สวัสดีค่ะ เนื้อหานี้ ได้นำมาจากหนังสือ "พ่อสอนลูก" ซึ่งเป็นจดหมายที่คุณทวี บุณยเกตุได้เขียนสอนลูกชายไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2493 นะคะ แต่ยังเป็นเนื้อหาที่ดี และมีคุณค่าอยู่ถึงทุกวันนี้ - วันนี้จะเป็นเรื่องความมีจรรยามารยาท และวิธีใช้คำพูดค่ะ
1. มีความสุภาพเรียบร้อยและอ่อนน้อมกับคนทั่วไป - โดยไม่ต้องเลือกว่าเขาผู้นั้นจะเป็นใคร - มีจรรยามารยาทดี
- ผู้ที่มีจรรยามารยาทดี เป็นบุคคลที่น่าคบ น่ารัก และเป็นที่ต้อนรับของสังคมทั่วไป - เปรียบเหมือนร้านค้า
- ถ้าร้านใดที่เขาตบแต่งหน้าร้าน -โดยรู้จักวางสินค้าให้เป็นระเบียบสวยงามน่าดู มีของวางตั้งให้เป็นที่สะดุดตา จะเป็นที่ชวนให้คนเข้าชมฉันใด - ผู้ที่มีจรรยามารยาทสุภาพเรียบร้อย ก็จะเป็นที่น่ารักน่าเอ็นดู ชวนให้คนรักใคร่เคารพนับถือ และอยากรู้จักฉันนั้น
- ผู้ที่ได้รับการอบรมศึกษาดี มีจรรยามารยาทดี - ถึงหากจะเป็นคนยากจน - ก็ได้ชื่อว่าผู้ดี
- ผู้ที่มีจรรยามารยาททราม - แม้จะเป็นลูกพระน้ำพระยา หรือจะมั่งคั่งสมบูรณ์สักปานใด - ก็ได้ชื่อว่าไพร่
- คำว่า "ไพร่" กับ "ผู้ดี" จึงอยู่ที่จรรยามารยาทเป็นหลักสำคัญ
- ผู้ที่มีจรรยามารยาทดี - ต้องมีสัมมาคารวะ, รู้จักที่ควรและไม่ควร, รู้จักที่สูงที่ต่ำ, รู้จักเกรงใจคน - ไม่ทำตัวให้เสมอผู้ใหญ่ แม้เราจะมีฐานะสูงสักปานใดก็ตาม - ต้องเป็นคนอ่อนน้อม ไม่แข็งกระด้าง - สุภาพเรียบร้อยกับคนทั่วไป
- นอกจากความสุภาพเรียบร้อยในทางจรรยามารยาทแล้ว - ความสุภาพในการแต่งกาย ก็นับว่าสำคัญไม่น้อย
- คนเราแม้จะมีจรรยามารยาทดีสักปานใดก็ตาม - แต่ถ้าแต่งกายไม่เรียบร้อยแล้ว - ก็ยังจัดว่าเป็นคนสุภาพไม่ได้
- การแต่งกายยังเป็นเครื่องวัดระดับชั้นของคนได้เป็นอย่างดีอีกว่า เป็นคนชั้นไหน, ได้รับการอบรมศึกษาเพียงใด, เป็นคนชอบอยู่ในสังคมชนิดไหนฯลฯ
- ฉะนั้น เมื่อการแต่งกายมีความสำคัญเช่นนี้ - ลูกก็ควรรู้จักแต่งตัวให้สุภาพเรียบร้อยด้วย
__________________________________________________________________________
2. มีวาจาอ่อนหวาน ไม่โฮกฮากตึงตังและหยาบโลน
- เมื่อเราเป็นคนมีจรรยามารยาทดีแล้ว - เราก็ควรมีวาจาดีด้วย - ต้องมีวาจาสุภาพอ่อนหวาน - ซึ่งโดยปกติแล้วคนที่มีจรรยาดี มักจะมีวาจาอ่อนหวานอยู่แล้ว เพราะเป็นของคู่กัน
- คำพูดของคนเรา นับว่าสำคัญที่สุด - "ปากเป็นเอก เลขเป็นโท" = คำพูดสำคัญที่สุด เขาจึงจัดให้เป็นเอก คือเป็นหนึ่งนั่นเอง - ส่วนเลขนั้นหมายถึงตัวหนังสือหรือความรู้ในทางหนังสือ เขากลับให้มีความสำคัญน้อยกว่า จึงจัดให้มาเป็นที่ 2
- คำพูดนี้ให้ได้ทั้งคุณและโทษ - เปรียบได้ทั้งยาหอมและยาพิษ - สุดแต่ว่าเราจะรู้จักใช้หรือไม่เท่านั้น - เราอาจพูดให้คนรักกันก็ได้ ,ให้คนโกรธกันก็ได้ , ให้ชอบกันก็ได้, ให้เกลียดกันก็ได้, แม้จะให้ฆ่ากันก็ได้ - คนที่กำลังเหนื่อย เราอาจพูดให้หายเหนื่อยก็ได้
- สมมุติว่ามีคนๆ หนึ่ง วานลูกตักน้ำให้เขากิน โดยใช้คำพูดว่า "ไปตักน้ำให้กินแก้วหนึ่งเถอะไป๊" (พูดห้วนๆ ไม่มีหางเสียง เป็นทำนองออกคำสั่ง)- กับมีคนอีกคนหนึ่งใช้คำพูดว่า "กรุณาขอน้ำให้ผมรับประทานสักแก้วเถอะครับ" - คำพูดของคน 2 คนนี้ ลูกชอบคำพูดของคนไหน
