การเพาะพันธุ์ปลา
ปลา สลิดสามารถผสมพันธุ์และวางไข่ได้เมื่อมีอายุ 7 เดือน ขนาดโตเต็มที่โดยเฉลี่ยจะมีขนาดตัวยาวประมาณ 6-7 นิ้ว หนัก 130-400 กรัม ปลาสลิดจะเริ่มวางไข่ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคม หรือในฤดูฝน แม่ปลาตัวหนึ่ง ๆ จะสามารถวางไข่ได้หลายครั้ง แต่ละครั้งจะได้ปริมาณไข่ประมาณ 4,000-10,000 ฟอง ในฤดูวางไข่ ท้องแม่ปลาจะอูมเป่งออกมาทั้งสองข้าง ลักษณะของไข่ปลาสลิดมีสีเหลือง ควรจัดที่ให้ปลาสลิดวางไข่ภายในเดือนมีนาคม โดยหลังที่ได้กำจัดศัตรูปลาระบายน้ำเข้า และปล่อยพันธุ์ปลาลงบ่อแล้ว น้ำลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร ควรปลูกผักบุ้งรอบบริเวณชายบ่อ ปลาสลิดจะเข้าไปก่อหวอดวางไข่ และลูกปลาวัยอ่อนจะสามารถเลี้ยงตัวหลบหลีกศัตรูตามบริเวณชานบ่อนี้ได้1. ระบายน้ำเข้าบ่อผ่านตะแกรงที่มีช่องตาขนาด 1 มิลลิกรัมจนท่วมชานบ่อ โดยรอบ ให้มีระดับสูง 20-30 เซนติเมตร ปลาจะเข้าก่อหวอดวางไข่มากขึ้นอาณาเขตบ่อก็จะกว้างขวางกว่าเดิมเป็นการเพิ่ม ที่วางไข่ และที่เลี้ยงตัวลูกปลามากขึ้น
2. สาดปุ๋ยมูลโคและมูลกระบือแห้งบนบริเวณชานบ่อที่ไขน้ำท่วมขึ้นมาใหม่ จะทำให้เกิดไรน้ำและผักบนชานบ่อเจริญงอกงามขึ้นอีกด้วย
3. ปล่อยให้ผักขึ้นรกในบริเวณชานบ่อ ผักเหล่านี้ปลาสลิดจะใช้ก่อหวอดวางไข่ และเป็นกำบังหลบหลีกศัตรของลูกปลาในวัยอ่อนจนกว่าจะแข็งแรงเอาตัวรอดได้การวางไข่
การ วางไข่ ก่อนปลาสลิดจะวางไข่ ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายเตรียมการเลือกสถานที่ และก่อหวอดซึ่งเป็นฟองน้ำละลายไว้ในระหว่างต้นผักบุ้งโปร่งไม่หนาทึบเกินไป ปกติปลาสลิดตัวเมียจะชอบวางไข่ในที่ร่มมากกว่ากลางแจ้งเมื่อเตรียมหวอดเสร็จ แล้ว ปลาก็จะเริ่มผสมพันธุ์กันโดยตัวผู้จะเริ่มไล่ต้อนตัวเมียเข้าใต้บริเวณหวอด และรัดท้องตัวเมียให้ไข่ออกแล้วปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสมกันไข่ จากนั้นปลาตัวผู้จะอมไข่เข้าใต้หวอด ไข่จะลอยติดอยู่ที่หวอด นอกจากการเพาะพันธุ์ปลาสลิดในบ่อแล้ว
ยังสามารถเพาะในถังทรงกลมได้อีกด้วยการเพาะพันธุ์ปลาสลิดในถังทรงกลม
ใช้ถังทรงกลมปากกว้าง 1.50 เมตร ยาว 3 เมตร ลึก 60 เซนติเมตร น้ำลึกประมาณ 40 เซนติเมตร วางไว้กลางแจ้ง โดยทำเป็นเพิงคลุมถังประมาณ 2 ใน 4 ของถังเพื่อกำบังแดด ใช้ผักบุ้งลอยไว้ 3 ใน 4 ของถัง แล้วปล่อยแม่ปลาที่กำลังมีไข่แก่ 10 ตัว ตัวผู้ 10 ตัว หลังจากปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาเพียง 4-6 วัน ปลาสลิดจะเริ่ม ก่อหวอดวางไข่ ไข่ปลาจะฟักเป็นตัวและเติบโตเช่นเดียวกับการเพาะฟักในบ่อดิน จากนั้นให้ช้อน พ่อแม่ปลาออกแล้วเลี้ยงลูกปลาไปก่อนโดยให้ไข่ผงหรือไรน้ำเป็นอาหาร 2 สัปดาห์ จึงให้รำผงละเอียดจนกว่าลูกปลาจะมีขนาดยาว 2 เซนติเมตร เพื่อปล่อยลงบ่อเลี้ยงต่อไป หรือจะนำหวอดไข่จากบ่อเพาะเลี้ยงมาฟักในถังทรงกลมก็จะช่วยให้ลูกปลาสลิดมี ชีวิตรอดเป็นจำนวนมากกว่าที่จะปล่อยให้เจริญ เติบโตในบ่อเพาะเลี้ยงเอง เพราะในบ่อมักมีศัตรูปลาสลิดอยู่ เช่น แมลงในน้ำ กบ งู ปลากินเนื้อ ซึ่งจะคอยทำลายไข่และลูกปลา อัตราลูกปลาจะรอดน้อยกว่าการนำพ่อแม่พันธุ์มาเพาะในภาชนะไข่ปลาจะฟักเป็นตัว ภายใน 24 ช.ม. ในระยะ 7 วันแรกลูกปลาจะไม่กินอาหาร เมื่อถุงอาหารยุบหมด ลูกปลาจึงเริ่มกินอาหาร โดยลูกปลาขึ้นเหนือน้ำในตอนเช้าตรู่การเตรียมบ่อ
บ่อ เลี้ยงปลาสลิดหรือแปลงนาปลาสลิด จะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคูล้อมทุกด้านหรืออย่างน้อย 2 ด้าน กว้างอย่างน้อย 1 วา ลึกอย่างน้อย 75 เซนติเมตร ความสูงของคันต้องกั้นน้ำท่วม และฐานต้องกว้างกว่าหรือเท่ากับความกว้างของคู ควรมีชานบ่อกว้างอย่างน้อย 1 เมตร สำหรับให้ปลาวางไข่ บ่อขนาดเล็กที่สุดมีความกว้าง 10 เมตร ยาว 20 เมตร ลึก 1.50 เมตร
วิธีการเตรียมบ่อ
การ ใส่ปูนขาว บ่อที่ขุดใหม่โดยทั่วไปแล้ว ดินมักจะมีสภาพเป็นกรด ควรใช้ปูนขาวโดยให้ทั่วบ่อ 1 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่ 10 ตารางเมตร เพื่อแก้ความเป็นกรดของดินให้เจือจาง ถ้าเป็นบ่อเก่าที่ไม่เคยใช้เลี้ยงปลา ควรกำจัดวัชพืชต่าง หากบ่อตื้นเขินไม่เหมาะแก่การเลี้ยงปลาควรสูบน้ำออกลอกเลนและตกแต่งพื้นบ่อ ให้มั่นคงแข็งแรง แล้วตากบ่อให้แห้งประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้แสงแดดช่วยฆ่าและกำจัดเชื้อโรคต่าง ๆ
ก่อนจะปล่อย พันธุ์ปลาลงเลี้ยง ควรใช้โล่ติ๊นฆ่าศัตรูต่าง ๆ ของปลาในบ่อให้หมดสิ้นเสียก่อน โดยใช้โล่ติ๊นสด หนัก 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 100 ลูกบาศก์เมตร ทุบโล่ติ๊นให้ละเอียดแช่น้ำไว้ โล่ติ๊นสดหนัก 3 กิโลกรัม ใช้น้ำประมาณ 2 ปีบ ขยำเอาน้ำสีขาวออกหลาย ๆ ครั้งจนหมด แล้วน้ำไปสาดให้ทั่ว ๆ บ่อ ปลาต่างๆ ที่เป็นศัตรูจะเริ่มตายหลังจากที่ใส่โล่ติ๊นลงไปประมาณ 30 นาที จากนั้นจะตายต่อไป จนหมดบ่อ แล้วปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 7-8 วัน เพื่อให้พิษของโล่ติ๊นสลายตัวหมดเสียก่อน จึงนำพันธุ์ปลาสลิดปล่อยลงเลี้ยงต่อไป
