อายตนะ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อายตนะ (อ่านว่า อายะตะนะ) แปลว่า ที่เชื่อมต่อ, เครื่องติดต่อ หมายถึงสิ่งที่เป็นสื่อสำหรับติ ดต่อกัน ทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น แบ่งเป็น 2อย่างคือ
อายตนะภายใน หมายถึงสื่อเชื่อมต่อที่อยู่ ในตัวคน บ้างเรียกว่า อินทรีย์ 6 มี 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้งหมดนี้เป็นที่เชื่อมต่อกั บอายตนะภายนอก
อายตนะภายนอก หมายถึงสื่อเชื่อมต่อที่อยู่ นอกตัวคน บ้างเรียกว่า อารมณ์ 6 มี 6 คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ทั้งหมดนี้เป็นคู่กับอายตนภายใน เช่น รูปคู่กับตา หูคู่กับเสียง เป็นต้น
อายตนะภายนอกนี้เรียกอีกอย่ างหนึ่งว่า อารมณ์ เมื่อตาเห็นรูป เรียกว่า สัมผัส รู้ว่ามีการเห็น เรียกว่าวิญญาณ เกิดความรู้สึกขึ้นเมื่อตาเห็ นรูป เรียกว่า เวทนา
+++++++++++++
คำว่า อายตนะ มีความหมายอย่างไร ท่านก็แสดงไว้ว่า ธรรมใดที่มีสภาพคล้ายกับยั งผลของตนให้เกิดขึ้น ธรรมนั้นชื่อว่า อายตนะ คล้ายแต่ว่าไม่ใช่จริง อายตนะ ภายใน มี 6 ภายนอกมี 6 อย่างตากับสีเป็นอายตนะคู่ที่ 1 กระทบกัน จักขุปสาทคือประสาทตากับรู ปารมณ์คือสีต่างๆ กระทบกันแล้ว ก็ยังสภาพเห็นให้เกิดขึ้น สภาพเห็นนั้นเป็นผลเกิดขึ้น สีกับตากระทบกันการเห็นก็เกิดขึ ้น ฉะนั้นประสาทตากับสีซึ่งเป็ นอายตนะ มีสภาพคล้ายกับยังผลของตนให้เกิ ดขึ้น
ที่ใช้คำว่าคล้ายก็เพราะว่า ตากับสีนั้นที่จริงแล้วมันก็ไม่ ได้มีความขวนขวายพยายามจะให้เกิ ดการเห็นแต่อย่างใด มันก็เป็นไปโดยธรรมชาติ เป็นอนัตตา ไม่ใช่มีตัวตน ไม่ใช่เป็นเรื่องของตามั นขวนขวายจะให้เห็นก็หาไม่ แต่ว่าเมื่อสีกระทบตาแล้วมันก็ เกิดการเห็นขึ้น มีสภาพคล้ายๆ กับจะยังผลให้เกิดขึ้น ผลของตนให้เกิดขึ้นระหว่างตาก็ คือสภาพเห็น นั่นเป็นผลเกิดขึ้น ทางอื่นก็เหมือนกัน อายตนะภายในมี 6 เรียกว่า อัชฌัตติกายตนะ อายตนะภายนอก เรียกว่า พาหิรายตนะ ก็มี 6 เหมือนกัน
อายตนะภายในมี 6 นั้น คือ
1) จักขายตนะ ได้แก่ ประสาทตา เป็นธรรมชาติที่มีความใสในการที ่จะรับสีต่างๆ
2) โสตายตนะ ก็คือโสตปสาท เป็นธรรมชาติที่มีความใสในการรั บเสียงต่างๆ
3) ฆานายตนะ ได้แก่ ฆานปสาท เป็นความใส ในการรับกลิ่นต่างๆ
4) ชิวหายตนะ ได้แก่ ชิวหาปสาท เป็นความใสในการรับรสต่างๆ
