วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พระภิกษุณี

ภิกษุณี (บาลีภิกฺขุณีสันสกฤตภิกฺษุณีจีน: 比丘尼) เป็นคำใช้เรียกนักบวชหญิง ในพระพุทธศาสนา คู่กับ ภิกษุ ที่หมายถึงนักบวชชายในพระพุทธศาสนา คำว่า ภิกษุณี เป็นศัพท์ที่มีเฉพาะในพระพุทธศาสนา โดยเป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชหญิงในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่ใช้เรียกนักบวชในศาสนาอื่น
ภิกษุณี หรือ ภิกษุณีสงฆ์ จัดตั้งขึ้นโดยพระบรมพุทธานุญาต ภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนาคือพระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรี โดยวิธีรับคุรุธรรม 8 ประการ ในคัมภีร์เถรวาทระบุว่าต่อมาในภายหลังพระพุทธเจ้าได้ทรงอนุญาตวิธีการอุปสมบทภิกษุณีให้มีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น จนศีลของพระภิกษุณีมีมากกว่าพระภิกษุ โดยพระภิกษุณีมีศีล 311 ข้อ ในขณะที่พระภิกษุมีศีลเพียง 227 ข้อเท่านั้น เนื่องจากในสมัยพุทธกาลไม่เคยมีศาสนาใดอนุญาตให้ผู้หญิงเข้ามาเป็นนักบวชมาก่อน และการตั้งภิกษุณีสงฆ์ควบคู่กับภิกษุสงฆ์อาจเกิดข้อครหาที่จะเป็นอันตรายร้ายแรงต่อการประพฤติพรหมจรรย์และพระพุทธศาสนาได้ หากได้บุคคลที่ไม่มีความมั่นคงในพระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นนักบวช
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไม่ปรากฏว่ามีการตั้งวงศ์ภิกษุณีเถรวาทขึ้นในประเทศไทย อย่างไรก็ตามในประเทศพุทธเถรวาทที่เคยมี2หรือไม่เคยมีวงศ์ภิกษุณีสงฆ์ในปัจจุบัน3 ต่างก็นับถือกันโดยพฤตินัยว่าการที่อุบาสิกาที่มีศรัทธาโกนศีรษะนุ่งขาวห่มขาว ถือปฏิบัติศีล 8 (อุโบสถศีล) ซึ่งเรียกโดยทั่วไปว่า แม่ชี เป็นการผ่อนผันผู้หญิงที่ศรัทธาจะออกบวชเป็นภิกษุณีเถรวาท แต่ไม่สามารถอุปสมบทเป็นภิกษุณีเถรวาทได้[1] โดยส่วนใหญ่แม่ชีเหล่านี้จะอยู่ในสำนักวัดซึ่งแยกเป็นเอกเทศจากกุฎิสงฆ์
ภิกษุณีสายเถรวาทซึ่งสืบวงศ์มาแต่สมัยพุทธกาลด้วยการบวชถูกต้องตามพระวินัยปิฎกเถรวาท ที่ต้องบวชในสงฆ์สองฝ่ายคือทั้งภิกษุสงฆ์ และภิกษุณีสงฆ์ ได้ขาดสูญวงศ์ (ไม่มีผู้สืบต่อ) มานานแล้ว คงเหลือแต่ภิกษุณีฝ่ายมหายาน (อาจริยวาท) ที่ยังสืบทอดการบวชภิกษุณีแบบมหายาน (บวชในสงฆ์ฝ่ายเดียว) มาจนปัจจุบัน ซึ่งจะพบได้ในจีนเกาหลีใต้, ญี่ปุ่น และศรีลังกา1
ปัจจุบันมีการพยายามรื้อฟื้นการบวชภิกษุณีในฝ่ายเถรวาท โดยทำการบวชมาจากภิกษุณีมหายาน และกล่าวว่าภิกษุณีฝ่ายมหายานนั้น สืบวงศ์ภิกษุณีสงฆ์มาแต่ฝ่ายเถรวาทเช่นกัน[2] แต่มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าฝ่ายมหายานมีการบวชภิกษุณีสืบวงศ์มาโดยมิได้กระทำถูกตามพระวินัยปิฎกเถรวาท และมีศีลที่แตกต่างกันอย่างมากด้วย ทำให้มีการไม่ยอมรับภิกษุณี (เถรวาท) ใหม่ ที่บวชมาแต่มหายานว่า มิได้เป็นภิกษุณีที่ถูกต้องตามพระวินัยปิฎกเถรวาท และมีการยกประเด็นนี้ขึ้นเป็นข้ออ้างว่าพระพุทธศาสนาจำกัดสิทธิสตรีด้วย ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะพระพุทธเจ้าได้อนุญาตให้มีภิกษุณีที่นับเป็นการเปิดโอกาสให้มีนักบวชหญิงเป็นศาสนาแรกในโลก เพียงแต่การสืบทอดวงศ์ภิกษุณีได้สูญไปนานแล้ว จึงทำให้ในปัจจุบันไม่สามารถบวชสตรีเป็นภิกษุณีตามพระวินัยเถรวาทได้

