วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

7 เทคนิคทำสมาธิบำบัดโรค

การฝึกสมาธิกำลังกลายเป็นศาสตร์ใหม่ที่ชาวตะวันตกให้ความสนใจนำไปใช้รักษาอาการป่วยกายหลายอย่าง โดยไม่ต้องพึ่งยาเคมีปัจจุบัน มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกานำเอาการปฏิบัติสมาธิวิปัสสนาไปรักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์ อาการซึมเศร้า รวมถึงภาวะทางจิตของผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากเหตุการณ์สะเทือนจิตใจ (พีทีเอสดี)

รศ.ดร.สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นผู้หนึ่งที่สนใจนำการฝึกสมาธิมาประยุกต์ใช้รักษาโรค หลังจากทำการศึกษาจนค้นพบท่วงท่าการฝึกสมาธิสำหรับบำบัดภาวะเบาหวาน และโรคอื่น

จากผลวิจัยในคนไข้ ทำให้ได้เทคนิคบำบัดโรคที่พร้อมนำไปปฏิบัติได้จริงถึง 7เทคนิค เพื่อประโยชน์ด้านการเยียวยาโรคที่เรื้อรังและการป้องกันการเกิดโรคในระยะยาว ที่สามารถประยุกต์ใช้งานได้เองไม่ยาก

ท่าแรกคือ ท่านั่งผ่อนคลาย

ประสานกายประสานจิต มีผลดีในด้านการลดความดันโลหิต การผ่อนคลายกล้ามเนื้อและลดน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานได้ดีสามารถฝึกได้ทั้งท่านั่งด้วยการขัดสมาธิ หงายฝ่ามือทั้งสองข้างวางบนหัวเข่า หรือฝึกท่านอนให้วางแขนหงายมือไว้ข้างลำตัว หรือคว่ำฝ่ามือวางบนหน้าท้องก็ได้ จากนั้นหลับตาลงช้าๆ สูดลมหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ พร้อมนับ 1-5 กลั้นหายใจนับ 1-3 ช้า ช้า เช่นกัน แล้วเป่าลมหายใจออกทางปากช้าๆ พร้อมกับนับ 1-5 เช่นกัน โดยทำซ้ำ30-40 ครั้งวันละ รอบก่อนหรือหลังอาหารประมาณ 30 นาที

ท่าที่ เป็นท่ายืนผ่อนกายประสานการประสานจิต

ท่านี้จะช่วยลดความดันโลหิต ลดน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน และควบคุมการทำงานของไขสันหลังให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ วิธีปฏิบัติให้ผู้ฝึกยืนตรงในท่าที่สบายวางฝ่ามือซ้ายทาบที่หน้าอกแล้วนำฝ่ามือขวาวางทาบทับฝ่ามือซ้าย พร้อมกับค่อยๆ หลับตาจากนั้นสูดลมหายใจเข้าและออกเหมือนกับท่าแรก แต่เทคนิคนี้จะทำซ้ำ 120-150ครั้ง จึงลืมตาขึ้นช้าๆ และทำวันละ 3รอบโดยเพิ่มเวลาให้มากกว่าเดิมทุกครั้ง

ท่าที่ การนั่ง เหยียด ผ่อนคลายประสานกาย ประสานจิต

ท่านี้จะช่วยลดไขมันหน้าท้องลดพุง และลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดี การปฏิบัติท่านี้ให้ผู้ฝึกนั่งราบกับพื้นในท่าที่สบาย เหยียดขาและเข่าให้ตึง หลังตึง เท้าชิด คว่ำฝ่ามือบนต้นขาทั้ง 2ข้างค่อยๆ หลับตาลงจากนั้นหายใจเข้าออกและนับเหมือนกับท่าแรก ครั้ง จากนั้นต่อด้วยการหายใจเข้าออกลึกๆ ช้าๆ พร้อมกับค่อยๆ โน้มตัวไปข้างหน้าผลักฝ่ามือทั้งสองข้างไปด้านหน้าจนปลายมือจรดนิ้วเท้า หยุดหายใจชั่วครู่ และหายใจออกช้าๆ พร้อมกับค่อยๆ ดึงตัวและแขนเอนไปข้างหลังให้ได้มากที่สุดและนับเป็น รอบ ทำซ้ำ 30 ครั้งแล้วค่อยๆ ลืมตา

ท่าที่ การก้าวย่างอย่างไทย

เจ้าของท่าบอกว่า ในท่านี้ความยากของการฝึกจะมีมากขึ้น เริ่มจากยืนตรงในท่าที่สบายลืมตา มือสองข้างไขว้หลัง สูดลมหายใจเข้าออกลึกๆ และทำเหมือนท่าแรก จนครบ 5รอบ จากนั้นให้ยืนตัวตรงมองต่ำไปข้างหน้าหายใจเข้าช้าๆ พร้อมค่อยๆ ยกเท้าขวาสูงจากพื้นเล็กน้อยหายใจออกช้าๆ พร้อมกับก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าจรดปลายเท้าแตะพื้น ตามด้วยส้นเท้าวางลงบนพื้น ส่วนเท้าซ้ายให้วางชิดเท้าขวาในช่วงหายใจออกทำซ้ำให้ได้ 20ครั้ง โดยที่เวลากลับตัวให้หมุนทางขวาโดยขยับเท้าให้เอียง 60องศาและ 90องศาในท่ายืนตรง ทำซ้ำด้วยการเดินกลับไปมา 2เที่ยว จะใช้เวลาประมาณ 45-60นาที หลังการฝึกวิธีดังกล่าวมีผลในเรื่องเพิ่มภูมิต้านทานโรคเรื้อรังทุกประเภท คล้ายกับการเดินจงกรม

