วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554

ปัญจวัคคีย์

ปัญจวัคคีย์
แปลว่า นักบวชที่เป็นพวกกัน 5 ท่าน ที่มีชื่ว่า โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ

ปัญจวัคคีย์ หมายถึงนักบวชที่ออกบวชติดตามปรนนิบัติพระพุทธเจ้าตั้งแต่เสด็จออกผนวชใหม่ๆ ทั้งหมดเป็นชาวกรุงกบิลพัสดุ์ เฉพาะโกณฑัญญะเป็นผู้เคยทำนายลักษณะพระพุทธเจ้าตั้งแต่ตอนประสูติใหม่ ส่วนอีก 4 ท่าน เป็นบุตรของพราหมณ์ที่ทำนายลักษณะของพระพุทธเจ้าร่วมกับโกณฑัญญะ เพราะมีความเชื่อว่าเจ้าชายสิทธัตถะจะต้องได้เป็นพระพุทธเจ้าจึงได้ออกบวชตาม

ปัญจวัคคีย์ เป็นกลุ่มบุคคลที่ได้ฟังปฐมเทศนาเป็นรุ่นแรก ได้เป็นภิกษุรุ่นแรกและได้เป็นพระอรหันต์รุ่นแรกในพระพุทธศาสนา

พระอัญญาโกณฑัญญะ

พระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นบุตรพราหมณ์มหาศาลในบ้านพราหมณ์ ซึ่งไม่ห่างไกลจากกรุงกบิลพัสดุ์ เดิมชื่อ "โกณทัญญะ" เมื่อเจริญวัยแล้วได้เข้าศึกษาเล่าเรียน จบไตรเพทและรู้ลักษณะมนต์ คือ ตำราทายลักษณะ ในคราวที่พระมหาบุรุษประสูติได้ ๕ วัน พระเจ้าสุทโธทนะ พระราชบิดาได้เชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คน มาเลี้ยงโภชนาหารในพระราชพิธีทำนายพระลักษณะตามพระรา ชประเพณี ได้คัดเลือก พราหมณ์ ๘ คน ในจำนวนพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ให้เป็นผู้ทำนายลักษณะของพระมหาบุรุษ ในขณะนั้น โกณฑัญญะ พราหมณ์ยังเป็นหนุ่ม ได้รับเชิญมาในงาน และท่านก็เป็นคนหนึ่งที่ได้รับเลือก โกณฑัญญะพราหมณ์เป็นผู้ที่มีอายุน้อยที่สุด ในบรรดาที่ได้รับการคัดเลือก ทั้งหมด พราหมณ์ทั้ง ๗ คน เมื่อตรวจดูลักษณะของพระมหาบุรุษแล้วทำนายไว้เป็น ๒ ลักษณะ ดังนี้
๑. ถ้าอยู่ครองฆราวาสจักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
๒. ถ้าเสด็จออกทรงผนวชจักได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธ เจ้า เป็นศาสดาเอกของโลก

ส่วนโกณฑัญญพราหมณ์นั้นมีความแน่ใจว่า พระองค์จักเสด็จออก ทรงผนวชแน่นอน จึงทำนายไว้เป็นลักษณะเดียวว่า พระองค์จักเสด็จออกทรงผนวช และจักได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกของโลกแน่แท้ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โกณฑัญญพราหมณ์มีความตั้งใจว่า ถ้าพระองค์เสด็จออกทรงผนวชเมื่อไร ถ้าตนเองยังมีชีวิตอยู่จะออกบวชตามเมื่อนั้น ในเวลาต่อมา เมื่อพระองค์เสด็จออกทรงผนวชแล้วและทรงบำเพ็ญทุกกรกิ ริยาอยู่ (ทุกรกิริยา คือ การกระทำที่ทำได้ยากอย่างยิ่ง หรือที่เรียกว่า การทรมานตนเอง เช่น อดอาหาร) โกณฑัญญพราหมณ์ได้ทราบข่าวนั้น จึงชักชวนพราหมณ์ ๔ คน คือ ๑. วัปปะ ๒. ภัททิยะ ๓. มหานามะ ๔. อัสสชิ เรียกว่า "ปัญจวัคคีย์" พราหมณ์ทั้ง ๕ คน ได้ติดตามพระองค์เพื่อคอยปรนนิบัติทุกเช้าค่ำ ด้วยหวังว่าถ้าพระองค์ได้บรรลุธรรมใดแล้ว จักได้เทศนาสั่งสอนตนเอง ให้บรรลุธรรมนั้นบ้าง