5) กายายตนะ ได้แก่ กายปสาท เป็นความใสในการรับโผฏฐัพพารมณ์
6) มนายตนะ ได้แก่ เป็นตัวจิตทั้งหมด ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ จิตทั้งหมด จัดเป็นมนายตนะ
อายตนะภายนอกมี 6 คือ
1) รูปายตนะ ได้แก่ สีต่างๆ เป็นธรรมชาติที่ จะกระทบเฉพาะทางตา ไม่สามารถที่จะไปกระทบทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ได้
2) สัททายตนะ ได้แก่ เสียงต่างๆ เป็นธรรมชาติกระทบเฉพาะทางหู
3) คันธายตนะ ได้แก่ กลิ่นต่างๆ เป็นธรรมชาติกระทบเฉพาะทางจมูก
4) รสายตนะ ได้แก่ รสต่างๆ เป็นธรรมชาติกระทบเฉพาะทางลิ้น
5) โผฏฐัพพายตนะ ได้แก่ โผฏฐัพพารมณ์ คือ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง เป็นธรรมชาติกระทบเฉพาะทางกาย
6) ธัมมายตนะ ได้แก่ สภาพธรรมที่กระทบทางใจ องค์ธรรมปรมัตถ์ ก็คือ เจตสิกทั้งหมด 52 ชนิด แล้วก็รูปละเอียด เรียกว่าสุขุมรูป 16ตลอดทั้งนิพพาน เป็นธัมมายตนะ
อายตนะภายในภายนอกจัดเป็นคู่กั นกระทบกัน ในความหมายของคำว่าอายตนะอี กประการหนึ่ง ก็คือ กระทำซึ่งจิตและเจตสิกนั้นให้ กว้างขวางเจริญขึ้น หมายความว่าอย่างไร ก็หมายความว่า เมื่ ออายตนะภายในและภายนอกกระทบกั นแล้ว ก็จะทำให้วิถีจิตเกิดขึ้น ในวิถีหนึ่งก็จะมีจิตเกิดขึ้ นหลายชนิด จิตที่เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง วิบากบ้าง กิริยาบ้าง เกิดขึ้นหลายๆ ชนิด แล้ววิถีจิตนี้เกิดขึ้นวนเวี ยนหลายๆ รอบ
ฉะนั้นจิตก็เกิดขึ้นมากมายเมื่ ออายตนะกระทบกัน เรียกว่าอายตนะนั้นเป็นธรรมชาติ ที่ยังให้จิตเจตสิกนั้นกว้ างขวางเจริญขึ้น พูดถึงจิตแล้วก็ต้องรวมเจตสิกด้ วย เพราะมันเกิดร่วมกัน อีกลักษณะหนึ่งก็คือว่า เมื่อวิถีจิตเกิดขึ้นวนเวี ยนหลายๆ รอบนั้น ในวิถีจิตหนึ่งวิถีจิตหนึ่งนั้ นก็เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง ฉะนั้น กุศล อกุศล เมื่อวิถีจิตเกิดขึ้นบ่อยๆ มากขึ้น มันก็จะมีกำลังมากขึ้น สำเร็จเป็นสุจริต ทุจริตต่างๆ ได้ เป็นกายสุจริต-ทุจริต วจีสุจริต-ทุจริต มโนสุจริต-ทุจริต เรียกว่าอายตนะนั้นทำให้กุศล อกุศล กว้างขวางเจริญขึ้น นี่คือลักษณะความหมายของอายตนะ
พิจารณาเรื่องอายตนะเป็นคู่ๆ กันดู
