ประวัติ ท่านเจ้าคุณโชดก ป.ธ.๙
ประวัติ พระธรรมธีรราชมหามุนี
(โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙)
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ กรุงเทพมหานคร
๑.ชาติภูมิ พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙)
นามเดิมชื่อ “หนูคล้าย” (ภายหลังสมเด็จ “เขมจารีมหาเถร” วัดมหาธาตุ ได้เปลี่ยนชื่อให้ใหม่ว่า “โชดก” นามสกุลว่า “นามโสม” เกิดวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๔๖๑ ตรงกับวันอังคาร ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเมีย ท่านเกิดที่บ้านหนองหลุบ ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น บิดาของท่านชื่อ “เหง้า” มารดาชื่อ “น้อย”
ครอบครัวของนายเหล้า และนางน้อย นามโสมมีบุตรและธิดารวม ๑๐ คน มีรายชื่อตามลำดับดังนี้..
ธิดาคนที่ ๑ นางบุญ สิทธิ อยู่ที่บ้านหนองหลุบ ถึงแก่กรรม
ธิดาคนที่ ๒ นางสูน แซ่เอี่ยว อยู่ที่อำเภอน้ำพอง ยังมีชีวิต
ธิดาคนที่ ๓ นางปุ่น เข้าเกลียว อยู่ที่บ้านหนองหลุบ ยังมีชีวิตอยู่
ธิดาคนที่ ๔ นางเปี่ยง หล่ำแขก อยู่ที่บ้านหนองหลุบ ถึงแก่กรรมแล้ว
ธิดาคนที่ ๕ นางเครื่อง เมืองจันทร์ อยู่ที่น้ำเกลี้ยง ถึงแก่กรรม
บุตรชายคนที่ ๖ นายหนูคล้าย นามโสม (คือท่านเจ้าคุณ)
บุตรชายคนที่ ๗ นายคุ้ม นามโสม อยู่ที่บ้านหนองหลุบ ยังมีชีวิตอยู่
ธิดาคนที่ ๘ นางสุ่ม จันทะสอน อยู่ที่บ้านหนองหลุบ ยังมีชีวิตอยู่
ธิดาคนที่ ๙ นางทุม (นามสกุลจำไม่ได้) อยู่ที่บ้านโคกสูง ยังมีชีวิตอยู่
ธิดาคนที่ ๑๐ นางทองอยู่ คนใหญ่ อยู่ที่บ้านโคกสูง ยังมีชีวิตอยู่
บิดาของท่านชื่อ เหง้า มารดาชื่อ น้อย ท่านมีพี่น้องร่วมตระกูล ๙ คน เป็นพี่สาว ๕ คน น้องชาย ๑ คน และน้องสาว ๓ คน และปู่ของท่านมีบรรดาศักดิ์เป็นขุน ชื่อขุนวงษ์ เป็นผู้ใหญ่บ้านติดต่อกันมาหลายยุคหลายสมัย มีฐานะดี ส่วนบิดาของท่านเป็นชาวนา มีแต่ความรู้พิเศษ เป็นหมอชาวบ้าน-ช่างไม้-ช่างเหล็ก ประจำหมู่บ้าน.