เมื่อพระองค์ ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาอย่างเต็มที่ประมาณ ๖ ปีแล้ว พระองค์ทรงสันนิษฐานว่ามิใช่หนทางแห่งการตรัสรู้ ทรงตั้ง พระทัยว่า จะทำความเพียรทางใจ จึงทรงเลิกการกระทำทุกรกิริยานั้นเสัย ส่วนปัญจวัคคีย์ซึ่งมีโกณฑัญญะเป็นหัวหน้าคิดว่า พระองค์ ทรงคลายความเพียรเวียนมาเป็นคนมักมากเสียแล้วจึงหมดความเลื่อมใส เกิดความเบื่อหน่าย พากันละทิ้งพระองค์ไปอยู่ที่ป่า อิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ทรงดำริหาคนที่จะรับพระธรรมเทศนา เป็นคนแรก อันดับแรกพระองค์ทรงระลึกถึงอาจารย์ ๒ ท่าน คือ
๑. อาฬารดาบส กาลามโคตร
๒. อุททกดาบส รามบุตร

ซึ่งพระองค์ได้อาศัยศึกษา ลัทธิของท่าน แต่ท่านทั้งสองได้เสียชีวิตไปก่อนแล้ว ลำดับต่อมาทรงระลึกถึงพวกปัญจวัคคีย์ ที่เคยเฝ้าปฏิบัติอุปัฏฐากพระองค์มา ครั้นทรงดำริอย่างนี้ก็เสด็จไปสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวั น ขณะเดียวกันพวกปัญจวัคคีย์ได้เห็น พระองค์เสด็จมาแต่ไกล คิดว่า พระองค์เสด็จมาแสวงหาคนอุปัฏฐาก จึงได้ตกลงกันว่าพระสมณโคดมนี้คลายจากความเพียร มาเป็นผู้มักมากเสียแล้วเสด็จมาที่นี่ พวกเราไม่พึงไหว้ ไม่พึงลุกขึ้นต้อนรับ และอย่ารับบาตร จีวร ของพระองค์เลย จะปูอาสนะ ที่นั่งไว้เท่านั้น ถ้าพระองค์ทรงมี ความประสงค์ก็จะประทับนั่งเอง

ครั้นเมื่อ พระองค์เสด็จเข้าไปถึงแล้ว อาศัยความเคารพที่เคยมีต่อพระองค์มาก่อน ได้บรรดาลให้ลืมกติกานัดหมาย ที่ทำกัน ไว้ทั้งหมด พากันลุกขึ้นต้อนรับและทำสามีจิกรรมดังที่เคยปฏิบัติ มา แต่ก็ยังมีการแสดงกิริยากระด้างกระเดื่อง สนทนากับพระองค์ ด้วยถ้อยคำไม่เคารพ พระองค์ตรัสบอกว่าเราได้ตรัสรู้ "อมฤตธรรม" ด้วยตัวของเราเอง (อมฤตธรรม หมายถึงธรรมที่ไม่สูญหาย อยู่คู่โลกตลอดไป) ขอให้ท่านทั้งหลายจงตั้งใจฟังเถิด เราจักแสดงให้ฟัง เมื่อท่านทั้งหลาย ตั้งใจประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรม ที่เรา สั่งสอนแล้ว อีกไม่ช้าจักได้บรรลุอมฤตธรรมนั้น พวกปัญจวัคคีย์ได้กล่าว คัดค้านถึงสองสามครั้งว่า พระองค์คลายจากความเพียรเสียแล้ว จักบรรลุอมฤตธรรมได้อย่างไร พระองค์จึงตรัสให้ระลึกถึงกาลหนหลังว่า ก่อนนี้เธอทั้งหลายได้ยินได้ฟังวาจาที่เราพูดมา เช่นนี้บ้างหรือ ไม่ พวกปัญจวัคคีย์ระลึกขึ้นได้ว่า พระวาจาเช่นนี้พระองค์ไม่เคยตรัสมาก่อนเลย จึงตั้งใจฟังพระธรรมเทศนา ที่พระองค์เทศนาสั่งสอน สืบต่อไป

