อกุศลกรรม ได้แก่ การทำบาป ๓ ทาง คือ |
๑. ทางกาย | เรียกว่า | กายกรรม |
๒. ทางวาจา | เรียกว่า | วจีกรรม |
๓. ทางใจ | เรียกว่า | มโนกรรม |
|
|
|
ตามธรรมดาคนเรานั้น จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตาม ต้องมีความตั้งใจเกิดขึ้นก่อน ด้วยเหตุนี้เอง การกระทำต่าง ๆ ทั้งหลายนั้น จึงมี ความตั้งใจ ซึ่งเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า เจตนา (เจตสิก) เป็นผู้นำอยู่เสมอ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เจตนานี้แหละ ชื่อว่า กรรม |
|
ถ้า เจตนา ประกอบใน กุศลจิต ก็เป็นการตั้งใจที่จะทำความดี มีการทำทาน รักษาศีล หรือเจริญภาวนา |
|
ถ้า เจตนา ประกอบใน อกุศลจิต ก็เป็นการตั้งใจในการทำความชั่ว มี อกุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นต้น |
อกุศลกรรมบท ๑๐ |
๑. ปาณาติบาต | คือ การ | ฆ่าสัตว์ | | |
๒. อทินนาทาน | คือ การ | ลักทรัพย์ | เรียกว่า อกุศลกายกรรม ๓ |
๓. กามเมสุมิจฉาจาร | คือ การ | ผิดในกาม | |
๔. มุสาวาท | คือ การ | การพูดเท็จ | | เรียกว่า อกุศลวจีกรรม ๔ |
๕. ปิสุณวาจา | คือ การ | พูดส่อเสียด |
๖. ผรุสวาจา | คือ การ | พูดคำหยาบ |
๗. สัมผัปปลาปะ | คือ การ | พูดเพ้อเจ้อ |
๘. อภิชฌา | คือ การ | เพ่งเล็งทรัพย์ผผู้อื่น | | |
๙. พยาบาท | คือ การ | การปองร้าย | เรียกว่า อกุศลมโนกรรม ๓ |
๑๐. มิจฉาทิฎฐิ | คือ การ | ความเห็นผิด | |
|
|
|
|
อกุศลกรรม คือ การทำบาป คนเราเกิดมาได้ทำทั้งบุญและบาปควบคู่กันไป
ถ้าทำบุญมากกว่าทำบาป ชีวิตในภพใหม่ชาติใหม่ก็มีความสุข เพราะบุญให้ผลเป็นความสุข
ถ้าทำบาปมากกว่าบุญ ชีวิตในภพใหม่ชาติใหม่ ก็จะประสบแต่ความทุกข์ เพราะบาปให้ผลเป็นความทุกข์ หรือได้รับความทุกข์มากกว่าความสุข สังเกตดูชีวิตของเราเอง ก็พอจะรู้ได้ว่าในอดีตนั้น เราได้ทำบุญหรือทำบาปไว้ อย่างไหนมากกว่ากัน |
|
เรามาศึกษาในเรื่องของ อกุศลกรรม ก่อน เพื่อจะได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของบาป เรื่องของกิเลสเป็นเรื่องใหญ่ เป็นต้นเหตุที่มาแห่งความทุกข์ทั้งปวง เหมือนมะเร็งร้ายที่สามารถจะทำลายชีวิตได้ทุกเมื่อ |
|
การทำบาป ทำได้ ๓ ทาง คือ |
|
|
การทำบาปทางกาย เรียกว่า กายทุจริต เป็นการทำที่ไม่ดีไม่งามทางกาย ทำให้ผู้อื่นได้รับความทุกข์ความเดือดร้อนใจ ต้องรับผลของบาปที่ได้กระทำลงไป |
|
การทำบาปทางกาย ทำได้ ๓ อย่าง คือ |
๑. การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต |
๒. การลักทรัพย์ |
๓. การประพฤติผิดในกาม |