- คำพูดโฮกฮากตึงตังชนิดมะนาวไม่มีน้ำ กับคำพูดที่อ่อนหวานนิ่มนวลนั้น มีความหมายในความรู้สึกทางจิตใจของผู้ฟัง และผู้ที่ถูกใช้แตกต่างกันอย่างไร - ทั้งที่ 2 ประโยคนี้มีความหมายในสาระของเรื่องอย่างเดียวกัน
- คำพูดที่อ่อนหวานนิ่มนวลนั้น - แม้เราจะใช้กับใคร เขาก็ยินดีกระทำให้ด้วยเต็มใจ
- คนทุกคนไม่ว่าจะเป็นคนใช้ หรือจะเป็นคนที่มีฐานะต่ำต้อยสักปานใด - ล้วนต้องการได้ยินคำพูดที่ไพเราะและอ่อนหวานด้วยกันทั้งนั้น
- คำพูดบางคำ เช่น โปรด, กรุณาช่วยสงเคราะห์, ขอบใจ, ขอบคุณ, ขอโทษ, หรือขอประทานโทษ ฯลฯ - ลูกจะต้องหัดพูดให้ติดปากอยู่เสมอ - เพราะคำพูดเหล่านี้แสดงความสุภาพอ่อนหวาน -เป็นการถ่อมตัวลง และยกย่องคนอื่นให้สูงขึ้น
- ถ้าเราจะใช้คน ให้ยกของไปจากโต๊ะ - ถ้าเราพูดหรือใช้ในลักษณะเป็นนาย เช่น "ยาย ก. ยกนี่ไปที" กับเราพูด "ยายจ๊ะ ช่วยสงเคราะห์ยกนี้ไปทีเถอะจ๊ะ" - คำพูด 2 ประโยคนี้ ทั้งๆ ที่มีใจความเหมือนกัน แต่ก็มีความหมายและความรู้สึกในจิตใจของผู้ที่ถูกใช้ผิดกันมาก
- การที่เราใช้คำว่า ช่วยสงเคราะห์ นำหน้า -เท่ากับเป็นการวิงวอนขอร้อง - ทำให้ผู้ถูกใช้ยินดีปฏิบัติงานให้เราด้วยความเต็มใจ - ทำให้เขาเห็นว่าเรามีความเมตตาปรานีต่อเขา - เขาจะเกิดความรักใคร่นับถือในตัวเรายิ่งขึ้น
- คนทุกคนไม่ว่าจะเป็นใคร ย่อมมีความทะนงและถือดีในตัวเองอยู่เสมอไม่มากก็น้อย - ต่างไม่ต้องการให้ใครมาวางอำนาจเหนือตน หรือดูถูกเหยียดหยามตนด้วยกันทั้งนั้น
- การที่คนมารับจ้างเป็นคนใช้เรา -ก็เท่ากับเป็นการทำงานชนิดหนึ่งด้วยการแลกเปลี่ยนระหว่างกำลังงานกับเงิน - เขาทำงานให้เรา เราก็ให้เงินเดือนเขา เป็นการแลกเปลี่ยนหรือตอบแทน - จึงไม่เป็นการสมควรที่จะไปดูถูกเหยียดหยามล่วงเกินเขา - ขอให้ลูกเข้าใจในข้อนี้ให้ดี
- คนทุกคนเกิดมาเสมอกันหมด - เราดีกว่าเขาในบางอย่าง - แต่เขาก็ดีกว่าเราในบางอย่างเช่นเดียวกัน
- กรรมกร 3 ล้อ เขาอาจมีความรู้ต่ำกว่าลูก และมีอะไรๆ อีกหลายอย่างเลวกว่าลูก - แต่ถ้าลูกจะไปถีบรถ 3 ล้อแข่งกับเขา -ลูกก็สู้เขาไม่ได้อย่างแน่นอน แม้แต่การอดทน เช่น ทนต่อความร้อน ทนต่อความเหนื่อย ลูกก็คงสู้เขาไม่ได้ - ทั้งเขาอาจมีนิสัยและความรู้บางอย่างดีกว่าลูกก็ได้
- ฉะนั้น ลูกต้องสุภาพและอ่อนหวานกับคนโดยทั่วไป
- อย่าใช้คำพูดที่โฮกฮากตึงตังที่แข็งกระด้าง หรือที่หยาบโลน - อย่าใช้คำพูดที่จะทำให้ผู้ได้ยินเห็นเป็นการเยาะเย้ยหรือดูถูกเหยียบหยาม และอวดดี อวดอำนาจเป็นอันขาด - เพราะคำพูดเหล่านี้ เป็นคำพูดที่เพาะศัตรูทั้งสิ้น
- ส่วนคำพูดที่สุภาพ และอ่อนหวานนั้น เป็นคำพูดที่มีเสน่ห์ - แสดงความเป็นมิตร แสดงความหวังดี แสดงความมีเมตตจิต - เป็นคำพูดที่ยกให้คนอื่นสูงขึ้นและถ่อมตัวเราเองลง - ย่อมทำให้ผู้ได้ฟังเกิดความนิยมรักใคร่และนับถือ - ทั้งเป็นแสดงถึงการมีสมบัติผู้ดีอีกด้วย
- นอกจากการใช้คำพูดแล้ว - สำเนียงหรือหางเสียงของคำพูด ยังมีความสำคัญอีกไม่น้อย
- คำพูดเหมือนกัน ประโยคเดียวกัน - แต่ถ้าเราใช้สำเนียงหรือหางเสียงผิดกันแล้ว - ก็จะทำให้ผู้ฟังมีความรู้สึกผิดแผกแตกต่างกันมาก
