วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554

ไขข้อกังขา เขื่อนศรีนครินทร์แตก? เมื่อธรณีพิโรธ

ไขข้อกังขา เขื่อนศรีนครินทร์แตกเมื่อธรณีพิโรธ


เขื่อนศรีนครินทร์
 เขื่อนศรีนครินทร์

เขื่อนศรีนครินทร์
 เขื่อนศรีนครินทร์



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก วิกิพีเดียการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 


         ในช่วงไม่กี่ปีหลังมานี้ เกิดเหตุแผ่นดินไหวใกล้ประเทศไทยหลายต่อหลายครั้ง และมีหลายครั้งที่เป็นแผ่นดินไหวรุนแรง จนทำให้เกิดข่าวลือท่ามกลางความหวาดวิตกว่า หากวันใดวันหนึ่งเกิดแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงในประเทศไทยขึ้นมาจริง ๆ "เขื่อนศรีนครินทร์"ซึ่งเป็นเขื่อนประเภทหินถมแกนดินเหนียวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย จะสามารถต้านทานต่อการสั่นสะเทือนของธรณีพิโรธได้หรือไม่?
         นั่นเพราะ "เขื่อนศรีนครินทร์" ตั้งอยู่บนรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และรอยเลื่อนบริเวณเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่ง ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ผู้เชี่ยวชาญด้านการเตือนภัย เคยออกมาเตือนว่า รอยเลื่อนทั้ง นี้ยังมีพลังอยู่ และมีโอกาสจะเกิดแผ่นดินไหวขึ้นอีกได้ ในระดับ 5-6 ริกเตอร์ ในรอบ 1,000-3,000 ปี หรือเท่ากับ 0.001 ซึ่งแม้ว่าแผ่นดินไหวระดับนี้จะไม่ทำอันตรายต่อ "เขื่อนศรีนครินทร์" ได้แต่ก็ต้องเตรียมรับมือให้ดี

         นี่เองจึงกลายเป็นที่มาของฟอร์เวิร์ดเมล์ฉบับหนึ่ง ที่ส่งต่อกันมาได้ระยะหนึ่งแล้ว โดยนำเสนอภาพจำลองการเกิดน้ำท่วม และระยะเวลาการเคลื่อนที่ของน้ำในพื้นที่ต่าง ๆ หากเขื่อนศรีนครินทร์แตก เพราะแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว ซึ่งภาพจำลองนี้จัดทำโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

http://hilight.kapook.com/img_cms2/News%202/news_4_2.jpg
 ภาพจำลองน้ำท่วมในบางจังหวัดกรณีเขื่อนศรีนครินทร์แตก (ภาพจากฟอร์เวิร์ดเมล์)



         ในภาพจำลองระบุว่า หากเขื่อนศรีนครินทร์แตก น้ำจากเขื่อนที่มีความจุถึง 17,745 ล้านลูกบาศก์เมตร จะทะลักเข้าท่วมอำเภอต่าง ๆ โดย

         - ภายใน ชั่วโมง คลื่นน้ำความสูง 25 เมตร จะท่วมอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

         - ภายใน 11 ชั่วโมง คลื่นน้ำความสูง 7.5 เมตร จะท่วมอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

         - ภายใน 23 ชั่วโมง คลื่นน้ำความสูง เมตร จะทะลักสู่อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี และจังหวัดนครปฐม

         - ภายใน 35 ชั่วโมง คลื่นน้ำความสูง เมตร จะทะลักจังหวัดสมุทรสงคราม และกรุงเทพมหานคร

         ซึ่งเท่ากับว่า หากเขื่อนศรีนครินทร์แตกจริง ประชาชนที่อยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี จะมีเวลาอพยพหนีน้ำเพียงแค่ ชั่วโมง ขณะที่กรุงเทพมหานครจะกลายเป็นเมืองบาดาลภายในเวลาเพียงแค่ วันกว่า ๆ เท่านั้น 