อายตนะภายในคู่ที่ 1 ก็คือประสาทตา อายตนะภายนอกก็คือ รูปารมณ์ คือสีต่างๆ มากระทบกัน ทำให้เกิดการเห็นขึ้น เกิดสภาพเห็นขึ้น อะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม ประสาทตาเป็นรูป สีที่กระทบตาก็เป็นรูป สภาพเห็นเป็นนาม ในทางการปฏิบัติก็ให้เจริญสติ ระลึกรู้รูปนาม รู้รูปนามทางตาก็กำหนดที่ สภาพเห็น สภาพเห็นเป็นอย่างไร มันเป็นธรรมชาติที่ ฉายออกไปทางตา ไปรับสีต่างๆ เห็น ก็จะเห็นสี เห็นรูป ให้เจริญสติเข้าไปรู้ สีเป็นรูป เห็นเป็นนาม
แต่ถ้าหากรู้เลยไปว่า สิ่งที่เห็นนั้นเป็นคนเป็นสัตว์ เป็นสิ่งของ มีชื่อ มีความหมายต่างๆ นั่นเป็นสมมุติบัญญัติ เป็นบัญญัติอารมณ์ ไม่ใช่ปรมัตถ์อารมณ์ เจริญวิปัสสนาท่านให้กำหนดที่ ปรมัตถ์ ฉะนั้นก็พยายามกำหนดที่สภาพเห็น หรือสีที่กระทบทางตา สีเป็นรูป เห็นเป็นนาม คือไม่พยายามที่จะนึกคิดออกไปว่ าสิ่งที่เห็นนั้นเป็นอะไร เป็นคนเป็นสิ่งของอะไร อย่างนั้นมันไปสู่สมมุติ ให้พยายามกำหนดถึงสภาพเห็น แต่ในความเป็นจริงมันไม่ สามารถจะยับยั้งให้อยู่เพียงแค่ เห็นเท่านั้น เพราะมันไว
วิถีจิตมันเกิดนึกคิดถึงสิ่งที่ เห็นนั้นว่าเป็นใคร เป็นคน เป็นสัตว์ เป็นสิ่งของ มีชื่อ มีความหมายอย่างไร เมื่อเกิดรับรู้เป็นสมมุติบัญญั ติอย่างนี้แล้ว ในทางการปฏิบัติก็ให้กำหนดที่ นามธรรม คือจิตทางมโนทวาร คือตัวที่ไปรู้เรื่องราวต่างๆ ไม่ใช่สภาพเห็น เป็นสภาพคิดนึก ฉะนั้นในขณะที่เกิดการเห็นแล้ วก็คิดนึกไปถึงสิ่งที่เห็ นทางตาว่า เป็นอะไรต่างๆ ก็ให้กำหนดรู้ที่ใจซึ่งเป็ นมนายตนะ ทีนี้ถ้าหากว่ามันเลยไปถึ งความรู้สึกที่เกิดขึ้นที่ใจ เป็นความรู้สึกพอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง โกรธบ้าง กลัวบ้าง เกิดความรัก เกิดความชัง ก็ให้กำหนดรู้อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านั้น
เช่นมันเกิดความโกรธ ก็ให้สังเกตลักษณะของความโกรธ เกิดความชอบใจก็สังเกตความชอบใจ อันนี้เป็นธัมมายตนะ ความชอบใจ ไม่ชอบใจเป็นธัมมายตนะ เป็นสิ่งที่มากระทบทางใจ คือตัวเจตสิก ความโกรธก็เป็นเจตสิก ความโลภก็เป็นเจตสิก ความหลงก็เป็นเจตสิก เป็นธัมมายตนะ ก็กำหนดรู้ไป ฉะนั้นรู้ทางตาก็คื อกำหนดสภาพเห็น ในขณะหนึ่งผ่านไป จิตไปรู้ถึงสมมุติบัญญัติ กำหนดมาที่จิตใจ ซึ่งเป็นมนายตนะ คือความรู้สึกนึกคิด แล้วในกระแสจิตมีความพอใจไม่ พอใจต่างๆ ก็กำหนดรู้ ก็เป็นการกำหนดธัมมายตนะ