พระองค์ ได้ตรัสปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ประกาศพระสัมมาสัมโพธิญาณแก่ปัญจวัคคีย์ ในเวลาจบลงแห่งพระธรรม เทศนา ธรรมจักษุได้เกิดขึ้นแก่โกณฑัญญะ (ธรรมจักษุ หมายถึง โสดาปัตติมรรค) ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา" ท่านที่ได้บรรลุโสดาปัตติมรรคเรียกว่าพระโสดาบัน เมื่อพระองค์ทรงทราบว่า โกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็น ธรรมแล้ว ทรงเปล่งพระอุทานว่า "อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ" แปลว่า โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ๆ เพราะอาศัยคำว่า อญฺญาสิ ที่แปลว่า ได้รู้แล้ว คำว่า อัญญา จึงนำหน้าท่านโกณฑัญญะว่า อัญญาโกณฑัญญะ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

เมื่อท่าน อัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมจึงได้ทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัยของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ก็ทรงอนุญาตให้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาด้วยพระวาจาว่า "เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อถึงที่สุดทุกข์โดยชอบ" การอุปสมบทของอัญญาโกณฑัญญะก็สำเร็จด้วยพระวาจาเพียง เท่านี้ เรียกการ อุปสมบทแบบนี้ว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" ซึ่งพระอัญญาโกณฑัญญะได้รับการอุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิ กขุอุปสัมปทา เป็นองค์แรก

ต่อจากนั้น พระองค์ก็ทรงเทศนาให้ปัญจวัคคีย์อีก ๔ คนได้ดวงตาเห็นธรรม และได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุด้วย วิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา เช่นเดียวกัน ต่อจากนั้นพระองค์ได้เทศนาเกี่ยวกับหนทางแห่งการอบรม วิปัสนาวิมุตติ อันเป็นที่สุดแห่ง พรหมจรรย์ชื่อว่า "อานัตตลักขณสูตร" ในเวลาจบพระธรรมเทศนา ปัญจวัคคีย์ก็หลุดพ้นจากกิเลสาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปทานสำเร็จเป็น พระอรหันต์ (อุปาทาน หมายถึง ความยึดมั่นในสิ่งต่าง ๆ ด้วยอำนาจกิเลส)
พระอัญญา โกณฑัญญะได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า "เป็นยอดกว่าภิกษุทั้งหลายผู้รัตัญญู" แปลว่าผู้รู้ราตรี หมายถึง ท่านเป็นผู้เก่าแก่ ได้รับการอุปสมบทก่อนภิกษุรูปอื่นทั้งหมดในพระพุทธศา สนา เป็นผู้รอบรู้เหตุการณ์ต่างๆมาแต่ต้น เป็นผู้มีประสบการณ์มาก
พระอัญญา โกณฑัญญะได้เป็นกำลังสำคัญในการประกาศศาสนา เมื่อถึงเวลาอันสมควรท่านได้ดับขันธปรินิพพาน ก่อนที่ พระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน

ธรรมจักษุ : ดวงตาเห็นธรรมคือ ปัญญา รู้เห็นความจริงว่า สิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวง ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา; ธรรมจักษุโดยทั่วไป เช่น ที่เกิดแก่ท่านโกณฑัญญะเมื่อสดับธรรมจักร ได้แก่ โสดาปัตติมรรคหรือโสดาปัตติมรรคญาณ คือญาณที่ทำให้เป็นโสดาบน
ดวงตาเห็นธรรม : แปลจากคำว่า ธรรมจักษุ หมายถึงความรู้เห็นตามเป็นจริง ด้วยปัญญาว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา ดู ธรรมจักษุ
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร : “พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป”, พระสูตรว่าด้วยการหมุนวงล้อธรรมเป็นชื่อของ ปฐมเทศนา คือพระธรรมเทศนาครั้งแรก ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ หลังจากนั้น ตรัสรู้ ๒ เดือน ว่าด้วยมัชฌิมาปฏิปทา คือทางสายกลาง ซึ่งเว้นที่สุด ๒ อย่าง และว่าด้วยอริยสัจ ๔ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ อันทำให้พระองค์สามารถปฏิภาณว่าได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (ญาณคือความตรัสรู้เองโดยชอบอันยอดเยี่ยม) ท่านโกณฑัญญะหัวหน้าคณะปัญจวัคคีย์ ฟังพระธรรมเทศนานี้แล้ว ได้ดวงตาเห็นธรรม (ธรรมจักษุ) และขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรก เรียกว่า เป็นปฐมสาวก
ลัฏฐิวัน : สวนตาลหนุ่ม (ลัฏฐิ แปลว่าไม้ตะพดก็ได้ บางท่านจึงแปลว่าป่าไม้รวก) อยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงราชคฤห์ พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับที่นั่น พระเจ้าพิมพิสารไปเฝ้าพร้อมด้วยราชบริพารจำนวนมาก ทรงสดับพระธรรมเทศนา ได้ธรรมจักษุ ประกาศพระองค์เป็นอุบาสกที่นั่น
สมันตจักขุ : จักษุรอบคอบ, ตาเห็นรอบ ได้แก่พระสัพพัญญุตญาณ อันหยั่งรู้ธรรมทุกประการ เป็นคุณสมบัติพิเศษของพระพุทธเจ้า (ข้อ ๕ ในจักขุ ๕)

พระวัปปเถระ

พระวัปปเถระ เป็นบุตรพราหมณ์ในเมืองกบิลพัสดุ์ เมื่อคราวที่มหาบุรุษประสูติใหม่ พราหมณ์ผู้เป็นบิดาของท่านได้รับเชิญในการเลี้ยง โภชนาหารในพระราชพิธีทำนายพระลักษณะ ท่านได้เห็นพระลักษณะถูกต้องตามตำราลักษณพยากรณ์ศาสตร์ของมหาบุรุษ จึงเกิดความเลื่อมใสและเคารพในพระองค์เป็นอันมาก มีความหวังว่าอยากจะเห็นพระองค์ตรัสรู้เป็นพระสัมมาส ัมพุทธเจ้า ในคราวที่ตนจะสิ้นชีวิตจึงได้สั่งสอนบุตรของตนไว้ว่า เมื่อพระมหาบุรุษเสด็จออกทรงผนวชเมื่อใด ให้ติดตามเสด็จเมื่อนั้น ครั้นเมื่อพระมหาบุรุษออกทรงผนวชแล้วและกำลังบำเพ็ญทุกรกิริยา พระวัปปะพร้อมด้วยพราหมณ์ ๔ คน มีโกณฑัญญะเป็นหัวหน้า ออกบวชเป็นฤาษีตามเสด็จพระมหาบุรุษ คอยอุปัฏฐากทุกเช้าค่ำ คาดหวังว่าพระองค์ได้บรรลุธรรมแล้วจักได้สั่งสอนให้ตน ได้บรรลุธรรมนั้นบ้าง เมื่อเห็นพระองค์ทรงละการบำเพ็ญทุกรกิริยาที่ทรงประพฤติมานานถึง ๖ ปี จึงมีความเห็นร่วมกันว่า พระองค์คลายความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากใ นกามคุณเสียแล้วและพระองค์คงไม่ได้ตรัสรู้เป็นพระพุท ธเจ้าแน่นอน จึงเกิดความเบื่อหน่ายคลายความเลื่อมใส พากันหลีกหนีไปอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี
เมื่อพระมหาบุรุษ เมื่อพระมหาบุรุษได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแ ล้ว พระองค์จึงเสด็จไปโปรดแสดงพระธรรมเทศนา ชื่อว่า "ธัมมจักกัปปวัตนสูตร" เป็นปฐมเทศนา เมื่อจบพระธรรมเทศนานั้น ท่านไม่ได้สำเร็จมรรคผลอะไรเลย พอถึงวันรุ่งขึ้น ท่านได้ฟัง ปกิณณกเทศนา จึงได้ดวงตาเห็นธรรม คือได้บรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน จึงได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัย
พระวัปปเถระ บวชด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา เมื่อท่านมีอินทรีย์กล้าแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนาชื่อ อานัตตลักขณสูตร ก็ได้สำเร็จเป็น พระอรหันต์ ท่านได้ช่วยเป็นกำลังสำคัญรูปหนึ่งในการประกาศพระศาส นา เมื่อท่านดำรงอายุสังขารพอสมควร ก็ ดับขันธปรินิพพาน