- ฉะนั้น จึงควรพูดให้มีสำเนียงและหางเสียงอ่อนโยนละมุนละไมนิ่มนวล
- แม้การจะใช้คน ก็ควรพูดด้วยสำเนียงเป็นเชิงขอร้องวิงวอน - อย่าพูดห้วนๆ หรือกระชาก ทำนองมะนาวไม่มีน้ำ หรือพูดไม่มีหางเสียงเป็นอันขาด - เว้นแต่ถึงคราวที่จะต้องแสดงความเด็ดขาดเฉพาะเรื่องเฉพาะราย
_______________________________________________________________________
3. พูดแต่น้อย ให้ฟังคนอื่นมากกว่าพูดเอง -และให้พูดแต่เรื่องที่เรารู้จริง- เรื่องใดรู้ไม่จริง หรือเพียงแต่สงสัยก็อย่าพูด
- การพูดเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง - คนเขาอาจวินิจฉัยฐานะความเป็นอยู่จากคำพูดของเราได้ว่า - เป็นคนได้รับการอบรมศึกษาแค่ไหน - เป็นคนมีความประพฤติและนิสัยใจคออย่าง
- คนที่พูดมากนั้น อาจกลายเป็นคนพูดพล่าม - จะเป็นที่รำคาญแก่คนอื่น - เขาอาจหาว่าเราเป็นคนฟุ้ง เป็นคนอวดรู้อวดฉลาด อวดดีหรืออวดเก่ง หรือเป็นคนคุยโวโป้ปดก็ได้ ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งไม่ดีทั้งนั้น - และจะกลายเป็นคนฟุ้งซ่าน หรือพูดเพ้อเจ้อ - ทำให้คำพูดเราหมดราคา - คือพูดอะไรไม่มีคนเชื่อถือ - นอกจากนั้น บางทีการพูดมากยังอาจก่อให้เกิดเรื่องอีกก็ได้
- หลักการพูด - ต้องอย่าพูดมากจนกลายเป็นคนฟุ้งซ่าน หรือพูดเพ้อเจ้อ - อย่าพูดแดกดัน, อย่าพูดขัดคอ, อย่าพูดให้ร้ายคน, อย่าพูดทำนองประจบสอพลอ, อย่าพูดอวดรู้อวดฉลาด อวดร่ำอวดรวย อวดความสามารถเก่งกาจอะไรต่างๆ - แต่ต้องประหยัดคำพูด - พูดแต่น้อย พูดเฉพาะเรื่องที่เรารู้จริง - ถ้าเรื่องใดรู้ไม่จริง หรือเพียงแต่สงสัยแล้วก็อย่าพูด - ให้ฟังคนอื่นเขาพูดดีกว่าพูดเอง - ถ้าเราพูดมาก ก็ยิ่งมีโอกาสผิดพลาดมาก - ถ้าพูดน้อยก็ผิดพลาดน้อย
- ก่อนที่จะพูดอะไร เราต้องไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อนว่า - ที่เราคิดจะพูดนั้น เป็นสิ่งควรพูดหรือไม่ , เมื่อพูดไปแล้ว ผู้ฟังเขาจะนึกอย่างไร - ถ้าเห็นว่าจะเป็นผลดี หรืออย่างน้อยก็ไม่เสียหายแล้ว จึงควรพูด - แต่ถ้าเห็นว่าเมื่อพูดอะไรออกไปแล้ว จะนำความเสียหายมาสู่ตัวเรา หรือจะทำความไม่พอใจมาให้คนอื่นแล้ว ก็จงงดเว้นอย่าพูดเลยเป็นอันขาด เพราะจะเป็นการเสียผล
- การพูดอะไรต่อหน้าคนหมู่มาก เราจะต้องระวัง - เพราะอาจเป็นการกระทบกระเทือนคนอื่นได้ - แม้เราเห็นว่าคำพูดนั้นๆ จะถูกใจคนๆหนึ่ง หรือหมู่หนึ่ง แต่ก็อาจไม่ถูกใจคนอีกคนหนึ่ง หรืออีกหมู่หนึ่งได้ - ฉะนั้น เมื่อลูกอยู่ในสังคมคนหมู่มาก จึงต้องระมัดระวังการใช้คำพูด และเรื่องที่จะพูดให้มากเป็นพิเศษ
ที่มา - หนังสือพ่อสอนลูก ของคุณทวี บุณยเกตุ
1. มีความสุภาพเรียบร้อยและอ่อนน้อมกับคนทั่วไป - โดยไม่ต้องเลือกว่าเขาผู้นั้นจะเป็นใคร - มีจรรยามารยาทดี
- ผู้ที่มีจรรยามารยาทดี เป็นบุคคลที่น่าคบ น่ารัก และเป็นที่ต้อนรับของสังคมทั่วไป - เปรียบเหมือนร้านค้า
- ถ้าร้านใดที่เขาตบแต่งหน้าร้าน -โดยรู้จักวางสินค้าให้เป็นระเบียบสวยงามน่าดู มีของวางตั้งให้เป็นที่สะดุดตา จะเป็นที่ชวนให้คนเข้าชมฉันใด - ผู้ที่มีจรรยามารยาทสุภาพเรียบร้อย ก็จะเป็นที่น่ารักน่าเอ็นดู ชวนให้คนรักใคร่เคารพนับถือ และอยากรู้จักฉันนั้น