๒. การศึกษาเบื้องต้น
พ.ศ. ๒๔๗๒ จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านหนองหลุบ ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ใน พ.ศ. ๒๔๗๕ เมื่ออายุได้ ๑๕
๓. บรรพชาอุปสมบท
วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๗๗ เมื่ออายุ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดโพธิ์กลาง โดยมีพระครูเลิ่ง เจ้าอาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ และย้ายไปเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดกลาง ในตัวเมืองของแก่น สอบนักธรรมตรีได้จากวัดนี้ และย้ายไปอยู่วัดยอดแก้ว ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เพื่อเรียนนักธรรมชั้นโท และบาลีมูลกัจจายน์ และสอบนักธรรมชั้นโทได้ พ.ศ. ๒๔๗๘ ได้ย้ายมาอยู่ในกรุงเทพฯ โดยครั้งแรกได้อยู่วัดเทพธิดาราม สอบ ป.ธ. ๓ ป.ธ.๔ และสอบนักธรรมชั้นเอกได้ในสำนั
กนี้ พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้ย้ายมาอยู่วัดมหาธาตุ โดยขุนวจีสุนทรรักษ์เป็นผู้นำมาฝากท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต (เขมจารีมหาเถร) ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระพิมลธรรมได้เมตตารับไว้ให้อยู่ คณะ๑
๔. วุฒิการศึกษา
พ.ศ. ๒๔๗๗ สอบได้นักธรรมชั้นตรี ในสำนักเรียนวัดโพธิ์กลาง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น พ.ศ. ๒๔๗๘ สอบได้นักธรรมชั้นโท ในสำนักเรียนวัดกลาง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น พ.ศ. ๒๔๘๐-๒๔๘๑ สอบได้ ป.ธ.๓ – ป.ธ. ๔ ในสำนักเรียนวัดเทพธิดาราม พ.ศ. ๒๔๘๐-๒๔๙๔ สอบได้ ป.ธ.๕ – ป.ธ. ๙ ในสำนักเรียนวัดมหาธาตุ ในสมัยสอบ ป.ธ. ๙ ได้ใน พ.ศ. ๒๔๙๔ นับเป็นผู้สอบได้เพียงผู้เดียวในประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๘๖-๒๔๙๒ ได้ปฏิบัติศาสนกิจ ณ จังหวัดขอนแก่น โดยครั้งแรกเปิดสอนพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกนักธรรม-บาลี ที่วัดสว่างวิทยา อำเภอเมือง ประมาณ ๑ ปี แล้วย้ายมาอยู่ที่วัดศรีนวล ในเขตเทศบาลเมืองขอนแก่น ปรากฏว่าได้ส่งเสริมการศึกษาในสำนักนี้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มีพระภิกษุสามเณรสอบนักธรรมและบาลีได้มากทุปี ต่อมาท่านได้ลากออกจากตำแหน่งสาธารณูปการจังหวัดเพื่อกลับมาอยู่วัดมหาธาตุ สำนักเดิม
๕. การปฏิบัติศาสนกิจ
พ.ศ. ๒๔๙๓ ย้ายกลับเข้ามาอยู่วัดมหาธาตุ ในสมัยท่านเจ้าคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) ครั้งดำรงสมณะศักดิ์ที่ พระพิมลธรรม เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้อยู่ที่คณะ ๕ วัดมหาธาตุ และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะ ๕ วัดมหาธาตุ เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๔๙๓ และอยู่ประจำที่คณะ ๕ มาตลอดจนมรณภาพ
๖.
หน้าที่การงานเกี่ยวกับการศึกษา
พ.ศ. ๒๔๘๓ – ๒๔๓๐ -เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมทั้งนักธรรม-บาลี ในมหาธาตุวิทยาลัย ได้เป็นครูสอนบาลีไวยากรณ์ชั้นสูงมูล ๓ ได้นิตยภัตตั้งแต่เดือนละ ๖ บาท ใน พ.ศ. ๒๔๘๓ จนกระทั้งสอน ป.ธ. ๗-๘-๙
-เป็นกรรมการตรวจประโยคนักธรรม-บาลี สนามหลวง ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๗ ตลอดมาจนมรณภาพ -เป็นผู้อำนวยการแผนกบาลี สำนักเรียนวัดมหาธาตุ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๖ เป็นต้นมา
๗. หน้าที่เกี่ยวกับด้วยพระไตรปิฎก
