วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2554

"สลอด ตำแย หมามุ่ย"...พืชยอดนิยม ในการใช้เเกล้ง!



สลอด

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Croton tiglium L.

ชื่อสามัญ :   Purging Croton, Croton Oil Plant

วงศ์ :   EUPHORBIACEAE

ชื่ออื่น :  บะกั้ง (แพร่) มะข่าง มะคัง มะตอด หมากทาง หัสคืน (ภาคเหนือ) ลูกผลาญศัตรู สลอดต้น หมากหลอด (ภาคกลาง) หมากยอง (แม่ฮ่องสอน)
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
 ไม้พุ่ม สูง 3-6 ม. ต้นเกลี้ยง ใบเดี่ยวรูปไข่ เรียงสลับกัน ปลายใบแหลม ฐานใบกลม ขอบใบหยัก แบบซี่ฟัน มีเส้นใบ 3-5 เส้น ที่ฐานใบมีต่อม ต่อม เนื้อใบบาง ก้านใบเรียวเล็ก ดอกเล็ก ออกเดี่ยว ๆ หรือออกเป็นช่อที่ยอด ใบประดับมีขนาดเล็ก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน หรืออยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้ มีขนรูปดาว กลีบรองกลีบดอก 4-6 กลีบ ปลายกลีบมีขน กลีบดอก 4-6 กลีบ ขอบกลีบมีขน ฐานดอกมีขน และมีต่อมจำนวนเท่ากันและอยู่ตรงข้ามกันกับกลีบรองกลีบดอก เกสรผู้มีจำนวนมาก ก้านเกสรไม่ติดกัน เมื่อดอกยังอ่อนอยู่ ก้านเกสรจะโค้งเข้าข้างใน ดอกเพศเมีย กลีบรองกลีบดอกรูปไข่ มีขนที่โคนกลีบ ไม่มีกลีบดอก หรือถ้ามีก็เล็กมาก รังไข่มี 2-4 ช่อง ผลแก่จัดแห้งและแตก รูปขอบขนานหรือรี กว้าง 1-1.5 ซม. ยาวประมาณ ซม. หน้าตัดรูปสามเหลี่ยมมนๆ เมล็ดรูปขอบขนานแกมรูปรี สีน้ำตาลอ่อน (ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530)

ส่วนที่ใช้ :  ใบ ดอก ผล เมล็ด เปลือก ราก
สรรพคุณ :

 

ใบ  -  แก้ตะมอย แก้ไส้ด้าน ไส้ลาม (กามโรคที่เกิดเนื้อร้ายจากปลายองค์กำเนิดกินลามเข้าไปจนถึงต้นองค์กำเนิด)
ดอก -  ฆ่าเชื้อโรคกลากเกลื้อน แก้คุดทะราด
ผล - แก้ลมอัมพฤกษ์ ดับเดโชธาตุ มีให้เจริญ
เมล็ด - เป็นยาถ่ายอย่างแรง ถ่ายร้อนคอ ปวดมวน ก่อนใช้ต้องทำการประสะก่อน (อันตราย)
เปลือกต้น - แก้เสมหะอันคั่งค้างอยู่ในอกและลำคอ
ราก - แก้โรคเรื้อน ถ่ายเสมหะ ถ่ายโลหิตและลม
วิธีการใช้
ส่วนใบ - ก่อนจะนำมาผสมยา ให้นึ่งเสียก่อน
เมล็ด - เป็นยาถ่ายอย่างแรง การใช้เมล็ดเป็นยาถ่ายต้องระวังมาก เพราะน้ำมันในมเล็ดสลอดมีพิษร้อนคอ ไข้ปวดมวนและระบายจัด ก่อนใช้ผสมยา ต้องคั่วจนเกรียมให้หมดน้ำมันเสียก่อน อีกวิธีหนึ่งเอาเมล็ดใส่ในข้าวสุกปั้นเป็นก้อนแล้วต้มให้นานๆ จึงใช้ผสมยา อีกวิธีหนึ่งต้องเอาเมล็ดสลอดใส่ปากไหปลาร้า ทิ้งไว้ วัน จึงเอาขึ้นมาตากแห้งใช้ผสมยาได้

เมื่อจะทำยาระบาย ต้องมียาคุมฤทธิ์ไว้ให้ดี มิฉะนั้นจะมีคลื่นเ...ยน ปวดมวนไชท้องอย่างยิ่ง ฉะนั้น การใช้สลอดนี้ ถ้ายาคุมฤทธิ์ไว้ได้ดีก็จะเป็นยาวิเศษขนานหนึ่ง แต่ถ้าวิธีคุมฤทธิ์ไว้ไม่ดีก็อย่าบังควรใช้เลย ให้ใช้ยาขนานอื่นแทน
 


ต้นตำแย หรือ ลังตังช้าง(กลาง)

Laportea bulbifera (Siebold & Zucc.) Wedd.
เป็นพืชล้มลุกสูงได้ถึง เมตร ไม่ผลัดใบ ทุกส่วนมีขนสากกระจายทั่วไป
ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ทรงใบรูปรีแกมไข่ โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม
ขอบใบหยักซี่ฟัน ดอกเล็ก สีเขียวอ่อน ถึงม่วงอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อโตตามง่ามใบ ผลเล็ก ผิวผลมีหนามแข็ง

ต้น ตำแยช้าง
Girardinia diversifolia (Limk.) Friis

ชื่อพ้อง G.heterophylla Decne.
ชื่อสามัญ : Thatch Grass , Wolly Grass,  Lalang, Alang-alang

