วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

นักบวชที่คนจีนรู้จัก 2

“ปรมาจารย์ตักม้อ” เป็นชื่อของปรมาจารย์ผู้ให้กำเนิดวิชามวยของ “วัดเส้าหลิน” อันมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จัก
กันทั่วไป ภาพยนต์จีนกำลังภายในมักจะนิยมนำเรื่องราวของการฝึกวิชาต่อสู้ของหลวงจีนวัดเส้า
หลินมาอ้างอิงอยู่เสมอ ทั้งนี้เพราะการฝึกวิชาต่อสู้ของหลวงจีนเหล่านั้นมีความลึกลับพิศดารตื่น
เต้นน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง แถมชื่อของท่ามวยแต่ละกระบวนท่านั้นฟังดูแล้วก็แปลกพิสดารไม่แพ
้กัน ผมจึงนำมาใช้เรียกกระบวนท่าตีขิมบ้าง สนุกดีครับ

“ปรมาจารย์ตักม้อ” นั้นเป็นชาวอินเดียครับ เล่ากันว่าเป็นโอรสของกษัตริย์อินเดียแคว้น
หนึ่งทีเดียวนะครับ ก่อนที่จะบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนานั้นท่านเป็นนักรบที่เก่งกาจ

มาก ต่อมาไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุใดจึงออกบวชเสียยังงั้นแหล่ะ บางทีท่านอาจจะได้ดวงตา
เห็นธรรมหรือไม่ก็เบื่อการรบราฆ่าฟันกันเต็มทีจึงออกบวชเพื่อแสวงหาความสงบสุขทางใจ
บ้าง น่ายกย่องนะครับ

คำว่า “ปรมาจารย์ตักม้อ” นั้นเป็นคำเรียกในภาษาจีนครับ “ปรมะ” หรือ “ปรมา” นั้นมาจาก
คำว่า “บรม” ซึ่งแปลว่า “ยิ่งใหญ่” ดังนั้นคำว่า ปรมาจารย์ตักม้อ จึงหมายถึง อาจารย์หรือครู
ผู้ยิ่งใหญ่ซึ่งมีนามว่า “ตักม้อ” นั่นเอง คำว่าตักม้อนี้ชาวจีนเรียกเพี้ยนมาจากคำว่า “ตะโม”
เพราะนามเดิมของท่านในภาษาอินเดียเรียกว่า “ตะโมภิกขุ” (ภาษาไทยเรียกท่านว่า พระโพธิ
ธรรม) พอไปอยู่เมืองจีนจึงกลายเป็น “ตักม้อ” ไป ครั้นพอมาถึงเมืองไทยก็มีผู้เติม “ไม้ตรี” เข้า
ไปอีกตัวหนึ่งจึงกลายเป็น “ตั๊กม้อ” ไปด้วยประการฉะนี้ ต่อไปนี้ผมจึงขออนุญาตเรียกนามท่าน
ปรมาจารย์ตักม้อในหนังสือเล่มนี้ว่า “อาจารย์ตั๊กม้อ” ก็แล้วกันนะครับ ฟังแล้วค่อยคุ้นหูเป็น
สำนวนแบบไทยๆ สักหน่อย

เนื่องจากท่านอาจารย์ตั๊กม้อเป็นชาวดินเดียจึงมีผิวกายดำคล้ำและมีเส้นผมหยิกงอ ดังนั้น
ภาพของท่านในสายตาของชาวจีนจึงดุร้ายน่ากลัวราวกับโจรผู้ร้ายทีเดียวเชียวละครับ ภาพ
การ์ตูนของผมก็เลยต้องวาดให้มีลักษณะดุดันตามไปด้วย แต่ความจริงแล้วอาจารย์ตั๊กม้อท่าน
เป็นคนดีเป็นฝ่ายธรรมะครับ ถ้าไม่ดีจริงคงไม่บวชเป็นพระในพระพุทธศาสนาและไม่สามารถ
เดินทางไปเผยแพร่ธรรมะในประเทศจีนจนแพร่หลาย เป็นที่เคารพยกย่องของชาวจีนเป็
จำนวนมากมานานนับเป็นพันๆปีทีเดียว แสดงว่าคนดีนั้นไม่จำเป็นต้องมีรูปร่างหน้าตาสวยงาม
เสมอไป คนรูปชั่วใจดีมีถมไป ส่วนคนที่รูปงามแต่จิตใจชั่วร้ายก็มีมากเหมือนกัน ต้องคอยระวัง
กันให้ดีก็แล้วกันนะครับ