พ.ศ. ๒๔๙๒ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย ในแผนกตรวจสำนวน พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจทานพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการปาลิวิโสธกะพระอภิธรรมปิฎก ฉบับสังคายนา พ.ศ. ๒๕๓๐ พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานบรรณกรในการพิมพ์พระไตรปิฎก ฉบับสังคายนา พ.ศ. ๒๕๓๐
๘. งานด้านวิปัสสนาธุระ
พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้เข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอยู่ ณ มณฑปพระธาตุ วัดมหาธาตุ ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ถึง ๑๙ ตุลาคม ๒๔๙๔ รวมเวลา ๗ เดือน ๑๙ วัน โดยพระภาวนาภิรามเถระ (สุข) วัดระฆังเป็นอาจารย์สอน
พ.ศ. ๒๔๙๕ ไปดูการพระศาสนาที่ประเทศพม่า และได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ณ สำนักศาสนายิสสา เมืองอย่างกุ้ง ประเทศพม่า เมื่อสำเร็จการศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนาแล้ว ได้เดินทางกลับประเทศไทยพร้อมกับพระอาจารย์ด้านวิปัสสนากรรมฐาน ๒ รูป ทีรัฐบาลไทยขอจากรัฐบาลพม่าเพื่อมาสอนวิปัสสนากรรมฐาน ประจำอยู่อยู่ในประเทศไทย พระวิปัสสนาจารย์ ๒ รูปนั้น คือ ท่านอาสภเถระปธานกัมมัฏฐานาจริยะและท่านอินทวังสะ ธัมมาจริยะกัมมัฏฐานาจริยะ
เมื่อท่านกลับมาประเทศไทยแล้ว ท่านได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอยู่อีก ๔ เดือน ในสมัยนั้นท่านเจ้าประคุณเด็จพระพุฒาจารย์ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพิมลธรรม ได้ประกาศตั้งสำนักวิปัสสนาธรรมฐานแห่งประเทศไทย ขึ้นที่วัดมหาธาตุ และได้แต่งตั้งท่านครั้งเป็นพระมหาโชดก ป.ธ. ๙ ให้เป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระเป็นรูปแรก ท่านได้รับภาระหนักมาก เพราะเป็นกำลังสำคัญของท่านเจ้าประคุณสมเด็จ ในการวางแผนขยายสำนักสาขาไปตั่งในที่ต่างๆทั่วประเทศ จัดทำหลักสูตรวิปัสสนากรรมฐานคัดเลือกพระวิปัสสนาจารย์ไปสอนประจำอยู่ตามสำนักสาขาที่ตั้งขึ้นและจัดไว้สอนประจำที่วัดมหาธาตุ พระวิปัสสนาจารย์ทั่วประเทศ ส่วนมากเป็นศิษย์ของท่าน
อนึ่ง ในครั้งนั้น ท่านเจ้าประคุณสมเด็จ ได้จัดตั้งกองกรวิปัสสนาธุระขึ้นเป็นศูนย์วิปัสสนากรรมฐาน ที่คณะ ๕ วัดมหาธาตุ และได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นผู้อำนวยการกองการวิปัสสนาธุระ ในความอำนวยการของท่าน มีกิจการเจริญก้าวหน้ามาก มีผลงานปรากฏ ดังนี้
๑. จัดพิมพ์วิปัสสนาสารซึ่งเป็นวารสารราย ๒ เดือน (ออกปีละ ๖ เล่ม) ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๘ และได้ออกติดต่อ ตลอดมาถึงบัดนี้มีสมาชิกให้การอุดหนุนวารสารนี้มีมากพอสมควร
๒. จัดการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานขึ้นที่คณะ ๕ โดยจัดสร้างห้องปฏิบัติขึ้นรับผู้ประสงค์จะเข้าปฏิบัติ หรือผู้มีปัญหาชีวิต เข้าปฏิบัติได้ทุกเวลา ทั้งประเภทอยู่ประจำและไม่ประจำ (คือมารับพระกรรมฐานจากอาจารย์ไปปฏิบัติที่บ้านแล้วมารับสอบอารมณ์หรือมาปฏิบัติในเวลาว่างแล้วกลับไปพักที่บ้าน)
๓. อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาจารย์ และคณะศิษย์ของท่านได้ไปสอนวิปัสสนากรรมฐาน ในพระอุโบสถวัดมหาธาตุ ตึกมหาธาตุวิทยาลัย ตึกธรรมวิจัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ทุกวันพระ และวันอาทิตย์
