วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

จันทบุรี

ความเป็นมาของชื่อเมือง

            จันทบุรี เดิมชื่อเมือง”จันทบูร” มีความหมายว่า เมืองพระจันทร์ ซึ่งจะหมายถึงความสงบร่มเย็นเป็นสุข
ดังนั้นธงประจำจังหวัดจันทบุรี จึงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 80 เซนติเมตร ยาว 120 เซนติเมตร ผืนธงสีแดง มุมด้านซ้ายมือของผืนธงประกอบด้วย ดวงตราประจำจังหวัดอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสพื้นสีน้ำเงิน เป็นรูปกระต่ายอยู่ในดวงจันทร์เปร่งแสงเป็นประกาย แสงจันทร์ หมายถึง ความสวยงามเยือกเย็นและละมุนละไม เปรียบได้กับความสงบรื่นรมย์และร่มเย็นเป็นสุขของภูมิภาคนี้ 

รูปกระต่ายเป็นสัญญลักษณ์ส่วนหนึ่งของดวงจันทร์ ซึ่งชาวไทยโดยทั่วไปเชื่อว่า มีอยู่เช่นนั้นมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ เช่นเดียวกับจันทบุรีเป็นเมืองโบราณ ที่มีชื่อปรากฏอยู่ในพงศาวดารมาตั้งแต่แรกสร้างกรุงศรีอยุธยา
            ตำนานของเมืองจันทบุรี เรื่องเมือง กาไว และพระนางกาไว ตำนานนี้มีผู้เล่าสืบต่อๆกันมาว่า”กษัตริย์ผู้ครองนครโบราณ(ชื่อนครอะไรไม่ปรากฏ แต่เป็นเมืองที่เชิงเขาสระบาป คือเมืองดั้งเดิมของจันทบุรี) พระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระเจ้าพรหมทัต(บางคนก็ว่าทรงพระนามว่า เจ้าบริพงษ์วงษ์สุริยาฆาต) มีพระโอรสกับพระเอกอัครมเหสี 2 พระองค์ พระเชษฐทรงพระนามว่า พระไวยทัต และพระอนุชาทรงพระนามว่า พระเกตุทัต ต่อมาพระเอกอัครมเหสีสิ้นพระชนม์ พระองค์จึงได้ทรงอภิเษกพระมเหสีองค์ใหม่ ทรงพระนามว่า พระนางกาไว ซึ่งทรงพระสิริพิลาศ เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าพรหมทัตยิ่งนักและมีโอรสด้วยกันอีก 1 พระองค์
            พระนางกาไว มีพระประสงค์จะให้โอรสของนางได้ครองราชสมบัติในนคร(จันทบุรี)จึงได้ทูลขอให้พระเจ้าพรหมทัต
ส่งพระโอรสของพระมเหสีเดิมออกไปสร้างเมืองอยู่ในท้องที่กันดาร ทางเหนือแดนต่อแดน (เขตอำเภอโป่งน้ำร้อน ในปัจจุบัน) ทั้ง 2 พระองค์ พระเจ้าพรหมทัตก็ตามใจ ต่อมาเมื่อพระเจ้าพรหมทัตสวรรคต พระนางกาไวจึงสถาปนาพระราชบุตรของพระนางขึ้นเป็นกษัตริย์ครองนครต่อไป และพระนางเป็นผู้สำเร็จราชการเพราะพระราชบุตรยังเยาว์พระชนม์อยู่ ดังนั้นนครนี้จึงเรียกกันติดปากว่า”เมืองกาไว” 
            ต่อมาพระไวยทัตและพระเกตุทัต รู้เรื่องพระบิดาสวรรคตและพระนางกาไวครองเมือง จึงยกกองทัพลงมาเพื่อจะชิงเมืองคืน แต่กองทัพสู้กำลังกองทัพพระนางกาไวยไม่ได้จึงถอยทัพไปและขอกำลังจากกษัตริย์ขอม ซึ่งประทัพอยู่ ณ นครธรม มาช่วยแก้แค้นโดยสัญญาว่า เมื่อได้เมืองแล้วจะแบ่งเมืองให้ ซึ่งกษัตริย์ขอมก็ได้ส่งกองทัพมาช่วยกองทัพคราวนี้ได้ยกมาตั้งพลับพลาพักพลอยู่นอกเมือง ตำบลที่พักพลนี้เรียกว่า”ตำบลพลับพลา”ซึ่งยังเรียกมาจนถึงปัจจุบันนี้            เมื่อส่งคนไปเจรจาไม่ได้ผล กองทัพของพระไวยทัตและขอมก็เข้าตีเมืองจันทบุรี พระนางกาไวเห็นว่าจะสู้ไม่ได้ จึงขนพระราชทรัพย์ขึ้นหลังช้างที่เพนียด (ปัจจุบันยังมีหลักฐานหลงเหลืออยู่) เปิดประตูเมืองด้านทิศใต้หนีไป พอกองทัพพระไวยทัตเข้าเมืองได้ก็ให้ทหารออกติดตามไป พระนางกาไวเห็นว่าจะจวนตัวก็เอาทองและเพชรพลอยออกหว่านเพื่อให้ทหารข้าศึกมัวพะวงเก็บทอง และรีบลงเรือแล่นหนีไป สถานที่ซึ่งพระนางกาไวหว่านทองคำไว้เรียกว่า”ทองทั่ว”ในปัจจุบันนี้ยังมีชื่อบ้านทองทั่ว ตั้งอยู่ 


จังหวัดจันทบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จังหวัดจันทบุรี
ตราประจำจังหวัดจันทบุรีตราผ้าพันคอลูกเสือจังหวัดจันทบุรี
ตราประจำจังหวัดตราผ้าผูกคอลูกเสือ
เหรียญที่ระลึกประจำจังหวัดจันทบุรีด้านหน้า เหรียญที่ระลึกประจำจังหวัดจันทบุรีด้านหลัง
เหรียญที่ระลึกประจำจังหวัด
น้ำตกลือเลื่อง เมืองผลไม้ พริกไทยพันธุ์ดี อัญมณีมากเหลือ เสื่อจันทบูร สมบูรณ์ธรรมชาติ พระเจ้าตากสินมหาราช รวมญาติกู้ชาติที่จันทบุรี
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออักษรไทยจันทบุรี
ชื่ออักษรโรมันChanthaburi
ชื่อไทยอื่นๆเมืองจันท์
ผู้ว่าราชการนายธีรเทพ ศรียะพันธ์
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2553)
ISO 3166-2TH-22
สีประจำกลุ่มจังหวัดเหลือง ███
ต้นไม้ประจำจังหวัดสำรอง, จัน
ดอกไม้ประจำจังหวัดเหลืองจันทบูร
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่6,338.0 ตร.กม.[1]
(อันดับที่ 33)
ประชากร514,616 คน[2] (พ.ศ. 2553)
(อันดับที่ 48)
ความหนาแน่น80.66 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 56)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้งศาลากลางจังหวัดจันทบุรี ถนนเลียบเนิน ตำบลวัดใหม่ อำเภอเมืองจันทบุรีจังหวัดจันทบุรี 22000
โทรศัพท์(+66) 0 3931 2277
โทรสาร(+66) 0 3931 2539
เว็บไซต์จังหวัดจันทบุรี
แผนที่
แผนที่ประเทศไทย เน้นจังหวัดจันทบุรี

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
สำหรับจันทบุรี ในความหมายอื่น ดูที่ จันทบุรี (แก้ความกำกวม)
จังหวัดจันทบุรี เป็นจังหวัดทางชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย ทิศเหนือติดกับจังหวัดฉะเชิงเทรา สระแก้วและปราจีนบุรี ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดตราดแลราชอาณาจักรกัมพูชาทิศใต้ติดกับอ่าวไทย และทิศตะวันตกติดกับจังหวัดระยองและชลบุรี อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 245 กิโลเมตร สภาพพื้นที่มีทั้งป่าไม้ ภูเขา ที่ราบสูง ที่ราบลุ่มน้ำ และที่ราบชายฝั่งทะเล

เนื้อหา

[ซ่อน]

