นิวโรบิคส์ (Neurobic) : ศาสตร์ใหม่บริหารสมองให้แข็งแรง
คุณเคยลืมกุญแจรถ กระเป๋าสตางค์ แว่นตา หรือโทรศัพท์มือถือหรือไม่
คุณขับรถบนทางด่วนแล้วขับเลยทางลงหรือเปล่า จอดรถในที่จอดแล้วหารถไม่เจอ
หรือจำชื่อเพื่อนสนิทไม่ได้ ไปจ่ายตลาดแล้วจำไม่ได้ว่าจะซื้ออะไร
คุณคงคิดว่าคุณอายุมากความจำไม่ดี มีความผิดปกติในสมองของคุณแล้วใช่ไหม
จริง ๆ แล้ว คุณอาจจะปกติอยู่ก็ได้... อากาศร้อน นอกจากสมองจะล้า บางครั้งยังทำให้ความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ลดน้อยลง "นิวโรบิคส์" โปรแกรมบริหารเซลล์สมองให้ตื่นตัว สดชื่น มีชีวิตชีวาอยู่เสมอ เสมือนการฝึกยิมนาสติกให้กับสมอง การหลีกหนีความจำเจเป็นแก่นแท้ของแนวคิดนิวโรบิคส์ เพราะการทำอะไรแบบเดิมซ้ำ ๆ จะทำให้สมองเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายได้ ฉะนั้นจึงควรแสวงหาอะไรใหม่ ๆ ทำบ้าง แม้เพียงเล็กน้อย แต่ก็สามารถช่วยให้เซลล์ประสาทเกิดความผ่อนคลายหายเครียดได้
Neurobics คืออะไร
Neurobic (นิวโรบิคส์) คือ ระบบอย่างหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะเกี่ยวกับการบริหารสมองโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ร่วมกับอารมณ์ความรู้สึกในการทำกิจวัตรประจำวันรูปแบบใหม่ เพื่อช่วยกระตุ้นเซลล์สมองให้มีสุขภาพดี คิดค้นขึ้นโดยศาสตราจารย์ลอว์เรนซ์ ซี คาทซ์, (Lawrence C. Katz, Ph.D) ศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยาศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยดุค ประเทศสหรัฐอเมริกา
เดิมมีความเชื่อว่าเมื่อสมองพัฒนาสมบูรณ์จะถูกใช้งานไปเรื่อย ๆ จนล่วงเข้าวัยผู้ใหญ่เซลล์สมองจะลดลง และไม่สร้างขึ้นใหม่ เป็นสาเหตุให้เกิดโรคสมองเสื่อมในวัยชรา แต่ปัจจุบันค้นพบแล้วว่าหากรู้จักใช้สมองอย่างต่อเนื่อง และกระตุ้นถูกวิธี เซลล์ประสาทจะแตกแขนงทดแทนส่วนที่ศูนย์เสียไป ความจำจึงดีได้แม้อายุมากขึ้นแล้วก็ตาม
สมองของมนุษย์ประกอบด้วยเซลล์ประสาทมากมาย แต่ละเซลล์ประสาทจะมีแขนงออกจากตัวเซลล์ ซึ่งแขนงเหล่านี้ทำหน้าที่ในการรับและส่งสัญญาณประสาทไปยังเซลล์ต่าง ๆ รอบ ๆ เซลล์ประสาทเพื่อให้การทำงานของสมองเป็นไปตามปกติ
โดยปกติ มนุษย์มีการเจริญเติบโตของเซลล์ประสาทจนถึงอายุ 5-6 ปี หลังจากนี้จะไม่มีการเพิ่มจำนวนของเซลล์ประสาท แต่สามารถเพิ่มจำนวนของแขนงเซลล์ประสาทได้ไปตลอดชีวิต ทำให้มีการเชื่อมโยงของเซลล์ประสาทมากขึ้น ซึ่งการเพิ่มจำนวนของแขนงเซลล์ประสาทนั้นเกิดขึ้นจากการเรียนรู้ ถ้าเรามีการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ มากขึ้น ก็จะมีการแตกแขนงของเซลล์ประสาทมากขึ้นไปจนตลอดอายุขัย เปรียบเซลล์ประสาทเหมือนต้นไม้ ยิ่งอายุมากขึ้นยิ่งมีการแตกกิ่งก้านสาขามากขึ้น ดังนั้น ถ้าเรามีการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา ไม่ทำอะไรซ้ำซาก จะเป็นการกระตุ้นให้สมองมีการแตกกิ่งก้านสาขาเพิ่มขึ้น การทำงานของสมองจะดีขึ้น ไม่เสื่อมถอย เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้นจำนวนเซลล์ประสาทจะลดลง ไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้อีก
การที่จะทำให้สมองทำงานได้ตามปกติจึงจำเป็นที่จะต้องฝึกสมองให้มีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา นำไปสู่ทฤษฎีการออกกำลังกายสมอง หรือ Neurobic Exercise ซึ่งนักชีวประสาทวิทยาชาวสหรัฐอเมริกา ได้ค้นพบวิธีการออกกำลังกายสมอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง การฝึกทักษะสมองนี้ ทำให้ร่างกายแข็งแรง ด้วยการขยับกล้ามเนื้อหลาย ๆ ส่วน มาประยุกต์กลายเป็นวิธีบริหารสมองที่ใช้ประสาทสัมผัสไปกระตุ้นกล้ามเนื้อสมองหลาย ๆ ส่วนให้ขยับและตื่นตัว ทำให้แขนงเซลล์ประสาทแตกกิ่งก้านสาขา เซลล์สมองสื่อสารกันมากขึ้น เกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ สมองแข็งแรงขึ้น