|
|
|
๑. การฆ่าสัตว์ (ปาณาติบาต) |
การฆ่าสัตว์ คือ การฆ่าสิ่งที่มีชีวิตให้ตายไปก่อนที่จะหมดอายุ จะเป็นการฆ่าด้วยตนเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่าโดยใช้อาวุธใช้เครื่องประหาร ใช้คาถา อาคมไสยศาสตร์ หรือใช้ฤทธิ์ |
|
|
องค์ประกอบของอกุศลกรรมบถ ในการฆ่าสัตว์มี ๕ ประการ คือ |
๑. สัตว์มีชีวิต |
๒. รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต |
๓. มีจิตคิดจะฆ่า |
๔. พยายามฆ่า |
๕. สัตว์นั้นตายลงเพราะความพยายามนั้น |
|
|
|
การทำบาปที่เข้าลักษณะ ๕ ประการ ชื่อว่า เป็นการทำบาปที่ครบองค์แห่งปาณาติบาต จะเป็นสัตว์ที่เป็นอาหาร หรือ สัตว์ที่ไม่เป็นอาหาร เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง ก็ตาม ล้วนเป็นบาปทั้งสิ้น เมื่อใกล้จะตายถ้าคิดถึงบาปที่เคยฆ่าสัตว์ไว้ บาปนั้นก็สามารถนำให้ไปเกิดใน อบายภูมิ ได้ |
|
บาปมาก – บาปน้อย การฆ่าสัตว์ จะบาปมาก หรือ บาปน้อย นั้น ขึ้นอยู่กับการใช้ความพยายามในการฆ่า ถ้าใช้ความพยายามมากก็บาปมาก ใช้ความพยายามน้อยก็บาปน้อย ฆ่า สัตว์มีคุณมาก ก็บาปมาก เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ถ้าฆ่าสัตว์ที่มีคุณน้อยหรือไม่มีคุณ เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง ก็บาปน้อย ฆ่าสัตว์ตัวใหญ่บาปมาก ฆ่าสัตว์ตัวเล็กก็บาปน้อย ถ้าฆ่าคนที่มีคุณธรรมมาก บาปมาก ถ้าเป็นคนที่มีคุณธรรมน้อย ก็บาปน้อยตามลำดับ |
|
|
|
แสดงผลของปาณาติบาต |
บาปมาก |
๑. | ฆ่าสัตว์ใหญ่ หรือสัตว์ที่มีประโยชน์ เช่น
ช้าง ม้า วัว ควาย |
๒. | ฆ่าผู้มีคุณธรรมมาก เช่น พระสงฆ์ บิดามารดา |
๓. | ใช้ความพยายามในการฆ่ามาก |
|
|
บาปมาก |
๑. | ฆ่าสัตว์เล็ก เช่น มด ยุง ลิ้น ไร |
| |
๒. | ฆ่าผู้ไม่มีคุณธรรม เช่น โจร ผู้ร้าย |
| |
๓. | ใช้ความพยายาม ในการฆ่าน้อย |
|
|
|
|
ความพยายามในการฆ่า ทำได้ ๖ ประการ คือ |
๑. ฆ่าด้วยตนเอง |
๒. ใช้คนอื่นฆ่า |
๓. ปล่อยอาวุธ ขว้าง ปา |
๔. ใช้อาวุธปืน มีด ขุดหลุมพราง |
๕. ใช้อาคมคุณไสยศาสตร์ |
๖. ใช้ฤทธิ์ |
|
|
|
ผลของบาป |
การทำบาปที่ครบองค์ประกอบทั้ง ๕ แล้วนั้น จัดว่าเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ ถ้าผล ของการทำบาป คือการฆ่าสัตว์ส่งผล เมื่อสิ้นชีวิตจะไปเกิดในอบายภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย หรือสัตว์เดรัจฉาน เรียกว่า การให้ผลในปฏิสนธิกาล จะได้รับความทุกข์ ทรมานอย่างแสนสาหัส เพื่อชดใช้กรรม |
|
|
การทำบาปที่ไม่ครบองค์ประกอบทั้ง ๕ บาปนั้น |
