วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

นักบวชที่คนจีนรู้จัก 1

ตอบ         ร าวค.ศ. 525 พระสงฆ์นาม Bodhidharma เดินทางจากวัดทางตอนใต้ของอินเดียเพื่อไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในจีนซึ่งต่อมา ได้กลายเป็นนิกายมหายาน (หรือที่ญี่ปุ่นเรียกว่า เซน) หลังเดินทางไกลหลายร้อยไมล์จนถึงตอนเหนือของจีน ข้ามเขาหิมาลัย และแม่น้ำแยงซีเกียง มุ่งหน้าขึ้นเหนือเพื่อไปที่เมือง Loyang อันเป็นเมืองหลวงของมณฑล Honan ที่ป่าในละแวกใกล้เคียง ท่านได้พบวัดเส้าหลิน (วัดป่าน้อย) สร้างโดยจักรพรรดิ Hsiao Wen แห่งราชวงศ์เวยฝ่ายเหนือ (ค.ศ. 386-534) มีชื่อเสียงโด่งดังเพราะเป็นแหล่งแปลคัมภีร์พระพุทธศาสนาเป็นภาษาจีน พระ Bodhidharma ได้เข้าไปพำนักอยู่ในถ้ำแห้งหนึ่งใกล้วัด เพื่อเจริญกรรมฐานโดยหันหน้าเข้าหากำแพงหินเป็นเวลานานถึง 9 ปี ระหว่างที่ท่านเจริญกรรมฐานนี้มีเรื่องเล่าแตกต่างกันออกไปมากมาย บ้างเล่าว่าท่านได้ยินแม้กระทั่งเสียงมดไต่ตามก้อนหิน บ้างก็เล่าว่าท่านผลอยหลับไปครั้งหนึ่งระหว่างเจริญกรรมฐานจึงได้ตัดเปลือก ตาทิ้งเพื่อไม่ให้เผลอหลับได้อีก ว่ากันว่าเมื่อครบ 9 ปีดวงตาของท่านก็สามารถเจาะกำแพงถ้ำจนเป็นรูได้อย่างน่าทึ่ง ทำให้เจ้าอาวาส Fang Chang แห่งวัดเส้าหลินซึ่งเคยปฏิเสธไม่ให้ท่านเข้าวัดจำต้องต้อนรับท่านในที่สุด
                  พระ Bodhidharma กลายเป็นศาสดาแห่งลัทธิมหายานในจีน ท่านเห็นว่าหลวงจีนส่วนใหญ่ล้วนมีสุขภาพอ่อนแอและไม่สามารถเจริญกรรมฐาน อย่างเคร่งครัดได้ จึงได้หัดให้หลวงจีนเหล่านั้นฝึกฝนร่างกายควบคู่ไปกับการฝึกปฏิบัติธรรม ซึ่งได้รับการถ่ายทอดโดยศิษย์รุ่นต่อๆ มาจนกลายเป็นที่มาของวรยุทธวัดเส้าหลินไปในที่สุด พระ Bodhidharma คิดค้นท่าทางการเคลื่อนไหวเพื่อป้องกันตัวโดยพัฒนาจากวิธีการต่อสู้แบบ อินเดียที่ท่านรู้จัก โดยเน้นที่พลัง ชี่ (กำลังภายในซึ่งสามารถฝึกได้ด้วยการบริหารลมปราณและทำสมาธิ) ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของกังฟูเส้าหลิน การสอนของพระ Bodhidharma ได้รับการพัฒนาและกลั่นกรองโดยพระอาจารย์ในเส้าหลินรุ่นต่อๆ มาเพื่อให้เป็นวรยุทธเส้าหลินที่สง่างามและทรงพลัง (บ้างเรียกว่า Shaolin Ch'uan [หมัดเส้าหลิน] หรือ Shaolin Ch'uan Fa [เพลงหมัดเส้าหลิน] ) และเนื่องจากวัดเส้าหลินถูกพวกโจรปล้นสะดมอยู่บ่อยครั้ง เส้าหลินจึงได้จ้างอาจารย์สอนกังฟูเข้ามาสอนหลวงจีนให้รู้จักป้องกันตนเอง ในที่สุดก็สามารถขับไล่โจรได้สำเร็จและทำให้ฝีมือการต่อสู้ของหลวงจีนวัด เส้าหลินเป็นที่เลื่องลือ ต่อมาในปีค.ศ.1644 แมนจูขึ้นครองอำนาจ (ราชวงศ์ชิง ปีค.ศ.) ขุนนางราชวงศ์หมิงหลายคนหนีเข้าไปหลบไปวัดเส้าหลิน ฝ่ายแมนจูจึงได้ทำลายวัดเส้าหลินเสีย มีเพียงพระอาจารย์ 5 ท่าน ที่หนีรอดมาได้และมุ่งหน้าไปทางเหลือไปสอนชาวมองโกเลีย และอีกส่วนหนึ่งมุ่งหน้าลงใต้เพื่อฝึกสอนชาวใต้  วัดเส้าหลินดั้งเดิมนั้นถูกทำลายไปนานแล้ว แต่กังฟูเส้าหลินที่มีรากฐานจากวันเส้าหลินแห่งแรกได้แพร่กระจายไปทั่วเมือง จีนและทั่วโลก โดยมี 2 สำนักใหญ่ที่รู้จักกันดีคือเส้าหลินเหนือและเส้าหลินใต้ ทางเหนือของจีนซึ่งมีอากาศเย็นกว่า พื้นดินแข็งกระด้าง ทำให้ได้ท่วงท่าที่มั่นคงในการเตะและก้าวย่าง ดังนั้นเส้าหลินเหนือจึงเน้นที่การเตะ การต่อสู้จากระยะห่าง ท่วงท่าโลดโผน กายกรรม และการต่อสู้บนพื้นดิน โดยเฉพาะท่าเตะที่พลิกแพลงผาดโผนและทรงพลัง แต่ผู้ฝึกที่มีทักษะดีก็สามารถพัฒนาท่าเตะพื้นฐานให้มีประสิทธิภาพได้เช่นกัน ทางใต้ซึ่งมีอากาศอบอุ่นกว่า พื้นดินอ่อนนุ่มและมักจะเป็นโคลน ทำให้การเตะและก้าวย่างทำได้ยาก ดังนั้นเส้าหลินใต้จึงเน้นท่วงท่าในส่วนบนและการใช้มือ ผู้ฝึกกังฟูเส้าหลินใต้จะต้องรอให้คู่ต่อสู้เปิดฉากโจมตี จึงตอบโต้ด้วยการบล็อคอย่างรวดเร็วและสวนกลับในขณะถูกโจมตีเพื่อไม่ให้คู่ ต่อสู้ตั้งตัวได้