เขื่อนศรีนครินทร์
 เขื่อนศรีนครินทร์


         อย่างไรก็ดี ฟอร์เวิร์ดเมล์ข้างต้นถูกส่งต่อกันในโลกอินเทอร์เน็ตมานานแล้ว และมีผู้ที่เกี่ยวข้องออกมายืนยันถึงความมั่นคงแข็งแรงของเขื่อนให้ทุกคนได้ มั่นใจกันหลายฝ่าย แต่ ณ วันนี้ประเด็นเรื่อง "เขื่อนศรีนครินทร์แตก" ก็ยังเป็นที่หวาดหวั่นของประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรีและพื้นที่ใกล้เคียง เนื่องจากในปี 2553 ได้เกิดแผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางอยู่บริเวณอำเภอศรีสวัสดิ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเขื่อนศรีนครินทร์มาแล้วเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.8 ริกเตอร์ และในวันที่16สิงหาคม วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.3 ริกเตอร์
         ที่สำคัญ เมื่อวันที่ 12 กันยายนที่ผ่านมา ได้เกิดพายุฝนถล่มจังหวัดเชียงราย จนทำให้อ่างเก็บน้ำห้วยพลู ซึ่งเป็นอ่างดินรองรับน้ำไม่ไหว ในที่สุดอ่างเก็บน้ำแตก ทำให้น้ำทะลักเข้าท่วมหมู่บ้านทุ่งพร้าว ถนนแม่สรวย-ดอยวาวี จนเกิดเหตุดินถล่มถนนทรุดขาดออกจากกันราว 100 เมตร และเกิดหลุมลึกลงไปกว่า 20 เมตร

         แม้ว่าสาเหตุที่อ่างเก็บน้ำห้วยพลูแตก จะไม่ได้เกิดจากแผ่นดินไหว อีกทั้งอ่างเก็บน้ำห้วยพลูทำจากดิน ความแข็งแรงทนทานย่อมไม่อาจเทียบเท่ากับ "เขื่อนศรีนครินทร์" แต่เมื่อเกิดข่าวอ่างเก็บน้ำแตกขึ้น ย่อมไม่อาจทำให้คนจำนวนหนึ่งคลายความกังวลจากเรื่องนี้ไปได้

         อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับประเด็นที่ประชาชนวิตกกังวลกันมาก ก็ได้เคยมีบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ออกมายืนยันพร้อมข้อมูล และหลักฐานทางวิชาการแล้วว่า "เขื่อนศรีนครินทร์" แข็งแรงและไม่มีทางจะพังทลายได้แน่นอน 

เจ้าหน้าที่ตรวจเขื่อนศรีนครินทร์
เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพ เขื่อนศรีนครินทร์


         โดยนายกิตติ  ตันเจริญ ผู้อำนวยการเขื่อนศรีนครินทร์ ได้ชี้แจงต่อกรณีข่าวลือ "เขื่อนศรีนครินทร์แตก" ผ่านทาง "ข้อเท็จจริงเรื่องความมั่นคงของเขื่อนศรีนครินทร์" ของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยสรุปว่า รอยเลื่อนทั้ง ที่พาดผ่านเขื่อนศรีนครินทร์ ยังไม่เคยเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงมาก่อน ที่เคยเกิดรุนแรงที่สุด ก็คือในปี 2526 ที่เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.9 ริกเตอร์ บริเวณทิศเหนือห่างจากเขื่อนศรีนครินทร์ 55 กิโลเมตร แต่ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเขื่อนแต่อย่างใด

         ใน รายงานยังได้อ้างอิงข้อมูลจากหนังสือ DAMS AND PUBLIC SAFETY,1983 ซึ่งระบุว่า แผ่นดินไหวเป็นสาเหตุให้เขื่อนแตกได้น้อยมาก เพียงแค่ 1% ขณะที่สาเหตุหลักมาจาก

