วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

โรคไมเกรน (MIGRAINE) : เคล็ดลับ 9 ประการ

โรคไมเกรน (MIGRAINE) : เคล็ดลับ ประการ

1.โรคไมเกรน (MIGRAINE) คืออะไรและทำไมจึงเรียกไมเกรน (MIGRAINE)?

โรคไมเกรนคือโรคที่เกิดจากการบีบตัวและคลายตัวของหลอดเลือดแดงในสมองมากกว่าปรกติ ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว พร้อมกับมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ในบางรายอาจมีอาการตาพร่ามัวหรือเห็นแสงระยิบระยับร่วมด้วย

โรคไมเกรนนี้ รู้จักกันมานานตั้งแต่สมัย GALEN คือ ราวสองพันปีมาแล้ว คำว่าไมเกรน (Migraine) นี้มาจากคำสองคำคือ HEMI + CRANIUM คำ HEMI แปลว่า ครึ่งซีก ส่วน RANIUM แปลว่า ศีรษะหรือหัว เมื่อคำสองคำมาผสมกันเป็น HEMICRANIUM แต่ยาวเกินไป จึงตัด "HE" ส่วนหน้าออกและ "IUM" ส่วนหลังทิ้ง จึงเหลือ "MICRAN" ในภาษาลาติน ภาษาอังกฤษมาแปลงใหม่เป็น MIGRANE ในภาษาไทยมีคำแปลว่า "โรคตะกัง" แต่ไม่เป็นที่นิยมใช้กันแต่อย่างใดจึงมักเรียกทับศัพท์กันว่า "โรคไมเกรน (MIGRAINE)"

2.โรคนี้พบบ่อยแค่ไหน?

เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า อาการปวดหัวหรือปวดศีรษะนั้นเป็นอาการที่พบบ่อยในประชาชนทั่วๆไป จนเรียกได้ว่าไม่มีใครที่จะไม่เคยปวดหัวเลย อาการปวดหัวนั้นอาจเกิดจากสาเหตุต่างๆมากมาย เช่น โรคที่พบบ่อยได้แก่ ตัวร้อนหรือเป็นไข้ เป็นหวัด เจ็บคอ ปวดฟัน ตาแดง หูอักเสบ โพรงจมูกอักเสบ ตลอดจนโรคที่พบน้อยแต่มีอันตราย เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เนื้องอกในสมองและเลือดออกในสมอง เป็นต้น

ในทางการแพทย์แบ่งอาการปวดศีรษะออกเป็น ชนิดคือ :

1.ปวดศีรษะชนิดเฉียบพลันซึ่งมักจะมีสาเหตุจากการอักเสบ หรือติดเชื้อในบริเวณโพรงจมูก คอ ปาก หูและตาดังกล่าวแล้ว

2.ปวดศีรษะเรื้อรัง ซึ่งมักมีสาเหตุใหญ่ๆเพียง ชนิดคือ

ก.โรคไมเกรน

ข.โรคปวดศีรษะจากความเครียด

ส่วนภาวะเนื้องอกในสมอง หรือการตกเลือดในสมองนั้น พบได้น้อยมากไม่ถึง 0.01 % ของผู้ที่มีอาการปวดหัวทั้งหมด ดังนั้น ถ้าใครปวดหัวและกังวลว่าตัวเองจะมีเนื้องอกในสมองหรือมีเลือดออกในสมองนั้นมีโอกาสเป็นจริงน้อยมาก แต่มักจะปวดศีษะจากความเครียด หรือโรคไมเกรน มากกว่า

มีคนถามว่า โรคไมเกรนกับโรคปวดศีรษะจากความเครียดนั้นอย่างไหนจะพบมากกว่ากัน

คำตอบคือ โรคไมเกรนจะพบราว 7% ของประชากรส่วนโรคปวดศีรษะจากความเครียดนั้นขึ้นอยู่กับสภาวะสิ่งแวดล้อม เศรษฐฐานะ และสภาพของสังคม ในเมืองหลวงจะพบผู้ป่วยกลุ่มนี้มากกว่าในชนบท ปัจจุบันนี้คงยอมรับว่า เกือบทุกคนมีความเครียด แต่ใครจะปวดหัวหรือไม่ขึ้นอยู่กับรูปแบบต่างๆ ของการแสดงออกของอาการเครียด เช่น ปวดหัว ปวดท้อง นอนไม่หลับ หงุดหงิด เบื่ออาหาร ท้องผูก ท้องอืดเฟ้อ ตลอดจนท้อแท้เบื่อหน่ายได้

3.โรคไมเกรนมีอาการอย่างไร?