ท่าที่ ชื่อว่ายืดเหยียดอย่างไทย

ผู้ฝึกต้องเคลื่อนไหวอย่างช้า นับเลขอย่างช้าจะได้ประโยชน์สูงที่สุด โดยเริ่มฝึกจากวันละ 60 รอบและเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในวันต่อๆ ไป ช่วยป้องกันโรคและเสริมสร้างสุขภาพๆ ได้เป็นอย่างดี โดยเริ่มจากท่ายืนตรงที่สบาย เข่าตึงและค่อยๆ หลับตาลงช้าๆ สูดลมหายใจเหมือนกับท่าแรก จนครบ รอบ จากนั้นต่อด้วยการค่อยๆ ยกมือทั้งสองข้างขึ้นเหนือศีรษะให้ฝ่ามือประกบกัน แขนตึงแนบใบหู หายใจเข้าและออก ครั้ง และค่อยๆ ก้มตัวลง โดยศีรษะ ตัวและแขนก้มลงพร้อมๆ กันอย่างเป็นจังหวะช้าๆ ไปเรื่อยๆ ให้ได้ 30 จังหวะเมื่อปลายนิ้วกลางจรดพื้นพอดี ตามด้วยหายใจเข้าและออกช้าๆ ลึกๆ ครั้งและค่อยๆ ยกตัวกลับ ในท่าเดิมศีรษะตั้งตรงใน 30 จังหวะเช่นกัน

ท่าที่ เป็นเทคนิคการฝึกสมาธิการเยียวยาไทยจินตภาพ

เทคนิคนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้มีปัญหาระบบไหลเวียนอัมพาต ซึ่งประสาทการรับรู้ทั้งร่างกายไม่สามารถทำงานได้สะดวก แต่ประสาทการได้ยินยังทำงาน ผู้ดูแลจะต้องเป็นผู้ช่วยในการบอกให้เขาได้ยินและคิดตามตั้งแต่เริ่มนอนบนพื้นเรียบ แขนทั้งสองข้างวางแนบลำตัว และให้เขาหลับตาลงช้าๆ สูดลมหายใจเหมือนท่าแรก 3รอบด้วยกัน แล้วให้เขาท่องในใจว่า

"ศีรษะเรากำลังเริ่มผ่อนคลาย ผ่อนคลายลงเรื่อยๆและกำหนดความรู้สึกไปที่อวัยวะที่เราจดจ่อไล่จากศีรษะ หน้าผาก ขมับ หนังตา แก้ม คาง ริมฝีปาก คอ ไหล่ ต้นแขน แขน มือ หน้าอก หลัง หน้าท้อง ก้น ต้นขา เข่า น่อง เท้าและตัวเราทั้งตัว (ขณะที่ไล่มาถึงมือและเท้าให้ท่องว่า มือเรากำลังเริ่มหนักขึ้น หนักขึ้น เท้าเรากำลังเริ่มหนักขึ้น หนักขึ้น) เมื่อทำครบเช่นนี้แล้วให้หายใจเข้า กลั้นใจ หายใจออก เหมือนเริ่มต้นอีก รอบ

ส่วนท่าสุดท้าย เป็นเทคนิคสมาธิการเคลื่อนไหวไทยชี่กง

เริ่มด้วยการยืนตัวตรงแยกเท้าทั้งสองข้างพอประมาณ ค่อยๆ หลับตาลงช้าๆ สูดลมหายใจเหมือนท่าแรกให้ครบ รอบ จากนั้นค่อยๆ ยกมือขึ้น แขน ข้อศอกทั้งสองข้างอยู่ในระดับเอว โดยหันฝ่ามือทั้งสองข้างเข้าหากัน ขยับฝ่ามือเข้าหากันช้าๆ นับ 1-3 และขยับมือออกช้าๆ นับ 1-3 ทำทั้งหมด 36-40 รอบ และยืนอยู่ในท่าเดิม หายใจเข้าลึกๆ นับ 1-5 ค่อยๆ ยกมือขึ้นเหนือศีรษะ คล้ายกับกำลังประคองหรืออุ้มแจกันใบใหญ่ แล้วค่อยๆ ยกมือลงในท่าประคองแจกันเช่นกันนับเป็น 1รอบ โดยทำซ้ำ 36-40 รอบแล้วยืนในท่าเดิม ท่านี้จะช่วยลดอาการท้องผูก นอนไม่หลับ อาการปวดเรื้อรัง หรือเฉียบพลัน และภูมิแพ้

"การฝึกสมาธิเพื่อบำบัดโรค แต่ละท่ามีความยากง่ายต่างกัน สำหรับคนที่ยังไม่เคยฝึกควรเริ่มจากท่าที่ 1เพื่อเตรียมความพร้อมในเรื่องการหายใจให้ร่างกายก่อนที่จะเริ่มฝึกปฏิบัติในท่าที่ยาก เพราะหากร่างกายไม่พร้อมแล้วฝืนอาจเกิดผลเสียมากกว่าผลดีได้เช่นกัน" หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข ม.มหิดล กล่าว


ที่มา กรุงเทพธุรกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น