จะตามให้ผลใน ปวัตติกาล คือขณะมีชีวิตอยู่ จะทำให้ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส ได้รับอารมณ์ และพิจารณาอารมณ์ ที่ไม่ดีไม่งาม ได้ประสบพบเห็นหรือได้ยินได้ฟังแต่สิ่งที่ไม่พึงปรารถนา ทำให้มีสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน อายุสั้น ถูกฆ่า หรือ ฆ่าตัวตาย รูปไม่งาม ไม่มีบริวาร เป็นต้น |
|
|
๒. การลักทรัพย์ (อทินนาทาน) |
การลักทรัพย์ คือ การยึดเอาหรือหยิบเอาวัตถุสิ่งของ ที่เจ้าของมิได้อนุญาต ในลักษณะของการลักขโมย จี้ ปล้น วิ่งราว ข่มขู่ ยักยอก ฉ้อโกง หรือ สับเปลี่ยน เป็นต้น |
|
|
องค์ประกอบของการลักทรัพย์ มี ๕ ประการ คือ |
| ๑. วัตถุสิ่งของนั้นมีเจ้าของ |
๒. รู้ว่าวัตถุสิ่งของนั้นมีเจ้าของ |
๓. มีจิตคิดจะลักทรัพย์ |
๔. เพียรพยายามเพื่อลักทรัพย์ |
๕. ได้สิ่งของที่พยายามลักนั้นมา |
|
|
|
ความพยายามในการลักทรัพย์ ทำได้ ๖ ประการ คือ |
๑. ลักทรัพย์ด้วยตนเอง |
๒. ใช้ผู้อื่นลักทรัพย์ด้วยวาจา หรือเขียนเป็นหนังสือ |
๓. ทิ้งหรือโยนทรัพย์ออกไปนอกเขตเพื่อให้พวกเดียวกันรับต่อ |
๔. สั่งพรรคพวกเมื่อมีโอกาสให้พยายามลักทรัพย์นั้นมา |
๕. ใช้เวทย์มนต์คาถาทำให้หลงใหลแล้วลักทรัพย์ |
๖. ใช้ฤทธิ์ในการลักทรัพย์ |
|
|
|
การลักทรัพย์ หรือ การขโมยทรัพย์ |
จะเป็นการกระทำด้วยตนเอง หรือบอกให้ผู้อื่นทำ หรือโยนทรัพย์นั้นให้ผู้อื่นรับช่วงไป ใช้เวทมนต์คาถา หรือใช้ฤทธิ์ ก็ถือว่าเป็นการลักขโมยทั้งสิ้น |
|
|
ผลของบาป |
การทำบาปเมื่อครบองค์ประกอบทั้ง ๕ จัดเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ เมื่อสิ้นชีวิต |
|
|
เมื่อพ้นจากอบายภูมิแล้ว |
ถ้าได้เกิดมาเป็นมนุษย์ เศษกรรมนี้ก็จะส่งผลให้เป็นคนยากจน มีทรัพย์สิน ก็จะพินาศจากโจรปล้น น้ำท่วม ไฟไหม้ พายุพัดพังพินาศ ถูกทางการริบทรัพย์ และ ต้องสูญเสียทรัพย์สมบัติในลักษณะอื่น ๆ เหมือนที่ตนได้ทำไว้ ทำให้เห็นสิ่งที่ไม่ดีได้ยินเสียงที่ไม่ดี ได้กลิ่นที่ไม่ดี ลิ้มรสที่ไม่ดี และสัมผัสสิ่งที่ไม่ดี เรียกว่า การให้ผลในปวัตติกาล คือ ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ |
|
|
การลักขโมยทรัพย์สิ่งของจะบาปมาก หรือ บาปน้อย (โทษมาก-โทษน้อย) |
ขึ้นอยู่กับราคาของทรัพย์และ เจ้าของทรัพย์ ถ้าเป็นของที่มีราคาแพง และเจ้าของเป็นผู้มีคุณธรรมมีศีลธรรม ก็ย่อมจะมีบาปมากโทษมาก ถ้าเป็นของที่มีราคาถูก และเจ้าของทรัพย์ไม่มีคุณธรรม หรือศีลธรรมก็ย่อมมีบาปน้อย โทษน้อย |
|
|
|
|
๓. การประพฤติผิดในกาม (กาเมสุมิจฉาจาร) |