แหล่งข้อมูล:
http://www.kungfu-wusu.com

Bodhidharma ก็คือ ตั้กม้อ เป็นชื่อของปรมาจารย์ผู้ให้กำเนิดวิชามวยของ “วัดเส้าหลิน” อันมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จัก กันทั่วไป ภาพยนต์จีนกำลังภายในมักจะนิยมนำเรื่องราวของการฝึกวิชาต่อสู้ของหลวงจีนวัดเส้า หลินมาอ้างอิงอยู่เสมอ ทั้งนี้เพราะการฝึกวิชาต่อสู้ของหลวงจีนเหล่านั้นมีความลึกลับพิศดารตื่น เต้นน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง แถมชื่อของท่ามวยแต่ละกระบวนท่านั้นฟังดูแล้วก็แปลกพิสดารไม่แพ้กัน ผมจึงนำมาใช้เรียกกระบวนท่าตีขิมบ้าง สนุกดีครับ

“ปรมาจารย์ตักม้อ” นั้นเป็นชาวอินเดีย ครับ เล่ากันว่าเป็นโอรสของกษัตริย์อินเดียแคว้น หนึ่งทีเดียวนะครับ ก่อนที่จะบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนานั้นท่านเป็นนักรบที่เก่งกาจ มาก ต่อมาไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุใดจึงออกบวชเสียยังงั้นแหล่ะ บางทีท่านอาจจะได้ดวงตา เห็นธรรมหรือไม่ก็เบื่อการรบราฆ่าฟันกันเต็มทีจึงออกบวชเพื่อแสวงหาความสงบสุขทางใจบ้าง น่ายกย่องนะครับ

