วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

10. หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ


10. หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ - วัดป่าประสิทธิธรรม บ้านดงเย็น อ.บ้านดุง อุดรธานี

พระอริยเจ้าผู้มีอุปนิสัยแก่กล้าในทางธรรม - พระอริยสงฆ์ประเภทขิปปาภิญญา (บรรลุธรรมเร็ว) เป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้าหาได้ยาก 
- สละทรัพย์สมบัติ ออกบวช ไม่มีความอาลัยเสียดาย ประดุจบ้วนน้ำลายทิ้งลงบนแผ่นดิน
- ตั้งมั่นในธุดงควัตร ชอบเที่ยวธุดงค์ในลาวและพม่า - มีนิสัยวาสนาแก่กล้า พยายามฟันฝ่ากับอุปสรรคทั้งปวง เพื่อจะขอเอาดวงจิตพ้นทุกข์ให้ได้

- เกิดอังคาร 2431 ปีขาล- บ้านตาล ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน สกลนคร
- สมัยเป็นฆราวาส แต่งงาน 2 ครั้ง 
- ครั้งแรก ภรรยาคลอดลูกตายทั้งกลม ท่านเศร้าเสียใจอย่างมาก ทำให้ครุ่นคิดได้ว่า "ทำอย่างไรหนอ ชีวิตของเรานี้ถึงจะได้พบกับความสุขที่แท้จริง"
-ครั้งที่สอง อยู่กินกับภรรยาใหม่ราบรื่น จนออกบวช - ท่านเป็นคนหมั่นขยันฉลาด เป็นพ่อค้ากองเกวียน (นายฮ้อย) จนมีฐานะร่ำรวย -ด้วยความประพฤติดี เป็นที่พึ่งของลูกน้องได้ ท่านจึงได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน
- ต่อมาได้ฟังธรรมจากพระอ.สาร ศิษย์พระอ.มั่น เกิดความดื่มดำซาบซึ้งในรสพระธรรม - จึงขอให้ภรรยาบวชชีก่อน แล้วตัวท่านได้สละทรัพย์สมบัติออกบวชตาม -โดยแจกทรัพย์สินทั้งหมดเป็นทาน ไม่ยินดีอาลัยในทรัพย์เหล่านั้น ผู้คนที่มาเข้าแถวเพื่อรอรับแจกทานจากท่านเป็นแถวยาวเหยียด - ท่านใช้เวลาแจกทานถึง 3 วัน 3 คืนจึงหมด

- 2469 อายุ 37 อุปสมบท ณ วัดโพธิสมภรณ์ -ส่วนน้องชาย น้องสาว น้องเขยได้ฟังคำสอนจากท่านก็ออกบวชตามด้วย
- หลังบวชแล้ว ท่านเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์พระอ.มั่น - ขณะที่ท่านเห็นพระอ.มั่นครั้งแรก ท่านได้นึกประมาทอยู่ในใจว่า 
"พระองค์เล็กๆ อย่างนี้นะหรือ ที่ผู้คนร่ำลือกันว่าเก่งนักเก่งหนา ดูแล้วไม่น่าจะเก่งกาจอะไรเลย"
- ครั้นเข้าไปนมัสการพระอ.มั่น ท่านกล่าวขึ้นเสียงดังว่า 
"การด่วนวินิจฉัยความสามารถของคน โดยมองดูแต่เพียงร่างกายเท่านั้น ใช้ไม่ได้ จะเป็นการตั้งสติอยู่ในความประมาท" 
เมื่อท่านได้ยินถึงกับสะดุ้ง เกิดความอัศจรรย์ในการรู้วาระจิตของท่านพระอ.มั่น บังเกิดศรัทธาแรงกล้า ตั้งสัจวาจาถวายชีวิต

- สมัยท่านธุดงค์ในพม่า ท่านเล่าว่า ขณะที่ท่านนั่งบำเพ็ญเพียงอยู่นั้น ได้ปรากฎมีภาพพระภิกษุมีรัศมีในกายสีฟ้าบอกว่า "เราคือพระอุปคุต เธอเคยเป็นศิษย์ของเรา เธอมีนิสัยแก่กล้า เอาให้พ้นทุกข์นะ "
- พระอ.มั่นชมเชยท่านต่อหน้าพระเถระหลายองค์ว่า
"ท่านพรหม เป็นผู้มีความพากเพียรสูงยิ่ง เป็นผู้มีสติ มีความตั้งใจแน่วแน่ ได้ประพฤติปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดที่สุด เป็นตัวอย่างที่ดี ควรเอาเป็นเยี่ยงอย่าง"
- บางคราวพระอ.มั่นถามท่านต่อหน้าพระเถระทั้งหลายว่า
"ท่านพรหม ท่านเดินทางมาแต่ไกลเป็นอย่างไรบ้าง การพิจารณากาย การภาวนาเป็นอย่างไร"
ท่านตอบอย่างอาจหาญว่า "เกล้าฯ ไม่มีอกถังกถีแล้ว" (ไม่มีความลังเล สิ้นสงสัย)
- พระอ.มั่นได้กล่าวยกย่องว่า 
"ท่านพรหม สำเร็จเป็นพระอรหันต์ หลังจากบวชได้เพียงพรรษา 5"
- อนุปาทิเสสนิพพาน 13 พค 2512 เวลา 17.70 ด้วยโรคชรา - 81 ปี 43 พรรษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น