00000060.gif

เรื่องราวของอาจารย์ตั๊กม้อที่เด่นดังเป็นที่รู้จักกันทั่วไปมีอยู่มากมายหลายเรื่องผมจะขอเล่า
ให้ฟังสักสองสามเรื่องนะครับ แต่ถ้าท่านผู้อ่านอยากจะทราบเรื่องราวให้มากไปกว่าที่ผมเล่าก
็ต้องไปค้นคว้าหาอ่านเพิ่มเติมกันเองครับ เรื่องแรกซึ่งเล่าขานเกี่ยวกับความเก่งกล้าสามารถ
ของอาจารย์ตั๊กม้อนั้นคือในสมัยแรกที่ท่านเดินทางจากประเทศอินเดียไปยังประเทศจีนนั้นมีอยู่
ตอนหนึ่งซึ่งจำเป็นต้องเดินทางข้ามลำน้ำแต่ไม่สามารถจะหาเรือนั่งข้ามไปได้ ท่านอาจารย์ตั๊ก
ม้อจึงแสดงอภินิหารข้ามลำน้ำด้วยวิธีอันน่าตื่นเต้นพิสดารคือ ท่านหักต้นอ้อท่อนหนึ่งโยนลง
ไปในน้ำแล้วโดดลงไปยืนเหยียบอยู่บนต้นอ้อต้นนั้นอาศัยเป็นเรือพาท่านลอยข้ามลำน้ำไปขึ้น
ยังอีกฝั่งหนึ่งอย่างสบายอารมณ์ ชาวบ้านในละแวกนั้นต่างพากันแตกตื่นเลื่อมใสในความ
สามารถของท่านและเล่าขานเรื่องนี้สืบต่อๆกันมาจนถึงทุกวันนี

เรื่องที่สองคือ เมื่อท่านเดินทางไปถึงประเทศจีนใหม่ๆ ชาวจีนที่นับถือพุทธศาสนาในขณะ
นั้นยังไม่เข้าใจลึกซึ้งถึงหลักธรรมที่แท้จริง ต่างแบ่งแยกกันออกเป็นนิกายต่างๆมากมายและ
ปฏิบัติธรรมผิดออกไปจากคำสอนเดิมของพระพุทธเจ้า เมื่อเห็นท่านเป็นพระที่เดินทางมาจาก
อินเดียซึ่งเป็นแดนพุทธภูมิจึงพากันมาตั้งคำถามและลองภูมิท่านจนรู้สึกรำคาญ ท่านอาจารย์ตั๊ก
ม้อคงอิดหนาระอาใจมากจึงนั่งสมาธิหันหน้าเข้าหาผนังหินในถ้ำไม่ยอมพูดจากับใครเป็นเวลา
นานถึง 9 ปี เล่นเอาพวกที่ชอบไปอวดรู้ลองภูมิพากันหลบฉากหนีหน้าไปเพราะแตกตื่นในวิธี
การนั่งสมาธิแบบพิสดารของพระจากเมืองอินเดีย ส่วนคนที่เลื่อมใสก็พากันเข้ามาฝากตัวเป็น
ศิษย์เรียนธรรมะกับท่านจนกลายเป็นหลวงจีนวัดเส้าหลินอันมีชื่อเสียงโด่งดังสืบต่อๆกันมานั่น
แหล่ะครับ

เรื่องที่สามเป็นเรื่องที่ท่านอาจารย์ตั๊กม้อใช้วิทยายุทธปราบคนพาลอภิบาลคนดีจนมีคน

เคารพเลื่อมใสมากมายทั่วไปในเมืองจีน คือตอนที่ท่านเดินทางธุดงค์จาริกไปทั่วเมืองจีนนั้นได้
ช่วยเหลือปราบปรามโจรผู้ร้ายที่สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านด้วยวิชาการต่อสู้อันแปลก
พิสดารที่ท่านได้เรียนรู้ไปจากอินเดีย นอกจากนั้นท่านยังได้รวบรวมบันทึกเคล็ดวิชาในการฝึก
การต่อสู้อันสุดแสนจะพิสดารต่างๆรวมเข้าไว้เป็นคัมภีร์เล่มหนึ่ง เรียกว่า “คัมภีร์เก้าอิมจินเก็ง”

คัมภีร์เล่มนี้แบ่งออกเป็น 2 ท่อน ท่อนแรกเรียกว่า “คัมภีร์ท่อนบน” บันทึกวิชาฝึกความแข็งแรง

