วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

10 วิธีต้านเหงา-เศร้า-เซ็ง-เครียด

คนส่วนใหญ่คง จะมีช่วงใดช่วงหนึ่งในชีวิตที่รู้สึก “เหงา-เศร้า-เซ็ง-เครียด” ซึ่งนอกจากการไปปรึกษาหมอใกล้บ้านแล้ว วิธีต่อไปนี้จะช่วยให้ผ่านพ้นช่วงเวลาดังกล่าวได้ดีขึ้น…

(1). Don’t blame yourself = อย่าติเตียนตนเองคนส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดมาสมบูรณ์แบบ หรือเกิดมาเพื่อสิ่งที่ดีเลิศ (born for the best), คนส่วนใหญ่เกิดมาเพื่อ “สิ่งที่ดีรองลงไป (born for the second best)” 
…เพราะฉะนั้น… ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ขั้นแรก คือ ทำใจให้ได้ และหาทางแก้ไขต่อไปเท่าที่แรงและกำลังของเรามี โดยไม่ต้องไปเปรียบเทียบกับใคร
อาจารย์จิตแพทย์ท่านหนึ่งเล่าไว้นานแล้วว่า มีคนรวยที่คิดฆ่าตัวตายเพราะมีสตางค์ 20 ล้าน สู้เพื่อนๆ ไม่ได้ (เพื่อนมี 200 ล้าน) ซึ่งคนไข้ท่านนั้นก็ไม่ได้ผิดอะไร เพียงแต่ถ้ายอมรับ “สิ่งที่ดีรองลงไป” สักหน่อยก็จะมีชีวิตที่เหลือดีกว่าเดิมได้อย่างมากมาย

(2). Talk about it = พูดออกมาถ้ามีญาติสนิทมิตรสหายที่ไว้ใจได้ และรับฟัง… การพูดออกมาว่า เรารู้สึกอย่างไรมักจะช่วยให้อะไรๆ ดีขึ้น หรืออย่างน้อยก็อาจทำให้อะไรๆ เบาลงไปได้
ถ้าไม่มีคนรับฟัง… การเขียนไดอารี พูดกับสัตว์เลี้ยง เช่น น้องหมา ฯลฯ ก็อาจจะดีกว่าเก็บไว้จนถึงวันระเบิดออกมาสักวัน
จุดสำคัญ คือ อย่าพูดเพื่อเปลี่ยนแปลงโลก แต่ขอให้พูดเพื่อเปลี่ยนแปลงที่ตัวเราก่อนคนอื่น,…
หนังสือเล่มหนึ่งเตือนคนที่ไปอินเดีย (อินเดียเป็นประเทศที่มีอะไรๆ ‘Extreme’ หรือสุดโต่งมากมาย เช่น มีคนรวยที่สุด-จนที่สุด ฯลฯ มากกว่าประเทศอื่นๆ) ไว้ดี คือ ‘You can not change India. But India will change you.’ = “คุณเปลี่ยนอินเดียไม่ได้. แต่อินเดียจะทำให้คุณเปลี่ยนไป”
เรื่องชีวิตก็เช่นกัน… การเริ่มต้นเปลี่ยนที่ตัวเรามักจะง่ายกว่าการเปลี่ยนแปลงโลกหรือคนอื่น…
กล่าวกันว่า คนที่มองโลกในแง่ดีและมีความสุขมักจะเน้นเปลี่ยนแปลงที่ตัวเอง…
คนที่มองโลกในแง่ร้ายหรือไม่ค่อยมีความสุขมักจะเน้นการเปลี่ยนแปลงที่โลกและ คนอื่น ซึ่งถ้าเริ่มเปลี่ยนแปลงที่ตัวเราก่อนมักจะทำได้ง่าย ถ้าคิดจะเริ่มเปลี่ยนแปลงโลกหรือคนอื่นจะทำได้ยากกว่ากันมาก…

(3). Get regular exercise = ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำการออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำมีส่วนช่วยลดอาการ “เหงา-เศร้า-เซ็ง-เครียด” ได้ โดยเฉพาะการเดินเร็วๆ 10 นาทีทันทีที่รู้สึกเหงาๆ มีส่วนช่วยลดการหมกมุ่นครุ่นคิดกับเรื่องเดิมๆ ทำให้มีมุมมองใหม่ๆ ที่ดีขึ้นได้อย่างมากมาย…