การประพฤติผิดในกาม ได้แก่ การประพฤติล่วงใน บุตร ภรรยา สามี ของบุคคลอื่น ทำให้เขาได้รับความทุกข์ใจ เดือดร้อนใจ เศร้าใจเสียใจ ผิดหวัง เพราะการกระทำของเรา ถ้าเป็นการกระทำที่เข้า ลักษณะ ๔ ประการ เรียกว่า กระทำผิดครบองค์ประกอบของการประพฤติผิดในกาม
จะมีโทษหนัก |
|
|
องค์ประกอบของการประพฤติผิดในกาม ๔ ประการ คือ |
| ๑. มีวัตถุที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง |
๒. มีจิตคิดจะเสพในวัตถุนั้น |
๓. มีความพยายามในการเสพเมถุน |
๔. มีความพอใจในการเสพเมถุนซึ่งกันและกัน |
|
|
|
การล่วงละเมิดทางกาเมสุมิจฉาจาร |
ที่มีบาปมาก – บาปน้อย |
|
|
การจะมีบาปมาก หรือมีบาปน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับ คุณธรรมและความสมัครใจ ของผู้ล่วงเกินและผู้ถูกล่วงเกินด้วย |
|
|
|
ผลของบาป |
การทำบาปที่ครบองค์ประกอบทั้ง ๔ ประการนี้ จัดว่าเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ เมื่อสื้นชีวิตลงสามารถจะนำเกิดในอบายภูมิคือ นรก เปรต อสุรกาย หรือเดรัจฉาน ได้ เรียกว่า เป็นการให้ผลใน ปฏิสนธิกาล (นำเกิด) |
|
|
การทำบาปที่ไม่ครบองค์ประกอบทั้ง ๔ |
ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ เพราะบุญเก่านำเกิด บาปก็ยังตามให้ผลทำให้ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส ได้รับและพิจารณา แต่อารมณ์ที่ไม่ดีไม่งาม จะทำให้เกิดเป็นหญิง เป็นกะเทย มีผู้เกลียดชังมาก มีคนคิดที่จะปองร้ายจะได้รับความอับอายเสมอ ครอบครัวล่มสลาย เกิดการหย่าล้างกัน พลัดพรากจากผู้ที่ตนรัก มีผู้ปองร้าย นานานับประการ เรียกว่า การให้ผลใน ปวัตติกาล (ภายหลังนำเกิด) |
|
|
สำหรับการดื่มสุราเมรัย |
จัดอนุโลมเข้าในกาเมสุมิจฉาจารและอกุศลกรรมบถด้วย เพราะถือว่าการดื่มสุรานั้นเป็นการ ติดในรสสัมผัสทางลิ้น คือ พอใจในรสของสุรานั่นเอง |
|
|
เมื่อจะกล่าวถึงโทษของการดื่มสุราเมรัยนั้น มีมากมาย |
เพราะเมื่อขาดสติสัมปชัญญะเสียแล้ว ย่อมจะทำบาปที่เป็นอกุศลกรรมได้ทุกอย่าง อันจะนำไปสู่อบายภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย และเดรัจฉาน ถ้าบุญเก่านำเกิดเป็นมนุษย์ จะเป็นคนปัญญาอ่อน หรือเป็นคนบ้า |
|
|
|
|
การทำบาปทางวาจา อกุศลกรรมที่เกิดทางวาจา ชื่อว่า วจีกรรม หรือ วจีทุจริต เป็นการกระทำความไม่ดีไม่งามทางวาจา ทำความเดือดเนื้อร้อนใจ ให้กับผู้อื่นและกับตนเอง ความทุกข์ก็จะติดตามมาเป็นเงาตามตัว การทำบาปทางวาจาทำได้ ๔ อย่าง คือ |
|
๑. การพูดเท็จ (มุสาวาท)
