต่ต่ำลงไป


ปิแอร์เยส เบอกิ (Pierre-Yves Burgi) กำลังเก็บก๊าซด้านล่างของปล่องภูเขาไฟ
เพื่อเป็นกลุ่มตัวอย่างก๊าซ ที่จะทำการศึกษาโดยดาริโก.
ดาริโอ เทเดสโก (Dario Tedesco) ผู้ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น
หัวหน้าฝ่ายบริการ ในโครงการวิเคราะห์การเสี่ยงภัยจากธรรมชาติ ของสหประชาชาติ


ฟองอากาศของก๊าซ กำลังระเบิด ที่พื้นผิวของทะเลลาวา


มาร์ค คาอิลเลต (Marc Caillet) เป็นคนแรกของทีมงาน ที่จะเข้าไปถึงริมทะเลลาวา


โอลิเวียร์ กรุนเวลด์ (Olivier Grunewald) จัดเตรียมอุปกรณ์การถ่ายภาพของเขา
เพื่อป้องกัน ไม่ให้ถูกความร้อน ที่อุณหภูมิสามารถสูงได้ถึง 1,300 องศา


แฟรงค์ พอต (Franck Pothe) เข้าไปใกล้ลาวา และพบว่า
ลมพัดผ่านด้านหลังของเขา ผลักความร้อนจากไอภูเขาไฟให้ห่างไป  
เขาจะต้องรายงาน แจ้งให้สมาชิกคนอื่นๆทราบอยู่เป็นระยะ ถึงลักษณะการพัดของลม


นี่คือ ชุดที่สวมเข้าไปใกล้ทะเลลาวา การเข้าไปใกล้ลาวา ที่มีปริมาณถึง 282 ล้านลูกบาศก์ฟุต
ต้องใช้ชุด การป้องกันที่ครอบคลุม ปกปิดมิดชิด และวัสดุที่ทนความร้อนได้อย่างดี


การที่ต้องถืออุปกรณ์กล้องถ่ายรูปเข้าไปด้วย ทำให้ไม่สะดวกในการเคลื่อนไหว,อลิเวียร์ กรุนเวลด์ (Olivier Grunewald)
ต้องได้รับ คำแนะนำทางวิทยุไปยัง ตำแหน่งที่เขาสามารถวางเท้าและมือได้ปลอดภัย


กรุนเวลด์ (Grunewald) เข้าไปใกล้พื้นผิวลาวา เพื่อพยายามถ่ายรูป เขากล่าวว่า เขาไม่มีเวลาคิดเรื่องความร้อน 
ทันใดนั้น เสียงวิทยุติดต่อ ก็บอกให้เขากลับมา เขากำลังเข้าไปใกล้เกินไป


ความเสี่ยงที่อันตรายอย่างยิ่ง คือ การที่ลาวาไหลล้นออกมาบ่อย
สมาชิกของทีมงานสำรวจ ที่อยู่ระดับแนวไต่ที่ ต้องคอยช่วยเตือน ให้ทีมงานคนอื่นๆทราบ
ถึงความเคลื่อนไหว การล้นออกมาของลาวา ที่อาจเกิดเหตุสุดอันตรายขึ้นได้


ในยามเช้าตรู่ แสงจากประกายเพลิงลาวา ดูน่ามหัศจรรย์  
แต่ก๊าซจากภูเขาไฟ สามารถปกคลุมปล่องภูเขาไฟด้านล่างได้ในทุกวินาที


ระเบิดออกมา (เป้าหมายของการสำรวจเพื่อเพิ่มความรู้ให้กับ ผู้ศึกษาและเชี่ยวชาญเรื่องภูเขาไฟ
ให้สามารถคาดเดาเหตุการณ์ดังกล่าว ล่วงหน้า และป้องกันไม่ให้เกิดภัยพิบัติต่างๆ แก่มวลมนุษย์โลก


:: อีเมลนี้ได้รับฟอร์เวิร์ดมาจากJerry Maguire
GM5.jpg

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น