พระอริยเจ้าผู้อ่อนน้อมถ่อมตนเพื่อธรรม
- ท่านมีความสมบุกสมบันทั้งภายนอกและภายใน, สันโดษ, ไม่ชอบการก่อสร้าง
- ท่านศึกษาธรรมจากพระอ.สิงห์ ณ วัดป่าสาลวัน จากนั้นท่องเที่ยวตามป่าเขา จนวาระสุดท้ายท่านกลับมาวัดถ้ำผาปู่และได้รับอุบายธรรมอันสำคัญจากหลวงตามหาบัว และถึงที่สุดแห่งทุกข์
- ท่านมักกล่าวกับคนใกล้ชิดเสมอว่า "มหาบัวเป็นอาจารย์ของอาตมา" - ท่านไม่ถืออายุพรรษา ท่านถือพรหมจรรย์คือพระอรหัตตผลเป็นที่ตั้ง ถ้าหากได้ธรรม แม้จะเอาสามเณรเป็นอาจารย์ท่านก็ยอม
- ท่านมีวิธีการและอุบายแปลกๆ เพื่อหัดทรมาน, ท่านชอบหาที่อยู่น่ากลัว และชอบหาวิธีแก้ความกลัวเฉพาะหน้า เช่น ท่านพักในถ้ำ เสือร้องคำรามหน้าถ้ำ ตัวสั่นแต่ใจสู้ไม่ถอย ภาวนาสอนตนเองว่า
"พระกรรมฐานอะไรมากลัวเสือ เรากลัวเสือมันมากินเรา ก็เรากินสัตว์มาสักเท่าไหร่ กินมาจนเต็มพุง ถ้าเสือจะมากินเราเสียบ้าง ก็ไม่เห็นจะเป็นไร วันนี้เราต้องสู้"
- คิดอย่างนั้นแล้ว ท่านก็รีบเดินออกจากถ้ำไปตามหาเสือ - พอเสือเห็นท่านเดินเข้าไปหาดุ่มๆ มันก็เผ่นแน่บเปิดหนีเข้าป่าหายเงียบไป
- ท่านเคยจิตเสื่อมและราคะกำเริบมาก ถึงกับจะเอามีดโกนมากรีดคอตนเองให้ตายถึง 3 ครั้ง 3 หน แต่เหมือนมีเทวดามาช่วยเสมอ
- ท่านเล่าว่า หากวันนั้นมีผู้หญิงเข้าสู่ป่าที่ท่านพักอาศัยอยู่ ท่านจะต้องข่มขืนเสพเมถุนแน่นอน เพราะเกิดความกำหนัดอย่างมาก - แต่เดชะบุญบันดาล วันนั้น ไม่มีผู้หญิงสักคนเลย ทั้งที่ทุกวันจะมีผู้หญิงมาหาของป่ากันเป็นจำนวนมาก
- ท่านพลิกจิตแก้ตัวท่านเองทันทีอย่างเด็ดขาด ด้วยการเปลียนความคิดที่ฆ่าตัวตายเสียใหม่ว่า
"ถ้าจะตาย เราต้องตายพร้อมกับความเพียรภาวนาเท่านั้น"
- แต่ก่อนท่านผาดโผน แข็งกระด้าง ไม่ยอมใครง่ายๆ แต่ท่านมาแก้เสียใหม่
- ครั้งหนึ่งท่านใช้สามเณรตัดผ้าขาวทำสบง สามเณรเย็บผ้าผิด ท่านฉีกผ้าโยนทิ้ง สามเณรร้องไห้ใหญ่ - ท่านสะเทือนใจมากที่ทำกิริยาอย่างนั้น ผ้าตัดผิด มันก็ตัดผิดไปแล้ว แล้วมาฉีกผ้าทิ้งนี้หาประโยชน์อะไรมิได้
- ท่านเตือนตนเองว่า "เอาล่ะนะ เราจะเอาสามเณรเป็นอาจารย์ ต่อแต่นี้เป็นต้นไป เราจะเปลี่ยนนิสัยใหม่ เปลี่ยนมารยาทใหม่ กิริยาอย่างนี้จะไม่นำเอามาใช้จนกระทั่งวันตาย เปลี่ยนเป็นคนอ่อนโยน ไม่ดุด่าว่ากล่าวใครโดยไร้ซึ่งเหตุและผล"
- เกิดวันพฤหัส 26 มีค. 2445 -แรม 14 ค่ำ ปีขาล - เกิดบ้านหนองคู ต.บ้านหว้า ขอนแก่น
- อนุปาทิเสสนิพพาน - 17 พย 2527 เวลา 13.13 น. รพ.แพทย์ปัญญา กรุงเทพ - 82 ปี 56 พรรษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น