อย่างไรก็ตาม เราเกิดมาแล้วก็ต้องผ่านการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งนั้น
" เด็ก " ก็จะต้องแก่ "แก่" อยู่แล้วก็จะต้องแก่ต่อไป
" แก่ " มีอยู่ 2 อย่าง มี "แก่กลวง" และ " แก่แก่น"
" แก่แก่น " คือ แก่แล้วมีแก่น ยืนยง คงกระพัน หรือ ยืนยงคงที่
" แก่กลวง " นี้เป็นอย่างไรท่านทั้งหลาย คือ แก่ แล้วมีของเสีย เขาเรียก "แก่นิสัยด้วย แก่ตัวด้วย" ถ้ายิ่งแก่เสียนิสัย แก่ตัว เขาเรียก "แก่กลวง"
ดังท่าน ช. อิสรานนท์ ท่านให้ข้อคิดว่า...
แก่ใช้เงิน เกินตัว เรื่องพัวพัน
แก่พนัน วันหน้า ถ้าต้องแย่
แก่เมาเหล้า เมารัก มักปรวนแปร
แก่ยุแหย่ แก่นินทา แก่สาบาน
แก่สอพลอ ยอให้ผิด เพราะอิจฉา
แก่ตัณหา พาจิต คิดฟุ้งซ่าน
แก่ขี้เกียจ เหยียดยาว ไม่เข้าการ
แก่เกียจคร้าน แก่ง่วง ถ่วงโลกเอย
"แก่" ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ แก่ใช้เงิน แก่พนัน แก่เมาเหล้า บางคนก็แก่เมารัก บางคนก็แก่ยุแหย่ ยุให้รำ ตำให้รั่ว ดีไม่พูด พูดแต่ชั่ว เขาเรียก "เสี้ยมเขาควายให้ชนกัน" อยู่ในทุกระดับ
แก่ยุแหย่ แก่นินทา แก่สาบาน แก่สอพลอ อย่างนี้ ก็ไม่ดี ประจบสอพลอเพราะอิจฉาเขา
แก่ตัณหา ก็แย่..แก่ขี้เกียจ นี่ยากจน กลายเป็นอนาถา
แก่เกียจคร้าน ก็แย่
ส่วน "แก่ดี" เขาเรียกว่า "แก่แก่น"
" แก่บุญ แก่ทาน แก่การกุศล" นี่แหละ เขาเรียกว่า " แก่แก่น "
เพราะ ฉะนั้น "การแก่" นี่ ถ้าจะ "แก่แก่น" ก็คือ ตัดนิสัยตรงกันข้ามกับ "แก่กลวง" เสีย ก็จะกลายเป็นคนที่เป็นหลักฐาน เพราะมีรากฐานของคุณธรรมอยู่
เพราะฉะนั้น จงพิจารณา " ความแก่" ว่าในตัวและอุปนิสัยมีอย่างนี้
ที่มา...พระพิพิธธรรมสุนทร วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
dhammajak
--
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น