โรคไมเกรน ความจริงไม่น่าจะจัดว่าเป็นโรคแต่อย่างใดเพราะเป็นภาวะที่หลอดเลือดแดงในสมองบีบตัวและคลายตัวมากกว่าปรกติ ในคนปกติหลอดเลือดแดงเหล่านี้ซึ่งมีอยู่มากมายในสมองก็จะมีบีบตัวและคลายตัวอยู่เป็นประจำแต่ไม่มากจึงไม่ปวดหัว ในผู้ป่วยไมเกรนจะไม่พบพยาธิสภาพใดๆในหลอดเลือดแดงของสมอง จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดอัมพาตหรือพิการแต่อย่างใด

อาการของโรคไมเกรน ประกอบด้วยลักษณะต่างๆ ดังนี้ :

1.ปวดศีรษะครึ่งซีก อาจเป็นบริเวณขมับหรือท้ายทอย แต่บางครั้งก็อาจเป็นสองข้างพร้อมกัน หรือเป็นสลับข้างกันได้

2.ลักษณะการปวดศีรษะส่วนมากจะปวดตุ๊บๆ นานครั้งหนึ่งๆเกิน 20 นาที (ยกเว้นจะได้รับประทานยา) แต่บางครั้งถ้าเป็นรุนแรงอาจปวดนานเป็นวันๆ หรือสัปดาห์ก็ได้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีปวดตื้อๆสลับกับปวดตุ๊บๆในสมองก็ได้

3.อาการปวดศีรษะมักเป็นรุนแรง และส่วนมากจะมีคลื่นไส้หรืออาเจียนร่วมด้วยเสมอ โดยอาจเป็นขณะปวดศีรษะ ก่อนหรือหลังปวดศีรษะก็ได้ บางรายมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมากจนรับประทานอะไรไม่ได้

4.อาการนำจะเป็นอาการทางสายตา โดยจะมีอาการนำมาก่อนปวดศีรษะราว 10-20 นาที เช่น เห็นแสงเป็นเส้นๆ ระยิบระยับ แสงจ้าสะท้อนหรือเห็นภาพบิดเบี้ยวนำหน้ามาก่อน


4.ใครบ้างที่เป็นโรคไมเกรน?

โรคไมเกรนพบบ่อยในผู้หญิงวัยสาว ระหว่าง 20-40 ปี ในเด็ก และผู้สูงอายุพบน้อย ผู้ชายพบว่าเป็นไมเกรนน้อยกว่าผู้หญิง 3-4 เท่าตัว แต่ถ้าผู้ชายเป็นมักจะมีอาการรุนแรงกว่า โดยมีอาการปวดตาข้างใดข้างหนึ่ง น้ำตาไหล ตาแดง ปวดรุนแรงมากติดต่อกันเป็นเวลา 6-8 สัปดาห์ และอาจเป็นซ้ำบ่อยๆทุก 6-12เดือน โรคไมเกรนมักพบบ่อยกับสมาชิกอื่นๆในครอบครัวที่เป็นผู้หญิง เช่น แม่ น้องสาว น้า ป้า เป็นต้น

5.มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้โรคไมเกรนเป็นมากขึ้น?


เป็นที่ทราบกันดีว่าตัวกระตุ้นหรือทำให้เกิดอาการของโรคไมเกรนมากขึ้นได้แก่

1.ภาวะเครียด
2.การอดนอน
3.การขาดการพักผ่อน หรือทำงานมากเกินไป
4.ขณะมีระดู หรือรับประทานยาคุมกำเนิด
5.เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์
6.อาหารบางชนิด เช่น กล้วยหอม เนยแข็ง และช็อกโกแลต

ดังนั้น ผู้ป่วยโรคไมเกรนจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงภาวะต่างๆเหล่านี้ ผู้ป่วยทุกคนต้องสังเกตตัวเองว่าอะไรเป็นตัวกระตุ้นการเกิดโรคไมเกรนในตนเองเพื่อจะได้หลีกเลี่ยงและแก้ไขได้ตรงจุด

6.เมื่อไรโรคไมเกรนจึงหาย?