การพูดเท็จ ได้แก่ การพูดที่ไม่จริง มีเจตนาทำให้คนอื่นเข้าใจผิดคลาดเคลื่อน จากความจริง จะเป็นการพูดด้วยตนเอง หรือ ใช้ให้ผู้อื่นพูด เขียนเรื่องราว เขียนจดหมาย เขียนบัตรสนเท่ห์ หรือประกาศทางวิทยุ |
|
|
องค์ประกอบของการพูดเท็จ มี ๔ ประการ คือ |
๑. สิ่งของหรือเรื่องราวที่ไม่จริง |
๒. มีจิตคิดจะพูดเรื่องไม่จริง |
๓. พยายามที่จะพูดไม่จริง |
๔. เมื่อพูดแล้วมีคนเชื่อคำพูดนั้น |
|
|
|
ผลของบาป |
การทำบาปที่ครบองค์ประกอบ ๔ ประการ จัดว่าเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ ถ้าผลอสุรกายหรือเดรัจฉาน เรียกว่าบาปนั้นให้ผลใน ปฏิสนธิกาล (นำเกิด) |
|
|
ถ้าขณะที่กำลังจะสิ้นชีวิต นึกถึงบุญ |
บุญนั้นจะนำเกิดมาเป็นมนุษย์ แต่ผลของบาปที่ทำไว้นี้ก็จะตาม มาให้ผลอีก ทำให้ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส ได้รับอารมณ์และ พิจารณาอารมณ์ ที่ไม่ดีไม่งาม เกิดมาทำให้ พูดไม่ชัด ฟันไม่เรียบ ปากมี กลิ่นเหม็น ไอตัวร้อน ตาส่อน พูดไม่ชัดถ้อยชัดคำ ท่าทางไม่สง่างาม จิตใจรวนเร กลิ่นเหม็น ไอตัวร้อน ตาส่อน พูดไม่ชัดถ้อยชัดคำ ท่าทางไม่สง่างาม จิตใจรวนเร |
|
|
๒. การพูดส่อเสียด (ปิสุณวาจา)
การพูดส่อเสียด ได้แก่ การพูดที่ทำให้เขาแตกแยกกัน เป็นการพูดทำลายความ สามัคคีในหมู่คณะ ทำให้คนที่รักกันต้องเลิกล้างจากกัน ทะเลาะเบาะแว้งกัน โดยหวัง ผลประโยชน์ของตน ถ้าผู้แตกแยกนั้นเป็นบุคคลที่มีศีลธรรมจะบาปมาก เช่น การพูดยุยงให้สงฆ์แตกแยกกันไม่ทำสังฆกรรมร่วมกัน เป็นต้น |
|
|
องค์ประกอบของการพูดส่อเสียดมี ๔ ประการ คือ |
| ๑. มีผู้ทำให้ถูกแตกแยก |
๒. มีเจตนามุ่งให้แตกแยก |
๓. เพียรพยายามให้เขาแตกแยก |
๔. เขาได้แตกแยกกันสมใจคิด |
|
|
|
ผลของบาป |
การทำบาปที่ครบองค์ประกอบ ๔ ประการ จัดว่าเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ ถ้าผลของการทำบาป คือพูดส่อเสียดนั้นส่งผล เมื่อสิ้นชีวิตลงจะไปเกิดใน อบายภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย หรือเดรัจฉาน เรียกว่า บาปให้ผลใน ปฏิสนธิกาล (นำเกิด) |
|
|
ถ้าขณะที่กำลังจะสิ้นชีวิต นึกถึงบุญ |
บุญนั้นจะนำเกิดมาเป็นมนุษย์ ผลของบาปที่ทำไว้นี้ก็จะตาม มาให้ผลอีกทำให้ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส ได้รับอารมณ์ และพิจารณา อารมณ์ ที่ไม่ดีไม่งาม แตกแยกจากมิตรสหาย ถูกบัณฑิตติเตียน มักถูกกล่าวหาโดยที่ไม่เป็นจริง จะเป็นผู้ตำหนิตนเองอยู่เสมอ ๆ เรียกว่า บาปให้ผลใน ปวัตติกาล |
|
|
๓. การพูดคำหยาบ (ผรุสวาจา)