- ผู้ที่ได้รับการอบรมศึกษาดี มีจรรยามารยาทดี - ถึงหากจะเป็นคนยากจน - ก็ได้ชื่อว่าผู้ดี
- ผู้ที่มีจรรยามารยาททราม - แม้จะเป็นลูกพระน้ำพระยา หรือจะมั่งคั่งสมบูรณ์สักปานใด - ก็ได้ชื่อว่าไพร่
- คำว่า "ไพร่" กับ "ผู้ดี" จึงอยู่ที่จรรยามารยาทเป็นหลักสำคัญ
- ผู้ที่มีจรรยามารยาทดี - ต้องมีสัมมาคารวะ, รู้จักที่ควรและไม่ควร, รู้จักที่สูงที่ต่ำ, รู้จักเกรงใจคน - ไม่ทำตัวให้เสมอผู้ใหญ่ แม้เราจะมีฐานะสูงสักปานใดก็ตาม - ต้องเป็นคนอ่อนน้อม ไม่แข็งกระด้าง - สุภาพเรียบร้อยกับคนทั่วไป
- นอกจากความสุภาพเรียบร้อยในทางจรรยามารยาทแล้ว - ความสุภาพในการแต่งกาย ก็นับว่าสำคัญไม่น้อย
- คนเราแม้จะมีจรรยามารยาทดีสักปานใดก็ตาม - แต่ถ้าแต่งกายไม่เรียบร้อยแล้ว - ก็ยังจัดว่าเป็นคนสุภาพไม่ได้
- การแต่งกายยังเป็นเครื่องวัดระดับชั้นของคนได้เป็นอย่างดีอีกว่า เป็นคนชั้นไหน, ได้รับการอบรมศึกษาเพียงใด, เป็นคนชอบอยู่ในสังคมชนิดไหนฯลฯ
- ฉะนั้น เมื่อการแต่งกายมีความสำคัญเช่นนี้ - ลูกก็ควรรู้จักแต่งตัวให้สุภาพเรียบร้อยด้วย
__________________________________________________________________________
2. มีวาจาอ่อนหวาน ไม่โฮกฮากตึงตังและหยาบโลน
- เมื่อเราเป็นคนมีจรรยามารยาทดีแล้ว - เราก็ควรมีวาจาดีด้วย - ต้องมีวาจาสุภาพอ่อนหวาน - ซึ่งโดยปกติแล้วคนที่มีจรรยาดี มักจะมีวาจาอ่อนหวานอยู่แล้ว เพราะเป็นของคู่กัน
- คำพูดของคนเรา นับว่าสำคัญที่สุด - "ปากเป็นเอก เลขเป็นโท" = คำพูดสำคัญที่สุด เขาจึงจัดให้เป็นเอก คือเป็นหนึ่งนั่นเอง - ส่วนเลขนั้นหมายถึงตัวหนังสือหรือความรู้ในทางหนังสือ เขากลับให้มีความสำคัญน้อยกว่า จึงจัดให้มาเป็นที่ 2
- คำพูดนี้ให้ได้ทั้งคุณและโทษ - เปรียบได้ทั้งยาหอมและยาพิษ - สุดแต่ว่าเราจะรู้จักใช้หรือไม่เท่านั้น - เราอาจพูดให้คนรักกันก็ได้ ,ให้คนโกรธกันก็ได้ , ให้ชอบกันก็ได้, ให้เกลียดกันก็ได้, แม้จะให้ฆ่ากันก็ได้ - คนที่กำลังเหนื่อย เราอาจพูดให้หายเหนื่อยก็ได้
- สมมุติว่ามีคนๆ หนึ่ง วานลูกตักน้ำให้เขากิน โดยใช้คำพูดว่า "ไปตักน้ำให้กินแก้วหนึ่งเถอะไป๊" (พูดห้วนๆ ไม่มีหางเสียง เป็นทำนองออกคำสั่ง)- กับมีคนอีกคนหนึ่งใช้คำพูดว่า "กรุณาขอน้ำให้ผมรับประทานสักแก้วเถอะครับ" - คำพูดของคน 2 คนนี้ ลูกชอบคำพูดของคนไหน
- คำพูดโฮกฮากตึงตังชนิดมะนาวไม่มีน้ำ กับคำพูดที่อ่อนหวานนิ่มนวลนั้น มีความหมายในความรู้สึกทางจิตใจของผู้ฟัง และผู้ที่ถูกใช้แตกต่างกันอย่างไร - ทั้งที่ 2 ประโยคนี้มีความหมายในสาระของเรื่องอย่างเดียวกัน
- คำพูดที่อ่อนหวานนิ่มนวลนั้น - แม้เราจะใช้กับใคร เขาก็ยินดีกระทำให้ด้วยเต็มใจ
- คนทุกคนไม่ว่าจะเป็นคนใช้ หรือจะเป็นคนที่มีฐานะต่ำต้อยสักปานใด - ล้วนต้องการได้ยินคำพูดที่ไพเราะและอ่อนหวานด้วยกันทั้งนั้น
- คำพูดบางคำ เช่น โปรด, กรุณาช่วยสงเคราะห์, ขอบใจ, ขอบคุณ, ขอโทษ, หรือขอประทานโทษ ฯลฯ - ลูกจะต้องหัดพูดให้ติดปากอยู่เสมอ - เพราะคำพูดเหล่านี้แสดงความสุภาพอ่อนหวาน -เป็นการถ่อมตัวลง และยกย่องคนอื่นให้สูงขึ้น