         1. ความเสียหายของรากฐานเขื่อน ซึ่งคิดเป็น 40%
         2. อาคารระบายน้ำล้นมีขนาดไม่เพียงพอ คิดเป็น 23%
         3. การก่อสร้างไม่ดี 12%
         4. การทรุดตัวอย่างรุนแรง 10%
         5. แรงดันน้ำในตัวเขื่อนสูงมาก 5%
         6. เกิดจากสงคราม 3%
         7. การไหลเลื่อนของลาดเขื่อน 2%
         8. วัสดุก่อสร้างไม่ดี 2%
         9. การใช้งานเขื่อนไม่ถูกต้อง 2%
         10. แผ่นดินไหว 1%

http://hilight.kapook.com/img_cms2/News%202/news_9.jpg
แกนกลางเขื่อนศรีนครินทร์

         จากข้อมูลนี้ สอดคล้องกับงานวิจัยเรื่อง "ความมั่นคงของเขื่อนศรีนครินทร์ ต่อแรงกระทำแผ่นดินไหว" ของ ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และวีระชัย ไชยสระแก้ว หัวหน้ากองความปลอดภัยเขื่อน ฝ่ายบำรุงรักษาโยธา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่ได้ทำการตรวจสอบ และสำรวจเขื่อนพร้อมทั้งสร้างแบบจำลองเขื่อนเพื่อใช้การสั่นสะเทือนรูปแบบ ต่าง ๆ จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่รุนแรง 35เหตุการณ์ มีจำนวน 200 คลื่นแผ่นดินไหว โดยจำลองให้จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากตัวเขื่อนในระยะต่าง ๆ กัน พบว่า

ขนาดของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์


         เขื่อนศรีนครินทร์ สามารถรับแรงแผ่นดินไหวได้ถึงระดับ 7.0 ริกเตอร์ โดยแผ่นดินไหว 7.0 ริกเตอร์จะทำให้สันเขื่อนทรุดตัวลงเพียง 3.4 เมตร และน้อยกว่าความสูงของสันเขื่อนที่เผื่อไว้เหนือระดับกักเก็บน้ำ เมตร ดังนั้นเขื่อนจึงสามารถรองรับแผ่นดินไหวได้ และแม้ว่าแกนดินเหนียวของเขื่อนจะเกิดรอยร้าว แต่ยังมีวัสดุชั้นในวัสดุกรองเคลื่อนตัวมาอุดรอยแยกได้เอง ทำให้เขื่อนมีความมั่นคง ไม่พังทลายลงมาได้ แต่หากเขื่อนเริ่มรั่วซึมออกมา จนกระทั่งเขื่อนแตก จะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า ชั่วโมง จึงพอมีเวลาเตือนภัยและอพยพคนได้

ความถี่ของการเกิดแผ่นดินไหวเขื่อนศรีนครินทร์


         อย่างไรก็ตาม แม้จะมีข้อมูลทางวิชาการออกมายืนยันว่า โอกาสที่เขื่อนจะพังทลายลงมามีน้อยมาก แต่เพราะ "เขื่อนศรีนครินทร์" ตั้งอยู่บนแนวรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ซึ่งยังมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง ทุกฝ่ายจึงไม่ประมาทในการรับมือภัยพิบัติ ดังนั้นทาง กฟผ. และเขื่อนศรีนครินทร์ จึงได้ตรวจสอบสภาพเขื่อนเป็นประจำ และมีมาตรการเตรียมแผนรับสถานการณ์ฉุกเฉินไว้

เขื่อนศรีนครินทร์
 เขื่อนศรีนครินทร์


         สำหรับ ประชาชนทั่วไปเอง การศึกษาข้อมูลเรื่องแผ่นดินไหว อุทกภัย รวมทั้งวิธีป้องกัน และรับมือเมื่อเกิดสถานการณ์ขึ้นถือว่าเป็นเรื่องจำเป็น เพราะหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้นจริง เราจะได้สามารถตั้งรับได้ทันท่วงที 

         โดยข้อควรปฏิบัติก่อน-ระหว่าง-หลังเกิดแผ่นดินไหว มีดังนี้

http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/35.gif การรับมือก่อนเกิดแผ่นดินไหว

         1. ควรมีไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉาย และกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้าน และให้ทุกคนทราบว่าอยู่ที่ไหน