พระภัททิยะ

พระภัททิยะ มีชาติภูมิอยู่ในเมืองกบิลพัสดุ์ เป็นบุตรของพราหมณ์คนหนึ่งในจำนวนพราหมณ์ ๑๐๘ ที่ได้รับเชิญเลี้ยงโภชนาหารในการทำนาย พระลักษณะของพระมหาบุรุษ
ในสมัย ที่ท่านยังเป็นหนุ่ม ได้ยินบิดาเล่าให้ฟังว่า พระมหาบุรุษมีพระลักษณะถูกต้องตามมหาบุรุษลักษณพยากร ณ์ศาสตร์ จึงเกิด ความเคารพและเลื่อมใสในพระองค์เป็นยิ่งนัก เมื่อพระมหาบุรุษเสด็จออกทรงผนวช ท่านพร้อมด้วยพราหมณ์ทั้ง ๔ คน ซึ่งมีโกณฑัญญะเป็นหัวหน้าตกลงร่วมกันว่า การบรรชาของพระมหาบุรุษจักไม่เลวทรามหรือเสื่อมเสียจ ากประโยชน์เป็นแน่แท้ คงอำนวยประโยชน์ให้แก่คนอื่นด้วย ครั้นปรึกษากันเป็นที่เข้าใจแล้วจึงพากันออกบวชเป็นฤ าษีติดตามคอยอุปัฏฐากทุกเช้าค่ำ ด้วยคาดหวังว่าถ้าพระองค์ได้ตรัสรู้แล้วจักนำธรรมะมา สั่งสอนพวกตนให้บรรลุตามบ้าง ครั้นเห็นพระองค์ทรงละการบำเพ็ญ ทุกรกิริยา จึงเกิดความเบื่อหน่ายในการคอยอุปัฏฐากทุกเช้าค่ำด้ว ยคิดว่า พระองค์กลายมาเป็นคนมักมากในกามคุณ คลายจาก ความเพียรเสียแล้ว คงจะไม่ได้บรรลุธรรมพิเศษอันหนึ่งอันใดแน่ จึงพากันหลีกหนีไปอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวง เมืองพาราณสี เมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้แล้วเสด็จไปโปรดแสดงพระธรรมเทศนาชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร เป็นปฐมเทศนา แต่ไม่สำเร็จมรรคผลอะไร ในวันที่ 3 ได้ ฟังปกิณณกเทศนา ได้บรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน จึงได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบท ในพระธรรมวินัย
ท่านบวชด้วย วิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา เมื่ออินทรีย์แก่กล้าแบ้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนาชื่อว่า อานัตตลักขณสูตร เมื่อจบพระธรรมเทศนา ท่านก็หลุดพ้นจากกิเลศ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ท่านเป็นพระเถระรูปหนึ่งที่เป็นกำลังสำคัญในการช่วย ประกาศพระศาสนา เมื่อดำรงอายุสังขารพอสมควรก็ได้ดับขันธปรินิพพาน