- ถ้าเราจะใช้คน ให้ยกของไปจากโต๊ะ - ถ้าเราพูดหรือใช้ในลักษณะเป็นนาย เช่น "ยาย ก. ยกนี่ไปที" กับเราพูด "ยายจ๊ะ ช่วยสงเคราะห์ยกนี้ไปทีเถอะจ๊ะ" - คำพูด 2 ประโยคนี้ ทั้งๆ ที่มีใจความเหมือนกัน แต่ก็มีความหมายและความรู้สึกในจิตใจของผู้ที่ถูกใช้ผิดกันมาก
- การที่เราใช้คำว่า ช่วยสงเคราะห์ นำหน้า -เท่ากับเป็นการวิงวอนขอร้อง - ทำให้ผู้ถูกใช้ยินดีปฏิบัติงานให้เราด้วยความเต็มใจ - ทำให้เขาเห็นว่าเรามีความเมตตาปรานีต่อเขา - เขาจะเกิดความรักใคร่นับถือในตัวเรายิ่งขึ้น
- คนทุกคนไม่ว่าจะเป็นใคร ย่อมมีความทะนงและถือดีในตัวเองอยู่เสมอไม่มากก็น้อย - ต่างไม่ต้องการให้ใครมาวางอำนาจเหนือตน หรือดูถูกเหยียดหยามตนด้วยกันทั้งนั้น
- การที่คนมารับจ้างเป็นคนใช้เรา -ก็เท่ากับเป็นการทำงานชนิดหนึ่งด้วยการแลกเปลี่ยนระหว่างกำลังงานกับเงิน - เขาทำงานให้เรา เราก็ให้เงินเดือนเขา เป็นการแลกเปลี่ยนหรือตอบแทน - จึงไม่เป็นการสมควรที่จะไปดูถูกเหยียดหยามล่วงเกินเขา - ขอให้ลูกเข้าใจในข้อนี้ให้ดี
- คนทุกคนเกิดมาเสมอกันหมด - เราดีกว่าเขาในบางอย่าง - แต่เขาก็ดีกว่าเราในบางอย่างเช่นเดียวกัน
- กรรมกร 3 ล้อ เขาอาจมีความรู้ต่ำกว่าลูก และมีอะไรๆ อีกหลายอย่างเลวกว่าลูก - แต่ถ้าลูกจะไปถีบรถ 3 ล้อแข่งกับเขา -ลูกก็สู้เขาไม่ได้อย่างแน่นอน แม้แต่การอดทน เช่น ทนต่อความร้อน ทนต่อความเหนื่อย ลูกก็คงสู้เขาไม่ได้ - ทั้งเขาอาจมีนิสัยและความรู้บางอย่างดีกว่าลูกก็ได้
- ฉะนั้น ลูกต้องสุภาพและอ่อนหวานกับคนโดยทั่วไป
- อย่าใช้คำพูดที่โฮกฮากตึงตังที่แข็งกระด้าง หรือที่หยาบโลน - อย่าใช้คำพูดที่จะทำให้ผู้ได้ยินเห็นเป็นการเยาะเย้ยหรือดูถูกเหยียบหยาม และอวดดี อวดอำนาจเป็นอันขาด - เพราะคำพูดเหล่านี้ เป็นคำพูดที่เพาะศัตรูทั้งสิ้น
- ส่วนคำพูดที่สุภาพ และอ่อนหวานนั้น เป็นคำพูดที่มีเสน่ห์ - แสดงความเป็นมิตร แสดงความหวังดี แสดงความมีเมตตจิต - เป็นคำพูดที่ยกให้คนอื่นสูงขึ้นและถ่อมตัวเราเองลง - ย่อมทำให้ผู้ได้ฟังเกิดความนิยมรักใคร่และนับถือ - ทั้งเป็นแสดงถึงการมีสมบัติผู้ดีอีกด้วย
- นอกจากการใช้คำพูดแล้ว - สำเนียงหรือหางเสียงของคำพูด ยังมีความสำคัญอีกไม่น้อย
- คำพูดเหมือนกัน ประโยคเดียวกัน - แต่ถ้าเราใช้สำเนียงหรือหางเสียงผิดกันแล้ว - ก็จะทำให้ผู้ฟังมีความรู้สึกผิดแผกแตกต่างกันมาก
- ฉะนั้น จึงควรพูดให้มีสำเนียงและหางเสียงอ่อนโยนละมุนละไมนิ่มนวล
- แม้การจะใช้คน ก็ควรพูดด้วยสำเนียงเป็นเชิงขอร้องวิงวอน - อย่าพูดห้วนๆ หรือกระชาก ทำนองมะนาวไม่มีน้ำ หรือพูดไม่มีหางเสียงเป็นอันขาด - เว้นแต่ถึงคราวที่จะต้องแสดงความเด็ดขาดเฉพาะเรื่องเฉพาะราย
_______________________________________________________________________
3. พูดแต่น้อย ให้ฟังคนอื่นมากกว่าพูดเอง -และให้พูดแต่เรื่องที่เรารู้จริง- เรื่องใดรู้ไม่จริง หรือเพียงแต่สงสัยก็อย่าพูด
- การพูดเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง - คนเขาอาจวินิจฉัยฐานะความเป็นอยู่จากคำพูดของเราได้ว่า - เป็นคนได้รับการอบรมศึกษาแค่ไหน - เป็นคนมีความประพฤติและนิสัยใจคออย่าง
