วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

แนววิธีการเพาะเลี้ยงปลาสลิด

การเพาะพันธุ์ปลา
ปลา สลิดสามารถผสมพันธุ์และวางไข่ได้เมื่อมีอายุ 7 เดือน ขนาดโตเต็มที่โดยเฉลี่ยจะมีขนาดตัวยาวประมาณ 6-7 นิ้ว หนัก 130-400 กรัม ปลาสลิดจะเริ่มวางไข่ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคม หรือในฤดูฝน แม่ปลาตัวหนึ่ง ๆ จะสามารถวางไข่ได้หลายครั้ง แต่ละครั้งจะได้ปริมาณไข่ประมาณ 4,000-10,000 ฟอง ในฤดูวางไข่ ท้องแม่ปลาจะอูมเป่งออกมาทั้งสองข้าง ลักษณะของไข่ปลาสลิดมีสีเหลือง ควรจัดที่ให้ปลาสลิดวางไข่ภายในเดือนมีนาคม โดยหลังที่ได้กำจัดศัตรูปลาระบายน้ำเข้า และปล่อยพันธุ์ปลาลงบ่อแล้ว น้ำลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร ควรปลูกผักบุ้งรอบบริเวณชายบ่อ ปลาสลิดจะเข้าไปก่อหวอดวางไข่ และลูกปลาวัยอ่อนจะสามารถเลี้ยงตัวหลบหลีกศัตรูตามบริเวณชานบ่อนี้ได้
pp1.gif (3210 bytes)
1. ระบายน้ำเข้าบ่อผ่านตะแกรงที่มีช่องตาขนาด 1 มิลลิกรัมจนท่วมชานบ่อ โดยรอบ ให้มีระดับสูง 20-30 เซนติเมตร ปลาจะเข้าก่อหวอดวางไข่มากขึ้นอาณาเขตบ่อก็จะกว้างขวางกว่าเดิมเป็นการเพิ่ม ที่วางไข่ และที่เลี้ยงตัวลูกปลามากขึ้น
2. สาดปุ๋ยมูลโคและมูลกระบือแห้งบนบริเวณชานบ่อที่ไขน้ำท่วมขึ้นมาใหม่ จะทำให้เกิดไรน้ำและผักบนชานบ่อเจริญงอกงามขึ้นอีกด้วย
3. ปล่อยให้ผักขึ้นรกในบริเวณชานบ่อ ผักเหล่านี้ปลาสลิดจะใช้ก่อหวอดวางไข่ และเป็นกำบังหลบหลีกศัตรของลูกปลาในวัยอ่อนจนกว่าจะแข็งแรงเอาตัวรอดได้
การวางไข่
การ วางไข่ ก่อนปลาสลิดจะวางไข่ ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายเตรียมการเลือกสถานที่ และก่อหวอดซึ่งเป็นฟองน้ำละลายไว้ในระหว่างต้นผักบุ้งโปร่งไม่หนาทึบเกินไป ปกติปลาสลิดตัวเมียจะชอบวางไข่ในที่ร่มมากกว่ากลางแจ้งเมื่อเตรียมหวอดเสร็จ แล้ว ปลาก็จะเริ่มผสมพันธุ์กันโดยตัวผู้จะเริ่มไล่ต้อนตัวเมียเข้าใต้บริเวณหวอด และรัดท้องตัวเมียให้ไข่ออกแล้วปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสมกันไข่ จากนั้นปลาตัวผู้จะอมไข่เข้าใต้หวอด ไข่จะลอยติดอยู่ที่หวอด   นอกจากการเพาะพันธุ์ปลาสลิดในบ่อแล้ว
ยังสามารถเพาะในถังทรงกลมได้อีกด้วย
การเพาะพันธุ์ปลาสลิดในถังทรงกลม
        ใช้ถังทรงกลมปากกว้าง 1.50 เมตร ยาว 3 เมตร ลึก 60 เซนติเมตร น้ำลึกประมาณ 40 เซนติเมตร วางไว้กลางแจ้ง โดยทำเป็นเพิงคลุมถังประมาณ 2 ใน 4 ของถังเพื่อกำบังแดด ใช้ผักบุ้งลอยไว้ 3 ใน 4 ของถัง แล้วปล่อยแม่ปลาที่กำลังมีไข่แก่ 10 ตัว ตัวผู้ 10 ตัว หลังจากปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาเพียง 4-6 วัน ปลาสลิดจะเริ่ม ก่อหวอดวางไข่ ไข่ปลาจะฟักเป็นตัวและเติบโตเช่นเดียวกับการเพาะฟักในบ่อดิน จากนั้นให้ช้อน พ่อแม่ปลาออกแล้วเลี้ยงลูกปลาไปก่อนโดยให้ไข่ผงหรือไรน้ำเป็นอาหาร 2 สัปดาห์ จึงให้รำผงละเอียดจนกว่าลูกปลาจะมีขนาดยาว 2 เซนติเมตร เพื่อปล่อยลงบ่อเลี้ยงต่อไป หรือจะนำหวอดไข่จากบ่อเพาะเลี้ยงมาฟักในถังทรงกลมก็จะช่วยให้ลูกปลาสลิดมี ชีวิตรอดเป็นจำนวนมากกว่าที่จะปล่อยให้เจริญ เติบโตในบ่อเพาะเลี้ยงเอง เพราะในบ่อมักมีศัตรูปลาสลิดอยู่ เช่น แมลงในน้ำ กบ งู ปลากินเนื้อ ซึ่งจะคอยทำลายไข่และลูกปลา อัตราลูกปลาจะรอดน้อยกว่าการนำพ่อแม่พันธุ์มาเพาะในภาชนะไข่ปลาจะฟักเป็นตัว ภายใน 24 ช.ม. ในระยะ 7 วันแรกลูกปลาจะไม่กินอาหาร เมื่อถุงอาหารยุบหมด ลูกปลาจึงเริ่มกินอาหาร โดยลูกปลาขึ้นเหนือน้ำในตอนเช้าตรู่
การเตรียมบ่อ
บ่อ เลี้ยงปลาสลิดหรือแปลงนาปลาสลิด จะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคูล้อมทุกด้านหรืออย่างน้อย 2 ด้าน กว้างอย่างน้อย 1 วา ลึกอย่างน้อย 75 เซนติเมตร ความสูงของคันต้องกั้นน้ำท่วม และฐานต้องกว้างกว่าหรือเท่ากับความกว้างของคู ควรมีชานบ่อกว้างอย่างน้อย 1 เมตร สำหรับให้ปลาวางไข่ บ่อขนาดเล็กที่สุดมีความกว้าง 10 เมตร ยาว 20 เมตร ลึก 1.50 เมตร 
วิธีการเตรียมบ่อ
การ ใส่ปูนขาว บ่อที่ขุดใหม่โดยทั่วไปแล้ว ดินมักจะมีสภาพเป็นกรด ควรใช้ปูนขาวโดยให้ทั่วบ่อ 1 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่ 10 ตารางเมตร เพื่อแก้ความเป็นกรดของดินให้เจือจาง ถ้าเป็นบ่อเก่าที่ไม่เคยใช้เลี้ยงปลา ควรกำจัดวัชพืชต่าง หากบ่อตื้นเขินไม่เหมาะแก่การเลี้ยงปลาควรสูบน้ำออกลอกเลนและตกแต่งพื้นบ่อ ให้มั่นคงแข็งแรง แล้วตากบ่อให้แห้งประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้แสงแดดช่วยฆ่าและกำจัดเชื้อโรคต่าง ๆ
ก่อนจะปล่อย พันธุ์ปลาลงเลี้ยง ควรใช้โล่ติ๊นฆ่าศัตรูต่าง ๆ ของปลาในบ่อให้หมดสิ้นเสียก่อน โดยใช้โล่ติ๊นสด หนัก 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 100 ลูกบาศก์เมตร ทุบโล่ติ๊นให้ละเอียดแช่น้ำไว้ โล่ติ๊นสดหนัก 3 กิโลกรัม ใช้น้ำประมาณ 2 ปีบ ขยำเอาน้ำสีขาวออกหลาย ๆ ครั้งจนหมด แล้วน้ำไปสาดให้ทั่ว ๆ บ่อ ปลาต่างๆ ที่เป็นศัตรูจะเริ่มตายหลังจากที่ใส่โล่ติ๊นลงไปประมาณ 30 นาที จากนั้นจะตายต่อไป จนหมดบ่อ แล้วปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 7-8 วัน เพื่อให้พิษของโล่ติ๊นสลายตัวหมดเสียก่อน จึงนำพันธุ์ปลาสลิดปล่อยลงเลี้ยงต่อไป
วิธีการเพาะอาหารธรรมชาติ
                                                                                    