อายตนะคู่ที่ 2 นั้น ภายในก็ได้แก่ โสตายตนะ คือประสาทหู สิ่งที่มากระทบก็คื ออายตนะภายนอก ก็คือ สัททายตนะ คือเสียงต่างๆ เสียงมากระทบประสาทหู ซึ่งก็เป็นรูปธรรมด้วยกัน เสียงก็เป็นรูป ประสาทหุก็เป็นรูป กระทบกันก็เป็นเหตุให้เกิ ดสภาพได้ยินขึ้น สภาพได้ยินเป็นนามธรรม เสียงเป็นรูป ประสาทหูเป็นรูป ได้ยินเป็นนาม มนายตนะนี่เป็นนาม ในทางการปฏิบัติให้เจริญสติระลึ กรู้สภาพได้ยิน ได้ยินเสียง ได้ยินก็อย่างหนึ่ง เสียงก็อย่างหนึ่ง แต่ว่าก็ควรจะกำหนดมาทางสภาพได้ ยินเพราะว่ามันจะทำให้ไม่ เลยไปสู่สมมุติบัญญัติได้ง่าย
ถ้าเรามุ่งไปที่เสียงมันมักไปสู ่สมมุติบัญญัติ กำหนดเสียง นั่นเสียงรถ เสียงเรือ เสียงสุนัข มีความหมายอย่างนั้นๆ มันเป็นไปกับสมมุติบัญญัติได้ง่ าย ถ้ากำหนดสภาพได้ยินๆ คือสภาพได้ยินเป็นลักษณะที่ ฉายออกไปทางหู ไปรับเสียง เป็นตัวได้ยิน ได้ยินอะไร ได้ยินเสียง เสียงเป็นอารมณ์ ได้ยินเป็นตัวจิตเป็นมนายตนะ กำหนดสภาพได้ยินๆ ก็จะสังเกตว่ามีความเกิดดับ เสียงมันก็คือรูปที่ดังสูงๆ ต่ำๆ ไม่ใช่เป็นคนเป็นสัตว์อะไร ได้ยินก็ได้ยินเพียงเสียงสูงๆ ต่ำๆ ก็กำหนดดูจะเห็นว่าสภาพได้ยินนั ้นมันหมด ได้ยินแล้วหมดๆ หมดความรู้สึกของสภาพได้ยิน
แต่ขณะๆ ขณะนี้ฟังอยู่ สังเกตดูจะเห็นว่าสภาพได้ยินนั้ นมีความเกิดดับๆๆ อยู่เป็น ปรมัตถธรรม เมื่อได้ยินแล้วจิตคิดนึกไปถึ งเสียงที่ได้ยินว่า เป็นคน เป็นสัตว์ เป็นสิ่งของ เป็นเสียงสุนัข แมว เสียงคน ชื่อนั้น ชื่อนี้ นั่นก็คือเป็นบัญญัติอารมณ์ ก็ไม่ไปดู การปฏิบัติก็ไม่ไปพิจารณาที่เรื ่องราว คือ ความเป็นคน เป็นสัตว์ แต่ให้พิจารณามาที่มนายตนะคือตั วที่ไปรู้เรื่องราว ความเป็นคนเป็นสัตว์ ความคิดนึกถึงเรื่องราวยังเกิ ดขึ้น ตัวที่คิดถึงเรื่องราวเป็ นมนายตนะ คือเป็นจิต เป็นนามธรรม สติก็รุ้มาที่มนายตนะ คือตัวความคิดนึก
ตัวที่ไปคิดถึงเรื่องเป็นคนเป็ นสัตว์ ตัวเรื่องราวที่เป็นคนสัตว์นั้ นเป็นอารมณ์ เป็นบัญญัติอารมณ์ เป็นสมมุติ แต่ตัวที่ไปรับรู้เรื่องราวเป็ นปรมัตถ์ เป็นจิต เจริญวิปัสสนาต้องกำหนดที่ปรมั ตถ์ กำหนดมาที่จิตขณะนั้น ก็เห็นว่าจิตนั้นทำหน้าที่คิดนึ กๆ คิดๆ ไปเรื่องนั้นเรื่องนี้ พอสติกำหนดความคิดนึก เรื่องต่างๆ ก็ขาดลงเหมือนหนังที่ขาดตอน ฉะนั้นใครที่คิดไป ชอบคิดไปที่เรื่องราวต่างๆ ให้กำหนดความคิด พอกำหนดความคิดเรื่องที่คิดมั นจะหยุดลง เดี๋ยวมันก็ไปอีกเพราะสติที่ ระลึกรู้ก็ระลึกรู้ได้ชั่วขณะนิ ดเดียวแล้วก็ดับลง