- คนที่พูดมากนั้น อาจกลายเป็นคนพูดพล่าม - จะเป็นที่รำคาญแก่คนอื่น - เขาอาจหาว่าเราเป็นคนฟุ้ง เป็นคนอวดรู้อวดฉลาด อวดดีหรืออวดเก่ง หรือเป็นคนคุยโวโป้ปดก็ได้ ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งไม่ดีทั้งนั้น - และจะกลายเป็นคนฟุ้งซ่าน หรือพูดเพ้อเจ้อ - ทำให้คำพูดเราหมดราคา - คือพูดอะไรไม่มีคนเชื่อถือ - นอกจากนั้น บางทีการพูดมากยังอาจก่อให้เกิดเรื่องอีกก็ได้
- หลักการพูด - ต้องอย่าพูดมากจนกลายเป็นคนฟุ้งซ่าน หรือพูดเพ้อเจ้อ - อย่าพูดแดกดัน, อย่าพูดขัดคอ, อย่าพูดให้ร้ายคน, อย่าพูดทำนองประจบสอพลอ, อย่าพูดอวดรู้อวดฉลาด อวดร่ำอวดรวย อวดความสามารถเก่งกาจอะไรต่างๆ - แต่ต้องประหยัดคำพูด - พูดแต่น้อย พูดเฉพาะเรื่องที่เรารู้จริง - ถ้าเรื่องใดรู้ไม่จริง หรือเพียงแต่สงสัยแล้วก็อย่าพูด - ให้ฟังคนอื่นเขาพูดดีกว่าพูดเอง - ถ้าเราพูดมาก ก็ยิ่งมีโอกาสผิดพลาดมาก - ถ้าพูดน้อยก็ผิดพลาดน้อย
- ก่อนที่จะพูดอะไร เราต้องไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อนว่า - ที่เราคิดจะพูดนั้น เป็นสิ่งควรพูดหรือไม่ , เมื่อพูดไปแล้ว ผู้ฟังเขาจะนึกอย่างไร - ถ้าเห็นว่าจะเป็นผลดี หรืออย่างน้อยก็ไม่เสียหายแล้ว จึงควรพูด - แต่ถ้าเห็นว่าเมื่อพูดอะไรออกไปแล้ว จะนำความเสียหายมาสู่ตัวเรา หรือจะทำความไม่พอใจมาให้คนอื่นแล้ว ก็จงงดเว้นอย่าพูดเลยเป็นอันขาด เพราะจะเป็นการเสียผล
- การพูดอะไรต่อหน้าคนหมู่มาก เราจะต้องระวัง - เพราะอาจเป็นการกระทบกระเทือนคนอื่นได้ - แม้เราเห็นว่าคำพูดนั้นๆ จะถูกใจคนๆหนึ่ง หรือหมู่หนึ่ง แต่ก็อาจไม่ถูกใจคนอีกคนหนึ่ง หรืออีกหมู่หนึ่งได้ - ฉะนั้น เมื่อลูกอยู่ในสังคมคนหมู่มาก จึงต้องระมัดระวังการใช้คำพูด และเรื่องที่จะพูดให้มากเป็นพิเศษ
ที่มา - หนังสือพ่อสอนลูก ของคุณทวี บุณยเกตุ
สวัสดีค่ะ เนื้อหานี้ได้สรุปจากหนังสือพ่อสอนลูก ของคุณทวี บุณยเกตุเช่นเดิมค่ะ - ตอนที่พิมพ์ไป ก็ซาบซึ้งไป หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์ และเป็นแนวทางชีวิตให้กับทุกๆท่านได้นะคะ
4. รู้จักโอภาปราศรัยกับคนโดยทั่วไป ทักทายและพูดคุยตามโอกาสที่ควรพูด
- ในการปกครองผู้คน - การโอภาปราศรัยนับว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก -เพราะผูกมัดจิตใจให้เกิดความนิยมรักใคร่นับถือในตัวเรา - แสดงความมีไมตรีจิตมากกว่าพูดคุยธรรมดา
- หลีกเลี่ยงอย่าใช้คำพูดซึ่งอาจทำให้ผู้ถูกทักทายเกิดความไม่พอใจขึ้นได้เลยเป็นอันขาด
- ต้องรู้จักกาลเทศะ ถ้าเราพูดมากคุยมากไป ก็ไม่เรียกว่าโอภาปราศรัย - แต่จะกลายเป็นคนพูดมากไป จะทำให้คำพูดเราหมดราคาลง
- เรากำลังกินอาหารอยู่ - ถ้ามีคนเข้ามาในบ้านเรา - ควรเชิญให้เขากินด้วย โดยใช้คำทักทายว่า "มีธุระอะไรหรือครับ รับประทานข้าวมาแล้วหรือยังครับ" หรือ "รับประทานข้าวด้วยกันซีครับ" - แม้เราจะรู้ว่าเขาไม่กิน หรือรู้ว่าเขากินมาแล้วก็ตาม แต่เราต้องออกปากเชิญ เรียก โอภาปราศรัย - แสดงอัธยาศัยของเราให้เขาเห็นว่า มีใจเมตตากรุณาโอบอ้อมอารี เป็นกันเองกับเขา