คำว่า “ปรมาจารย์ตักม้อ” นั้นเป็นคำเรียกในภาษาจีนครับ “ปรมะ” หรือ “ปรมา” นั้นมาจาก คำว่า “บรม” ซึ่งแปลว่า “ยิ่งใหญ่” ดังนั้นคำว่า ปรมาจารย์ตักม้อ จึงหมายถึง อาจารย์หรือครู ผู้ยิ่งใหญ่ซึ่งมีนามว่า “ตักม้อ” นั่นเอง คำว่าตักม้อนี้ชาวจีนเรียกเพี้ยนมาจากคำว่า “ตะโม” เพราะนามเดิมของท่านในภาษาอินเดียเรียกว่า “ตะโมภิกขุ” (ภาษาไทยเรียกท่านว่า พระโพธิธรรม) พอไปอยู่เมืองจีนจึงกลายเป็น “ตักม้อ” ไป ครั้นพอมาถึงเมืองไทยก็มีผู้เติม “ไม้ตรี” เข้า ไปอีกตัวหนึ่งจึงกลายเป็น “ตั๊กม้อ” ไปด้วยประการฉะนี้ ต่อไปนี้ผมจึงขออนุญาตเรียกนามท่าน ปรมาจารย์ตักม้อในหนังสือเล่มนี้ว่า “อาจารย์ตั๊กม้อ” ก็แล้วกันนะครับ ฟังแล้วค่อยคุ้นหูเป็น สำนวนแบบไทยๆ สักหน่อย เนื่องจากท่านอาจารย์ตั๊กม้อเป็นชาวดินเดียจึงมีผิวกายดำคล้ำและมีเส้นผมหยิกงอ ดังนั้น ภาพของท่านในสายตาของชาวจีนจึงดุร้ายน่ากลัวราวกับโจรผู้ร้ายทีเดียวเชียวละครับ ภาพ การ์ตูนของผมก็เลยต้องวาดให้มีลักษณะดุดันตามไปด้วย แต่ความจริงแล้วอาจารย์ตั๊กม้อท่าน เป็นคนดีเป็นฝ่ายธรรมะครับ ถ้าไม่ดีจริงคงไม่บวชเป็นพระในพระพุทธศาสนาและไม่สามารถ เดินทางไปเผยแพร่ธรรมะในประเทศจีนจนแพร่หลาย เป็นที่เคารพยกย่องของชาวจีนเป็น จำนวนมากมานานนับเป็นพันๆปีทีเดียว แสดงว่าคนดีนั้นไม่จำเป็นต้องมีรูปร่างหน้าตาสวยงาม เสมอไป คนรูปชั่วใจดีมีถมไป ส่วนคนที่รูปงามแต่จิตใจชั่วร้ายก็มีมากเหมือนกัน ต้องคอยระวัง กันให้ดีก็แล้วกันนะครับ 
เรื่องราวของอาจารย์ตั๊กม้อที่เด่นดังเป็นที่รู้จักกันทั่วไปมีอยู่มากมายหลายเรื่องผมจะขอเล่า ให้ฟังสักสองสามเรื่องนะครับ แต่ถ้าท่านผู้อ่านอยากจะทราบเรื่องราวให้มากไปกว่าที่ผมเล่าก ็ต้องไปค้นคว้าหาอ่านเพิ่มเติมกันเองครับ เรื่องแรกซึ่งเล่าขานเกี่ยวกับความเก่งกล้าสามารถ ของอาจารย์ตั๊กม้อนั้นคือในสมัยแรกที่ท่านเดินทางจากประเทศอินเดียไปยังประเทศจีนนั้นมีอยู่  ตอนหนึ่งซึ่งจำเป็นต้องเดินทางข้ามลำน้ำแต่ไม่สามารถจะหาเรือนั่งข้ามไปได้ ท่านอาจารย์ตั๊กม้อจึงแสดงอภินิหารข้ามลำน้ำด้วยวิธีอันน่าตื่นเต้นพิสดารคือ ท่านหักต้นอ้อท่อนหนึ่งโยนลง ไปในน้ำแล้วโดดลงไปยืนเหยียบอยู่บนต้นอ้อต้นนั้นอาศัยเป็นเรือพาท่านลอยข้ามลำน้ำไปขึ้น ยังอีกฝั่งหนึ่งอย่างสบายอารมณ์ ชาวบ้านในละแวกนั้นต่างพากันแตกตื่นเลื่อมใสในความ