กำลังของอารมณ์เหล่านั้นยังมี กำลังอยู่ก็ดึงเอาจิตไปคิดใหม่ สติก็รู้ใหม่ รู้ความคิดใหม่ รู้ใหม่ รู้ใหม่ แต่ต้องระวังว่ารู้แบบปกติ คืออย่าบังคับ อย่าบังคับว่าหยุดคิดนะ อย่าคิดนะ บังคับไม่ให้คิด อย่างนี้ก็ไม่ถูก จะทำให้เคร่งเครียด ทำให้เกิดความวุ่นวายใจ เพราะความคิดก็เป็นอนัตตา ความคิดก็เป็นของไม่เที่ยง มันก็แสดงตัวเอง ประกาศตัวเอง ถ้าจิตมันพูดได้ ก็จะบอกว่า ฉันไม่เที่ยงนะ ฉันบังคับบัญชาไม่ได้นะ แต่เราก็จะไปบังคับมันท่าเดียว เขาก็ประกาศตัวให้เห็นอยู่แล้ วว่าไม่เที่ยง บังคับบัญชาไม่ได้ แต่ว่าไม่ยอมรับ สติปัญญาไม่ยอมรับ มันก็เลยจะไปบังคับให้มันหยุดคิ ด
หนักเข้ามันก็เลยเกิดดับ แค้นโทสว่าไม่สมปรารถนา แต่ถ้ายอมรับ สิ่งใดไม่เที่ยง มันก็ต้องไม่เที่ยง มีหน้าที่กำหนดรู้ ไม่มีหน้าที่ไปจัดแจงให้มันเป็ นอย่างนั้นอย่างนี้ ในการปฏิบัติมันจะคิดหรือหยุดคิ ดก็กำหนดรู้มันไป ฉะนั้นเมื่อได้ยินเสียง กำหนดสภาพได้ยิน ไม่พยายามจะไปนึกถึงเรื่ องราวของเสียงเหล่านั้น แต่เมื่อจิตมันรู้เลยไปสู่เรื่ องราว ก็ให้กำหนดที่จิต แล้วมันเลยไปถึงความรู้สึ กพอใจไม่พอใจเสียงนั้น เช่น นั่งกรรมฐานเสียงสุนัขกัดกัน กำหนดสภาพได้ยินไม่ทัน จิตมันไปคิดว่าเสียงนั้นเป็นเสี ยงสุนัขแล้วเกิดความไม่พอใจ พอมันเลยไปถึงความไม่พอใจ สติกำหนดความไม่พอใจ ความไม่พอใจก็เป็นธัมมายตนะ เป็นตัวเจตสิกที่ปรุงแต่งจิตอยู ่ ที่กระทบทางใจ เราก็กำหนดสภาพไม่พอใจนั้น
คู่ที่ 3 ก็เหมือนกัน ลักษณะเดียวกัน อายตนะภายในก็คือ ฆานายตนะ ได้แก่ประสาทจมูก สิ่งที่มากระทบก็คือคันธายตนะ ได้แก่ กลิ่นต่างๆ กลิ่นก็เป็นรูป ประสาทจมูกก็เป็นรูปกระทบกันแล้ วก็เป็นเหตุให้เกิดการรู้กลิ่ นขึ้น ตัวรู้กลิ่นนี้เป็น มนายตนะ เป็นจิต แต่เป็นจิตที่เกิดที่จมูก ทำหน้าที่รู้กลิ่น กลิ่นก็อย่างหนึ่ง รู้กลิ่นก็อย่างหนึ่ง กลิ่นนั้นเป็นรูป รู้กลิ่นเป็นนาม สติก็ระลึกรู้ พอรู้กลิ่นก็ระลึกรู้สภาพ รู้กลิ่น เกิดการรับรู้ทางจมูกขึ้นมา เช่นเรากินข้าว กลิ่นกระทบจมูกก็รู้ มันก็จะมีกลิ่นต่างๆ แต่ถ้ามันเลยไปสู่สมมุติบัญญัติ ก็จะรู้ว่ามีกลิ่นอะไร กลิ่นกับข้าวอะไรนึกไป ถ้านึกไปถึงความหมายเป็นสมมุติ บัญญัติแล้ว ในขณะที่ไปสู่สมมุติบัญญัติ ขณะนั้นไม่ใช่รู้กลิ่นแล้ว เป็นจิตทางใจ เป็นมนายตนะ คือทำหน้าที่คิดนึกไปสู่สมมุติ บัญญัติ อารมณ์เป็นบัญญัตินั้นเป็นจิต สติก็รู้มาที่จิต
