วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554

อาสวะ ๔

อาสวนฺติ จิรํ ปริวสนฺตีติ อาสวา ฯ สิ่งใดถูกหมักดองอยู่นาน ๆ สิ่งนั้น ชื่อว่า อาสวะ

อาสว =อา(วัฏฏทุกข์ที่ยาวนาน หากำหนดมิได้)+สว(เจริญรุ่งเรือง) = ธรรม ที่ทำให้วัฏฏทุกข์อันยาวนาน ไม่มีกำหนดนั้น เจริญรุ่งเรืองไม่มีที่สิ้นสุด

อายตํ สงฺสารทุกฺขํ สวนฺติ ปสวนฺติ วฑฺเฒนฺตีติ อาสวา ฯ ธรรมเหล่าใด ทำให้วัฏฏทุกข์ที่ยาวนานนั้นเจริญรุ่งเรือง ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อาสวะ

ภวโต อาภวคฺคา ธมฺมโต อาโคตฺรภุมฺหา สวนฺติ อารมฺมณกรณวเสน ปวตฺตนฺตีติ อาสวา ฯ ธรรมเหล่าใดไหลไปถึงหรือเกิดได้ถึง ว่าโดยภูมิถึงภวัคคภูมิ ว่าโดยธรรมถึงโคตรภู ด้วยอำนาจกระทำให้เป็นอารมณ์ ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อาสวะ

อาสว = อา(มีขอบเขตถึงภวัคคภูมิ คือเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ หรือมี ขอบเขตถึงโคตรภู) + สว(เกิดได้ไหลไปได้)

กิเลสนี่แหละ เมื่อเกิดบ่อย ๆ ก็เคยชิน เลยสะสมจมดองอยู่ในจิตตสันดาน ครั้นจิตประสบกับอารมณ์ใด ด้วยความเคยชินของกิเลสที่หมักหมมจมดองอยู่ ก็ขึ้น มาปรุงแต่งจิตให้น้อมไปตามกิเลสนั้น ๆ อาการที่หมักหมมจมดองอยู่เช่นนี้ จึงเรียก ว่า อาสวะ เมื่อยังมีอาสวะอยู่ตราบใด ตราบนั้นก็ยังต้องวนเวียนอยู่ใน สังสารวัฏฏ

ขนฺธานญฺจ ปฏิปาฏิ ธาตุอายตนานญฺจ อพฺโพจฺฉินฺนํ วตฺตมานา สํสาโรติ ปวุจฺจติ ฯ (อัฏฐสาลินี)

แปลความว่า ลำดับของขันธ์ ธาตุ อายตนะ ที่เป็นอยู่โดยไม่ขาดสายนั้น เรียกว่า สังสาระ

อาสวะมี ๔ ประการ คือ

๑. กามาสวะ จมอยู่ในความติดใจแสวงหากามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และการสัมผัสถูกต้อง องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิกที่ในโลภมูลจิต ๘

๒. ภวาสวะ จมอยู่ในความชอบใจยินดีในอัตภาพของตน ตลอดจนชอบใจ อยากได้ในรูปภพ อรูปภพ องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิกที่ในทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔

๓. ทิฏฐาสวะ จมอยู่ในความเห็นผิดจากความเป็นจริงแห่งสภาวธรรมหรือผิด ทำนองคลองธรรม จึงมีความติดใจในความเห็นผิดนั้น องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔

๔. อวิชชาสวะ จมอยู่ในความไม่รู้เหตุผลตามความเป็นจริง จึงได้ โลภ โกรธ หลง องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒

รวมอาสวะมี ๔ แต่วัตถุธรรมหรือองค์ธรรมมีเพียง ๓ เท่านั้นคือ โลภเจตสิก ทิฏฐิเจตสิก และ โมหเจตสิก

อัฏฐสาลินีอรรถกถา แสดงความหมายแห่งอาสวะทั้ง ๔ นี้ว่า

ปญฺจกามคุณิโก ราโค กามาสโว นาม ฯ ความติดใจใคร่ได้ในกามคุณ ๕ ชื่อว่า กามาสวะ

รูปารูป ภเวสุ ฉนฺทราโค ฌานนิกนฺติ สสฺสตทิฏฺฐิ สหชาโต ราโค ภววเสน ปตฺถนา ภวาสโว นาม ฯ ความชอบใจรักใคร่ในรูปภพ อรูปภพ ความใคร่ในฌาน ราคะที่เกิดพร้อมด้วยสัสสตทิฏฐิ ความปรารถนาด้วยอำนาจมุ่งภพ ชื่อว่า ภวาสวะ

ทฺวาสฏฺฐีทิฏฺฐิโย ทิฏฺฐิสโว นาม ฯ ทิฏฐิ ๖๒ ชื่อว่า ทิฏฐาสวะ

อฏฺฐสุ ฐาเนสุ อญฺญานํ อวิชฺชาสโว นาม ฯ ความไม่รู้ในฐาน ๘ ชื่อว่า อวิชชาสวะ

ไม่รู้ในฐาน ๘ คือ ไม่รู้อริยสัจ ๔, ไม่รู้อดีต ๑, ไม่รู้อนาคต ๑, ไม่รู้ทั้งอดีต ทั้งอนาคต ๑, และไม่รู้ปฏิจจสมุปปาท ๑

กามาสโว อนาคามิมคฺเคน ปหียตี ภวาสโว อรหตฺตมคฺเคน ทิฏฺฐาสโว โสตาปตฺติมคฺเคน อวิชฺชาสโว อรหตฺตมคฺเคน ฯ

อนาคามิมัคค ประหาร กามาสวะ

อรหัตตมัคค ประหาร ภวาสวะ

โสดาปัตติมัคค ประหาร ทิฏฐาสวะ

อรหัตตมัคค ประหาร อวิชชาสวะ
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวก



--
จากเอื้อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น