ตำนานและความเป็นมา

จันทบุรีเป็นเมืองเก่าจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เชื่อกันว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี สร้างขึ้นโดยชนชาติ ชอง บางตำนานก็ว่าสร้างโดยชนชาติขอม หัวเมืองเดิมตามศิลาจารึกเรียกว่า "ควนคราบุรี" ชาวพื้นเมืองเรียกว่า "เมืองกาไว" ตามชื่อผู้ปกครอง เมืองจันทบุรีเดิมตั้งอยู่บริเวณหน้าเขาสระบาป มีชนพื้นเมืองเดิมอาศัยอยู่เรียกว่า ชาวชอง มีภาษาพูดเป็นภาษาของตนเอง ซึ่งแตกต่างจากภาษาไทยและภาษาเขมร เจ้าผู้ครองเมืองที่ยิ่งใหญ่ในตำนานคือ พระเจ้าพรหมทัต (พ.ศ. 1349-1399) ครั้นถึงปี พ.ศ. 1800 ได้มีการย้ายถิ่นฐานมาสร้างเมืองใหม่ที่บ้านหัววัง ตำบลพุงทลาย ซึ่งอยู่ใกล้กับแม่น้ำจันทบุรีนปัจจุบัน
ต่อมาปี พ.ศ. 2200 ได้ย้ายมาสร้างเมืองใหม่ที่บ้านลุ่ม อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี ในปี พ.ศ. 2310 หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงให้แก่พม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เข้ายึดเมืองจันทบุรีเพื่อใช้เป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหารและรวบรวมกำลังพลในการกอบกู้กรุงศรีอยุธยาคืนจากพม่า ในคราวนั้นเจ้าเมืองจันทบุรีนามว่าเจ้าขรัวหลาน(ยศเจ้าเมืองจันทบุรีเดิม) ชึ่งราษฎรเลือกขึ้นเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยา โดยหวังว่าพระยาจันทบูรณ์จะช่วยปกป้องรักษาเมืองจันทบุรีให้อยู่รอดสืบต่อไป ได้ต่อต้านกองทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยได้พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้เมืองจันทบุรีอยู่รอดเป็นอิสระ รักษาแผ่นดินไว้ให้ชนชาติบูรพา แต่สุดท้ายก็ต้องปราชัยพ่ายแพ้แก่กองทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยพระองค์ทรงใช้พญาช้างศึกบุกชนกำแพงเมืองจนสามารถเข้าตีเมืองเอาไว้ได้สำเร็จ เจ้าเมืองจันทบุรีได้หลบภัยไปอาณาจักรกัมพูชาจนถึงแก่อสัญกรรม เมืองจันทบุรีจึงตกเป็นของสยามับแต่นั้นเป็นต้นมา
ต่อมาในปี พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสได้เข้ายึดเมืองจันทบุรีไว้นานถึง 11 ปี[3]เนื่องจากไทยมีข้อพิพาทเรื่องดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง โดยฝรั่งเศสกล่าวหาว่าไทยล่วงล้ำดินแดนอาณานิคมของฝรั่งเศส ส่วนไทยได้อ้างว่าดินแดนดังกล่าวเป็นของไทย ฝ่ายไทยเห็นว่าจะต่อสู้ทางทหารฝรั่งเศสไม่ได้จึงขอเปิดการเจรจา ทางฝรั่งเศสยื่นคำขาด โดยฝ่ายไทยต้องยอมยกดินแดนที่เป็นข้อพิพาทรวมทั้งเกาะทั้งหมดในลำน้ำโขง พร้อมเงินอีกหนึ่งล้านฟรังก์และสามล้านบาท โดยจนกว่าจะดำเนินการเสร็จฝรังเศสจะยึดเมืองจันทบุรีไว้ก่อน แต่เมื่อทางไทยดำเนินการเสร็จ ฝรั่งเศสไม่ได้ถอนกำลังออก ฝ่ายไทยจึงต้องยอมยกเมืองตราดและเมืองประจันตคีรีเขตร์(เกาะกง) เพื่อแลกกับเมืองจันทบุรี และอีกหนึ่งปีต่อมาไทยยอมยกเมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ เพื่อแลกเมืองตราดคืนมา แต่ฝรั่งเศสไม่ได้คืนเมืองประจันตคีรีเขตร์แต่อย่างใด ปัจจุบันเมืองประจันตคีรีเขตร์จึงอยู่ในการปกครองของราชอาณาจักรกัมพูชา ต่อมามีการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล จัดตั้งมณฑลจันทบุรี โดยมีเมืองจันทบุรี ระยอง และตราดอยู่ในเขตการปกครองจนถึงปี พ.ศ. 2476 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย จึงยกเลิกมณฑลเทศาภิบาลและได้จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินใหม่ โดยแบ่งออกเป็นจังหวัดและอำเภอ ดังนั้นเมืองจันทบุรีจึงมีฐานะเป็นจังหวัด จนถึงปัจจุบันนี้


                                                                                                                                                                                          




-- 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น