From: pornpimol rattanawiwatpong <pornpimolr@yahoo.com>
Date: March 28, 2011 7:16:25 PM GMT+07:00
To: undisclosed recipients: ;
Subject: Fw: มุมงดงามที่เหลืออยู่ : บทความดีๆจากวินทร์ เลียววาริณ
มุมงดงามที่เหลืออยู่
ไต้ฮงโจ้วซือเป็นภิกขุสมัยสมัยราชวงศ์ซ้อง (ศตวรรษที่ 17) จำพรรษาอยู่ที่วัดเมี่ยนอัน บนเขาปักซัว อำเภอเตี้ยเอี้ย แคว้นแต้จิ๋ว ในกาลนั้นเกิดโรคระบาด ชาวบ้านล้มตายเป็นจำนวนมาก ไต้ฮงโจ้วซือรวบรวมศิษย์ และชาวบ้าน เก็บศพอนาถาไปฝัง แจกจ่ายยารักษาโรคแก่ชาวบ้านผู้ ป่วยโดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื ่อย
อันไต้ฮงโจ้วซือผู้นี้เคยเป็นบัณฑิตผู้สอบได้ตำแหน่งสูงระดับจิ ้นสือ ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายอำเภอ ณ มณฑลจิกกัง แต่ไม่นิยมเรื่องทางโลก จึงบวชเป็นพระ อย่างไรก็ตาม สภาพความเดือดร้อนของชาวบ้ านทำให้ท่านมองเห็นว่า การหนีโลกโดยการปลีกวิเวกอาจไม่ ใช่หนทางที่ถูก
ถูกแล้ว บทบาทของพระคือปลีกวิเวก แต่ปลีกวิเวกเพื่อเข้าใจ เมื่อเข้าใจแล้วจึงหวนกลับมาช่วยคนที่ไม่เข้าใจ การปลีกวิเวกจึงมิใช่กระทำเพื่ อตัวเอง
ท่านเห็นว่าแม่น้ำเหลียงเจียงไหลเชี่ยวกราก คร่าชีวิตคนสัญจรไปมาก จึงรวบรวมกำลังทรัพย์จากคนทั่ วไปสร้างสะพานข้ามแม่น้ ำตรงตำบลฮั่วเพ้ง มีชาวบ้านจำนวนมากออกแรงกายลงมื อสร้าง เป็นสะพานหินกว้างห้าวา ยาวสามร้อยวา สำเร็จ
ไต้ฮงโจ้วซือกลายเป็นสัญลักษณ์ของการทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เป็นต้นกำเนิดของมูลนิธิป่อเต็ กตึ๊งนับร้อยแห่งซึ่งยังคงดำเนิ นนโยบายของไต้ฮงโจ้วซือ เก็บศพไร้ญาติและช่วยเหลือผู้ ประสบภัยต่างๆ
โลกยังมีมุมงดงามเหลืออยู่เมื่อมีคนที่มิได้คิดถึงแต่ตัวเอง
ช่วงปีที่ไทยเกิดวิกฤติเศรษฐกิจร้ายแรงในปี พ.ศ. 2540 นั้น ธุรกิจล้มระเนระนาดซึ่งเกิ ดจากการลดค่าเงินบาท ชาวบ้านเดือดร้อนไปทั่วประเทศ หลายคนเป็นหนี้สินรุงรัง หลวงตามหาบัวแห่งวัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี จึงริเริ่มโครงการช่วยชาติ
หลวงตามหาบัวเป็นชาวอุดรธานี ท่านบวชอย่างไม่เต็มใจนัก บวชเพียงเพราะพ่อแม่ต้องการเห็นชายผ้าเหลืองของลูก แต่ไม่เคยสึกเลยตลอดชีวิต
ท่านศึกษาพุทธประวัติ และตั้งใจจะบรรลุอรหัตผล โดยเดินไปตามทางสายปฏิบัติกรรมฐาน ท่านฝากตัวเป็นศิษย์ ของพระอาจารย์มั่น เล่ากันว่าท่านฝึกฝนกรรมฐานจนผิ วหนังบริเวณก้นระบม อาจารย์มั่นจึงเตือนว่า กิเลสไม่ได้อยู่กับร่างกาย มันอยู่กับจิตต่างหาก
แค่คิดแสวงหานิพพาน ก็คือหนีห่างจากนิพพานแล้ว!