กำหนดมาที่ตัวที่ไปรู้ ความหมายและถ้ามันเลยไปถึ งความชอบใจไม่ชอบใจ ถ้ากลิ่นมันหอมดีก็ชอบใจ ถ้ากลิ่นมันเหม็นไม่ชอบใจ ก็กำหนดความชอบใจไม่ชอบใจ ซึ่งเป็นธัมมายตนะ การกำหนดรู้ก็จะทำให้เกิ ดความเป็นปกติขึ้น หรือทำให้เห็นธรรมชาติว่า ธรรมเหล่านี้เป็นแต่ธรรมชาติ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล กลิ่นก็เป็นธรรมชาติ รู้กลิ่นก็เป็นธรรมชาติ คิดนึกไปถึงเรื่องของกลิ่นก็เป็ นธรรมชาติ พอใจก็เป็นธรรมชาติ ไม่พอใจก็เป็นธรรมชาติ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย ดับไปตามเหตุตามปัจจัย มีลักษณะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มันก็เห็นลักษณะของมัน กลิ่นมันดับ รู้กลิ่นมันก็ดับ ตัวที่เข้าไปรู้เรื่องราวก็ดับ พอใจก็ดับ ไม่พอใจก็ดับ เพราะเหตุมันดับ การเห็นความเกิดดับมันก็ทำให้ เกิดปัญญาว่าไม่เที่ยง บังคับไม่ได้ ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
คู่ต่อไป คู่ที่ 4 อายตนะภายในก็คือ ชิวหายตนะ ได้แก่ ประสาทลิ้น ภายนอกก็คือ รสายตนะ ได้แก่รสต่างๆ เป็นรูปธรรมทั้งคู่ กระทบกันก็ทำให้เกิดการรู้รสขึ้ น สภาพรู้รสนั้นเป็นมนายตนะ เป็นจิตที่เกิดขึ้นที่ลิ้น ทำหน้าที่รู้รส รสก็อย่างหนึ่ง รู้รสก็อย่างหนึ่ง รสนั้นเป็นรูป รู้รสนี้เป็นนาม รสก็เป็นรสต่างๆ ไม่รู้ว่าเป็นรสอะไร ปรมัตถธรรมแค่รสต่างๆ ไม่รู้ว่าเป็นรสแกงนั้นแกงนี้ รสขนม รสอะไรต่างๆ แค่รู้รสเท่านั้น นั่นคือปรมัตถ์ ก็ทำสติระลึกรู้ เวลากินข้าวรสกระทบลิ้น ระลึกรู้สภาพรสรู้รส แต่พอมันเลยไปสู่สมมุติบัญญัติ รู้ว่ารสนี้เป็นรสไก่บ้าง รสน้ำปลา รสหวาน เราก็รู้มารู้ที่ใจ คือ มนายตนะ ตัวจิตที่เกิดที่ใจที่ไปคิดนึ กให้รู้ว่าเป็นสมมุติบัญญัติต่ างๆ แล้วถ้ามันเลยไปสู่ว่าพอใจไม่ พอใจรสอันนี้ชอบดี ก็กำหนดรู้ความพอใจ อันไหนไม่ชอบก็กำหนดรู้ความไม่ ชอบใจ ซึ่งเป็นธัมมายตนะเกิดขึ้น
ต่อไปคู่ที่ 5 ภายในก็คือ กายายตนะ ได้แก่ ประสาทกาย ภายนอกก็คือ โผฏฐัพพายตนะ เครื่องกระทบทางกาย มี ปฐวีโผฏฐัพพารมณ์ เตโชโผฏฐัพพารมณ์ วาโยโผฏฐัพพารมณ์ คือ ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุดินก็ลักษณะแค่นแข็ง แข็งน้อยก็เป็นความอ่อน ธาตุไฟก็มีลักษณะเป็นความร้อน ความร้อนน้อยก็คือความเย็น ธาตุลม ลักษณะเคร่ง ตึง ตึงน้อยก็คือความหย่อน ฉะนั้นสิ่งที่มากระทบทางกายก็ จะมีความเย็นบ้าง ร้อนบ้าง อ่อนบ้าง แข็งบ้าง หย่อนบ้าง ตึงบ้าง กระทบกับกายปสาทซึ่งเป็นรูปธรรม เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา
นั่งอยู่ เย็นมากระทบที่แขน ที่ขา ลำตัว ใบหน้า ก็กำหนดรู้ มีความตึง หายใจเข้า หายใจออก หน้าอกหน้าท้องมันตึง หายใจเข้ามันตึง เวลาหายใจออกมันก็หย่อนตัวลง ก็กำหนดรู้ ก้น ขากระทบพื้นรู้สึกแค่นแข็งก็ กำหนดรู้ มือไปกระทบผ้ารู้สึกว่ามันอ่อน กำหนดรู้ หรือว่ามันรู้สึกตึง กำหนดไป บางทีเคร่งไป จดจ้องบังคับไป เกิดความตึง ตึงที่ศีรษะ ตึงที่หน้าผาก หัวคิ้ว ก็กำหนดความตึง เมื่อรู้สึกตึงกำหนดความตึง กำหนดแบบปกติคือกำหนดแบบไม่บั งคับ กำหนดแบบตามสภาวะ มันก็จะคลายตัวเป็นปกติ
ฉะนั้นเย็นก็ตาม ร้อนก็ตาม อ่อนก็ตาม แข็งก็ตาม หย่อนก็ตาม ตึงก็ตาม เป็นรูปนามเมื่อกระทบกับกายปสาท ก็เกิดความรู้สึกขึ้นเป็นกายวิ ญญาณ คือให้รู้สึกเย็น รู้สึกร้อน รู้สึกอ่อน รู้สึกอ่อน รู้สึกแข็ง รู้สึกหย่อน รู้สึกตึง ก็เป็นมนายตนะที่เกิดขึ้นที่กาย ก็กำหนดรู้ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง ก็เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ตัวรู้สึก ตัวที่เข้าไปรับรู้เป็นธรรมชาติ อย่างหนึ่ง เป็นนาม เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง เป็นรูป ตัวที่เข้าไปรับรู้เป็นนาม เมื่อกำหนดไม่ทันก็ไปสู่บัญญัติ คิดไปว่าเย็นนี้มันเป็นลม มาจากพัดลม ร้อนนี่มันมาจากไฟ มาจากแดด
แข็งนี่มันเป็นพื้น อย่างพื้นนี่มันเป็นพื้นหินอ่อน เห็นหน้าตานึกถึงชื่อ ถึงความหมาย นั่นเป็นสมมุติบัญญัติ แต่ในขณะจิตไปนึกถึงสมมุติบัญญั ตินั้นก็เป็นของจริง คือตัวที่ไปรู้สมมุติบัญญัติเป็ นของจริง คือเป็นจิตที่เกิดที่ใจ เป็นมนายตนะทางใจ สติก็รู้มาที่จิตใจ คือรู้มาที่ตัวไปรู้เรื่องราวต่ างๆ อย่างเรารับสัมผัสอะไรมาทางกาย เราจะคิดเรื่อยไปเป็นสิ่งของ เป็นชื่อ เป็นความหมาย เป็นเรื่องราว ก็รู้มาที่ใจ แล้วถ้ามันเลยไปถึงความรู้สึ กพอใจ ไม่พอใจ ก็กำหนดรู้ความพอใจ ไม่พอใจ ซึ่งเป็นธัมมายตนะ