การพูดคำหยาบ ได้แก่ การด่าทอและการสาปแช่งต่าง ๆ ทำให้ผู้ที่ถูกด่า เกิดความเศร้าใจเสียใจเดือดร้อนใจ เป็นการกระทำที่เกิดมาจากอำนาจของความโกรธความไม่พอใจ |
|
|
องค์ประกอบของการพูดคำหยาบ มี ๓ ประการ คือ |
๑. มีความโกรธ |
๒. มีผู้ถูกด่า |
๓. มีการพูดกล่าววาจาสาบแช่งหรือด่าทอ |
|
|
|
ผลของบาป |
การทำบาปที่ครบองค์ประกอบทั้ง ๓ ประการนี้ จัดว่าเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ ถ้าผลของการทำบาป คือ การพูดคำหยาบส่งผล เมื่อสิ้นชีวิตสามารถนำเกิดใน อบายภูมิคือ นรก เปรต อสุรกาย หรือ เดรัจฉาน เรียกว่า ให้ผลใน ปฏิสนธิกาล (นำเกิด) |
|
|
ถ้าบุญเก่านำเกิด เป็นมนุษย์ |
ทำให้ ได้เห็น ได้ยินได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส ได้รับอารมณ์ และพิจารณาอารมณ์ ที่ไม่ดีไม่งาม จะได้ยินได้ฟังแต่คำพูดที่ไม่ไพเราะไม่น่าพอใจ มีกายวาจาหยาบตายด้วยการหลงลืมสติ แม้มีทรัพย์สินก็จะพินาศ เรียกว่า การให้ผลใน ปวัตติกาล(หลังนำเกิด) |
|
|
ในกรณีที่บิดามารดา ครูอาจารย์ |
ดุด่าบุตรหลานหรือศิษย์ ก็เข้าในหลัก ๓ ประการเช่นเดียวกัน แต่ก็ถือว่ามีโทษน้อย เพราะไม่มีเจตนาร้ายแรงแต่อย่างใด แต่ถ้าบุคคลใดด่าว่าผู้มีอุปการะคุณ เช่น บิดามารดา ผู้มีอุปการะคุณอื่น ๆ หรือผู้มีศีล เช่น พระภิกษุสงฆ์ สามเณร หรือแม่ชี จะมีบาปมากมีโทษมาก |
|
|
๔. การพูดเพ้อเจ้อ (สัมผัปปลาปะ)
การพูดเพ้อเจ้อ ได้แก่ การพูดที่เหลวไหลไร้สาระถือว่าเป็นการพูดที่ทำลาย ประโยชน์ และความสุขของผู้ฟัง ที่จะต้องมาฟังคำพูด ที่ไม่มีสาระแก่นสารอะไร เช่นนี้ เช่น การพูดของนักร้อง นักแสดง นักประพันธ์ ที่ไม่มีคติธรรมอะไร สอดแทรกไว้ |
|
|
องค์ประกอบของการพูดเพ้อเจ้อ มี ๒ ประการ คือ |
|
| ๑. เจตนากล่าววาจาที่ไม่เป็นประโยชน์ |
๒. กล่าววาจาที่ไม่เป็นประโยชน์ |
|
|
|
|
มาทำความเข้าใจในเรื่องราวของการกล่าวสัมผัปปลาปะ ซึ่งเป็นวาจาที่ไม่เป็นประโยชน์เรียกว่า การกล่าว เดรัจฉานกถา คือ คำกล่าวที่ขัดขวางต่อ มรรค ผล นิพพาน ท่านแสดงไว้ มี ๓๒ ประการ |
|
เดรัจฉานกถา ๓๒ ประการ |
๑. พูดเรื่อง พระมหากษัตริย์ และพระราชวงศ์ |
๒. พูดเรื่อง โจร |
๓. พูดเรื่อง ราชการ การเมือง |
๔. พูดเรื่อง ทหาร ตำรวจ |
๕. พูดถึง ภัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น |
๖. พูดเรื่อง อาวุธยุทโธปกรณ์ |
๗. พูดเรื่อง อาหารการกิน |
๘. พูดเรื่อง เครื่องดื่ม สุราเมรัย |
๙. พูดเรื่อง การแต่งตัว เสื้อผ้าอาภรณ์ |
๑๐. พูดถึงเรื่อง การหลับนอน |
๑๑. พูดเรื่อง ดอกไม้ การจัดประดับดอกไม้ |
๑๒. พูดเรื่อง กลิ่นหอมต่าง ๆ |