ิ โดยใช้ปุ๋ยคอกโรยให้ทั่วบ่อ อัตราส่วนปุ๋ยคอก 100 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่ 1 ไร่ แล้วระบายน้ำเข้าบ่อให้มีระดับสูงจากพื้นบ่อ 10-20 เซนติเมตร ปล่อยไว้ 7-10วัน จะเกิดตะไคร่น้ำหรือที่เรียกว่าขี้แดด จากนั้นจึงค่อยระบายน้ำเข้าบ่อตามระดับที่ต้องการ ถ้าเป็นบ่อใหม่ ภายหลังที่ใส่ปุ๋ยและปล่อยน้ำเข้าแล้วควรนำเชื้อตะไคร่น้ำที่หาได้จากน้ำที่ มีสีเขียวจัดโดยทั่วไปมาใส่ ลงในบ่อ เพื่อเร่งให้เกิดตะไคร่น้ำเร็วยิ่งขึ้น ในบ่อปลาสลิดควรปลูกพันธุ์ไม้น้ำเช่น ผักบุ้ง แพงพวย และผักกระเฉด เพื่อให้เหมาะสมกับนิสัยและความเป็นอยู่ของปลาสลิด และเพื่อเพิ่มอาหารธรรมชาติให้กับลูกปลาการใส่ปุ๋ยคอก เช่น มูลโค มูลกระบือที่ตากแห้งแล้ว โรยตามริมบ่อในอัตรา 10 กิโลกรัมต่อเนื้อที่ 160 ตารางเมตร ใส่ปุ๋ยคอก 2-3 เดือนต่อครั้ง การที่จะให้บ่อปลามีอาหารธรรมชาติอยู่เสมอนั้น ให้นำปุ๋ยหมักหมักไปกองไว้บริเวณริมบ่อด้านใดด้านหนึ่ง ปุ๋ยหมักนี้จะใช้หญ้าสดที่ดายทิ้ง กองอัดให้แน่นแล้วใส่ปุ๋ยคอกผสมลงไปด้วยเพื่อให้หญ้าสดสลายตัวเร็วขึ้นจะ ช่วยเร่งให้เกิดจุลินทรีย์และไรน้ำต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นอาหารของปลาสลิดต่อไป จะต้องใส่ปุ๋ยก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยงอย่างน้อย 3 วัน แล้วปล่อยปลาสลิดลงเลี้ยงประมาณ 5-10 ตัว ต่อเนื้อที่ผิวน้ำ 1 ตารางเมตร เป็นอย่างมาก
การให้อาหาร
อาหาร ที่ปลาสลิดชอบกินคือ ตะไคร่น้ำ รำละเอียด หรือปลายข้าวต้ม ปนกับผักบุ้งที่หั่นแล้ว แหนสด และปลวก อาหารของลูกปลาวัยอ่อน ซึ่งมีอายุ 7-12 วัน ให้ตะไคร่น้ำและไร่น้ำเป็นอาหาร เมื่อลูกปลา มีอายุ 21 วัน – 1 เดือน ให้รำข้าวละเอียดต้มปนกับผักบุ้งที่หั่นละเอียด แหนสด และปลวกบ้าง (ผัก 1 ส่วน รำ 2 ส่วน) ทั้งนี้ต้มผักให้เปื่อยเสียก่อน แล้วจึงเอารำลงไปเคล้าปั้นเป็นก้อนให้กินเพียง
วันละ 2 ครั้ง ในเวลาเช้า ระหว่าง 7.00 –8.00 น. และเย็น ประมาณ 3-5 % โดยใส่อาหารบนแป้นซึ่งอยู่ใต้ระดับน้ำ 1 คืบ อย่าให้อาหารเหลือข้ามวันจะทำให้น้ำเน่าเสียได้ ควรดีดน้ำให้เป็นสัญญาณ ปลาจะได้เคยชินและเชื่องด้วยการเจริญเติบโต
ปลา ขนาด 5 เซนติเมตร ใช้เวลาเพียง 7-8 เดือนและถ้าปล่อยปลาขนาด 10 เซนติเมตรใช้เวลาเลี้ยง 5-6 เดือน ส่วนการเลี้ยงลูกปลาจากพ่อแม่ปลาจะใช้เวลา 10-11 เดือน จับขายได้ปลา สลิดไม่ค่อยจะเป็นโรคร้ายแรง หากน้ำในบ่อเสียจะสังเกตเห็นปลาขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำ เพราะออกซิเจนที่ละลายน้ำไม่เพียงพอ วิธีแก้ไขก็คือต้องถ่ายน้ำเก่าออกและระยายน้ำใหม่เข้าหรือย้ายปลาไปไว้ในบ่อ อื่น โดยเฉพาะมักจะเกิดเห็บปลา ซึ่งมีลักษณะตัวแบน สีน้ำตาลใสเกาะติดตามตัวปลามาดูดเลือดของปลากิน ความเจริญเติบโตของปลาชะงักลง ทำให้ปลาผอม การกำจัดโดยระบายน้ำสะอาดเข้าไปในบ่อให้มาก ๆ ตัวเห็บก็จะหายไปได้ การป้องกันโรคระบาดอีกประการหนึ่งก็คือ ปลาที่จะนำมาเป็นพ่อแม่พันธุ์ถ้าปรากฎว่ามีบาดแผลไม่ควรนำลงไป