ชื่อไทยอื่นๆ กะลังตังช้าง(ใต้) บังหานเขา(เชียงใหม่) ละชา,แล่แซะ(กระเหรี่งแม่ฮ่องสอน) หานสาหานช้างไห้หานช้างฮ้อง(เหนือ)

ส่วนที่เป็นพิษ ขนหรือหนามตามส่วนต่างๆ
ทำให้เจ็บคันและปวด 

 
เป็น พืชล้มลุก สูงได้ถึง เมตร ไม่ผลัดใบ ทุกส่วนมีขนสากกระจายทั่วไป ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ทรงใบรูปไข่ โคนใบมน ปลายแหลม ขอบใบหยักซี่ฟัน บางทีเป็นพูโตๆหลายพู ดอกเล็กสีเขียวอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อแบบหางกระรอกตามง่ามใบ ผลเล็ดกลม ผิวผลมีหนามแข็งหนาแน่น ส่วนที่เป็นพิษ ขนหรือหนามตามส่วนต่างๆทำให้เจ็บคันและปวด

สารพิษและสารเคมีอื่นๆ เช่น histamine, acetylcholine, 5-hydroxytryptamine, formic acetic acid

การเกิดพิษ ขนที่ถูกผิวหนังจะมีอาการปวดแสบปวดร้อน บวมแดง ระคายเคืองมาก


(ข้อมูลจาก ไม้ประดับออนไลน์)

 หมามุ่ย

          หมามุ่ย เป็นพืชตระกูลถั่วอายุข้ามปี มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mucuna pruriens L.  (พันธุ์พื้นเมือง) Mucuna capitata (พันธุ์ไม่มีขนคัน) ขึ้นเป็นแถวคลุมไม้อื่นจนแน่นทึบ โดยเฉพาะในไร่ร้างจะพบหมามุ่ยขึ้นเต็มไปหมด จนกลายเป็นพืชที่มีปัญหา แต่ ละเถาจะติดก้านใบขนาดใหญ่ยาว ประกอบด้วยใบย่อย ใบ ใบหนานุ่มมีขนอ่อน ติดดอกช่วงปลายฤดูฝนเป็นช่อ กลีบดอกสีม่วงอ่อนดูเด่น หมามุ่ยให้ดอกช่อดอกยาวใหญ่ทยอยกันบานจากโคนถึงปลายช่อ

ต่อ มาก็ติดฝักถ้าเป็นพันธุ์ใหญ่ฝักจะแบน ส่วนพันธุ์เล็กฝักจะกลม ฝักจะมีขนอ่อนคลุม ฝักแก่นี้เองจะกลายเป็นพืชที่มีพิษ เพราะขนจะปลิวว่อนไปตอนต้นลมตั้งแต่ฤดูหนาวถึงฤดูแล้ง ถ้ามีดงหมามุ่ยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง จะคันยุบยับไปทั้งตัว ยิ่งเหงื่อตกยิ่งรู้สึกคันยิ่งขึ้น แก้โดยถูกับผมหรือใช้เทียนขี้ผึ้ง หรือใช้ข้าวเหนียวสุกนวดให้เป็นก้อน กลิ้งเบา ๆ บริเวณที่คัน

         โชคดีที่นักพฤษศาสตร์ปรับปรุงพันธุ์พื้นเมืองให้เป็นสายพันธุ์ใหญ่ ใบเล็ก ฝักไม่มีขนพิษและอายุสั้น โดยนำมาปลูกเป็นปุ๋ยพืชสด หรือปลูกคลุมพื้นที่ว่างเปล่า เมื่อประมาณ 15 ปีที่ผ่านมา มีนักวิชาการได้นำเมล็ดพันธุ์หมามุ่ยไม่มีพิษมาจากโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งอาจจะนำพันธุ์มาจากไต้หวันและได้นำมาขยายพันธุ์ ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.พนมสารคาม จ. ฉะเชิงเทรา 

        ต่อมาได้กระจายนำพันธุ์ไปทั่วทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังมีการนำหมามุ่ยไม่คันมาปลูกข่มหญ้าขจรจบ ดอกเหลืองในกระถาง ทดสอบ พบว่าสามารถข่มวัชพืขได้ดีเช่นเดียวกับถั่วพร้าและถั่วแปบในระยะแรกเพราะ เป็นพืชที่มีเมล็ดใหม่ เปลือกบาง จึงงอกได้รวดเร็วมีใบใหญ่บังแสงได้มากพอ จนวัชพืชไม่สามารถจะงอกได้ แต่หมามุ่ยชนิดนี้เป็นพืชล้มลุกอายุสั้นโทรมเร็วไม่สามารถข่มวัชพืชข้ามปี ได้

การใช้ประโยชน์ในการอนุรักษ์ดิน ควรปล่อยให้ขึ้นคลุมพื้นที่ลาดเทซึ่งปล่อยทิ้งไม่ใช้ประโยชน์ จะช่วยยึดดินไม่ให้พังทลายในฤดูฝน ถ้าเป็นหมามุ่ยพันธุ์พื้นเมือง ไม่ควรเข้าไปใกล้ ขณะติดฝักแก่ในฤดูแล้ง เพราะขนจะปลิวมาแตะผิวหนังทำให้ผื่นคันได้ส่วนพันธุ์ต่างประเทศใช้ปลูกคลุม ดินเหมือนพืชคลุมดินทั่ว ๆ ไป 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก arunsawat

:: อีเมลนี้ได้รับฟอร์เวิร์ดมาจากJerry Maguire 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น