สามารถของท่านและเล่าขานเรื่องนี้สืบต่อๆกันมาจนถึงทุกวันนี้  เรื่องที่สองคือ เมื่อท่านเดินทางไปถึงประเทศจีนใหม่ๆ ชาวจีนที่นับถือพุทธศาสนาในขณะ นั้นยังไม่เข้าใจลึกซึ้งถึงหลักธรรมที่แท้จริง ต่างแบ่งแยกกันออกเป็นนิกายต่างๆมากมายและ ปฏิบัติธรรมผิดออกไปจากคำสอนเดิมของพระพุทธเจ้า เมื่อเห็นท่านเป็นพระที่เดินทางมาจาก อินเดียซึ่งเป็นแดนพุทธภูมิจึงพากันมาตั้งคำถามและลองภูมิท่านจนรู้สึกรำคาญ ท่านอาจารย์ตั๊กม้อคงอิดหนาระอาใจมากจึงนั่งสมาธิหันหน้าเข้าหาผนังหินในถ้ำไม่ยอมพูดจากับใครเป็นเวลา นานถึง 9 ปี เล่นเอาพวกที่ชอบไปอวดรู้ลองภูมิพากันหลบฉากหนีหน้าไปเพราะแตกตื่นในวิธี การนั่งสมาธิแบบพิสดารของพระจากเมืองอินเดีย ส่วนคนที่เลื่อมใสก็พากันเข้ามาฝากตัวเป็น ศิษย์เรียนธรรมะกับท่านจนกลายเป็นหลวงจีนวัดเส้าหลินอันมีชื่อเสียงโด่งดังสืบต่อๆกันมานั่น แหล่ะครับ  เรื่องที่สามเป็นเรื่องที่ท่านอาจารย์ตั๊กม้อใช้วิทยายุทธปราบคนพาลอภิบาลคนดีจนมีคน เคารพเลื่อมใสมากมายทั่วไปในเมืองจีน คือตอนที่ท่านเดินทางธุดงค์จาริกไปทั่วเมืองจีนนั้นได้ ช่วยเหลือปราบปรามโจรผู้ร้ายที่สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านด้วยวิชาการต่อสู้อันแปลก พิสดารที่ท่านได้เรียนรู้ไปจากอินเดีย นอกจากนั้นท่านยังได้รวบรวมบันทึกเคล็ดวิชาในการฝึก การต่อสู้อันสุดแสนจะพิสดารต่างๆรวมเข้าไว้เป็นคัมภีร์เล่มหนึ่ง เรียกว่า “คัมภีร์เก้าอิมจินเก็ง” คัมภีร์เล่มนี้แบ่งออกเป็น 2 ท่อน ท่อนแรกเรียกว่า “คัมภีร์ท่อนบน” บันทึกวิชาฝึกความแข็งแรง ของร่างกาย (ฝึกโยคะ) และการต่อสู้ไว้ 72 กระบวนท่า ท่อนที่สองเรียกว่า “คัมภีร์ท่อนล่าง” บันทึกเคล็ดวิชาต้องห้าม (วิชามาร) เอาไว้ 36 ประบวนท่า เคล็ดวิชามารเหล่านี้เป็นแนวทางการ ฝึกวิทยายุทธของคนที่เหี้ยมโหดชั่วร้ายซึ่งพ่ายแพ้แก่ฝีมือของท่าน อาจารย์ตั๊กม้อจึงยึดเอามา รวมไว้เป็นคัมภีร์ท่อนล่างและกำหนดให้เป็น ”วิชาต้องห้าม” คือห้ามมิให้ฝึกเนื่องจากวิธีการ ฝึกนั้นผิดทั้งครรลองคลองธรรมและผิดศีลธรรมจึงเก็บซ่อนคัมภีร์ท่อนล่างไว้อย่างมิดชิด ภายหลังจากท่านอาจารย์ตั๊กม้อมรณภาพไปแล้วได้มีผู้ลอบโขมยคัมภีร์ท่อนล่างนี้ออกมาจากวัด เส้าหลินและหายสาบสูญไปในที่สุด


