วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

วันพระ

วันนี้ วันพฤหัสบดีที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๔ เป็นวันโกน

พรุ่งนี้ วันศุกร์ที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๔ เป็น
วันพระ ตรงกับวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือนสาม (๓) ปีขาล
 
ขอเชิญสาธุชนชาวพุทธ ทำบุญ ถือศีล เข้าวัด ฟังธรรมเทศนา สวดมนต์ ทำความดี กันนะคะ^^

 

ปฏิทินวันพระปี 2554 นะคะ
 

 
บทความธรรมวันนี้


“การรักษาอุโบสถศีล(ศีล ๘) มีผลมาก มีอานิสงส์มาก แม้ความสุขของพระราชาผู้ทรงเป็นใหญ่ใน ๑๖ แคว้น ก็ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ เพราะศีลนั้นทำให้เกิดในสวรรค์”
 
        อุโบสถศีล เป็นกุศลวิธีที่นำพามนุษย์ไปสู่ สวรรค์มาตั้งแต่มนุษย์ยุคต้นกัป ถ้าเป็นอุโบสถในพระพุทธศาสนา เรียกว่า อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ซึ่งก็หมายถึงรักษาศีล ๘ ในวันพระนั่นเอง ในยุคสมัยที่ยังไม่มีพระพุทธศาสนา ผู้ปรารถนาสวรรค์จะชักชวนกันรักษาอุโบสถศีล เพราะถือว่าเป็นอริยประเพณีที่มีมาช้านาน
แม้กระทั่งพระเจ้าจักรพรรดิราช ก่อนจะทรงครองความเป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ ก็ต้องสมาทานอุโบสถศีลอย่างเคร่งครัดทุกๆ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ อานิสงส์ของอุโบสถศีล
ทำให้ รัตนะทั้ง ๗ ประการ มีจักรแก้ว เป็นต้น บังเกิดขึ้น เป็นของคู่บุญ ทำให้พระองค์ทรงสามารถปกครองโลกให้เกิดสันติสุข ครั้นละโลกแล้วก็ได้ไปเสวยสุขในสุคติโลกสวรรค์
      