ของร่างกาย (ฝึกโยคะ) และการต่อสู้ไว้ 72 กระบวนท่า ท่อนที่สองเรียกว่า “คัมภีร์ท่อนล่าง” บัน

ทึกเคล็ดวิชาต้องห้าม (วิชามาร) เอาไว้ 36 ประบวนท่า เคล็ดวิชามารเหล่านี้เป็นแนวทางการ
ฝึกวิทยายุทธของคนที่เหี้ยมโหดชั่วร้ายซึ่งพ่ายแพ้แก่ฝีมือของท่าน อาจารย์ตั๊กม้อจึงยึดเอามา

รวมไว้เป็นคัมภีร์ท่อนล่างและกำหนดให้เป็น ”วิชาต้องห้าม” คือห้ามมิให้ฝึกเนื่องจากวิธีการ
ฝึกนั้นผิดทั้งครรลองคลองธรรมและผิดศีลธรรมจึงเก็บซ่อนคัมภีร์ท่อนล่างไว้อย่างมิดชิด ภาย
หลังจากท่านอาจารย์ตั๊กม้อมรณภาพไปแล้วได้มีผู้ลอบโขมยคัมภีร์ท่อนล่างนี้ออกมาจากวัด
เส้าหลินและหายสาบสูญไปในที่สุด































































Image
คำสอนของปรมาจารย์ตั้กม๊อ
ท่านโพธิธรรมตั้กม๊อ เกิดในวรรณะพราหมณ์เป็นชาวอินเดีย เป็นสังฆนายกของนิกายเซนองค์ที่ 28 ของนิกายเซน (องค์แรกคือพระมหากัสสปะ องค์ที่สองคือพระอานนท์) แต่ชาวจีนนับท่านเป็นองค์แรก ของนิกายเซนของจีน ท่านอยู่ที่เมืองจีนประมาณ 50 กว่าปี

จากคัมภีร์เล่มหนึ่งท่านกล่าวว่า ผู้ที่จะปฏิบัติธรรมได้ดี จะต้องมีความศรัทธาและเชื่อมั่นก่อน ถึงจะเข้าถึงธรรมได้ดี

ส่วนการนั่งสมาธินั้น เมื่อนั่งจนสงบนิ่งเหมือนไม่มีลมหายใจ จิตหยุดกระเพื่อม ความรู้สึกไม่รับผัสสะที่มาจากภายนอกทั้งหมด จิตแน่วแน่และมั่นคงดั่งหินผา จะสามารถเข้าสู่ทางเดินแห่งการรู้แจ้งได้

ส่วนการดำเนินจิตในชีวิตประจำวัน จะต้องเข้าถึงหลักดังนี้
1. กฏแห่งกรรม เมื่อพบความทุกข์ใดๆ ก็ต้องสำนึกว่า ความทุกข์และความเจ็บปวดเป็นผลกรรมจากการกระทำในชาติก่อน เพราะเหตุนี้จึงไม่ควรหลงโกรธโทษฟ้าดิน ยอมรับผลกรรม โดยไม่โอดครวญและหลงโทษสิ่งใดๆ

2. ไปตามครรลองของธรรมชาติ แม้ว่าทุกอย่างจะเกิดจากเหตุ สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม แต่ทุกสิ่งก็เป็นอนัตตา ทุกข์สุขความเป็นไปของชีวิต เกิดจากกรรมภายในภายนอก เป็นตัวกำหนด ยามเมื่อมีเงินทองเกียรติยศชื่อเสียง พึงสำเหนียกว่า เป็นผลจาการกระทำในอดีต แต่เมื่อเสวยผลบุญจนสิ้นสุด ก็จะกลายเป็นไม่มี ได้หรือเสียเป็นไปตามกรรม จิตไม่มีเพิ่มหรือลด ดีมาก็ไม่กระเพื่อมเป็นไปตามครรลอง

3. ไม่แสวงหาสิ่งใดๆ คนในโลกนี้ล้วนแต่มีความโลภ คนมีปัญญาถึงจะเข้าใจถึงความเป็นจริง นึกถึงเมื่อวนเวียนอยู่ในสามโลกอันยาวนาน นึกถึงความทุกข์ของการมีกายมีการแสวงหา เมื่อมาถึงการรู้แจ้งถึงการแสวงหาสิ่งเหล่านี้ จิตก็จะหยุดดิ้นรน ก็จะเข้าถึงมรรคที่แท้จริงได้

4. บำเพ็ญตนใน 6 สิ่งนี้ คือ ทำทาน รักษาศีล อดทน ใฝ่ก้าวหน้า จิตสงบ เดินทาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น