เป็นที่ยอมรับกันว่า โรคไมเกรนก่อให้เกิดภาวะปวดศีรษะเรื้อรังนานเป็นปีๆ บางรายอาจนานเป็นสิบๆปี จึงมักทำให้ผู้ป่วยเกิดความกังวลว่า ทำไมตัวเองจึงไม่ยอมหายจากภาวะปวดศีรษะนั้น และวิตกว่าจะมีความผิดปรกติในสมองต่างๆ เช่น เนื้องอกหรือเลือดคั่งในสมอง หรือเกรงว่าจะเกิดอัมพาตหรือพิการตามมาภายหลัง

ในกรณีนี้จะทำให้อาการปวดศีรษะเลวลงเพราะจะเกิดอาการปวดศีรษะจากภาวะเครียดเพิ่มขึ้นมาทับถมอีก การปวดศีรษะจากภาวะเครียดนั้นพูดโดยย่อ จะปวดแบบตื้อๆ หนักศีรษะทั่วทั้งศีรษะบางรายจะบอกว่าปวดเหมือนมีอะไรมาบีบรัดโดยรอบหัว อาการนี้จะเป็นมากตอนบ่ายๆ หรือสายๆ ช่วงเช้าไม่ค่อยปวด หลังนอนพักอาการจะดีขึ้น ทั้งนี้เพราะเกิดจากการบีบเกร็งตัวของกล้ามเนื้อรอบศีรษะและบริเวณคอ

โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคไมเกรนจะไม่มีอันตรายใดๆที่จะก่อให้เกิดการพิการหรือทุพพลภาพตามมาแต่อย่างใด โดยปรกติอาการปวดศีรษะชนิดไมเกรนนี้จะลดความรุนแรงลงเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเลยวัยหมดระดูไปแล้ว จะพบผู้ป่วยไมเกรนน้อยมาก

7.ผู้ป่วยโรคไมเกรนต้องรับการตรวจวินิจฉัยอย่างไรบ้าง?


โรคไมเกรนเป็นโรคที่วินิจฉัยได้ โดยการซักประวัติและตรวจร่างกายโดยละเอียด ไม่มีวิธีการวินิจฉัยทางอื่นใด ดังนั้น การเจาะเลือด เอกซเรย์ หรือการตรวจคอมพิวเตอร์สมองจึงไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใด กลับจะเจ็บตัวและอาจเป็นอันตรายหรือเสียเงินทองโดยไม่จำเป็น

8.โรคไมเกรนรักษาอย่างไร?

การปวดศีรษะจากโรคไมเกรน มักรักษาไม่หายด้วยยาแก้ปวดพาราเซตตามอลธรรมดา ยาที่ได้ผลดีคือยาแก้ปวดแอสไพริน ขนาด เม็ด ในขณะปวด แต่ข้อระวังห้ามรับประทานแอสไพรินในขณะท้องว่าง และผู้ป่วยโรคแผลในกระเพาะอาหารห้ามรับประทานแอสไพรินเด็ดขาด เพราะอาจเกิดเลือดออกในกระเพาะได้มากๆ และอาจทำให้ถึงแก่กรรมได้ ในผู้ป่วยที่ไม่แน่ใจว่าจะมีโรคกระเพาะหรือไม่ให้รับประทานยาเคลือบกระเพาะอาหารหรือนมร่วมด้วย ก็จะป้องกันการระคายเคืองของแอสไพรินต่อเยื่อบุกระเพาะอาหารได้

9.จะป้องกันไม่ให้เกิดโรคไมเกรนได้อย่างไร?

ในผู้ป่วยโรคไมเกรนที่นานๆ เป็นครั้ง เช่นปีละ 2-3 หนไม่จำเป็นต้องกินยาป้องกันแต่อย่างใด แต่ถ้าผู้ป่วยโรคไมเกรนที่เกิดอาการปวดศีรษะบ่อยๆ เช่นเกือบทุกสัปดาห์ หรือทุกวัน จำเป็นต้องให้การป้องกันโดยการหลีก เลี่ยงปัจจัยส่งเสริมให้เกิดดังกล่าวแล้ว ในกรณีที่ไม่มีปัจจัยส่งเสริมดังกล่าวอาจจำเป็นต้องให้ยาป้องกัน ซึ่งแบ่งได้หลายชนิด เช่น

ก. ERGOT ALKALOIDS เป็นยาป้องกันมิให้หลอดเลือดในสมองขยายตัว
ข. BETA BLOCKER
ค. CALCIUM CHANNEL BLOCKER
ง. ANTIDEPRESSANT เป็นต้น
จ. SEROTONIN ANTAGONIST เป็นต้น

ยาในกลุ่มดังกล่าวเป็นยาอันตราย และมีผลข้างเคียงทุกชนิด จำเป็นต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่งให้และรับประทานตามกำหนดในช่วงเวลาจำกัด การซื้อใช้เองอาจเกิดผลร้ายได้
:: อีเมลนี้ได้รับฟอร์เวิร์ดมาจากJerry Maguire 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น