พระมหามามเถระ

พระมหามามเถระ เกิดในสกุลพราหมณ์ กรุงกบิลพัสดุ์ พราหมณ์ผู้เป็นบิดาเล่าให้ฟังว่า พระมหาบุรุษมีลักษณะถูกต้องตาม ตำรา ลักษณพยากรณ์ ศาสตร์ เพราะเคยเห็นพระองค์ในครั้งที่ได้รับเชิญเลี้ยงโภชนาหารในพระราชพิธีทำนายพระลักษณะ จึงเกิดความ เลื่อม ใสจึงพร้อมด้วยพราหมณ์อีก ๔ คน มีโกณฑัญญะเป็นหัวหน้า ออกเป็นฤาษีตามเสด็จคอยอุปัฏฐากพระองค์ ต่อมาเห็นพระองค์ ทรงเลิก การบำเพ็ญทุกกรกิริยาด้วยคิดว่าพระองค์จะไม่ได้บรรลุ ธรรมพิเศษจึงเกิดความเบื่อหน่าย พากันหนีไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ครั้นพระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว ได้เสด็จไปตรัสเทศนาชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร และ ปกิณณกเทศนา ครบวาระที่สาม ในเวลาจบเทศนาจึงได้ดวงตาเห็นธรรมในวันที่ 4

ท่านได้รับ การบรรพชาอุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา ต่อมาได้รับฟังพระธรรมเทศนาชื่อว่า อานัตตลักขณสูตร จึงได้สำเร็จ เป็นพระอรหันต์ เมื่อพระองค์ทรงส่งสาวกไปประกาศพระศาสนา ในตอนปฐมโพธิกาล ท่านเป็นองค์หนึ่งที่อยู่ในจำนวนนั้นที่ช่วย เป็นกำลังสำคัญในการประกาศพระศาสนาในสถานที่ต่าง ๆ สั่งสอนกุลบุตรให้เกิดความเชื่อและความเสื่อมใสในพระพุทธศาสนา ท่านดำรงอายุสังขารอยู่พอสมควร ก็ดับขันธปรินิพพาน


พระอัสสชิ

พระอัสสชิเป็นบุตรพราหมณ์มหาศาล ในกรุงกบิลพัสดุ์ เมื่อบิดาได้เห็นพระมหาบุรุษมีลักษณะถูกต้องตามตำราลักษณพยากรณ์ศาสตร์ ในคราวที่ได้รับเชิญเลี้ยงโภชนาหารในพระราชพิธีทำนายพระลักษณ์ จึงได้บอกเล่าให้ท่านฟังและสั่งไว้ว่า บิดาก็ชราแล้ว คงจะไม่ทันเห็นพระองค์ ถ้าพระมหาบุรุษเสด็จออกทรงผนวชเมื่อใดให้ออกบวชตามเส ด็จเมื่อนั้น ตั้งแต่นั้นมา ท่านมีความเลื่อมใสและเคารพนับถือในพระองค์มาก ในคราวที่พระมหาบุรุษเสด็จออกทรงผนวชและทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่ ท่านได้ทราบข่าวคราวจึงพร้อมกับพราหมณ์อีก ๔ คนซึ่งมีโกณฑัญญะเป็นหัวหน้า พากันออกบวชเป็นฤาษีตามเสด็จ คอยอุปัฏฐากพระองค์ทุกเช้าค่ำ ตลอดเวลาที่ที่ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยานานถึง ๖ ปี แต่พระองค์ไม่สามารถบรรลุธรรมพิเศษได้ จึง ทำให้พระองค์ทรงทราบว่ามิใช่หนทางแห่งการตรัสรู้เป็น แน่แท้ จึงทรงเลิกการบำเพ็ญทุกรกิริยานั้นเสีย พระองค์ตั้งพระทัยว่า จะบำเพ็ญเพียรสืบไป แต่ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ คน มีความเข้าใจว่าพระองค์ทรงคลายจากความเพียรเวียนมาเป็นคนมักมากใน กามคุณเสียแล้ว จึงคิดว่าพระองค์คงจะไม่ได้บรรลุธรรมพิเศษอันใดอันหนึ่งแน่นอน จึงพร้อมกันละทิ้งพระองค์ไปอยู่ที่ป่า อิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เมื่อพระองค์ทรงบำเพียรทางใจได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาส ัมพุทธเจ้าแล้ว พระองค์ จึงเสด็จไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ทรงแสดงปฐมเทศนา ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร โปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ คน และได้ แสดงปกิณณกเทศนา เมื่อครบวาระที่ ๔ พระอัสสชิก็ได้ดวงตาเห็นธรรม