 

----- Forwarded Message ----
From: MaiY <maiysjc@gmail.com>
To: dhammasawasdee <DhammaSawasdee@googlegroups.com>
Sent: Sat, May 7, 2011 3:44:57 PM
Subject: {นานาสาระ ธรรมะสวัสดี: ฉบับที่ 8966} คำถาม นักบวชที่คนจีนรู้จัก

ใครกันเนี่ย ไม่ใช่คนจีน ท่านเคยเป็นนักรบที่เก่งกาจมาก ต่อมาไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุใดจึงออกบวชเสียยังงั้นแหล่ะ บางทีท่านอาจจะได้ดวงตาเห็นธรรม  หรือไม่ก็เบื่อการรบราฆ่าฟันกันเต็มทีจึงออกบวชเพื่อแสวงหาความสงบสุขทางใจ...

ท่านใช้วิทยายุทธปราบคนพาลอภิบาลคนดีจนมีคนเคารพเลื่อมใสมากมายทั่วไปในเมืองจีน คือตอนที่ท่านเดินทางธุดงค์จาริกไปทั่วเมืองจีนนั้นได้ช่วยเหลือปราบปรามโจร ผู้ร้ายที่สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านด้วยวิชาการต่อสู้อันแปลกพิสดาร  นอกจากนั้นท่านยังได้รวบรวมบันทึกเคล็ดวิชาในการฝึกการต่อสู้อันสุดแสนจะพิสดารต่างๆ รวมเข้าไว้เป็นคัมภีร์เล่มหนึ่ง เรียกว่า “คัมภีร์เก้าอิมจินเก็ง”

คัมภีร์เล่มนี้แบ่งออกเป็น 2 ท่อน ท่อนแรกเรียกว่า “คัมภีร์ท่อนบน” บันทึกวิชาฝึกความแข็งแรงของร่างกาย (ฝึกโยคะ) และการต่อสู้ไว้ 72 กระบวนท่า ท่อนที่สองเรียกว่า “คัมภีร์ท่อนล่าง” บันทึกเคล็ดวิชาต้องห้าม (วิชามาร) เอาไว้ 36 ประบวนท่า เคล็ดวิชามารเหล่านี้เป็นแนวทางการฝึกวิทยายุทธของคนที่เหี้ยมโหดชั่วร้ายซึ่งพ่ายแพ้แก่ฝีมือของท่าน จึงยึดเอามารวมไว้เป็นคัมภีร์ท่อนล่างและกำหนดให้เป็น ”วิชาต้องห้าม” คือห้ามมิให้ฝึกเนื่องจากวิธีการฝึกนั้นผิดทั้งครรลองคลองธรรมและผิดศีลธรรม จึงเก็บซ่อนคัมภีร์ท่อนล่างไว้อย่างมิดชิด


ท่านคือใคร มีประวัติเป็นมาอย่างไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น