ยิ่งใช้ชีวิตแบบเดิมมากเท่าไร สมองก็ไม่ได้ใช้งานมากเท่านั้น เพราะสมองจดจำรูปแบบพฤติกรรมได้แล้ว เช่น ถ้าคุณขับรถไปทำงานตามเส้นทางที่คุ้นเคยทุกวัน สมองจะใช้ประสาทส่วนเดิม อาจทำให้เซลล์ประสาทบริเวณนั้นแข็งแรง แต่ก็ลดทอนประสิทธิภาพของเซลล์ประสาทส่วนอื่น (เพราะไม่ได้ออกกำลังคิด) ถ้าลองเปลี่ยนเส้นทางไปทำงาน คุณจะรู้สึกตื่นเต้นในการจดจำเส้นทาง ผู้คนหรือร้านค้าที่ขับผ่าน
และเชื่อเถอะว่าขณะนั้นสมองหลายส่วนกำลังมีกิจกรรมร่วมกัน ทำงานประสานกันเต็มที่ เพื่อเชื่อมโยงเซลล์ประสาทส่วนอื่นรูปแบบใหม่ มีการหลั่งสาร “นิวโรโทฟินส์” ซึ่งเป็นอาหารสมองมากขึ้น เซลล์สมองแข็งแรงขึ้น ตามหลักนิวโรบิคส์สมองจึงโหยหาประสบการณ์แปลกใหม่เหนือการคาดหมาย เพื่อการเติบโตนั่นเอง
นิวโรบิคส์ สามารถทำได้ทุกที่, ทุกเวลาในรูปแบบที่สนุก และง่ายต่อการปฏิบัติ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นระบบประสาทและ การส่งต่อทางกระแสประสาทที่ไม่ค่อยได้ใช้งานให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยให้สมองของคุณแจ่มใสและแคล่วคล่องว่องไวขึ้น
เราสามารถทำ Neurobic Exercise ได้อย่างไร
พยายามใช้ประสาทสัมผัสของคุณอย่างน้อยหนึ่งอย่างในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น
• ลองใส่เสื้อผ้าโดยไม่ลืมตา
• สระผมโดยไม่ลืมตา
• ใช้สายตาและท่าทางในการสื่อสารแทนการใช้คำพูดบนโต๊ะอาหาร
ลองใช้ประสาทสัมผัสสองอย่างให้ทำงานร่วมกัน เช่น
• ฟังเพลงและสูดดมกลิ่นของดอกไม้ไปพร้อม ๆ กัน
• ฟังเสียงฝนตกพร้อมกับเคาะนิ้วมือ
• จ้องมองก้อนเมฆและปั้นดินน้ำมันไปพร้อม ๆ กัน
เปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวัน เช่น
• เดินทางไปทำงานด้วยเส้นทางใหม่
• ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดในการรับประทานอาหาร
• ลองช้อปปิ้งในร้านใหม่ที่ไม่เคยเข้า
คุณสามารถบริหารสมองด้วย Neurobic Exercise ได้ทุกที่ ทุกวัน เช่น
- กิจวัตรประจำวัน
• แปรงฟันด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด
• เปลี่ยนแปลงลำดับเวลาในการทำกิจวัตร เช่น เดิมอาบน้ำก่อนรับประทานอาหาร ก็เปลี่ยนเป็นรับประทานอาหารก่อนอาบน้ำ เป็นต้น
ที่ทำงาน
• สลับตำแหน่งสิ่งของที่อยู่บนโต๊ะทำงาน
• โทรไปหาเบอร์ประจำโดยสูดดมกลิ่นหอม เช่น สูดดมกลิ่นส้มก่อนโทรหาเจ้านาย
ที่ซุปเปอร์มาร์เก็ตและตลาดสด
• หลับตา, สูดกลิ่น แล้วลองทายดูว่าเป็นผลไม้ชนิดไหน, ขนมยี่ห้ออะไร
• ลองหยิบสินค้าชนิดใหม่ ๆ มาดูรายละเอียด
คุณอยากมีอาการหัวใสคิดอะไร "ปิ๊ง ปิ๊ง" ตอนทำงานทุกครั้งหรือเปล่า ?
จริง ๆ แล้วไม่มีใครอยากบื้อไบ้รับประทานหรอก เวลาเจอโจทย์ยาก ๆ หรือแม้แต่คำถามง่าย ๆ
อย่างนี้เราลองมาบริหารสมองกันดูซิว่าจะได้ผลตามที่คาดหวังหรือเปล่า
การบริหารสมองนั้นแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มท่า เกิดอะไรขึ้นหลังบริหารสมอง
พึงระลึกเสมอว่า การออกกำลังกายสมอง ไม่สามารถทำให้สมองของคุณเหมือนสมองคนอายุ 20 ปี แต่ทำให้การทำงานของสมองมีประสิทธิภาพมากขึ้น เปรียบเสมือนคุณออกกำลังกาย ไม่สามารถทำให้คุณเป็นหนุ่มสาวขึ้น แต่ทำให้ร่างกายคุณแข็งแรง ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้
__________ Information from ESET Smart Security, version of virus signature database 5937 (20110308) __________
The message was checked by ESET Smart Security.
http://www.eset.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น