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ประวัติการเกิดภิกษุณีสงฆ์

ภาพวาดพระพุทธประวัติ ตอนพระนางปชาบดีโคตมีทูลขอบวชเป็นพระภิกษุณี
รูปหล่อพระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรี วัดเทพธิดาราม สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ในสมัยพุทธกาลนั้น แรกเริ่มเดิมที สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้มีภิกษุณีได้ เนื่องจากเห็นว่าจะทำให้อายุของพระพุทธศาสนาไม่ยั่งยืน[3]
ต่อมา พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี ผู้เป็นพระน้านางและพระมาตุจฉา หรือพระมารดาเลี้ยงของเจ้าชายสิทธัตถะ ท่านได้มีศรัทธาอยากออกบวชจึงทูลอ้อนวอนขอบวชต่อพระพุทธเจ้าถึงสามครั้งสามครา แต่ก็ไม่เป็นผล จนกระทั่งพระอานนท์ได้ทูลขอให้ พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาต โดยมีเงื่อนไขว่า พระนางปชาบดีโคตมีจะต้องรับเอารุธรรมแปดประการ (แปลว่าข้อปฏิบัติที่หนักและทำได้ยาก) ไปปฏิบัติ
ดังนั้นภิกษุณีที่ทรงอุปสมบทให้องค์แรกได้แก่ พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี ซึ่งบวชเป็นภิกษุณีรูปแรกในโลก้วยการรับ ครุธรรมแปดประการ (ท่านเป็นรูปเดียวที่บวชด้วยวิธีเช่นนี้)
ต่อมาพระพุทธองค์ได้ทรงวางหลักเกณฑ์ในการรับผู้ประสงค์จะบวชเป็นภิกษุณี และวางวินัยของภิกษุณีไว้มากมาย เพื่อกลั่นกรองผู้ที่ประสงค์จะบวชและมีศรัทธาจริง ๆ [4]เช่น ภิกษุณี เมื่อบวชแล้วต้องถือศีลถึง 311 ข้อ มากกว่าพระภิกษุ[5] ซึ่งถือศีลเพียง 227 ข้อ (วินัยของภิกษุณีที่มีมากกว่าพระภิกษุ เพราะผู้หญิงมีข้อปลีกย่อยในการดำรงชีวิตมากกว่าผู้ชาย เช่น ต้องมีผ้ารัดถัน (ผ้ารัดอก) ซึ่งผู้ชายไม่จำเป็นต้องมี เป็นต้น) [6]