๔. ให้ความอุปถัมภ์สำนักวิปัสสนากรรมฐานอื่นที่เป็นสาขาอีกหลายสำนัก เช่น สำนักวิเวกอาคม อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา สำนักวิปัสสนาภูระงำ อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น และสำนักบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เป็นต้น พระธรรมธีรราชมหามุนีนั้น ได้อุทิศชีวิตอบรมและเผลแพร่วิปัสสนากรรมฐานติดต่อมาเป็นเวลายาวนานประมาณ ๔๐ ปี
จึงมีศิษยานุศิษย์และมีผู้เคารพศรัทธาเลื่อมใสมาก ทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ และบุคคลผู้มาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น มีทุกระดับชั้น ทุกฐานะอาชีพ เช่น ในช่วง พ.ศ. ๒๔๙๘ ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระอุดมวิชาญาณเถร ได้เป็นพระอาจารย์ถวายวิปัสสนากรรมฐานแด่สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) ซึ่งได้เสด็จมาสมาทานพระกรรมฐานเมื่อวันอังคารที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘ เวลา ๑๙.๐๐ น. ณ พระมณฑปพระบรมธาตุ วัดมหาธาตุ
ในโอกาสนั้น ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ครั้งดำรงตำแหน่งสมณศักดิ์ทีพระพิมลธรรม ได้วายศีลแล้วพระอุดมวิชาญาณเถร เป็นผู้ถวายพระกรรมฐานและถวายสอบอารมณ์ พระกรรมฐานด้วย เป็นประจำทุกวัน ณ พระมณฑปพระบรมธาตุ เวลา ๑๙.๐๐ น. รวมเวลาที่ทรงปฏิบัติพระกรรมฐานเป็นเวลา ๑ เดือน และทรงได้รับผลจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นอย่างดี
นอกจากนั้น ได้เป็นอาจารย์ถวายวิปัสสนากรรมฐานแด่พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ) ซึ่งเป็นพระอาจารย์มีเกียรติคุณในด้านสมถกรรมฐาน (วิชาธรรมกาย) มีชื่อเสียงมากในประเทศไทย โดยท่านไปถวายวิปัสสนากรรมฐานแด่หลวงพ่อที่วัดปากน้ำตลอดเวลา ๑ เดือน ครบหลักสูตรและหลวงพ่อวัดปากน้ำได้มาฟังเทศน์ลำดับญาณ ณ พระอุโบสถวัดมหาธาตุ โดยพระอุดมวิชาญาณเถรได้ถวายเทศน์ลำดับญาณ ปรากฏว่าหลวงพ่อได้ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นอย่างดี เพราะท่านได้นำสมถกรรมฐานมาต่อวิปัสสนากรรมฐาน พิจารณาไตรลักษณ์ มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ หลวงพ่อได้มอบภาพของท่านไว้เป็นที่ระลึกแก่สำนักวิปัสสนาวัดมหาธาตุ และได้เบียนบันทึกใต้ภาพยกย่องว่า “สำนักวิปัสสนากรรมฐาน เป็นสำนักที่สอนวิปัสสนาถูกต้องร่องรอยในมหาสติปัฏฐานทุกประการ”
๙. หน้าที่เกี่ยวกับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๔๙๐-๒๕๓๐ - ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการชำระหนังสือธัมมปทัฏฐกถา ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลย - เป็นอาจารย์บรรยายวิชาพระพุทธศาสนาในชั้นอุดมศึกษา - เป็นกรรมการบริหารกิจการ - เป็นกรรมการพิจารณาหลักสูตรบาลีสำหรับมหาจุฬาฯ - เป็นรองประธานกรรมการฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ - เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย
๑๐. หน้าที่เกี่ยวกับการบริหารคณะสงฆ์
พ.ศ. ๒๔๘๘-๒๕๓๐ - ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการกรรมการสงฆ์จังหวัดขอนแก่น - กรรมการสาธารฯณูปการจังหวัดขอนแก่น - เจ้าคณะภาค ๑๐ - เจ้าคณะภาค ๙- พระอุปัชฌาย์ประจำวัดมหาธาตุ - รองเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ - รองประธานกรรมการสงฆ์บริหารมหาธาตุ รูปที่ ๑
๑๑. หน้าที่งานพิเศษ
-ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการหัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ ๓ -เป็นหัวหน้าผู้อำนวยการ งานพระธรรมทูตสายที่ ๖ -เป็นอนุกรรมการมหาเถรสมาคม เพื่อร่วมพิจารณาหาทางแก้ไขปัญหาวัดที่ว่างเจ้าอาวาสเพื่อหาข้อมูล