ท่านพบว่า หัวใจของพุทธคือการหาทางพ้นทุกข์ แต่การพ้นทุกข์โดยการหนีทุกข์ ไปค้นหาสุขคนเดียวไม่น่าจะใช่ หนทางที่ถูก
ท่านไม่ได้หนีโลกฆราวาสไปไหน ตลอดชีวิตท่านช่วยเหลือสังคมในรูปต่างๆ ไม่หยุด ทั้งมอบข้าวของให้โรงพยาบาล ผู้ยากไร้ และช่วยเหลือสังคมในรูปต่างๆ
โครงการช่วยชาติ หรือที่เรียกกันว่า โครงการผ้าป่าช่วยชาติ เป็นการรับบริจาคทองคำ เงินตรา รวมจำนวนเงินมหาศาลถึง 15,000 ล้านบาท แล้วยกให้รัฐเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ช่วยเหลือสังคมต่อไป
โลกยังมีมุมงดงามเหลืออยู่เมื่อมีคนที่มิได้คิดถึงแต่ตัวเอง
ในเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2552 ที่บ้านหนองก้นครุ ต. เมืองเล็น อ. สันทราย จังหวัดเชียงใหม่ สามีภรรยาวัยแปดสิบกว่าคู่หนึ่ง แบกหามอิฐปูน ฉาบปูนสร้างบ้าน ทั้งคู่แบกหามอิฐปูน ฉาบปูน ภายในห้าวันนั้น ทั้งสองร่วมกับอาสาสมัครนับพันคนร่วมแรงร่วมใจสร้างบ้านจำนวน 82 หลังเสร็จสิ้น
ชายชราคืออดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา จิมมี คาร์เตอร์ !
คนวัยนี้ไม่จำเป็นต้องลงแรงให้เหนื่อย คนระดับนี้ไม่จำเป็นต้องสร้ างภาพอีกแล้ว รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพรั บประกันสิ่งที่ท่านกระทำมาในชี วิต แต่กระนั้นชายชราก็ยังเลื อกทำงานเพื่อคนอื่น
อดีตประธานาธิบดีและภรรยาร่วมโครงการนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 ช่วยเรี่ยไรเงินช่วยเหลือ ร่วมสร้างบ้านมาแล้วหลายประเทศ
นี่คืองานของกลุ่ม Habitat for Humanity International องค์กรนานาชาติซึ่งไม่หวังผลกำไร งานของพวกเขาคือการสร้างบ้าน เพื่อคนไร้บ้าน ในราคาที่จ่ายได้ ไม่มีกำไร เริ่มมาตั้งแต่ปี 1986 สร้างบ้านโดยใช้อาสาสมัคร
Habitat ก่อตั้งโดยชาวอเมริกัน เป็นองค์กรที่ได้รับรางวัล Fuller the Presidential Medal of Freedom รางวัลสูงสุดของพลเรือน องค์กรนี้มีสาขาทั่วโลกกว่าหนึ่งร้อยประเทศ สร้างบ้านไปแล้วมากกว่ าสามแสนหลังทั่วโลก รองรับคนอาศัยกว่าหนึ่งล้านคน
หลักการของโครงการง่ายๆ คือ รวบรวมอาสาสมัครมาช่วยสร้างบ้านให้ แต่เจ้าของบ้านต้องร่ วมลงแรงลงเหงื่อด้วยไม่น้อยกว่า 500 ชั่วโมง บ้านหนึ่งหลังมีขนาดมาตรฐาน 36 ตารางเมตร สร้างด้วยคอนกรีตบล็อค หลังคากระเบื้อง สำหรับบ้านในภาคใต้ของไทยสร้ างด้วยไม้และหลังคาโลหะ ปกติใช้เวลาสามสิบวันในการก่ อสร้างบ้านหนึ่งหลัง ราคาราว 160,000 บาท เจ้าของบ้านสามารถกู้เงินช่ วยเหลือผ่อนยาวสิบปี เหตุที่ไม่ให้ฟรีเพราะไม่ให้เกิ ดความรู้สึกว่าเป็นของด้อยค่า อีกทั้งใช้เป็นทุนที่จะสร้างบ้ านหลังต่อไปให้คนอื่น ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ หากจะขายบ้าน องค์กรจะรับซื้อคืนในราคาเท่ าเดิม แต่แทบไม่มีใครขายบ้าน การร่วมลงมือสร้างบ้านเองทำให้ เกิดความรู้สึกผูกพันกับบ้านที่ สร้างด้วยแรงของตนเอง