- ถ้าเราเห็นคนที่รู้จักหรือเพื่อนบ้าน เดินผ่านบ้านเรามากลางแดดร้อนจัด - เมื่อเขาเห็นเราเข้า เราก็ควรทักทายเขาเช่น "เพิ่งกลับหรือครับ ไม่แวะรับประทานน้ำเสียก่อนหรือครับ" หรือ "จะไปไหนครับ แวะรับประทานน้ำเสียก่อนซีครับ" - แม้เราจะรู้ว่าเขาไม่แวะ หรือไม่กินน้ำก็ตาม - แต่เป็นการโอภาปราศรัย แสดงให้เขาเห็นถึงอัธยาศัยอันดีงามของเรา และแสดงความมีไมตรีจิตของเรา
- เมื่อเราเห็นคนที่เรารู้จักเดินสวนทางกับเรา หรือเดินผ่านบ้านเรา เราก็ควรทักทายเขาด้วยคำพูดเช่นว่า"ไปทำงานหรือครับ" หรือ "กลับบ้านหรือครับ" หรือ "วันนี้ไปไหนแต่เช้าเทียวครับ" ฯลฯ
คือการโอภาปราศรัย คือทักทายแสดงให้เห็นถึงไมตรีจิต
- เมื่อคนใช้ในบ้านเรากำลังทำงานอยู่ด้วยความเหน็ดเหนื่อย - เราก็ควรทักทายเขาด้วยคำพูุดเช่นว่า "ไงจ๊ะ เหนื่อยมากไหม" หรือ "กินข้าวแล้วหรือยังจ๊ะ" - เพื่อเป็นการให้กำลังใจเขา เรียกโอภาปราศรัย - ทำให้คนใช้เห็นว่าเรามีความเมตตากรุณาและเอ็นดู
- เมื่อเราพบคนที่เรารู้จักเข้า ก็ทักเขาเช่น "สบายดีหรือครับ" หรือ "หมู่นี้ไม่ค่อยได้พบกันเลยครับ" หรือ "จะไปไหนหรือครับ" - เรียกโอภาปราศรัย
- คำทักทายเช่นนี้ แม้จะไม่มีสาระอะไร - แต่เป็นการแสดงให้เขาเห็นถึงความมีเจตนาดี และความมีอัธยาศัยไมตรีเป็นกันเองกับเขา - ทำให้ผู้ถูกทักเกิดความนิยมรักใคร่และนับถือในตัวเรายิ่งขึ้น
- พ่อขอย้ำอีกทีว่า การโอภาปราศรัยนี้คือ การทักทายเพียง 2-3 คำเพื่อแสดงอัธยาศัยไมตรีเท่านั้น - จงอย่าไปปนกับการพูดคุยเข้า - เพราะการพูดคุยไม่ใช่โอภาปราศรัย เราพูดมากคุยมากจะทำให้คนอื่นเขาเบื่อ แทนที่จะทำให้เขาเกิดความนิยมรักใคร่
___________________________________________________________________________
5. รู้จักใช้คำพูด รู้จักเลือกเวลาและสถานที่ที่ควรพูด
- คำพูดที่เราพูดออกมานั้น ย่อมแสดงให้เห็นถึงจิตใจของเราด้วย - คำพูดคือคำบรรยายความรู้สึกของจิตใจและความนึกคิดของเรา
- คนเขาสันนิษฐานได้จากคำพูดของเราว่าเราเป็นคนชนิดใด มีจิตใจและความรู้สึกนึกคิดอย่างไร
- ก่อนที่ลูกจะพูดอะไรออกไปให้ตรึกตรองให้รอบคอบเสียก่อนว่า - คำพูดที่ลูกคิดจะพูดนั้น ควรพูดหรือไม่ -และเมื่อพูดออกมาแล้ว ผู้ที่ได้ยินเข้าเขาจะนึกอย่างไร -เขาจะพอใจไหม - จะเป็นการกระทบกระเทือนใครหรือไม่ - จะนำความเสียหายมาสู่ตัวเราไหม ฯลฯ
_______________________________________________________________
6. ความกตัญญูต่อบิดามารดา
- พ่อกล้าพูดได้เต็มปากว่า แม้ลูกที่ว่ารักพ่อแม่นั้น ก็ยังไม่ได้ครึ่งหนึ่งของความรักที่พ่อแม่มีต่อลูก - พ่อและแม่นั้นรักลูกมากยิ่งเสียกว่ารักชีวิตตนเอง - ผู้ที่ยังไม่เคยมีลูกก็อาจมองไม่เห็น - ฉะนั้น คนส่วนมากเมื่อมีลูกแล้วจึงจะรู้ค่าของความรัก และเข้าใจดีว่าพ่อแม่มีความรักลูกมากเพียงใด
- ระหว่างเป็นเด็กนอนแบเบาะ- เมื่อลูกตื่น แม่ก็ต้องตื่นด้วย-
ต้องอดหลับอดนอน คอยเฝ้าระไวระวังไม่ให้มดไต่ไรตอม คอยชะโลมแป้ง เปลี่ยนผ้าเปลี่ยนเบาะ - ได้ยินเสียงลูกไอก็ต้องลุกขึ้นดู - ต้องทนต่อความเจ็บ ทนต่อความหิว ทนง่วง ทนร้อน ทนเหน็ดเหนื่อย ทนรำคาญ ทนทุกอย่างเพื่อเลี้ยงดูลูกให้ได้รับความสุขความสบาย ให้ลูกกินอิ่มนอนหลับ