คู่ที่ 6 ก็คือ มนายตนะ กับ ธัมมายตนะ กระทบกันก็ทำให้เกิดรู้เรื่ องราวต่างๆ ขึ้น ก็กำหนดรู้จิตใจที่นึกคิด ตัวธัมมายตนะที่กระทบที่ใจคื อเจตสิกต่างๆ รวมทั้งรูปละเอียด คือสุขุมรูป ส่วนนิพพานนั้นยังไม่เกิดขึ้น ถ้าเกิดขึ้นเมื่อไร ก็เป็นอันว่า เข้าสู่ความเป็นอริยบุคคล นิพพานก็เป็นธัมมายตนะมากระทบที ่ใจ สามารถที่จะไปสัมผัสรู้ได้ เมื่อเจริญวิปัสสนามีญาณปั ญญาแก่กล้าไปถึงโลกุตตรญาณ ก็จะไปรับนิพพานเป็นอารมณ์ กิเลสที่มีอยู่ในจิตใจก็จะถู กประหานให้น้อยลง เบาบางลง ฉะนั้นขณะที่เจริญสติกำหนดรู้รู ปนามอยู่เสมอนี้ มันก็จะบรรเทากิเลสไปได้ แต่ถ้าญาณปัญญาเกิดขึ้นจะละกิ เลสเป็นขณะ เรียกว่า ตทังคปหาน และเมื่อมรรคจิตเกิดขึ้นจึ งจะละโดยเด็ดขาดเป็น สมุจเฉทปหาน
อันนี้เป็นเรื่องชีวิต เป็นเรื่องของธาตุแท้ที่มีอยู่ จริงๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง เป็นเรื่องซึ่งพิสูจน์ได้ เป็นของจริงที่น่าศึกษาน่าเรี ยนรู้ มันไม่มีอะไรที่น่าศึกษาเท่ากั บของจริงๆ คือเรารู้ของจริงมันก็จะทำให้ เราสามารถที่จะพ้นทุกข์ได้ ถ้าเราไม่ศึกษาไม่เรียนรู้มัน ไปเข้าใจไปรู้แต่สมมุติบัญญัติ สมมุติบัญญัติ มันก่อให้เกิดความโลภ โกรธ หลง แต่ถ้าเข้าใจชีวิตจริง ให้รู้จักว่า อ้อ ปรมัตถธรรมจริงๆ เป็นอย่างนี้ สมมุติบัญญัติมันเข้ามาสวมเป็ นอย่างนี้
แต่เราก็ต้องทำไปตามสมมุติบัญญั ติ ต้องเรียกชื่อไปตามชาวโลกเขาเรี ยก ปฏิบัติไปตามสมมุติบัญญัติ แต่ว่ามันไม่ไปยึดถือ ทำไปตามนั้นอนุโลมไปตามนั้น แต่ไม่ได้ไปสำคัญมั่นหมายในสิ่ งเหล่านั้น เป็นตัวเป็นตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล จิตใจมันก็มีความเบาขึ้น เป็นอิสระ อันนี้ถ้าหากว่าไม่รู้เท่าทัน มันยึดเป็นตัวเป็นตน ใครมากระทบไม่ได้ มากระทบก็หาว่าเขาด่าเรา ว่าเรา เขาแกล้งเรา มันมีตัวเราเป็นตัวตนอยู่ เพราะฉะนั้นจึงต้องอาศัยการปฏิ บัติเพื่อให้เห็นว่ามันไม่มีตั วตน มีธรรมชาติเป็นอายตนะซึ่งเป็นรู ป เป็นนาม
อายตนะทั้ง 12 นี้ ก็เป็นรูป 5 คู่ อายตนะภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นรูปธรรมทั้งหมด ภายนอกคือ สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นรูปธรรม ส่วนคู่ที่ 6 ภายในได้แก่ มนายตนะ เป็นนามทั้งหมด ส่วนอายตนะภายนอก ธัมมายตนะนั้นเป็นรูปก็มี นามก็มี เจตสิกนั้นเป็นนาม สุขุมรูปเป็นรูปธรรม ส่วนนิพพานเป็นนามธรรม
พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)
+++++++++++++++++++++++
ถึงชั่วก็ชั่วแต่ตัวข้า ญาติวงศ์พงศาหาชั่วไม่
--
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น