เลี้ยงรวมกันในบ่อเพราะปลาที่เป็นแผลจะเป็นโรคราและติดต่อไปถึงปลาตัวอื่นได้การป้องกันและกำจัดศัตรู
ศัตรู ของปลาสลิด มีหลายประเภท เช่น นาก นกกินปลา งู เต่า ตะพาบน้ำ กบ เขียด ปลากินเนื้อ เช่น ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาไหล จะกินปลาสลิดขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ส่วนปลากริม ปลากัด ปลาหัวตะกั่ว ปลาหมอ มวนวน แมงดาสวนจะกินไข่ปลาสลิดและลูกปลาในวัยอ่อน การ ป้องกันและกำจัดพวกสัตว์ดูดนม สัตว์เลื้อยคลาน โดยทำรั้วล้อมรอบก็เป็นการป้องกันได้ดี ส่วนสัตว์จำพวกนกต้องทำเพิงคลุมแป้นอาหาร เพื่อป้องกันนกโฉบปลาในขณะที่ปลากินอาหารอยู่เป็นกลุ่ม สำหรับปลากินเนื้อชนิดต่าง ๆ นั้น ต้องระวังผักที่จะเก็บลงมาปลูกในบ่อเพราะอาจจะมีไข่ปลาติดมาด้วย โดยเฉพาะท่อระบายน้ำเข้าต้องพยายามใช้งวดตาข่ายที่มีช่องตาขนาดเล็กรองน้ำ ที่จะผ่านลง
ในบ่อ และหมั่นตรวจตะแกรงถ้าชำรุดควรรีบเปลี่ยนใหม่
การ ล้อมรอบคันบ่อใช้ตาข่ายไนลอนให้สูงจากพื้นดินอย่างน้อย 50 เซนติเมตร ส่วนล่างของตาข่ายให้ฝังดินลึกประมาณ 10 เซนติเมตร ถ้าเป็นที่ลุ่มควรต่อตาข่ายไนลอน 2 ผืน หรือเสริมเฝือกสูงประมาณ 2 เมตร พร้อมทั้งหมั่นตรวจสอบ หากชำรุดต้องรีบซ่อมแซม
เมื่อ มีความต้องการจะจับลูกปลาสลิดวัยอ่อนไปแยกเลี้ยง ควรใช้กระชอนผ้าช้อนตักและใช้ขัน หรือถังตักลูกปลาทั้งน้ำและตัวปลาเพื่อมิให้ปลาช้ำ ถ้าเป็นปลาที่โตแล้วโดยสวิงตาถี่ช้อน แล้วใช้ขันตักขึ้นจากสวิงอีกชั้นหนึ่ง หรือลดระดับน้ำลงทีละน้อยเพื่อให้ปลารู้สึกตัว และหนีลงไปอยู่ในคู โดยเดินตรวจบนแปลงนาว่าไม่มีปลาค้างบนแปลงนาเอาอวนเปลวางไว้ในคูตรงจุดที่ ลึกที่สุด สูบน้ำออกจากคู ทีละน้อย ปลาจะหนีลงไปอยู่ในคูและในอวนจึงรวบหูอวนขึ้น ปลาจะติดอยู่ในอวน
ใน กรณีที่ต้องการจับปลาเพื่อใช้ประกอบอาหารประจำวัน ควรใช้ลอบยืนวางไว้ตามมุมบ่อ ถ้าใช้แหทอดหรือสวิงตักที่แป้นอาหารปลาจะเข็ดไม่มากินอาหารหลายวัน
ระยะ เวลาที่ควรจับปลาให้หมดทั้งบ่อเพื่อจำหน่าย คือ เดือนมีนาคม เพราะเป็นฤดูที่ปลาไม่วางไข่ โดยใช้เฝือกล้อมและสวิงตักออกจากเฝือกที่ล้อมนั้น แล้วคัดปลาเก็บไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์เพื่อการเพาะเลี้ยงรุ่นต่อไป โดยใช้สูตรอาหาร สปช. 12 วันละ 2% ของน้ำหนักปลาเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน ก่อนเพาะฟักวันละ 2 เวลา เช้า-เย็น