ิ โดยใช้ปุ๋ยคอกโรยให้ทั่วบ่อ อัตราส่วนปุ๋ยคอก 100 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่ 1 ไร่ แล้วระบายน้ำเข้าบ่อให้มีระดับสูงจากพื้นบ่อ 10-20 เซนติเมตร ปล่อยไว้ 7-10วัน จะเกิดตะไคร่น้ำหรือที่เรียกว่าขี้แดด จากนั้นจึงค่อยระบายน้ำเข้าบ่อตามระดับที่ต้องการ ถ้าเป็นบ่อใหม่ ภายหลังที่ใส่ปุ๋ยและปล่อยน้ำเข้าแล้วควรนำเชื้อตะไคร่น้ำที่หาได้จากน้ำที่ มีสีเขียวจัดโดยทั่วไปมาใส่ ลงในบ่อ เพื่อเร่งให้เกิดตะไคร่น้ำเร็วยิ่งขึ้น ในบ่อปลาสลิดควรปลูกพันธุ์ไม้น้ำเช่น ผักบุ้ง แพงพวย และผักกระเฉด เพื่อให้เหมาะสมกับนิสัยและความเป็นอยู่ของปลาสลิด และเพื่อเพิ่มอาหารธรรมชาติให้กับลูกปลาการใส่ปุ๋ยคอก เช่น มูลโค มูลกระบือที่ตากแห้งแล้ว โรยตามริมบ่อในอัตรา 10 กิโลกรัมต่อเนื้อที่ 160 ตารางเมตร ใส่ปุ๋ยคอก 2-3 เดือนต่อครั้ง การที่จะให้บ่อปลามีอาหารธรรมชาติอยู่เสมอนั้น ให้นำปุ๋ยหมักหมักไปกองไว้บริเวณริมบ่อด้านใดด้านหนึ่ง ปุ๋ยหมักนี้จะใช้หญ้าสดที่ดายทิ้ง กองอัดให้แน่นแล้วใส่ปุ๋ยคอกผสมลงไปด้วยเพื่อให้หญ้าสดสลายตัวเร็วขึ้นจะ ช่วยเร่งให้เกิดจุลินทรีย์และไรน้ำต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นอาหารของปลาสลิดต่อไป จะต้องใส่ปุ๋ยก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยงอย่างน้อย 3 วัน แล้วปล่อยปลาสลิดลงเลี้ยงประมาณ 5-10 ตัว ต่อเนื้อที่ผิวน้ำ 1 ตารางเมตร เป็นอย่างมาก
การให้อาหาร
อาหาร ที่ปลาสลิดชอบกินคือ ตะไคร่น้ำ รำละเอียด หรือปลายข้าวต้ม ปนกับผักบุ้งที่หั่นแล้ว แหนสด และปลวก อาหารของลูกปลาวัยอ่อน ซึ่งมีอายุ 7-12 วัน ให้ตะไคร่น้ำและไร่น้ำเป็นอาหาร เมื่อลูกปลา มีอายุ 21 วัน – 1 เดือน ให้รำข้าวละเอียดต้มปนกับผักบุ้งที่หั่นละเอียด แหนสด และปลวกบ้าง (ผัก 1 ส่วน รำ 2 ส่วน) ทั้งนี้ต้มผักให้เปื่อยเสียก่อน แล้วจึงเอารำลงไปเคล้าปั้นเป็นก้อนให้กินเพียง
วันละ 2 ครั้ง ในเวลาเช้า ระหว่าง 7.00 –8.00 น. และเย็น ประมาณ 3-5 % โดยใส่อาหารบนแป้นซึ่งอยู่ใต้ระดับน้ำ 1 คืบ อย่าให้อาหารเหลือข้ามวันจะทำให้น้ำเน่าเสียได้ ควรดีดน้ำให้เป็นสัญญาณ ปลาจะได้เคยชินและเชื่องด้วย
การเจริญเติบโต
ปลา ขนาด 5 เซนติเมตร ใช้เวลาเพียง 7-8 เดือนและถ้าปล่อยปลาขนาด 10 เซนติเมตรใช้เวลาเลี้ยง 5-6 เดือน ส่วนการเลี้ยงลูกปลาจากพ่อแม่ปลาจะใช้เวลา 10-11 เดือน จับขายได้
การป้องกันโรค
ปลา สลิดไม่ค่อยจะเป็นโรคร้ายแรง หากน้ำในบ่อเสียจะสังเกตเห็นปลาขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำ เพราะออกซิเจนที่ละลายน้ำไม่เพียงพอ วิธีแก้ไขก็คือต้องถ่ายน้ำเก่าออกและระยายน้ำใหม่เข้าหรือย้ายปลาไปไว้ในบ่อ อื่น โดยเฉพาะมักจะเกิดเห็บปลา ซึ่งมีลักษณะตัวแบน สีน้ำตาลใสเกาะติดตามตัวปลามาดูดเลือดของปลากิน ความเจริญเติบโตของปลาชะงักลง ทำให้ปลาผอม การกำจัดโดยระบายน้ำสะอาดเข้าไปในบ่อให้มาก ๆ ตัวเห็บก็จะหายไปได้     การป้องกันโรคระบาดอีกประการหนึ่งก็คือ ปลาที่จะนำมาเป็นพ่อแม่พันธุ์ถ้าปรากฎว่ามีบาดแผลไม่ควรนำลงไป
