วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

20 บุคคลสำคัญของไทยที่ได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกจากองค์การยูเนสโก

รางวัล ยูเนสโก ( UNESCO Prize ) เป็นกลุ่มหนึ่งของรางวัลซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก เพราะมีกฎกติกาและกระบวนการพิจารณาตัดสินรางวัลที่ชัดเจน และเป็นรางวัลที่มีอิทธิพลส่งผลกระทบต่อเนื่อง ทั้งต่อตัวบุคคลหรือองค์กรที่ได้รับรางวัลและประเทศ
รางวัล ยูเนสโก มีหลายรางวัล แบ่งเป็นกลุ่มสาขารางวัลใหญ่ ๆ สาขา คือ (1) การศึกษา ( Education ) (2) วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ( Natural Science ) (3) สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ( Social and Human Sciences ) (4) วัฒนธรรม ( Culture ) และ (5) การสื่อสารและข้อมูลข่าวสาร ( Communication and Information ) โดย ที่ในแต่ละสาขา ก็มีแบ่งย่อยเป็นสาขาเจาะเฉพาะลงไปอีก เช่น สาขาวิทยาศาสตร์ ก็มีรางวัลแยกย่อยลงไปอีกเป็น รางวัลวิทยาศาสตร์ยูเนสโก ( UNESCO Science Prize ) รางวัลคาลิงกา ( Kalinga ) ฯลฯ สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ก็มีรางวัลแยกย่อยลงไปอีก เป็นรางวัลยูเนสโกสำหรับการศึกษาสิทธิแห่งมนุษยชน (UNESCO Prize for Human Rights Education ) รางวัลสำหรับสันติศึกษา ( UNESCO Prize for Peace Education )
องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (UNESCO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ก่อตั้งโดยได้มีการลงนามในธรรมนูญขององค์การ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488
ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกองค์การยูเนสโกเมื่อวันที่ มกราคม พ.ศ. 2492 นับเป็นประเทศสมาชิกลำดับที่ 49 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้ง คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (National Commission for UNESCO) เพื่อให้เป็นไปตามกฎบัตรของยูเนสโก โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองประธานและ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฝ่ายการต่างประเทศ) เป็นเลขาธิการ
รายนาม 20 บุคคลสำคัญของไทยที่ได้รับการยกย่องจาก UNESCO ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก

1. 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ


ทรง เป็นคนไทยพระองค์แรกที่ได้รับเกียรติจากยูเนสโกประกาศยกย่องให้เป็นบุคคล สำคัญของโลก เนื่องในโอกาสฉลองวันประสูติครบ 100 พรรษา เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2505

2.
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์


ทรงได้รับการยกย่อง เนื่องในโอกาสฉลองวันประสูติครบ 100 พรรษา เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2506

3. 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์


ทรง ได้รับการยกย่องจากยูเนสโก เป็นบุคคลสำคัญของโลก สาขาวรรณกรรม เนื่องในโอกาสฉลองวันพระราชสมภพครบ 200 พรรษา เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2511

4. 
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีพัชริน ทราบรมราชินีนาถ


ทรง ได้รับการถวายพระราชสมัญญา สมเด็จพระมหาธีราชเจ้า” ยูเนสโกยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านวัฒนธรรม เนื่องในโอกาสฉลองวันพระราชสมภพครบ 100 พรรษาเมื่อวันที่มกราคม 2524

5.
สุนทรภู่ กวีเอกครั้งรัชกาลที่ 2


ยู เนสโกได้ประกาศยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านวรรณกรรม เนื่องในโอกาสฉลองวันเกิดครบ 200 ปี เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2529 นับเป็นสามัญชนคนแรกที่ได้รับเกียรตินี้

6. 
ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน (ยง เสถียรโกเศศ) นักปราชญ์และนักวัฒนธรรมสำคัญของไทย


ยู เนสโกประกาศยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมระดับโลก เนื่องในโอกาสครบรอบ ชาตกาล 100 ปี เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2531