[แก้] การบวชเป็นภิกษุณีฝ่ายเถรวาท

[แก้] การบวชเป็นสิกขมานา

ก่อนที่ผู้หญิงจะบวชเป็นภิกษุณีได้นั้น ต้องบวชเป็น "สิกขมานา" เสียก่อน สิกขมานาเป็นสามเณรีที่ต้องถือีล 6 ข้ออย่างเคร่งครัดเป็นเวลา 2 ปี หากศีลขาดแม้แต่ข้อเดียวจะต้องเริ่มนับเวลาใหม่
การบวชเป็นสิกขมานา จะบวชได้ต้องอายุครบ 18 ปี เพราะว่าคนที่จะบวชเป็นภิกษุณีได้นั้นต้องอายุครบ 20 แต่สำหรับหญิงที่แต่งงานแล้ว พระพุทธองค์อนุญาตให้บวชเป็นสิกขมานาได้ตั้งแต่อายุ 12 เพราะว่าคนที่แต่งงานจะได้เรียนรู้ความยากลำบากของชีวิต รู้จักสุข ทุกข์ เมื่อรู้จักทุกข์ก็จะรู้จักสมุทัย นิโรธ มรรค ได้ จนนำไปสู่การบรรลุในที่สุด

[แก้] การบวชเป็นภิกษุณี

เมื่อผู้ที่ประสงค์จะบวชเป็นภิกษุณี ได้เป็นสิกขมานา ถือศีล 6 ข้อครบ 2 ปีแล้ว แล้วจึงมีสิทธิ์ที่จะเข้าพิธีอุปสมบท โดยต้องอุปสมบทในฝ่ายของ ภิกษุณีสงฆ์ ก่อน แล้วไปเข้าพิธีอุปสมบทในฝ่าย ภิกษุสงฆ์ อีกครั้งหนึ่งจึงจะเป็นภิกษุณีได้โดยสมบูรณ์ (บวชในสงฆ์สองฝ่าย)

[แก้] การสูญวงศ์ของภิกษุณีฝ่ายเถรวาท

ปัจจุบันผู้หญิงผู้ศรัทธาออกบวชในฝ่ายเถรวาทนิยมโกนหัวนุ่งขาวห่มขาวถือศีลอุโบสถบวชเป็น แม่ชี แทน
ก่อนที่ภิกษุณีสงฆ์จะหมดไปจากอินเดียนั้น พระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งพระธรรมทูตออกไป 9 สาย 1 ในนั้นคือ พระมหินทรเถระ ผู้เป็นพระราชโอรสของพระองค์เอง ในสายพระมหินทรเถระนี้ไปศรีลังกา การเผยแพร่ศาสนาพุทธประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง พระนางอนุลา น้องสะใภ้ของกษัตริย์ศรีลังกา ทรงอยากผนวช จึงนิมนต์ พระนางสังฆมิตตาเถรี พระธิดาของพระเจ้าอโศก มาเป็นปวัตตินีให้ ("ปวัตตินี" คือพระอุปัชฌาย์ที่เป็นผู้หญิง)
จากศรีลังกา ภิกษุณีสงฆ์ได้ไปสืบสายไว้ในจีน ไต้หวัน และอื่น ๆ อีกมาก จนกระทั่งพุทธศาสนาที่อินเดียและศรีลังกาเสื่อมลงลงไปในช่วงหลัง ทำให้ภิกษุณีฝ่ายเถรวาทซึ่งมีศีลและข้อปฏิบัติที่ยุ่งยากไม่สามารถรักษาวงศ์ของภิกษุณีเถรวาทไว้ได้ จึงทำให้ไม่มีผู้สืบทอดการบวชเป็นภิกษุณีสายเถรวาทในปัจจุบัน