- เติบโตขึ้น พ่อแม่ก็ต้องคอยอบรมสั่งสอน - หาเงินส่งลูกเข้าโรงเรียนดีๆ ตามฐานะ เพื่อให้ได้รับการศึกษามีความรู้ - เมื่อเห็นลูกกลับบ้านช้าผิดเวลาก็เป็นห่วง กระสับกระส่ายไม่สบายใจ - เมื่อเห็นลูกเหนื่อยก็สงสาร - เห็นลูกซูบผอม ก็วิตกกลัวว่าจะไม่สบาย -เห็นลูกเจ็บก็เป็นทุกข์ เป็นห่วง เฝ้าปรนนิบัติพยาบาล - ถ้าเห็นลูกประพฤติตัวดี เรียนเก่งก็ปลาบปลื้มปีติ - ถ้าเห็นตรงข้ามก็เศร้าโศกเสียใจ - แม้พ่อแม่จะอดอยากสักปานใดก็ไม่ว่า ทนได้ทั้งสิ้น - ขอแต่ให้ลูกได้กินอิ่มให้ลูกมีความสุขสบาย ก็เป็นสุขใจแล้ว
- ครั้นถึงคราวคับขันเข้าที่อันตราย - พ่อแม่ก็พร้อมที่จะอุทิศชีวิตของตนให้ลูกได้ ขอแต่ให้ชีวิตลูกรอดเท่านั้น - ยอมตายเพื่อลูกได้
- พ่อแม่มีความรัก ความห่วงใย ความสงสาร ความเสียสละ และมีความปรารถนาดีต่อลูกถึงเพียงนี้แล้ว - ลูกก็ควรรักเคารพและกตัญญูต่อท่านให้มาก - ควรบูชาท่านถัดจากพระรัตนตรัยลงมา - เพราะพ่อแม่เป็นผู้ควรกราบไหว้บูชาของลูกทุกคน
ระยะเป็นเด็ก
- ในขณะนี้ แม้ลูกจะกอบโกยเงินทองให้พ่อแม่ตั้งแสนตั้งล้าน - พ่อแม่ก็จะไม่ยินดีเท่ากับที่เห็นลูกเป็นคนดี
1. ขยันหมั่นเพียร, มีมานะอดทน
2. เรียนดี
3. มีความประพฤติดี, มีนิสัยดี
4. ทำตัวให้อยู่ในโอวาทคำสั่งสอนของพ่อแม่
5. ต้องรักษาเกียรติและชื่อเสียง อย่าทำอะไรให้เสียชื่อเสียงของตัวเองและของตระกูลวงศ์เป็นอันขาด
- การทำตัวให้เป็นคนดี ให้พ่อแม่ปลาบปลื้มปีตินั้น - ได้ชื่อว่าเป็นลูกที่รักและกตัญญูต่อพ่อแม่ ซึ่งจะได้รับการยกย่องสรรเสริญทั้งทางโลกทางธรรม
- อย่าลืมว่า ลูกยิ่งทำตัวให้พ่อแม่มีความสุขใจและปลาบปลื้มปิติมากเทียงใด - ก็เท่ากับลูกได้แสดงความรักและความกตัญญูต่อท่านมากเพียงนั้น - เป็นประโยชน์และเป็นกุศลแก่ตัวลูกเองด้วย
ระยะเป็นผู้ใหญ่ - เรียนสำเร็จ ทำงานทำการมีรายได้ของตนเองแล้ว
- พ่อแม่ต้องการเห็นลูกได้ดิบได้ดีด้วยกันทุกคน - ถ้าลูกคนใดได้ดิบได้ดี หรือทำมาหากินมีหลักฐานเป็นปึกแผ่นมั่นคง - พ่อแม่ก็จะมีความปลาบปลื้มปิติ = เป็นการแสดงความกตัญญูอย่างหนึ่ง
- สามารถรับภาระปกครองบ้านเรือน และรับปฏิบัติภารกิจต่างๆ แทนท่านอีกด้วย
- วาระนี้พ่อแม่แก่เฒ่าแล้ว - ควรให้ท่านได้พักผ่อนทั้งกายและใจ - ให้ท่านได้รับความเพลิดเพลิน ความสุขกายสบายใจ - ให้ท่านได้ยินได้เห็นแต่ในสิ่งที่ดีที่เป็นมงคล เพื่อจิตใจของท่านจะได้อิ่มเอิบเบิกบาน
- การบำรุงและการให้การปรนนิบัติท่านให้ได้รับความสุข เรียก "ปฏิการคุณ" - เราจะต้อง
1. รับภาระเลี้ยงดูและทะนุบำรุงท่านให้ได้กินดีอยู่ดีและกินอิ่มนอนหลับ
2. ให้การปรนนิบัติท่านทุกอย่าง ด้วยความเคารพรักและบูชา - เพื่อท่านจะได้มีความสุขกายสบายใจ
3. ให้การพยาบาลรักษาท่านอย่างดีที่สุดเมื่อเจ็บป่วย
4. ให้ความเอาใจใส่ท่าน และตามใจท่านทุกอย่างที่เห็นว่าจะเป็นคุณประโยชน์แก่ตัวท่าน - อย่าให้ท่านต้องเศร้าโศกเสียใจ เพราะการกระทำของเราเป็นอันขาด
- พ่อแม่รักลูกมากประดุจดวงใจ - ถึงลูกจะสนองคุณ และมีความกตัญญูต่อท่านมากสักเท่าใด แม้จนตัวเราตายก็ยังไม่คุ้มกับความรักเท่าที่ท่านมีต่อเรา และทั้งยังไม่สามารถลบล้างกันได้ด้วย
ที่มา - หนังสือพ่อสอนลูก ของคุณทวี บุณยเกตุ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น