โครงการ Habitat ในเมืองไทยเริ่มในปี พ.ศ. 2541 ที่จังหวัดอุดรธานี สร้างบ้านไปแล้วหลายพันหลังในหลายสิบจังหวัดทั่วไทย
ช่วงที่เกิดวิบัติธรรมชาติสึนามิ Habitat สร้างและซ่อมแซมบ้านที่เสี ยหายจากสึนามิมากกว่า 1,900 ครอบครัว
ในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อาสาสมัครจำนวนมากร่วมกับศูนย์จิมมีและ โรซาลิน คาร์เตอร์ ในลุ่มน้ำโขง สร้างบ้านให้กับสามร้อยครอบครั วในประเทศไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม ยูนนาน
อดีตประธานาธิบดีเรียนรู้ว่า เงินทอง ชื่อเสียง เกียรติยศ ความรู้ เหล่านี้ไม่มีประโยชน์อะไรเลย หากไม่สามารถนำไปใช้เพื่อสังคมส่วนรวมได้ ชีวิตที่เหลืออยู่จึงดำเนิ นไปเพื่อคนอื่น
โลกยังมีมุมงดงามเหลืออยู่เมื่อมีคนที่มิได้คิดถึงแต่ตัวเอง
เป้าหมายชีวิตของคนไม่น้อยคือความรวย
ในพจนานุกรมของคนเหล่านั้น ความรวยแปลว่าความสำเร็จในชีวิต รวยเมื่อไรก็สบาย แสดงว่าไปถึงจุดหมายแล้ว
เมื่อใช้ความรวยเป็นตัวตั้งของสมการชีวิต เส้นทางเดินก็เป็นแบบ ‘ตัวกูมาก่อน’ อาจมองไม่เห็นประโยชน์ของการเสี ยเวลาหรือเปลืองตั วในการทำงานเพื่อสังคม
หากทุกคนคิดแบบนี้ เราก็ได้สังคมที่แห้งแล้งกว่าทะเลทราย เพราะสังคมแบบ ‘มือใครยาวสาวได้สาวเอา’ เป็นวงจรที่ไม่จบสิ้น เพราะเมื่อมีคนมือยาว ก็จะมีคนที่อยากได้มือที่ยาวกว่ าเสมอ ในที่สุดเราก็กลายเป็นสปีชีส์มื อยาว
ทว่ามือยิ่งยาว ของที่ถือก็ยิ่งหนัก!
ความจริงก็คือ เราอยู่ในสังคมแบบ ‘มือใครยาวสาวได้สาวเอา’ มานานจนเราลืมความหมายที่แท้จริงของการอยู่ร่วมกันไปแล้ว
เพียงเปลี่ยนโจทย์ของการใช้ชีวิตใหม่ จากรวยทรัพย์เป็นรวยสุข จากคิดถึงแต่ตัวเองเป็นคิดถึ งคนอื่นบ้าง การเปลี่ยนในจุดเล็กๆ ของแต่ละคนจะสร้างมุมงดงามเพิ่ มขึ้นทุกๆ มุมโลกในบัดดล
มุมงดงามเหล่านี้รวมกันแล้วก็คือ ‘โลกพระศรีอาริย์’ หรือ ‘โลกยูโทเปีย’ นั่นเอง
‘โลกพระศรีอาริย์’ มิได้เกิดจากการรอคอย มันมาจากการสร้างของเราเอง ทีละจุด ทีละมุม คนละเล็ก คนละน้อย
เริ่มต้นที่การรู้จักคิดถึงคนอื่นก่อน
วินทร์ เลียววาริณ26 มีนาคม 2554
--
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น