[แก้] การพยายามรื้อฟื้นภิกษุณีสายเถรวาทในปัจจุบัน

ในปัจจุบัน มีความเชื่อว่ายังมีภิกษุณีสายถรวาทเหลืออยู่ และอ้างหลักฐานยืนยันว่าภิกษุณีทางสายมหายาน วัชรยานนั้นสืบสายไปจากภิกษุณีสายเถรวาท โดยถือกันว่าหากภิกษุณีสายเถรวาทสืบสายไปเป็นมหายานได้ (ภิกษุณีจากลังกาไปบวชให้คนจีน) ภิกษุณีมหายานก็สืบสายมาเป็นเถรวาทได้เช่นกัน
ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้บวชเป็นภิกษุณี(เถรวาท)หลายรูป โดยบวชมาจากคณะภิกษุณีสงฆ์ศรีลังกา มีสำนักภิกษุณีป็นเอกเทศคือวัตรทรงธรรมกัลยาณี
ในกรณีนี้เคยมีประเด็นถกเถียงอยู่ช่วงหนึ่งว่าปัจจุบันนี้สามารถบวชภิกษุณีได้หรือไม่ มีข้อสรุปจากทางพระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทว่าพระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้มีการบวชเป็นภิกษุณีได้ก็ต่อเมื่อบวชต่อสงฆ์ทั้ง 2 ฝ่าย คือต้องบวชทั้งฝ่ายพระภิกษุสงฆ์ และฝ่ายภิกษุณีสงฆ์เป็นการลงญัตติจตุตถกรรมวาจาทั้งสองฝ่าย จึงจะสามารถเป็นภิกษุณีได้ ดังนั้นในเมื่อภิกษุณีสงฆ์เถรวาทได้เสื่อมสิ้นลงไม่มีผู้สืบต่อ จึงทำให้ในปัจจุบันไม่สามารถทำการบวชผู้หญิงเป็นภิกษุณีฝ่ายเถรวาทได้ การที่มีข้ออ้างว่าสายมหายานสืบสายวงศ์ภิกษุณีสงฆ์ไปก็ไม่สามารถอ้างได้ เพราะการสืบสายทางมหายานมีข้อวินัยและการทำสังฆกรรมบวชภิกษุณีที่ไม่ถูกต้องกับพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาท
ปัจจุบันศรีลังกาพยายามฟื้นฟูภิกษุณีสงฆ์ จนมีหลายร้อยรูป ที่เมืองไทยเองก็มีคนบวชเป็นภิกษุณีหลายรูปแล้วเช่นกัน แต่คณะสงฆ์ไทยไม่ยอมรับเป็นภิกษุณีสงฆ์เพราะสาเหตุดังกล่าวมาแล้วข้างต้น
บริขารอังสะมิใช่บริขารของภิกษุ สามเณรแต่เดิม เป็นของภิกษุณี สามเณรี และสิกขมานาเนื่องจากเป็นสตรีจึงต้องมีเสื้อหรืออังสะใส่เพื่อปกปิดถันเอาไว้ และยังมีผ้าพันถัน รวมถึงผ้านิสีทนะผ้า3ชาย(ที่มักอธิบายกันว่าเป็นผ้าปูนั่งหรือสันถัต)นุ่งเช่นเดียวกับผ้าเตี่ยว(เหมือนกางเกงใน)เมื่อมีประจำเดือนจะใช้ห่อผ้าซับเลือด (ดุจผ้าอนามัยสมัยนี้)

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] เชิงอรรถ

หมายเหตุ 1: วงศ์ภิกษุณีสงฆ์เถรวาทในศรีลังกาที่มีมาแต่ครั้งพระเจ้าอโศกได้สูญวงศ์ไปนานแล้ว ภิกษุณีสงฆ์ที่อ้างว่าเป็นนิกายเถรวาทของศรีลังกาในปัจจุบันคงเป็นเพียงภิกษุณีซึ่งบวชมาจากทางฝ่ายมหายานเท่านั้น หากแต่ยังคงอ้างว่าตนเป็นวงศ์ภิกษุณีเถรวาทดั้งเดิม ซึ่งไม่ชอบด้วยพระวินัยปิฎกเถรวาท เพราะการบวชภิกษุณีมหายานไม่ได้บวชจากสงฆ์สองฝ่าย และมีวัตรปฏิบัติแตกต่างกันมาก หมายเหตุ 1: ประเทศศรีลังกา หมายเหตุ 1: ประเทศพม่าประเทศไทยประเทศลาว ประเทศเขมร