เลี้ยงรวมกันในบ่อเพราะปลาที่เป็นแผลจะเป็นโรคราและติดต่อไปถึงปลาตัวอื่นได้
การป้องกันและกำจัดศัตรู
ศัตรู ของปลาสลิด มีหลายประเภท เช่น นาก นกกินปลา งู เต่า ตะพาบน้ำ กบ เขียด ปลากินเนื้อ เช่น ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาไหล จะกินปลาสลิดขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ส่วนปลากริม ปลากัด ปลาหัวตะกั่ว ปลาหมอ มวนวน แมงดาสวนจะกินไข่ปลาสลิดและลูกปลาในวัยอ่อน การ ป้องกันและกำจัดพวกสัตว์ดูดนม สัตว์เลื้อยคลาน โดยทำรั้วล้อมรอบก็เป็นการป้องกันได้ดี ส่วนสัตว์จำพวกนกต้องทำเพิงคลุมแป้นอาหาร เพื่อป้องกันนกโฉบปลาในขณะที่ปลากินอาหารอยู่เป็นกลุ่ม สำหรับปลากินเนื้อชนิดต่าง ๆ นั้น ต้องระวังผักที่จะเก็บลงมาปลูกในบ่อเพราะอาจจะมีไข่ปลาติดมาด้วย โดยเฉพาะท่อระบายน้ำเข้าต้องพยายามใช้งวดตาข่ายที่มีช่องตาขนาดเล็กรองน้ำ ที่จะผ่านลง
ในบ่อ และหมั่นตรวจตะแกรงถ้าชำรุดควรรีบเปลี่ยนใหม่

การ ล้อมรอบคันบ่อใช้ตาข่ายไนลอนให้สูงจากพื้นดินอย่างน้อย 50 เซนติเมตร ส่วนล่างของตาข่ายให้ฝังดินลึกประมาณ 10 เซนติเมตร ถ้าเป็นที่ลุ่มควรต่อตาข่ายไนลอน 2 ผืน หรือเสริมเฝือกสูงประมาณ 2 เมตร พร้อมทั้งหมั่นตรวจสอบ หากชำรุดต้องรีบซ่อมแซม
การจับลูกปลาวัยอ่อน
เมื่อ มีความต้องการจะจับลูกปลาสลิดวัยอ่อนไปแยกเลี้ยง ควรใช้กระชอนผ้าช้อนตักและใช้ขัน หรือถังตักลูกปลาทั้งน้ำและตัวปลาเพื่อมิให้ปลาช้ำ ถ้าเป็นปลาที่โตแล้วโดยสวิงตาถี่ช้อน แล้วใช้ขันตักขึ้นจากสวิงอีกชั้นหนึ่ง หรือลดระดับน้ำลงทีละน้อยเพื่อให้ปลารู้สึกตัว และหนีลงไปอยู่ในคู โดยเดินตรวจบนแปลงนาว่าไม่มีปลาค้างบนแปลงนาเอาอวนเปลวางไว้ในคูตรงจุดที่ ลึกที่สุด สูบน้ำออกจากคู ทีละน้อย ปลาจะหนีลงไปอยู่ในคูและในอวนจึงรวบหูอวนขึ้น ปลาจะติดอยู่ในอวน
ใน กรณีที่ต้องการจับปลาเพื่อใช้ประกอบอาหารประจำวัน ควรใช้ลอบยืนวางไว้ตามมุมบ่อ ถ้าใช้แหทอดหรือสวิงตักที่แป้นอาหารปลาจะเข็ดไม่มากินอาหารหลายวัน
ระยะ เวลาที่ควรจับปลาให้หมดทั้งบ่อเพื่อจำหน่าย คือ เดือนมีนาคม เพราะเป็นฤดูที่ปลาไม่วางไข่ โดยใช้เฝือกล้อมและสวิงตักออกจากเฝือกที่ล้อมนั้น แล้วคัดปลาเก็บไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์เพื่อการเพาะเลี้ยงรุ่นต่อไป โดยใช้สูตรอาหาร สปช. 12 วันละ 2% ของน้ำหนักปลาเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน ก่อนเพาะฟักวันละ 2 เวลา เช้า-เย็น
                                 ball29[1].gif (6979 bytes)สูตรอาหารพ่อแม่ปลาสลิด (สปช. 12)