๑๒. งานเผยแพร่
-
เป็นพระธรรมกถึกทั้งเทศน์คู่และเทศน์เดี่ยว -เป็นองค์ปาฐกแสดงปาฐกถาธรรม -องค์บรรยายธรรมทางวิทยุเป็นประจำหลายสถานี -บรรยายทางโทรทัศน์ -นับว่าท่านเป็นพระสงฆ์มีความเชี่ยวชาญในการบรรยายธรรม ได้รับความนิยมมากจากผู้ฟังทั้งจากหน่วยงานราชการ ภาคเอกชน และประชาชนเป็นอย่างดี
๑๓. งานสาธารณูปการและงานสาธารณสงเคราะห์
พระธรรมธีรราชมหามุนี มีผลงานด้านงานสาธารณูปการและงานสาธารณสงเคราะห์ปรากฏอย่างกว้างขวาง ทั้งภายในวัดมหาธาตุ และภายนอกวัด ดังมีหลักฐานปรากฏตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๘-๒๕๓๐ ดังนี้
๑) งานสาธารณูปการภายในวัดมหาธาตุ -จัดหาทุนสร้างห้องปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในวัดมหาธาตุ -จัดหาเงินสมทบทุนมูลนิธิวิปัสสนากรรมฐาน -สร้างตึกอุดมวิชาในคณะ ๕ วัดมหาธาตุ -เป็นประธานกรรมการหาทุนก่อสร้างตึกมหาธาตุวิทยาลัยอาคารทรงไทย ๔ ชั้น -เป็นประธานกรรมการหาทุนบูรณะโรงเรียนธรรมมหาธาตุวิทยาลัย และสร้างโรงครัวครูปริยัติธรรม -เป็นประธานกรรมการจัดหาทุนและก่อตั้งมูลนิธิศรีสรรเพชญ์ -ร่วมสมทบบูรณะคณะ ๘ วัดมหาธาตุ -บริจาคร่วมสร้างพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย -เป็นประธานกรรมการจัดหาทุนสร้างพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย -เป็นกรรมการอุปถัมภ์จัดหาทุนสร้างโรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย รวมงานสาธารณูปการภายในวัดมหาธาตุที่ได้ดำเนินการมาเป็นเงินประมาณ ๑๔,๓๒๕,๐๐๐.๐๐ บาท (สิบสี่ล้านสามแสนสองหมื่นห้าพันบาท)
๒) งานสาธารณูปการภายนอกวัด - งานก่อสร้างปฏิสังขรณ์วัดสว่างพิทยา บ้านหนองหลุบ ซึ่งเป็นถิ่นบ้านเกิด - จัดหาทุนสร้างโรงเรียนปริยัติธรรมวัดธาตุ ขอนแก่น ๒ หลัง - จัดหาทุนสร้างอุโบสถวัดโพธิ์ชัย จังหวัดขอนแก่น - จัดหาทุนสร้างโรงเรียนประชาบาลบ้านหนองหลุบ - เป็นประธานจัดหาทุนสร้างวัดพุทธประทีปในระยะเริ่มแรก - อุปถัมภ์สร้างอาคารเรียน ในโรงเรียนประชาบาลบ้านหนองบัว อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี - เป็นประธานจัดหาทุนสร้างตึกสงฆ์อาพาธสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) ในโรงพยาบาลขอนแก่น - บริจาคสร้างตึกสงฆ์สยามินทร์ โรงพยาบาลศิริราช - อุปถัมภ์สำนักวิปัสสนากรรมฐาน ภูระงำ อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น - หาทุนสร้างสำนักวิเวกอาคม ตำบลบางขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดเชิงเทรา รวมงานสาธารณูปการภายนอกวัด เป็นเงินประมาณ ๑๓,๔๕๖,๐๐๐.๐๐ (สิบสามล้านสี่แสนห้าหมื่นหกพันบาท) รวมเงินที่จัดหาในงานสาธารณูปการทั้งภายในวัดมหาธาตุ และภายนอกวัด เป็นเงินประมาณ ๒๗,๐๘๑,๐๐๐.๐๐ บาท (ยี่สิบเจ็ดล้านแปดหมื่นหนึ่งพันบาท)
๑๔. งานต่างประเทศ
พ.ศ. ๒๔๙๕-๒๕๒๘ - ไปดูพระศาสนาและปฏิบัติกรรมฐาน ณ ประเทศพม่า - ไปสอนวิปัสสนากรรมฐาน ณ ประเทศอังกฤษตามคำอาราธนาของคณะสงฆ์สมาคมแห่งประเทศอังกฤษ - เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตประจำประเทศอังกฤษ - ริเริ่มสร้างวัดไทยในประเทศอังกฤษ ปัจจุบันได้สร้างเป็นวัดไทยโดยสมบูรณ์ ชื่อว่าวัดพุทธประทีป โดยท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุรูปแรก - เป็นกรรมการอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตที่จะไปต่างประเทศ - ไปสอนวิปัสสนากรรมฐานที่วัดไทย ในสหรัฐอเมริกา - รับชาวต่างประเทศปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่วัดมหาธาตุ และให้ได้บรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา