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ เทวประภาส มากคล้าย เปรียญ.. เอกสาร : เอกสารแนะนำวัดคุ้งตะเภาอุตรดิตถ์ : วัดคุ้งตะเภา, 2549.
  2. ^ บทความ ภิกษุณีมีไม่ได้ - วาทะกรรมที่ต้องตรวจสอบ จากเว็บไซด์ วัตรทรงธรรมกัลยาณี
  3. ^ ความหมายและความเป็นมาของภิกษุณีในเว็บไซด์ 84000.org
  4. ^ เหตุผลของพระพุทธองค์ในการเข้มงวดวินัยในภิกษุณี.ลานธรรมเสวนา
  5. ^ พระไตรปิฏก เล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๓ ภิกขุณีวิภังค์ ต้นวินัยบัญญัติ ๓๑๑ ข้อ ของภิกษุณี
  6. ^ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์ สิกขาบทวิภังค์ ปาจิตติยวรรค ที่ ๙ ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑๓

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

From: MaiY
Sent: Saturday, 28 May, 2011 3:24 PM
Subject: {นานาสาระ ธรรมะสวัสดี: ฉบับที่ 9169} คำถาม พระภิกษุณีรูปแรก


สมัยพุทธกาลผู้หญิงขอบวชคนแรก คือใคร  ซึ่งพระพุทธเจ้าไม่อยากให้บวช  ทำไมพระพุทธเจ้าไม่อยากให้บวช  แต่ได้บวชเพราะอะไร  
ผู้ได้คะแนน
1. คุณรักธรรม ส่ง 28 เวลา 15.45 เดิม 74 เพิ่ม 4+1 รวม 79 คะแนน
2. คุณนนทไชย ส่ง 28 เวลา 16.08 เดิม 113 เพิ่ม 3+1 รวม 117 คะแนน