ปลาป่น     56      กิโลกรัม
รำละเอียด  12     กิโลกรัม
กากถั่ว      12      กิโลกรัม
แป้งผงหรือปลายข้าวต้ม       14    กิโลกรัม
น้ำมันปลาสลิด                       4    กิโลกรัม
วิตามิน แร่ธาตุ                    2       กิโลกรัม
รวม                         100               กิโลกรัม

                                                ballyellow.gif (6291 bytes)หมายเหตุ
ถ้า ใช้แป้งจะได้อาหารในลักษณะเป็นผง แต่ถ้าใช้ปลายข้าวต้ม ก็จะได้อาหารเปียกต้องตากแดดจึงจะเก็บไว้ได้นานหากไม่ต้องการใช้แป้งหรือ ปลายข้าวให้เพิ่มรำเป็น
26   กิโลกรัม

ลูกปลา 300 ตัว       มาจากแม่ปลา 1 แม่
ลูกปลา 75,000 ตัว     มาจากแม่ปลา 1x75,000  =  250 แม่
แม่ปลา 250 ตัว      จะให้ลูกปลา     75,000 ตัว
การลำเลียงปลา
1.  ก่อนการลำเลียง ควรพักปลาไว้ในที่กว้าง เช่น พักในถังขนาดใหญ่ และไม่ต้องให้อาหาร
2. ใช้ภาชนะปากกว้าง เช่น ปีบหรือถัง บรรจุน้ำ 3 ใน 4 ของภาชนะบรรจุปลาขนาดใหญ่ในอัตราปีละ 4 ตัว หรือขนาดกลาง 80 ตัว ถ้าเป็นลูกปลาขนาดเล็กก็เพิ่มจำนวนได้มากขึ้นตามความเหมาะสม 
3. ลอยผักบุ้งในภาชนะที่ใช้ลำเลียง และควรมีฝาที่มีช่องตาโปร่ง หรือตาข่ายคลุมภาชนะไม่ให้ปลากระโดดออก
4. ระหว่างดินทางพยายามเปลี่ยนน้ำทุก 12 ชั่วโมง โดยระวังอย่าให้ปลาบอบช้ำ
5. ให้ภาชนะที่บรรจุปลาอยู่ในที่ร่มเย็นเสมอ
6. ภาชนะลำเลียงปลา ควรตั้งให้สนิทอย่าให้โคลงเคลง เพราะอาจทำให้ปลาเมาน้ำได้
7. เมื่อถึงปลายทาง ต้องรีบย้ายปลาไปอยู่ในภาชนะที่กว้างใหญ่แต่ถ่ายเทน้ำใหม่ หรืออาจปล่อยลงบ่อเลี้ยงเลยก็ได้
แนวโน้มในอนาคต
ปลา สลิดมีแนวโน้มด้านการตลาดในอนาคตแจ่มใส เพราะปลาสลิดเป็นผลผลิตที่ตลาดต้องการสูง สามารถนำมาประกอบอาหารทั้งในรูปสดและทำเค็ม ตากแห้ง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ปลาสลิดตากแห้งเป็นที่นิยมบริโภคทั้งในประเทศและต่าง ประเทศ ซึ่งได้ส่งเป็นสินค้าออกของประเทศอีกชนิดหนึ่ง ดังนั้น หากมีพื้นที่ที่เหมาะสมและทำการปรับปรุงเพื่อการเลี้ยงปลาสลิด จะช่วยเพิ่มปริมาณอาหารโปรตีน และเสริมรายได้ให้แก่ครอบครัวเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี
การแปรรูป
การ ทำปลาสลิดเค็มเป็นการแปรรูปอย่างหนึ่งซึ่งช่วยถนอมปลาสลิดให้สามารถเก็บไว้ บริโภคได้เป็นเวลานานมากขึ้น และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั่วทุกภูมิภาคทั้งยังส่งเป็นสินค้าออกอีก ส่วนหนึ่งด้วย

เครดิต : http://www.fisheries.go.th/Dof_thai/knownledge/Aquacultures/T_pectoralis/T_pectoralis_index.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น