สูตรอาหารพ่อแม่ปลาสลิด (สปช. 12)
ปลาป่น 56 กิโลกรัม
รำละเอียด 12 กิโลกรัม
กากถั่ว 12 กิโลกรัม
แป้งผงหรือปลายข้าวต้ม 14 กิโลกรัม
น้ำมันปลาสลิด 4 กิโลกรัม
วิตามิน แร่ธาตุ 2 กิโลกรัม
รวม 100 กิโลกรัม
หมายเหตุ
ถ้า ใช้แป้งจะได้อาหารในลักษณะเป็นผง แต่ถ้าใช้ปลายข้าวต้ม ก็จะได้อาหารเปียกต้องตากแดดจึงจะเก็บไว้ได้นานหากไม่ต้องการใช้แป้งหรือ ปลายข้าวให้เพิ่มรำเป็น
26 กิโลกรัม
ลูกปลา 300 ตัว มาจากแม่ปลา 1 แม่
ลูกปลา 75,000 ตัว มาจากแม่ปลา 1x75,000 = 250 แม่
แม่ปลา 250 ตัว จะให้ลูกปลา 75,000 ตัว
1. ก่อนการลำเลียง ควรพักปลาไว้ในที่กว้าง เช่น พักในถังขนาดใหญ่ และไม่ต้องให้อาหาร
2. ใช้ภาชนะปากกว้าง เช่น ปีบหรือถัง บรรจุน้ำ 3 ใน 4 ของภาชนะบรรจุปลาขนาดใหญ่ในอัตราปีละ 4 ตัว หรือขนาดกลาง 80 ตัว ถ้าเป็นลูกปลาขนาดเล็กก็เพิ่มจำนวนได้มากขึ้นตามความเหมาะสม
3. ลอยผักบุ้งในภาชนะที่ใช้ลำเลียง และควรมีฝาที่มีช่องตาโปร่ง หรือตาข่ายคลุมภาชนะไม่ให้ปลากระโดดออก
4. ระหว่างดินทางพยายามเปลี่ยนน้ำทุก 12 ชั่วโมง โดยระวังอย่าให้ปลาบอบช้ำ
5. ให้ภาชนะที่บรรจุปลาอยู่ในที่ร่มเย็นเสมอ
6. ภาชนะลำเลียงปลา ควรตั้งให้สนิทอย่าให้โคลงเคลง เพราะอาจทำให้ปลาเมาน้ำได้
7. เมื่อถึงปลายทาง ต้องรีบย้ายปลาไปอยู่ในภาชนะที่กว้างใหญ่แต่ถ่ายเทน้ำใหม่ หรืออาจปล่อยลงบ่อเลี้ยงเลยก็ได้ปลา สลิดมีแนวโน้มด้านการตลาดในอนาคตแจ่มใส เพราะปลาสลิดเป็นผลผลิตที่ตลาดต้องการสูง สามารถนำมาประกอบอาหารทั้งในรูปสดและทำเค็ม ตากแห้ง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ปลาสลิดตากแห้งเป็นที่นิยมบริโภคทั้งในประเทศและต่าง ประเทศ ซึ่งได้ส่งเป็นสินค้าออกของประเทศอีกชนิดหนึ่ง ดังนั้น หากมีพื้นที่ที่เหมาะสมและทำการปรับปรุงเพื่อการเลี้ยงปลาสลิด จะช่วยเพิ่มปริมาณอาหารโปรตีน และเสริมรายได้ให้แก่ครอบครัวเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี
การ ทำปลาสลิดเค็มเป็นการแปรรูปอย่างหนึ่งซึ่งช่วยถนอมปลาสลิดให้สามารถเก็บไว้ บริโภคได้เป็นเวลานานมากขึ้น และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั่วทุกภูมิภาคทั้งยังส่งเป็นสินค้าออกอีก ส่วนหนึ่งด้วย
เครดิต : http://www.fisheries.go.th/Dof_thai/knownledge/Aquacultures/T_pectoralis/T_pectoralis_index.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น