เนื่อง จากมีจดหมายจากผู้อ่านเขี ยนแนะนำวิธีการทำน้ำเต้าหู้เข้ ามาในคอลัมน์ "ร่วมกันเรียนรู้" ทางคณะผู้จัดทำจึงขออนุญาตตีพิ มพ์จดหมายของคุณสมกมล โพธิบุตร ลงในคอลัมน์นี้ หากท่านผู้อ่านท่านใดมีสู ตรการทำอาหารอื่นๆ ต้องการแนะนำก็สามารถติดต่ อมาทางกองบรรณาธิการได้
ดิฉันได้ทำน้ำ เต้าหู้ หรือนมถั่วเหลืองดื่มเองเป็ นประจำมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ จนถึงปัจจุบันนี้ค่ะ แรกๆ ก็ทำไม่เป็น ก็ได้แต่ซื้อนมผงพร่องมั นเนยมาชงดื่มเองเป็นประจำ ก่อนหน้านั้นเคยซื้อนมสดมาแช่ตู ้เย็นไว้้ดื่ม ซึ่งเขาจะมาส่งสัปดาห์ละ ๒ ครั้ง บางครั้งก็หมดก่อน บางครั้งก็เหลือไม่แน่นอนและคิดว่าหลายคนก็คงจะเจอปัญหา นี้มาแล้วบ้างเหมือนกัน ต่อมาก็เป็นนมเปรี้ยว เพราะวิวัฒนาการดีขึ้นเรื่อยๆ เก็บไว้ในตู้เย็นได้หลายวันขึ้น และมีประโยชน์ และสุดท้ายก็มามีนมแคลเซียมสูง ซึ่งที่เอ่ยมาแล้วนั้นสังเกตได้ ว่ามีนมอยู่ยี่ห้อเดียวเท่านั้ นที่ผลิตโดยคน ไทย นอกนั้นเป็นของต่างประเทศทั้ งหมด
ดิฉันจึงเริ่มศึกษาเรื่อง อาหารสุขภาพ และทราบว่านมถั่วเหลืองมี ประโยชน์มาก ยิ่งปัจจุบันมีข่าวคราวการเลี้ ยงวัวที่ไม่เหมือนเดิมและไม่ค่ อยปลอดภัยออกมาให้ได้ยินได้ฟังกันมากขึ้น ทำให้ดิฉันไม่อยากดื่มนมวัว จึงเป็นเหตุให้ดิฉันหันมาทำนมถั ่วเหลืองอย่างจริงจัง และดิฉันก็ได้ศึกษามาว่า ถั่วเหลืองมีกรดอะมิโนเกือบครบ ขาดอยู่ ๒ อย่าง แต่มีวิธีแก้ค่ะ
วิธีแก้ ก็คือ เวลาจะปั่นถั่วเหลืองให้เพิ่มถั ่วลิสง (คัดเอาเมล็ดที่เป็นราสี ดำออกให้หมด) หรืองาขาวไปสัก ๑ กำมือ ก็จะทำให้ได้กรดอะมิโนครบ หรือจะโรยงาดำคั่วป่นลงไปด้ วยเวลาจะดื่มก็ได้เช่นเดียวกัน ทุกวันนี้เกือบ ทุกครั้งที่ดิฉัน ยกแก้วนมถั่วเหลืองขึ้นดื่ม ดิฉันจะมีความสุขและภูมิใจอยู่ เงียบๆ ที่สามารถทำนมถั่วเหลืองดื่ มเองได้ ไม่ต้องเสียเงินมากมายให้ต่ างประเทศ ไม่ต้องกลัวว่าจะหมดอายุ ไม่ต้องเดินไปซื้อที่ตลาด ที่ต้องใส่ถุงพลาสติกให้ ละลายผสมมาอีกทีหนึ่ง และที่ภูมิใจมหาศาลเลยก็คือได้ ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกถั่ วเหลืองเพื่อนร่วม ชาติของเราให้มีหลักประกั นรายได้ที่เหมาะสมด้วยค่ะ (เพราะดิฉันซื้อที่เลมอนฟาร์ มของบางจากค่ะ)
สรรหามาฝาก
ถั่ว ลิสงมีโปรตีนสูงประมาณร้อยละ ๓๐ จะเป็นรองก็แต่ถั่วเหลืองเท่านั ้น ปริมาณโปรตีนในถั่วลิสงสูงกว่ าในข้าวสาลี ๑ เท่า สูงกว่าข้าว ๓ เท่า เมื่อเทียบกับไข่ไก่ นมวัว เนื้อสัตว์แล้ว ก็ไม่ด้้อยกว่ากัน และโปรตีนในถั่วลิสงเป็นโปรตี นที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ ได้ง่าย คือ ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้ถึ งร้อยละ ๙๐ นอกจากนี้ ถั่วลิสงยังประกอบไปด้วยกรดอะมิ โนที่จำเป็นสำหรับร่างกาย ๘ ชนิด ในอัตราที่เหมาะสม ถั่วลิสงยังมีไขมัน, วิตามินบี ๒, โคลีน, กรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว เมธิโอนีน และวิตามินเอ-บี-อี-เค,แคลเซียม, เหล็ก และธาตุอื่นๆ อีกกว่า ๒๐ ชนิดด้วย
ดิฉันได้ทำน้ำ เต้าหู้ หรือนมถั่วเหลืองดื่มเองเป็
ดิฉันจึงเริ่มศึกษาเรื่อง อาหารสุขภาพ และทราบว่านมถั่วเหลืองมี
วิธีแก้ ก็คือ เวลาจะปั่นถั่วเหลืองให้เพิ่มถั
สรรหามาฝาก
ถั่ว ลิสงมีโปรตีนสูงประมาณร้อยละ ๓๐ จะเป็นรองก็แต่ถั่วเหลืองเท่านั
นมถั่วเหลือง (น้ำเต้าหู้)
วิธีทำนมถั่วเหลือง
วิธีทำนมถั่วเหลือง
๑. ก่อนเข้านอน แช่ถั่วเหลือง (ปลอดสารพิษด้วยก็จะดี เดี๋ยวนี้หาซื้อได้ง่ายค่ะ) ๑ ถ้วย พอรุ่งเช้าก็จะได้ถั่วเหลืองเกื อบ ๓ ถ้วย
๒. ปั่นกับน้ำ ๑.๕ ลิตร กรองด้วยผ้าขาวบาง ก็จะได้น้ำนมถั่วเหลืองเข้มข้น
๓. นำมาต้มพอเดือด (ใช้ไฟอ่อนไม่อย่างนั้นจะล้น) คอยคนอยู่เสมอ พอหมดฟองก็ใช้ได้
๔. หากชอบหวานก็เติมน้ำตาลตามชอบ หากใครอยากจะทำครั้งละมากๆ เผื่อนำไปเป็นอาชีพเสริมได้ ก็มีสูตร คือ ถั่วเหลือง ๑ กิโลกรัม : น้ำ ๑๐ ลิตร แต่คงต้องใช้ โซเดียมเบนโซเอท เป็นวัตถุกันเสีย หาซื้อได้ตามร้ายขายยาทั่วไป (ขององค์การเภสัชกรรม) ก็จะเก็บไว้ได้นาน
:: อีเมลนี้ได้รับฟอร์เวิร์ดมาจาก: Jerry Maguire ถ้าส่งซ้ำ ขออภัยด้วยนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น