อุโบสถศีล แปลว่า การเข้าอยู่จำโดยถือศีล ๘ ข้อ วันอุโบสถหรือวันพระนั้น เป็นวันที่เราจะต้อง อยู่เยี่ยงพระ คือบำเพ็ญเนกขัมมะนั่นเอง ศีลแปดที่รักษากันในวันพระ เรียกว่า อุโบสถศีล
ผู้ครองเรือนทั่วไปไม่สะดวกถือศีล ๘ ได้ทุกวัน ก็จะหาโอกาสมาถือศีลกันเฉพาะวันพระเช่นนี้จึงเรียกว่า รักษาอุโบสถศีล
ระยะเวลาของการรักษาอุโบสถศีล
      การรักษาอุโบสถ มี ๓ อย่าง สามารถเลือกรักษาได้ตามความพร้อมของแต่ละบุคคล คือ
๑. ปกติอุโบสถ คือ อุโบสถที่รักษากันเฉพาะวันที่กำหนดไว้ ในปัจจุบันนี้กำหนดเอาวันพระ คือ วัน ๘ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม
๒. ปฏิชาครอุโบสถ คืออุโบสถที่รักษากันครั้งละ ๓ วัน โดยการถือเพิ่มการรักษาก่อนกำหนด ๑ วัน เรียกว่า วันรับ และหลังวันกำหนดอีก ๑ วัน เรียกว่า วันส่ง จึงรวมเป็นรักษาคราวละ ๓ วัน คือ วันรับ วันรักษา และวันส่ง รวม ๓ วัน ๓ คืน
๓. ปาฏิหาริยปักขอุโบสถ คือ อุโบสถที่รักษาครั้งละหลายๆ วัน เช่น ตลอดพรรษา ๓ เดือนบ้าง ตลอด ๑ เดือนบ้าง
หรือครึ่งเดือนจำนวน ๑๕ วันบ้าง
       ศีลอุโบสถนั้น มีองค์ประกอบทั้งหมด ๘ ข้อ ถ้าขาดไปข้อใดข้อหนึ่ง ก็ไม่เรียกว่าศีลอุโบสถตาม พุทธบัญญัติ
เพราะฉะนั้นการล่วงศีลอุโบสถเพียงข้อใดข้อเดียว ก็ถือว่าขาดศีลอุโบสถ พูดง่ายๆ ว่า ขาดศีลข้อเดียวก็ขาดหมดทั้ง ๘ ข้อ ผู้ที่รักษาอุโบสถศีลจึงต้องสำรวมระวัง กาย วาจา เป็นพิเศษ
อุโบสถศีล มี ๘ ประการ
อุโบสถศีลประกอบด้วยองค์ ๘ มีดังนี้ คือ
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี งดเว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป
๒. อทินนาทานา เวรมณี งดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้
๓. อพรหมจริยา เวรมณี งดเว้นจากกรรมอันเป็นข้าศึกต่อการประพฤติผิดพรหมจรรย์
๔. มุสาวาทา เวรมณี งดเว้นจากการกล่าวเท็จ รวมถึงวจีกรรมในรูปแบบต่างๆ
๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี งดเว้น จากการดื่มสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
๖. วิกาลโภชนา เวรมณี งดเว้นจากการบริโภค อาหารในเวลาวิกาล
๗. นัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสนมาลาคันธวิเลปน-ธารณมัณฑนวิภูสนัฏฐานา เวรมณี งดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี
และดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศล ลูบทาทัดทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้ ของหอม เครื่องย้อม เครื่อง ทาอันจัดว่าเป็นการแต่งตัว
๘. อุจจาสยนมหาสยนา เวรมณี งดเว้นจากการนั่ง และการนอนบนที่นอนสูงใหญ่
        เป้าหมายหลักในการรักษาอุโบสถศีลนั้น ก็ เพื่อทำให้จิตใจสงบ ไม่กวัดแกว่งฟุ้งซ่านไปในเรื่องกามารมณ์
แต่ยึดเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ถือ เป็นการประพฤติพรหมจรรย์ของคฤหัสถ์ผู้ที่ยังไม่ปรารถนาออกบวช
โดยปกติวันพระ พุทธศาสนิกชน ที่สะดวกก็จะพากันแต่งชุดขาวไปสมาทานอุโบสถศีล และฟังธรรมที่วัด แล้วพักอาศัยอยู่ที่วัด
จนกว่าจะครบกำหนด ถ้าไม่ได้ไปวัด ก็จะตั้งใจสมาทานศีล ด้วยตนเอง จะเปล่งวาจาสมาทานหรือเพียงแต่ตั้งเจตนาไว้ก็ได้ทั้งนั้น
        พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัส อุปมาถึงอานิสงส์ ของการรักษาอุโบสถศีลไว้ว่า ถ้าจะนำมาเปรียบกับสมบัติของพระราชา ที่แม้จะครองความเป็นใหญ่ถึง ๑๖ แคว้น ก็ยังไม่ถึงเสี้ยวของผลบุญอันเกิดจากการ รักษาอุโบสถเลย เพราะสมบัติมนุษย์
เป็นสมบัติ หยาบเหมือนสมบัติของคนกำพร้า มีความสุขได้ไม่กี่ร้อยปีก็ต้องพลัดพรากซึ่งเทียบไม่ได้กับการได้เสวย
ทิพยสมบัติอันยาวนานในสวรรค์ที่เกิดจากอานิสงส์ของการรักษาอุโบสถ
        การรักษาอุโบสถศีลนี้ แม้ว่าจะมีโอกาสรักษาได้ไม่นาน แต่กลับสามารถส่งผลให้มีอานิสงส์มากมายเกินควรเกินคาดได้
ดังเรื่องที่เกิดขึ้นมาแล้ว ในสมัยพุทธกาล เรื่องมีอยู่ว่า
อานิสงส์ของการรักษาอุโบสถศีล
         จะเห็นได้ว่า เพียงการรักษาอุโบสถครึ่งวันและทำด้วยความเต็มใจ ยังได้อานิสงส์ขนาดนี้ แล้วถ้าหากใครได้รักษาอย
ู่เนืองนิตย์อานิสงส์นั้นพรรณนา อย่างไรก็ไม่หมด เป็นบุญใหญ่ที่จะนำพาให้ได้สวรรค์สมบัติ เวียนวนอยู่แต่ในสุคติภูมิเท่านั้น เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ จะถึงพร้อมด้วยรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ ในที่สุดจะได้นิพพานสมบัติ เข้าถึงความสุขอันเป็นอมตะ ผู้ที่รักษาอุโบสถศีลจะได้รับอานิสงส์มากมายเกินควรเกินคาด อย่างน้อยๆ ก็สามารถแบ่งออกเป็น ๕ ข้อ คือ
๑. ย่อมได้รับโภคทรัพย์ใหญ่ เพราะความไม่ประมาทเป็นเหตุ
๒. เกียรติศัพท์อันงามของผู้มีศีล ย่อมฟุ้งขจรไปไกล
๓. ผู้มีศีลเข้าไปสู่สมาคมใดๆ ย่อมเข้าไปอย่างองอาจไม่เก้อเขิ
๔. ผู้มีศีลย่อมไม่หลงทำกาละ คือ ไม่หลงเผลอสติในเวลาตาย
๕. ผู้มีศีล ตายแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทพ
        นอกจากนี้ ศีล ยังเป็นบาทเบื้องต้นแห่งสมาธิ ทำให้ใกล้ต่อมรรคผลนิพพาน ดังนั้นคนที่ตั้งใจรักษาศีลได้บริสุทธิ์ก็จะมีผลต่อ
การนั่งสมาธิไปด้วย ดังนั้น พุทธศาสนิกชนที่ดีก็ควรที่จะตั้งใจรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ทั้งยังต้องเป็นกัลยาณมิตรชักชวนคนรอบ
ข้างมาสั่งสมบุญใหญ่ ที่เกิดจากการรักษาอุโบสถศีล เพื่อฟื้นฟูวัฒนธรรมชาวพุทธให้แข็งแรงยิ่งขึ้นไป
        บุคคลแม้จะงดงามด้วยเครื่องประดับอันมีค่า ก็ยังไม่งามเท่าผู้มีศีลเป็นอาภรณ์ ผู้มีศีลย่อมติเตียนตนเองไม่ได้ เมื่อพิจารณาถึงศีลที่บริสุทธิ์ ย่อมเกิดปีติทุกเมื่อ
 
         ศีลจึงเป็นรากฐานแห่งความดีทุกอย่างและกำจัดความชั่วทั้งปวง
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น