7. 
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส


ทรง เป็นพระสงฆ์รูปแรกที่ได้รับการถวายพระเกียรติจากยูเนสโก ประกาศให้เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมระดับโลก เนื่องในวาระฉลองวันประสูติครบ 200 ปีเมื่อวันที่ 11ธันวาคม 2533

8. 
พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์


เป็น คนไทยที่ยูเนสโกยกย่องให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมระดับโลก เนื่องในวาระฉลองวันประสูติครบ 100 ปี เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2534

9.
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก


ทรง ได้รับการถวายพระสมัญญา พระบิดาแห่งการแพทย์ไทย” เมื่อปี 2535 ยูเนสโกได้ประกาศยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์การแพทย์ การพยาบาลและการสาธารณสุข เนื่องในวาระฉลองครบรอบ 100 ปีวันคล้ายวันพระราชสมภพ เมื่อวันที่ มกราคม 2535

10.
เมื่อปี 2539 เนื่องในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี


ยูเนสโกได้ประกาศ ยกย่องและร่วมฉลองในวาระมงคลดังกล่าวเมื่อวันที่ มิถุนายน 2539

11.
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี


ทรง ได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ประยุกต์ : การพัฒนามนุษย์ สังคมและสิ่งแวดล้อม เนื่องในวาระฉลองวันพระราชสมภพครบ 100 พรรษา เมื่อวันที่21 ตุลาคม 2543

12.
ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ หรือหลวงประดิษฐ์มนูธรรม


ยู เนสโกประกาศให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านส่งเสริมสันติภาพ เสรีภาพ และประชาธิปไตย เนื่องในโอกาสฉลองชาตกาลครบ 100 ปี เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2543

13.
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5


ทรง ได้รับการถวายพระราชสมัญญา พระปิยมหาราช” ทรงได้รับการยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การพัฒนาสังคม เนื่องในโอกาสฉลองวันพระราชสมภพครบ 150 พรรษา เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2546

14. 
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล


บุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา วัฒนธรรม (วรรณคดี) และการสื่อสาร เนื่องในโอกาสฉลองวันเกิดครบ 100 ปี เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2546

15.
พระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบ รมราชินี


ทรง ได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” ทรงได้รับการยกย่องจากยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์และสื่อสารมวลชน เนื่องในโอกาสฉลองวันพระราชสมภพ 200 พรรษา ในวันที่ 18 ตุลาคม 2547

16.
นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือนามปากกาว่า ศรีบูรพา” นักเขียน นักประพันธ์ นักหนังสือพิมพ์มีชื่อของไทย


ได้ รับการยกย่องจากยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านนักเขียนและนัก หนังสือพิมพ์ เนื่องในโอกาสครบรอบชาตกาล 100 ปี เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2549

17.
ท่านพุทธทาสภิกขุ (พระธรรมโกศาจารย์)


ได้ รับการยกย่องจากยูเนสโก ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพ เนื่องในโอกาสครบรอบชาตกาล 100 ปี เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2549

18.
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท


ทรง เป็นคนไทยที่ได้รับการยกย่องจากยุเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้าน วรรณกรรม การศึกษา การแพทย์ การสาธารณสุข และการต่างประเทศ เนื่องในวาระฉลอง 200 ปีวันคล้ายวันประสูติ เมื่อวันที่ กรกฎาคม 2551

19.
นายเอื้อ สุนทรสนาน


ได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก สาขาวัฒนธรรม ดนตรีไทยสากล เนื่องในโอกาสครบรอบชาตกาล 100 ปี เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2553

20.
พลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช



ได้ รับการยกย่องจากยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์และสื่อสารมวลชน เนื่องในโอกาสครบรอบชาตกาล 100 ปี ในวันที่ 20 เมษายน 2554นับเป็นคนไทยลำดับที่ 20 นับเป็นเกียรติประวัติแก่ประเทศไทยอย่างยิ่งอีกครั้งหนึ่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น