๑๕. งานนิพนธ์
พระธรรมธีรราชมหามุนี เป็นพระมหาเถระเชี่ยวชาญแตกฉานในพระไตรปิฏกและมี ความทรงจำเป็นเลิศ สามารถบอกเรื่องราวต่างๆว่าอยู่ในเล่มใด และบางครั้งบอกหน้าหนังสือเล่มนั้นด้วย และท่านยังเป็นนักประพันธ์ ที่นิพนธ์เรื่องศาสนาได้รวดเร็ว และได้นิพนธ์ไว้มากมายหลายเรื่อง เฉพาะที่หาข้อมูลได้ แบะบทนิพนธ์ของท่านเป็นประเภทดังนี้
๑ ) ประเภทวิปัสสนากรรมฐาน มีหนังสือประมาณ ๒๑ เรื่อง เช่น เรื่องความเป็นมาของวิปั
สสนากรรมฐาน คำบรรยายวิปัสสนากรรมฐาน จำนวน ๙ เล่ม
๒ ) ประเภทพระธรรมเทศนา มีหนังสือประมาณ ๔ เรื่อง เช่น เรื่องเทศน์คู่อริสัจ ฯลฯ
๓ ) ประเภทวิชาการ มีหนังสือประมาณ ๘ เรื่อง อภิธัมมัตถสังคหะปริเฉทที่ ๑-๙ ฯลฯ
๔ ) ประเภทสารคดี มีหนังสือประมาณ ๒๐ เรื่อง เช่น เรื่องพระมาลัยโปรดสัตว์นรก ฯลฯ
๕ ) ประเภทตอบปัญหาทั่วไป มีหนังสือประมาณ ๕ เรื่อง เช่น ตอบปัญหาเรื่องบุ
ญบาปและนรกสวรรค์เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีคำขวัญ คำอนุโทนา คติธรรม เพื่อลงตีพิมพ์ในหนังสืออนุสรณ์
ต่างๆ ที่มีผู้ขอมา
๑๖. สมณศักดิ์
วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๙๗ (อายุ ๓๖ พรรษา ๑๕ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเปรียญวิปัสสนาธุระที่ “พระอุดวิชาญานเถระ”
วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๕ (อายุ ๔๔ พรรษา ๒๓) ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ “พระราชสิทธิมุนี ศรีปิฏกโกศล วิมลวิปัสสนาจารย์อุดมวิชาญาณวิจิตรยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี”
วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๑๓ (อายุ ๕๒ พรรษา ๓๑) ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ “พระเทพสิทธิมุนี สมถวิถีธรรมาจารย์ วิปัสสนาญาณโสภณ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี”
วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ (อายุ ๖๙ พรรษา ๔๘) ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศิกดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม มีพระราชทินนามว่า “พระธรรมธีรราชมหามุนี คัมภีรญาณวิมลโสภณธรรมานุสิฐตรีปิฏกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆารามคามวาสี”
๑๗. อวสานชีวิต
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ ป.ธ. ๙) ได้ถึงแก่มรณภาพ โดยอาการอันสงบ ในอิริยาบถนั่งเจริญวิปั
สสนากรรมฐาน ขณะไปทำการสอนวิปัสสนากรรมฐานที่บ้านโยมอุปัฏฐาก ในวันพฤหัสบดีที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๑ เวลา ๑๕.๐๐ น. รวมสิริอายุได้ ๗๐ ปี ๒ เดือน ๑๕ วัน นำความเศร้าโศก แสนเสียดายอาลัยมาสู่คณะสงฆ์ คณะศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนทั่วไปอย่างยิ่ง ขออำนาจบุญกุศลทั้งปวง ได้โปรดดลบันดาลให้พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ. ๙) ประสบสันติสุขในสัมปรายาภพทุกประการ
ดังสุนทรโวหารที่ท่านได้นิพนธ์ในสุดท้ายแห่งชีวิตดังนี้
เตรียมสร้างทางชอบไว้ หวังกุศลตัวสุขส่งเสริม เพิ่มให้
ก่อนแต่มฤยูดล เผด็จชีพ เทียวนา
ตายพรากจากโลกได สถิตด้าว แดนเกษม.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น