พระอัสสชิเถระ ได้บรรพชาอุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา ต่อมาได้ฟังพระธรรมเทศนาชื่อว่า อานัตตลักขณสูตร จึงบรรลุเป็นพระอรหันต์

ในคราวที่พระบรมศาสดาทรงส่งสาวกออกไปประกาศพระศาสนา ท่านก็เป็นคนหนึ่งในจำนวนนั้นที่ช่วยประกาศพระศาสนา สำคัญเช่นกัน ท่านเป็นผู้ที่มีปัญญาเฉลียวฉลาด รู้จักประมาณตน ไม่ชอบโอ้อวด หรือมีความเย่อหยิ่ง ตลอดถึงกิริยามารยาทเรียบร้อยน่าเลื่อมใส เมื่อพระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร ในกรุงราชคฤห์ อุปติสสปริพาชกเดินทางมาจากสำนักของสัญชัยปริพาชก ได้พบท่านเข้าระหว่างทาง จึงเกิดความเลื่อมใสในจริยาวัตรของท่าน จึงขอให้ท่านแสดงธรรมให้ฟัง ท่านตอบว่า "ผู้มีอายุ เราเป็นคนใหม่บวชไม่นาน เพิ่งเข้ามายังพระธรรมวินัยนี้ ไม่อาจจะแสดงธรรมแก่ท่านโดยพิสดาร เราจักกล่าวแก่ท่านโดยย่อ พอรู้ความ " แล้วก็ได้แสดงธรรมแก่อุปติสสปริพาชกพอได้ความว่า "ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุของธรรมนั้นและความดับของธรรมนั้น พระศาสดาทรงสั่งสอนอย่างนี้"

อุปติสสปริพาชก ได้ฟังเช่นนั้นจึงได้ดวงตาเห็นธรรม ท่านได้ชักนำไปเฝ้าพระบรมศาสดา ปรากฏว่าในกาลต่อมาอุปติสสปริพาชกได้บรรพชา อุปสมบทในพระพุทธศาสนา มีนามว่า "พระสารีบุตร" เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา ซึ่งจะเห็นได้ว่าพระอัสสชิเถระได้ศิษย์ ที่มีความสำคัญองค์หนึ่ง ท่านดำรงอายุสังขารพอสมควรแก่กาลแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน

เมื่อได้อ่านประวัติของปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 แล้ว จะเห็นได้ว่าทั้ง 5 ท่าน มีความมุ่งมั่นที่จะกระทำความดี และแสวงหาทางหลุดพ้นจนกระทั่งประสบความสำเร็จถึงขั้นนิพพานในที่สุดซึ่งเป็นตัวอย่างอันดีสำหรับคนรุ่นหลัง ที่จะมุ่งมั่นและไม่ย้อท้อต่อการทำความดีและเมื่อถึงที่สุดแล้ว ความมุ่งมั่นในความดีจะให้สิ่งดีๆ ตอบแทนแก่เรา

http://www.youtube.com/watch?v=mgoMKTQV4qw&feature=player_embedded


http://www.youtube.com/watch?v=zPAlQ8ZT5x0&feature=player_embedded


--



ความสวยของเจ้า หรือจะเท่าความเมาของพี่
ถึงชั่วก็ชั่วแต่ตัวข้า ญาติวงศ์พงศาหาชั่วไม่
เพ็ญเดือนเจ็ด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น