         2. ศึกษาการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

         3. ควรมีเครื่องมือดับเพลิงไว้ในบ้าน เช่น เครื่องดับเพลิง ถุงทราย เป็นต้น

         4. ควรทราบตำแหน่งของวาล์วปิดน้ำ วาล์วปิดก๊าซ สะพานไฟฟ้า สำหรับตัดกระแสไฟฟ้า

         5. อย่าวางสิ่งของหนักบนชั้น หรือหิ้งสูง ๆ เมื่อแผ่นดินไหวอาจตกลงมาเป็นอันตรายได้

         6. ผูกเครื่องใช้หนัก ๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน

         7. ควรมีการวางแผนเรื่องจุดนัดหมาย ในกรณีที่ต้องพลัดพรากจากกันเพื่อมารวมกันอีกครั้งในภายหลัง

         8. สร้างอาคารบ้านเรือนให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว

http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/35.gifระหว่างเกิดแผ่นดินไหว 
         1. อย่าตื่นตกใจ พยายามควบคุมสติอยู่อย่างสงบ ถ้าท่านอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้าน ถ้าท่านอยู่นอกบ้านก็ให้อยู่นอกบ้าน เพราะส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้าออกจากบ้าน

         2. ถ้าอยู่ในบ้านให้ยืนหรือมอบอยู่ในส่วนของบ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรง ที่สามารถรับน้ำหนัก ได้มาก และให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง และหน้าต่าง

         3. หากอยู่ในอาคารสูง ควรตั้งสติให้มั่น และรีบออกจากอาคารโดยเร็ว หนีให้ห่างจากสิ่งที่จะล้มทับได้

         4. ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้งให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้า และสิ่งห้อยแขวนต่าง ๆ ที่ปลอดภัยภายนอกคือที่โล่งแจ้ง

         5. อย่าใช้เทียน ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวหรือประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่บริเวณนั้น

         6. ถ้าท่านกำลังขับรถให้หยุดรถและอยู่ภายในรถ จนกระทั่งการสั่นสะเทือนจะหยุด

         7. ห้ามใช้ลิฟท์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหว

         8. หากอยู่ชายหาดให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง

http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/35.gif หลังเกิดแผ่นดินไหว

         1. ควรตรวจตัวเองและคนข้างเคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ให้ทำการปฐมพยาบาลขั้นต้นก่อน

         2. ควรรีบออกจากอาคารที่เสียหายทันที เพราะหากเกิดแผ่นดินไหวตามมาอาคารอาจพังทลายได้

         3. ใส่รองเท้าหุ้มส้นเสมอ เพราะอาจมีเศษแก้ว หรือวัสดุแหลมคมอื่น ๆ และสิ่งหักพังแทง

         4. ตรวจสายไฟ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส ถ้าแก๊สรั่วให้ปิดวาล์วถังแก๊ส ยกสะพานไฟ อย่าจุดไม้ขีดไฟ หรือก่อไฟจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีแก๊สรั่ว

         5. ตรวจสอบว่า แก๊สรั่ว ด้วยการดมกลิ่นเท่านั้น ถ้าได้กลิ่นให้เปิดประตูหน้าต่างทุกบาน

         6. ให้ออกจากบริเวณที่สายไฟขาด และวัสดุสายไฟพาดถึง

         7. เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉิน อย่าใช้โทรศัพท์ นอกจากจำเป็นจริง ๆ

         8. สำรวจดูความเสียหายของท่อส้วม และท่อน้ำทิ้งก่อนใช้

         9. อย่าเป็นไทยมุงหรือเข้าไปในเขตที่มีความเสียหายสูง หรืออาคารพัง

         10. อย่าแพร่ข่าวลือ 


เขื่อนศรีนครินทร์
 เขื่อนศรีนครินทร์


         ขณะเดียวกับ หากเกิดเหตุการณ์อุทกภัยขึ้น หรือมีแนวโน้มว่าอาจจะเกิดอุทกภัย เราควรปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้

http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/35.gif ก่อนเกิดอุทกภัย

         1. เชื่อฟังคำเตือนอย่างเคร่งครัด

         2. ติดตามรายงานของกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างต่อเนื่อง