(4). Postpone major decisions = เลื่อนการตัดสินใจครั้งใหญ่ออกไปก่อนคนเราไม่ควรตัดสินใจเรื่องใหญ่ๆ ในชีวิตโดยใช้เวลาสั้นกว่า 7 วัน และไม่ควรตัดสินใจโดยไม่ปรึกษาหารือคนรอบข้าง เพื่อป้องกันการตัดสินใจประเภท “วู่วาม” หรือขาดการมีส่วนร่วม (เช่น จากคนในครอบครัวหรือญาติสนิทมิตรสหาย ฯลฯ)
ถ้าเราไม่สบาย ไม่ว่าจะเป็นทางกายหรือทางใจ… ความสามารถในการตัดสินใจของเรามักจะตกลง อย่างน้อยก็ชั่วคราว ซึ่งถ้ารอให้เวลาผ่านไป

(5). Take care of your health = ใส่ใจสุขภาพ (กาย) ของคุณด้วยกายที่ดีเป็นพื้นฐานสำคัญอย่างหนึ่งของใจที่ดี… เมื่อเราป่วยทางใจก็ขอให้ป่วยเฉพาะทางใจ อย่าปล่อยให้ร่างกายโทรม เพราะจะได้โรคใหม่ๆ อีกเพียบ

(6). Maintain a daily routine = ทำกิจวัตรประจำวันที่ดีต่อไปถึงแม้ชีวิตคนเราจะมีช่วงสูงขึ้นหรือต่ำลงไปบ้าง, ทว่า… อะไรที่ดีกับตัวเราแล้ว เช่น การทำความสะอาดร่างกาย (อาบน้ำ สระผม ซักผ้า รีดผ้า ฯลฯ) แล้ว ขอให้ทำต่อไป อย่าปล่อยให้เราดูโทรม เพราะกายที่โทรมมักจะนำไปสู่จิตใจที่โทรม (ยิ่งขึ้น)

(7). Eat a healthy diet = กินอาหารสุขภาพอาหารสุขภาพมีส่วนทำให้เรารู้สึกดีๆ กับชีวิต คือ อย่างน้อยก็มีตัวเราที่ยังรักและเอาใจใส่ตัวเราอยู่ อย่าปล่อยให้เซลล์ในร่างกายของเราชุ่มไปด้วยอาหารขยะ เพราะจะทำให้ใจของเราแย่ลงไปอีก
ทางที่ดี คือ ทำกายให้ดีด้วยอาหารดีๆ พอประมาณ (มากไปเดี๋ยวอ้วนอีก) เพื่อบอกเซลล์ในร่างกายว่า อย่างน้อยก็มีตัวเราที่พร้อมอยู่เคียงข้าง ขอมอบสิ่งดีๆ ให้กับเซลล์ทั่วร่างกาย ไม่ปล่อยให้เซลล์ในร่างกายเป็นถังขยะรองรับอาหารขยะอีกต่อไป

(8). Avoid drugs and alcohol = หลีกเลี่ยงยาเสพติดและแอลกอฮอล์ถ้าหมอใกล้บ้านแนะนำให้ใช้ยา หรือปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต… นั่นน่าจะเป็นทางออกที่ดี แต่อย่าไปหาทางออกกับยาเสพติดหรือแอลกอฮอล์
เพราะการมีชีวิตที่ตกต่ำไปบ้างเป็นบางครั้งจะยังไม่ตกต่ำลงไปมากตราบเท่าที่ เรายังหันเข้าหายาเสพติด เนื่องจากมีความดีที่เหลืออยู่คุ้มครอง ปกป้องเราไว้ได้

(9). Try to sleep well = นอนให้ดี (นอนไม่ดึกและนอนให้พอ)การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า การนอนไม่พอมีส่วนเพิ่มเสี่ยงอาการ “เหงา-เศร้า-เซ็ง-เครียด”… ทางที่ดี คือ นอนให้พอเพื่อมีแรงกาย-แรงใจไว้ต่อสู้วันใหม่ได้ต่อไป 


(10). Don’t overschedule = อย่ารับงานมากเกินการเป็นคุณ ‘Yes’ หรือใครสั่งงานอะไรมาก็รับ ใครบอกว่าต้องทำโน่นทำนี่ก็รับ มีส่วนเพิ่มความเครียดและอาการซึมเศร้าได้
โลกเรามีพวก “นักคิด-นัดพูด-นักพ่น” ที่ชอบคิดโครงการหรืออุดมการณ์โน่นนี่มากมาย คนพวกนี้ไม่ค่อยทำอะไร แต่ชอบพูดๆๆๆ ให้คนอื่นทำ
การตกเป็นเครื่องมือของพวก “นักคิด-นักพูด-นักพ่น” เหล่านี้จะทำให้ชีวิตของเราตกต่ำ, ทางที่ดี คือ หัดเป็นคุณ ‘no’ หรือปฏิเสธงานที่มากเกินไปเสียบ้าง และที่สำคัญ คือ อย่าปล่อยให้พวก “นักคิด-นักพูด-นักพ่น” มาครอบงำ หรือบงการชีวิตเรา

ที่มา Thank Health Magazine
                    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น