๑๓. พูดถึงเรื่อง วงศาคณาญาติ |
๑๔. พูดเรื่อง รถ เรือ ยานพาหนะต่างๆ |
๑๕. พูดถึงเรื่อง หมู่บ้าน ร้านค้าต่างๆ |
๑๖. พูดเรื่อง นิคมต่าง ๆ (หมู่บ้านใหญ่,เมืองขนาดเล็ก) |
|
๑๗. พูดถึงเรื่อง เมืองหลวง จังหวัด |
๑๘. พูดถึง ชนบท |
๑๙. พูดเรื่อง ผู้หญิง |
๒๐. พูดเรื่อง ผู้ชาย |
๒๑. พูดเรื่อง หญิงสาว |
๒๒. พูดเรื่อง ชายหนุ่ม |
๒๓. พูดเรื่อง วีรบุรุษ ความกล้าหาญ |
๒๔. พูดเรื่อง ถนนหนทาง |
๒๕. พูดเรื่อง ท่าน้ำ แหล่งน้ำ |
๒๖. พูดถึง ญาติ คนตายที่ล่วงลับไปแล้ว |
๒๗. พูดเรื่อง ต่าง ๆ นานา |
๒๘. พูดเรื่อง โลกและผู้สร้างโลก |
๒๙. พูดเรื่อง มหาสมุทร และการสร้างมหาสมุทร |
๓๐. พูดเรื่องความเจริญ และความเสื่อมต่างๆ |
๓๑. พูดเรื่อง ป่าต่าง ๆ |
๓๒. พูดเรื่อง ภูเขาต่าง ๆ |
|
|
|
ท่านได้แสดงไว้ในสฬายตนสังยุตตพระบาลี ความว่า แม้พระภิกษุ ๒ รูปได้มาพบกัน การงานที่ควรประพฤติมีเพียง ๒ ประการเท่านั้น คือ
๑. กล่าวคำเกี่ยวกับธรรมะ
๒. นิ่งเสีย (ถ้าไม่กล่าวธรรมะ) นักศึกษาจะเห็นได้ว่าในการรักษาศีลข้อนี้ทำได้ยาก นอกจากในขณะที่เข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอยู่ |
|
ผลของบาป |
ถ้าได้กล่าวคำเพ้อเจ้อครบองค์ประกอบ ๒ ประการ จัดว่าเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ เมื่อสิ้นชีวิตจะสามารถนำเกิดใน อบายภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย หรือ เดรัจฉาน ได้ เรียกว่า บาปให้ผลใน ปฏิสนธิกาล (นำเกิด) |
|
|
ถ้าตอนสิ้นชีวิตนึกถึงบุญ |
บุญนำเกิดมาเป็นมนุษย์ ผลของบาปที่ทำไว้นี้ก็จะตามมาให้ผลอีก ทำให้ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส ได้รับอารมณ์ และพิจารณาอารมณ์ที่ไม่ดีไม่งาม จะได้ยินได้ฟังแต่คำพูดที่ไม่ไพเราะไม่น่าพอใจ จะเป็นบุคคลที่ไม่มีใครเชื่อถือในคำพูด ไม่มีอำนาจ หรือ วิกลจริต เรียกว่า บาปให้ผลใน ปวัตติกาล(ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่) |
|
|
ผู้ใดพูดเพ้อเจ้อ เป็นเนืองนิตย์เป็นประจำ จะมีโทษมาก (บาปมาก) |
ผู้ใดพูดเพ้อเจ้อ เป็นครั้งคราว (น้อย) ก็จะมีโทษน้อย (บาปน้อย) |
|
|
สรุปได้ว่า อกุศลวจีกรรม คือ การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ และการพูดเพ้อเจ้อทั้ง ๔ ประการ นี้ จัดเป็น วจีกรรม |
|
วจีกรรม คือ อาการเป็นไปของปาก ได้แก่ การพูด หรือ การกล่าว วาจา คือ วจีวิญญัติรูป นั่นเอง |
|
วาจา มี ๔ ประการ |
๑. สัททวาจา | ได้แก่ | เสียงที่พูดออกมา |
๒. วิรตีวาจา | ” | การงดเว้นจากวจีทุจริต |
