วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ไต...นับวัน ยิ่งดุมากขึ้น 'โรคไต' ภัยเงียบ ที่ต้องกลัว

ไต...นับวัน ยิ่งดุมากขึ้น 'โรคไตภัยเงียบ ที่ต้องกลัว
"...มีคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังประมาณ 17 ล้านคน หรือ 16% ของประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี จากข้อมูลในปี 2551 มีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายราว 31,496 ราย หรือประมาณ 500 ราย ต่อประชากร ล้านคน ซึ่งการดูแลรักษาผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ต่อครั้งประมาณ1,500-2,000 บาท ต้องรักษาสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เดือนหนึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 20,000 บาท ปีละประมาณ 200,000 กว่าบาทต่อคน ...นี่เป็นสถาน การณ์ โรคไต” ในไทยในปัจจุ บัน ซึ่งมีนัยสำคัญที่มิอาจมองข้าม   
    
การมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไต...สำคัญ!!
โดยเฉพาะการป้องกัน...ยิ่งต้องให้ความสำคัญมาก
ทั้งนี้ ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานคณะอนุกรรมการป้องกันโรคไตเรื้อรัง สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ระบุถึงเรื่องโรคไตว่า... โรคไตเรื้อรังนั้นถือว่าเป็น ภัยเงียบ“ อย่างหนึ่ง เพราะกว่าร่างกายจะมีอาการเตือนของโรคไตส่วนใหญ่ไตก็จะเสียไปประมาณ 70% แล้ว เป็นมากแล้วถึงจะเริ่มมีอาการ ในระยะเริ่มต้นที่ไตจาก 100% ลงมาเหลือ 30% บางคนไม่มีอาการ บางคนไตหายไปข้างหนึ่งแล้วยังไม่มีอาการเลย!!
    
โรคไตเรื้อรังเป็นภาวะที่เนื้อไตถูกทำลายถาวร ไตค่อย ๆ ฝ่อเล็กลง แม้อาการจะสงบ แต่ไตจะค่อย ๆ เสื่อม และเข้าสู่ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในที่สุด กลุ่มคนที่เสี่ยงเป็นโรคไตสูงนั้น กลุ่มคนที่เป็นโรคเบาหวานถือเป็นอันดับต้น รองลงมาก็คนที่เป็นความดันโลหิตสูง เป็นโรคหัวใจ มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไต และคนที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ซึ่งใน กลุ่มเสี่ยงนี้ควรตรวจคัดกรองหาโรคไตประมาณปีละ ครั้ง
   
แต่คนที่ไม่ได้อยู่ใน กลุ่มเสี่ยงก็มีโอกาสเป็นโรคไตได้ แล้วต้องทำยังไงให้ห่างไกลโรคไต ก็ต้องทำให้ร่างกายมีสุขภาพดี ไม่ทานเค็ม อย่าทานหวานมากเพราะถ้าทานหวานมากน้ำหนักจะเยอะ พอน้ำหนักเยอะก็อาจจะเป็นโรคได้ ต้องออกกำลังกายสม่ำเสมอ ดื่มน้ำมาก ๆ วันละ 6-8 แก้วเป็นอย่างต่ำ
    
ผศ.นพ.สุรศักดิ์ให้ความรู้อีกว่า... สำหรับการสังเกตอาการเตือนว่าจะเป็นโรคไตหรือไม่นั้น มีวิธีสังเกตเบื้องต้น อาทิ มีอาการบวมโดยเฉพาะ บวมที่หน้า บวมที่ตา พอตอนสาย ๆ จะบวมที่ขา พอตื่นเช้าขาหายบวม มาบวมที่ตาก่อน นี่เป็นลักษณะการบวมจากโรคไต คนที่ ปัสสาวะมีฟองมากกว่าปกติ เช่น ปัสสาวะลงโถไป 1นาทีแล้วฟองยังไม่หาย อย่างนี้น่าสงสัยว่าจะเป็นโรคไต หรือบางคน ปัสสาวะสีเปลี่ยน เป็นสีชา สีแดง สีน้ำล้างเนื้อ หรือสีขุ่นผิดปกติ นี่ก็อาจจะมีโรคไตซ้อนอยู่ หรือบางคนก็มี ผมร่วง คันตามตัวโดยไม่ทราบสาเหตุ และอาการที่ไม่จำเพาะก็จะมีอาการ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด อันนี้ก็อาจเป็นอาการของโรคไต
    
กับการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายระยะสุดท้ายนั้น มีอยู่ วิธี คือ 1. ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ที่เราเรียกว่าล้างไต 2. ล้างไตทางช่องท้อง ผู้ป่วยทำเองที่บ้านได้ ส่วนวิธีรักษาที่ดีที่สุดก็คือ 3. ผ่าตัดปลูกถ่ายไตการดูแลป้องกันในระยะเริ่มต้นนั้นสำคัญ เป็นการป้องกันโรคไตที่ดีที่สุด ถ้ารักษาหรือชะลอการเสื่อมระยะเบื้องต้นจะชะลอได้ 5-10 ปี แต่ถ้าไปชะลอในระยะท้าย ๆ จะไม่ค่อยได้ผล เพราะฉะนั้นประชาชนต้องตื่นตัว ต้องปฏิบัติตัวให้ดี ดูแลตัวเองให้สม่ำเสมอ ไม่ให้เกิดโรคไต“...ผศ.นพ.สุรศักดิ์ระบุ
    
ขณะที่ ศ.นพ.ดุสิต ล้ำเลิศกุล นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย บอกว่า... สำหรับสมาคมโรคไต คือสมาคมวิชาการ เริ่มแรกเป็นการจัดตั้งขึ้นมาเพื่อส่งเสริม ความรู้ในหมู่สมาชิกแพทย์ อาจารย์แพทย์ แพทย์ต่างจังหวัด แพทย์ประจำบ้าน นักเรียนแพทย์ ให้มีความรู้เกี่ยวกับโรคไต แต่ปัจจุบันผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายมีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นหน้าที่ของสมาคมฯ จึงไม่เพียงทำแต่เรื่องวิชาการแล้ว แต่ยังได้ส่งเสริมการบริการทางการแพทย์ให้ทั่วถึงมากขึ้น ส่งเสริมให้ทุกคนเข้าถึงการรักษา คือทั้งให้ความรู้ด้านวิชาการ บริการ ป้องกัน
    
ด้าน พญ.ธนันดา ตระการวนิช อนุกรรมการป้องกันไตวายเรื้อรัง สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย เสริมว่า... ในส่วนของคณะอนุกรรมการฯ ก็เน้นที่การให้ความรู้การป้องกันโรคไต แนะนำเรื่องอาหาร การปฏิบัติตัว กิจวัตรประจำวัน และการกินยา ทั้งยาที่ควรกินและควรเลี่ยง โดยวิธีป้องกันและชะลอความเสื่อมของไตคือ ลดทานเค็มเพื่อไม่ให้ไตทำงานหนัก จำกัดอาหารโปรตีนในคนไข้ที่ไตเสื่อมเพื่อให้ไตเสื่อมช้าลง ยาที่ควรเลี่ยงไม่ทานประจำก็พวกยาแก้ปวด ยาสมุนไพรบางอย่าง ยาบำรุงไตก็ไม่ควรซื้อกินเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ นอกจากนี้ การออกกำลังกาย ปรับวิถีชีวิตเพื่อสุขภาพ ก็ชะลอการเสื่อมของไตได้ และควรตรวจคัดกรองโรคไตปีละ ครั้ง
    
   
โรคไต“ คืออีกหนึ่ง ภัยสุขภาพ“ ที่เป็น ภัยเงียบ
    
ทางที่ดี ป้องกันไว้ก่อนดีกว่า“ อย่าประมาท!!!!!
852


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น