"พุทธศาสนาไม่ได้ปฏิเสธความสบา ย แต่ปฏิเสธการยึดติดอยู่กับความส บายทางกาย จนไม่ไปถึงความสุขที่ประณีตกว่า "
ใครที่ไปเยือนวัดป่าซึ่งตั้งอยู ่ในถิ่นทุรกันดานและได้เห็นวิถี ชีวิตของพระที่นั่น รวมทั้งได้ฟังคำสอนของท่าน อาจมีความเข้าใจว่าพุทธศาสนานั้ นปฏิเสธความสบาย เพราะแม้แต่อาหารก็ฉันเพียงมื้อ เดียว ไฟฟ้าก็ไม่ต่อเข้ามา แถมยังสร้างกุฏิในป่าลึกดูน่าอั นตราย
ความจริงพุทธศาสนาไม่ได้ปฏิเสธค วามสบาย กลับเห็นว่าความสบายเป็นสิ่งสำค ัญที่ช่วยให้ชีวิตเป็นสุข เมื่อพระพุทธองค์ตรัสสอนเรื่อง “อายุวัฒนธรรม” หรือธรรมที่ส่งเสริมสุขภาพและช่ วยให้อายุยืน ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงยกมาเป็นข ้อแรก ก็ คือ สัปปายการี ได้แก่ การทำสิ่งที่สบาย หรือการทำตนให้สบาย
อย่างไรก็ตามการที่พระพุทธศาสนา ให้ความสำคัญแก่ความสบาย ไม่ใช่เพราะว่ามันดีโดยตัวมันเอ ง หากแต่เป็นเพราะว่า ความสบายนั้นเป็นสิ่งเกื้อกูลต่ อชีวิต ช่วยให้ชีวิตเจริญงอกงามและเข้า ถึงความสุขที่ประณีตลึกซึ้ง ตรงนี้ต้องอธิบายก่อนว่า ความสุขของคนเรามีสี่ประเภท ได้แก่
1. ความสุขทางกาย หรือความสุขจากการเสพและการใช้ท รัพย์
2. ความสุขทางศีล หรือความสุขจากการมีพฤติกรรมดีง าม และมีสัมพันธภาพที่ราบรื่นกับผู ้อื่น
3. ความสุขทางจิต เช่น เกิดปิติ มีสมาธิ ผ่อนคลาย ปลอดโปร่ง
4. ความสุขทางปัญญา หรือ ความสุขเนื่องจากความรู้แจ้งในส ัจธรรม จนเป็นอิสระหลุดพ้นจากความทุกข์ ทั้งปวง
พุทธศาสนาถือว่าความสบายหรือควา มสุขทางกายจะต้องเป็นไปเพื่อเกื ้อกูลความสุขสามประเภทหลัง หรือทำให้พฤติกรรม (ศีล) จิต และปัญญาเจริญงอกงามขึ้น เช่น เมื่อมีความเป็นอยู่ผาสุกและสบา ยแล้วก็ควรช่วยเหลือผู้อื่น ด้วยการให้ทานแก่ผู้ยากไร้ สละทรัพย์ให้แก่ส่วนรวม หรือสละเวลามาทำประโยชน์แก่สังค ม พร้อมกันนั้นก็ใช้ความสะดวกสบาย นั้นเพื่อบำเพ็ญภาวนาทางจิตปัญญ า
พระไพศาล วิสาโล
Repost
ที่มา : tp://www.facebook.com/visaloใครที่ไปเยือนวัดป่าซึ่งตั้งอยู
ความจริงพุทธศาสนาไม่ได้ปฏิเสธค
อย่างไรก็ตามการที่พระพุทธศาสนา
1. ความสุขทางกาย หรือความสุขจากการเสพและการใช้ท
2. ความสุขทางศีล หรือความสุขจากการมีพฤติกรรมดีง
3. ความสุขทางจิต เช่น เกิดปิติ มีสมาธิ ผ่อนคลาย ปลอดโปร่ง
4. ความสุขทางปัญญา หรือ ความสุขเนื่องจากความรู้แจ้งในส
พุทธศาสนาถือว่าความสบายหรือควา
พระไพศาล วิสาโล
Repost
--
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น