         3. เคลื่อนย้ายคน สัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย และสิ่งของไปอยู่ในที่สูง ซึ่งเป็นที่พ้นระดับน้ำที่เคยท่วมมาก่อน

         4. ทำคันดินหรือกำแพงกั้นน้ำโดยรอบ

         5. เคลื่อนย้ายพาหนะ เช่น รถยนต์หรือล้อเลื่อนไปอยู่ที่สูง หรือทำแพสำหรับที่พักรถยนต์ อาจจะใช้ถังน้ำขนาด 200 ลิตร ผูกติดกันแล้วใช้กระดานปูก็ได้

         6. เตรียมกระสอบใส่ดินหรือทราย เพื่อเสริมคันดินที่กั้นน้ำให้สูงขึ้น เมื่อระดับน้ำขึ้นสูงท่วมคันดินที่สร้างอยู่
         7. ควรเตรียมเรือไม้ เรือยาง หรือแพไม้ไว้ใช้ด้วย เพื่อใช้เป็นพาหนะในขณะน้ำท่วมเป็นเวลานาน เรือเหล่านี้สามารถช่วยชีวิตได้เมื่ออุทกภัยคุกคาม

         8. เตรียมเครื่องมือช่างไม้ ไม้กระดาน และเชือกไว้บ้างสำหรับต่อแพ เพื่อช่วยชีวิตในยามคับขัน เมื่อน้ำท่วมมากขึ้น จะได้ใช้เครื่องมือช่างไม้เปิดหลังคารื้อฝาไม้ เพื่อใช้ช่วยพยุงตัวในน้ำได้

         9. เตรียมอาหารกระป๋อง หรืออาหารสำรองไว้บ้าง พอที่จะมีอาหารรับประทานเมื่อน้ำท่วมเป็นระยะเวลาหลาย ๆ วัน อาหารย่อมขาดแคลนและไม่มีที่หุงต้ม

         10. เตรียมน้ำดื่มเก็บไว้ในขวดและภาชนะที่ปิดแน่น ๆ ไว้บ้าง เพราะน้ำที่สะอาดที่ใช้ตามปกติขาดแคลนลง ระบบการส่งน้ำประปาอาจจะหยุดชะงักเป็นเวลานาน

         11. เตรียมเครื่องเวชภัณฑ์ไว้บ้างพอสมควร เช่น ยาแก้พิษกัดต่อยแมลงป่อง ตะขาบ งู และสัตว์อื่น ๆ เพราะเมื่อเกิดน้ำท่วมพวกสัตว์มีพิษ เหล่านี้จะหนีน้ำขึ้นมาอยู่บนบ้านและหลังคาเรือน

         12. เตรียมเชือกมนิลามีความยาวไม่น้อยกว่า 10 เมตร ใช้ปลายหนึ่งผูกมัดกับต้นไม้เป็นที่ยึดเหนี่ยว ในกรณีที่กระแสน้ำเชี่ยว และคลื่นลูกใหญ่ซัดมากวาดผู้คนลงทะเล จะช่วยไม่ให้ไหลลอยไปตามกระแสน้

         13. เตรียมวิทยุที่ใช้ถ่านไฟฉาย เพื่อไว้ติดตามฟังรายงานข่าวลักษณะอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา

         14. เตรียมไฟฉาย ถ่านไฟฉาย และเทียนไข เพื่อไว้ใช้เมื่อไฟฟ้าดับ

http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/35.gif ขณะเกิดอุทกภัย

         ควรตั้งสติให้มั่นคง อย่าตื่นกลัวหรือตกใจ ควรเตรียมพร้อมที่จะเผชิญเหตุการณ์ด้วยความสุขุม รอบคอบ และควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