๓. เจตนาวาจา | ” | เจตนาที่ทำให้วจีวิญญัติรูปเกิด |
๔. โจปนวาจา | ” | กิริยาอาการพิเศษที่เป็นไปในถ้อยคำพูด สามารถให้ผู้ฟังรู้ความประสงค์ของตน |
|
|
|
เมื่อได้ศึกษาทำความเข้าใจถึงการทำบาปทางกาย ทางวาจา แล้ว เหลืออีกทางหนึ่งคือทางใจ ซึ่งจะได้ศึกษาทำความเข้าใจในลำดับต่อไป |
|
|
|
อกุศลกรรมที่เกิดทางใจ ชื่อว่า มโนกรรม หรือ มโนทุจริต เป็นการทำที่ไม่ดีไม่งามทางใจ เพียงแต่คิดไว้ในใจ ยังไม่ได้กระทำบาปออกมาทางกาย วาจา ก็ได้ชื่อว่า เป็นทำบาปทางใจแล้ว เช่น การปรารถนาอยากได้หญิงอื่น ที่ไม่ใช่เป็นภรรยาของตน เรียกว่าเป็น ชู้ทางใจ เป็นต้น การทำบาปทางใจทำได้ ๓ ประการ คือ อภิชฌา พยาบาท และ มิจฉาทิฏฐิ |
|
๑. การจ้องจะเอาทรัพย์ของคนอื่น มาเป็นของตน (อภิชฌา) |
อภิชฌา หมายถึง ความเพ่งเล็งอยากได้ ในทรัพย์สินของผู้อื่น ต้องการที่จะเอามาเป็นสมบัติของตน องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก |
|
|
|
โลภะ มี ๒ อย่าง คือ |
๑. ความอยากได้โดยชอบธรรม |
| คือ เมื่อเกิดความอยากได้สิ่งของต่าง ๆ ขึ้นมาก็ต้องเสาะแสวงหามา โดยทางสุจริต ไม่ผิดศีลธรรม เช่น การซื้อขาย แลกเปลี่ยน หรือ การขอ |
๒. ความอยากได้โดยไม่ชอบธรรม |
| คือ เมื่อเกิดความอยากได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา ก็คิดหาทางที่จะขโมย ฉ้อโกง จี้ ปล้น หรือใช้กลวิธีต่าง ๆ ที่ไม่ถูกต้อง เพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งสิ่งของเหล่านั้น |
|
|
|
องค์ประกอบของอภิชฌา มี ๒ ประการ คือ |
|
๑. ทรัพย์สมบัติของผู้อื่น |
๒. มีจิตคิดอยากจะได้มาเป็นของตน |
|
|
|
|
ผลของบาป |
การทำบาปที่ครบองค์ประกอบทั้ง ๒ ประการนี้ จัดว่าเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ถ้าผลของการทำบาป คือ การเพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่นส่งผล เมื่อสิ้นชีวิตลงจะไปเกิดใน อบายภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย หรือ เดรัจฉาน เรียกว่า บาปส่งผลใน ปฏิสนธิกาล |
|
|
ถ้าตอนสิ้นชีวิตนึกถึงบุญ |
บุญนำเกิดเป็นมนุษย์ ผลของบาปที่ทำไว้นี้ก็จะตามมาให้ผลอีก ทำให้ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส ได้รับอารมณ์ และ พิจารณาอารมณ์ ที่ไม่ดี ไม่งาม เมื่อมีทรัพย์และคุณความดี ก็จะทำให้ทรัพย์และคุณความดีนั้นตั้งอยู่ได้ไม่นาน ย่อมจะทำให้เกิดในตระกูลที่ต่ำ ขัดสนในลาภสักการะ มักจะได้รับการติเตียนอยู่เสมอ เรียกว่า บาปส่งผลใน ปวัตติกาล (หลังนำ |
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น