-- 


พระอานนท์ได้นำข่าวดีมาบอกแก่พระนางปชาบดีโคตมีว่าสามารถบวชเป็นภิกษุณีได้

           พระนางประชาบดีโคตมี 
เป็น หญิงคนแรกที่ออกบวชตามพระพุทธเจ้า เกิดข้อปฏิบัติที่สำคัญอะไรขึ้นสำหรับหญิงที่จะออกบวช ใครคือผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือให้เกิดการบวชภิกษุณีได้
           ส่วนพระนางมหาปชาบดี มีพระทัยน้อมไปในบรรพชา จึงเสด็จไปเฝ้าพระบรมศาสดายังนิโครธาราม ทูลขอบรรพชา พระศาสดาไม่ทรงอนุญาต แม้พระนางเจ้าจะทูลวอนขอถึงสามครั้ง ก็ไม่สมพระประสงค์ ทรงโทมนัส ทรงพระกรรแสง เสด็จกลับพระนิเวศน์
           เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จกลับไปประทับยังกุฎคารศาลา ป่ามหาวัน ณ พระนครไพศาลีแล้ว พระนางมหาปชาบดีโคตมีพร้อมด้วยนางกษัตริย์ศากยราชวงค์เป็นอันมาก ที่ยินดีในการบรรพชา ปลงพระเกศา นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ พากันเสด็จออกจากพระนครกบิลพัสดุ์ ไปเมืองไพศาลีด้วยพระบาท ตั้งพระทัยขอประทานบรรพชา ทรงดำเนินไปจนกระถึงกุฎาคารศาลา ประทับยืนกรรแสงอยู่ที่ซุ้มประตูกุฎาคารศาลา ที่พระบรมศาสดาประทับนั้น
           ขณะนั้น พระอานนท์ออกมาพบไต่ถาม ทราบความแล้ว ก็รับเป็นภาระนำความกราบทูลขอประทานอุปสมบท ให้พระนางมหาชาบดี
           ในครั้งแรก พระบรมศาสดาไม่ทรงอนุญาต ตรัสว่า สตรีไม่ควรอุปสมบท
           ภายหลังพระอานนท์ทูลถามว่า หากสตรีบวชแล้ว จะสามารถปฎิบัติธรรมได้บรรลุอริยมรรค อริผล โดยควรแก่อุปนิสสัยหรือไม่?
           เมื่อพระศาสดาตรัสว่า “สามารถ”
           พระอานนท์ก็กราบทูลว่า ถ้าเช่นนั้น ขอได้ทรงพระกรุณาประทานโอกาสให้พระเจ้าน้า ได้ทรงอุปสมบทเถิด
           ทรงรับสั่งว่า
           “อานนท์ ผิวะพระนางมหาปชาบดีโคตมี จะทรงรับปฏิบัติครุธรรม ๘ ได้บริบูรณ์ ตถาคตก็อนุญาตให้ได้”
           “อานนท์ ครุธรรม ๘ ประการนั้น ดังนี้
           ๑. ภิกษุณีแม้จะบวชได้ 100 พรรษา ก็พึงให้ทำอัญชลี เคารพนบนอบภิกษุ แม้บวชในวันเดียวนั้น
           ๒. ภิกษุณีอย่าอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ
           ๓. ภิกษุณี จะต้องทำอุโบสถกรรม และรับโอวาท แต่สำนักสงฆ์ทุกกึ่งเดือน
           ๔. ภิกษุณีจำพรรษาแล้ว ให้พึงปวารณาในสำนักอุภโตสงฆ์
           ๕. ภิกษุณี หากต้องอยู่ปริวาสกรรม พึงประพฤติปักขมานัต (คืออยู่มานัตถึงกึ่งเดือน) ในสำนักอุภโตสงฆ์
           ๖. ภิกษุณี อุปสมบทในสำนักอุภโตสงฆ์ พึงสมาทานซึ่งวัตรปฎิบัติในธรรม ๖ ประการ คือ เว้นจากปาณาติบาต ถึงวิกาลโภชนะ เป็นต้น มิให้ล่วง และศึกษาให้รู้วัตรปฎิบัติต่าง ๆ สิ้นกาลถึงพรรษาเต็ม
           ๗. ภิกษุณี อย่าพึงด่าบริภาษภิกษุสงฆ์ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง
           ๘. ภิกษุณี นับแต่วันบรรพชาเป็นต้นไป พึงสดับรับโอวาทของภิกษุกล่าวสั่งสอนฝ่ายเดียว ห้ามโอวาทสั่งสอนภิกษุ ฯ
           พระอานนท์เถระ เรียนจำครุธรรม ๘ ประการนั้น จากพระบรมศาสดาแล้ว ก็ออกมาแจ้งพระพุทธบัญชานั้นแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระนางเจ้าทรงน้อมรับที่จะปฏิบัติด้วยความยินดีทุกประการ พระอานนท์ก็เข้ามากราบทูลพระบรมศาสดาให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงโปรดประทานบรรพชาอุปสมบทแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี กับศากยะขัตติยนารีด้วยกันทั้งสิ้น
           ครั้นออกพระวัสสา ปวารณาแล้ว พระบรมศาสดากับทั้งพระสงฆ์สาวกทั้งหลายก็เสด็จจากเมืองไพศาลี ไปพระนครสาวัตถี ประทับอยู่ที่พระเชตวันวิหาร ฝ่ายข้างพระนครกบิลพัสดุ์ เมื่อพระนางเจ้ามหาปชาบดีโคตมี ทรงผนวชแล้ว บรรดามหาอำมาตย์และราชปุโรหิตทั้งหลาย ได้ประชุมพร้อมกันยก “เจ้าศากยะมหานาม” โอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าอมิโตทนะ พระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ เสวยราชสมบัติสืบราชสันติวงศ์

           ต่อมา พระนางพิมพาเทวี มารดาราหุลกุมาร ก็เข้าเฝ้าพระเจ้ามหานาม ทูลลาออกบรรพชา แล้วทรงพาบรรดาขัตติยนารีทั้งหลาย เดินทางไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่พระเชตวันวิหาร ทูลขอประทานบรรพชาอุปสมบท สมเด็จพระบรมสุคตก็ทรงประทานบรรพชาอุปสมบทแก่พระนางเจ้า และบรรดาขัตติยนารีทั้งสิ้น ด้วยครุธรรม ๘ ประการนั้น

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก : http://www.crs.mahidol.ac.th/thai/buddhist78.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น