         1. ตัดสะพานไฟ และปิดแก๊สหุงต้มให้เรียบร้อย

         2. จงอยู่ในอาคารที่แข็งแรง และอยู่ในที่สูงพ้นระดับน้ำที่เคยท่วมมาก่อน

         3. จงทำให้ร่างกายอบอุ่นอยู่เสมอ

         4. ไม่ควรขับขี่ยานพาหนะฝ่าลงไปในกระแสน้ำหลาก

         5. ไม่ควรเล่นน้ำหรือว่ายน้ำเล่นในขณะน้ำท่วม

         6. ระวังสัตว์มีพิษที่หนีน้ำท่วมขึ้นมาอยู่บนบ้าน และหลังคาเรือนกัดต่อย เช่น งู แมลงป่อง ตะขาบ เป็นต้น
         7. ติดตามเหตุการณ์อย่างใกล้ชิด เช่น สังเกตลมฟ้าอากาศ และติดตามคำเตือนเกี่ยวกับ ลักษณะอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา

         8. เตรียมพร้อมที่จะอพยพไปในที่ปลอดภัยเมื่อสถานการณ์จวนตัว หรือปฏิบัติตามคำแนะนำของทางราชการ

         9. เมื่อจวนตัวให้คำนึงถึงความปลอดภัยของชีวิตมากกว่าห่วงทรัพย์สมบัติ

http://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/35.gif หลังอุทกภัย

         เมื่อระดับน้ำลดลงจนเป็นปกติ การบูรณะซ่อมแซมสิ่งต่าง ๆ จะต้องเริ่มต้นทันที่งานบูรณะต่าง ๆ เหล่านี้จะประกอบด้วย

         1. การขนส่งคนอพยพกลับยังภูมิลำเนาเดิม

         2. การช่วยเหลือในการรื้อสิ่งปรักหักพัง ซ่อมแซมบ้านเรือนที่หักพัง และถ้าบ้านเรือนที่ถูกทำลายสิ้น ก็ให้ได้รับความช่วยเหลือในการจัดหาที่พักอาศัยและการดำรงชีพชั่วระยะหนึ่ง

         3. การกวาดเก็บขนสิ่งปรักหักพังทั่วไป การทำความสะอาดบ้านเรือน ถนนหนทางที่เต็มไปด้วยโคลนตม และสิ่งชำรุดเสียหายที่เกลื่อนกลาดอยู่ทั่วไปกลับสู่สภาพปกติโดยเร็ว

         4. ซ่อมแซมบ้านเรือนอาคาร โรงเรียนที่พักอาศัย สะพานที่หักพังชำรุดเสียหาย และที่เสียหายมากจนไม่อาจซ่อมแซมได้ ก็ให้รื้อถอนเพราะจะเป็นอันตรายได้

         5. จัดซ่อมทำเครื่องสาธารณูปโภค ให้กลับคืนสู่สภาพปกติโดยเร็วที่สุด เช่น การไฟฟ้า ประปา โทรเลข โทรศัพท์

         6. ภายหลังน้ำท่วมจะมีซากสัตว์ตาย ปรากฏในที่ต่าง ๆ ซึ่งจะต้องจัดการเก็บฝังโดยเร็ว สัตว์ที่มีชีวิตอยู่ซึ่งอดอาหารเป็นเวลานาน ให้รีบให้อาหารและนำกลับคืนให้เจ้าของ

         7. ซ่อมถนน สะพาน และทางรถไฟที่ขาดตอนชำรุดเสียหายให้กลับสู่สภาพเดิม เพื่อใช้ในการคมนาคมได้โดยเร็วที่สุด

         8. สร้างอาคารชั่วคราวสำหรับผู้ที่อาศัย เนื่องจากถูกอุทกภัยทำลายให้อยู่อาศัยเป็นการชั่วคราว

         9. การสงเคราะห์ผู้ประสบอุทกภัย มีการแจกเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม และอาหารแก่ผู้ประสบภัย ความอดอยาก ความขาดแคลนจะมีอยู่ระยะหนึ่ง ซึ่งควรจะได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยบรรเทาทุกข์หรือมูลนิธิ และอีกประการหนึ่ง

         10. ภายหลังอุทกภัย เนื่องจากสิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก จะทำให้เกิดเจ็บไข้และโรคระบาดได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น