ด่างทับทิม ( Potassium permanganate )
เป็นสารเคมีที่มีลักษณะเป็นผลึ กเล็กๆ สีม่วงเข้ม แววเงา ไม่มีกลิ่น เมื่อละลายน้ำจะได้สารละลายสีม่ วงหรือสีชมพูอมม่วง
ชาวบ้านทั่วไปมักจะรู้จั กประโยชน์ของด่างทับทิมในแง่ การฆ่าเชื้อ ดังนั้นแม่บ้านเลยนิยมนำมาแช่ผั ก ผลไม้ คนเลี้ยงปลาไม่ว่าปลาตู้ ปลาบ่อ ก็นำมาใช้เช่นกัน
ปัญหาคือเรามักจะคิดว่าเมื่อใช้ ด่างทับทิม แช่ผัก ผลไม้ได้ แสดงว่าสารนี้น่าจะปลอดภัย คงกินได้ไม่อันตรายนัก
แต่ จริงๆไม่ไช่เช่นนั้น คนไทยมักจะใช้สิ่งต่ างๆตามคำบอกต่อๆ โดยไม่ลงลึกทำความเข้าใจก่อนใช้ ทำให้เกิดอันตรายหลายต่ อหลายเหตุการณ์โดยความรู้เท่ าไม่ถึงการณ์ จริงๆแล้วความจริงข้อหนึ่งที่ทุ กคนต้องจำให้ได้ขึ้นใจในการใช้ สารทุกประเภท คือ
“สารทุกชนิดเป็นสารพิษ ไม่มีสารใดเลยที่ไม่มีพิษ ปริมาณที่รับเข้าสู่ร่างกายเป็ นสิ่งที่แยกว่าสารที่เข้าสู่ร่ างกายนั้นเป็นพิษหรือเป็ นประโยชน์ " นี่เป็นคำกล่าวของ พาราเซลซัส บิดาแห่งสาขาวิชาพิษวิทยา เมื่อ meepole สอนวิชาพิษวิทยา คำกล่าวนี้จะเป็นตัวเริ่ มของการสอนเลย
จาก คำกล่าวนี้เป็นความจริงที่ว่า ไม่มีสารใดที่ไม่เป็นพิษ แสดงว่าด่างทับทิมก็หนีไม่พ้น เพียงแต่ปริมาณการใช้ที่ เหมาะสมเท่านั้นจะทำให้ปลอดภัย
ประโยชน์ด่างทับทิม
ใช้เป็นสารฟอกขาว เป็นยาฆ่าเชื้อโรค ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ผสมลงในน้ำเพื่อใช้ฆ่าเชื้อ กระทั่งใช้แก้พิษ เป็นต้น
ในกรณีที่เร่งด่วนน้ำท่วมไม่มี น้ำสะอาดใช้เช่นนี้ meepole จึงเขียนเพียงย่นย่อก่อน (ค่อยแอบมาเติมเพิ่มวันหน้า) ให้ช่วยกันเอาไป บอกต่อ ก่อบุญ ให้เข้าใจการใช้ด่างทับทิมอย่ างปลอดภัยและเกิดโทษน้อยที่สุด ขอยกกรณีที่แม่บ้ านถามมาในรายการโทรทัศน์ก่อนว่า จะใช้ด่างทับทิมฆ่าเชื้อได้หรื อไม่ และปริมาณที่ใช้รู้ได้อย่างไร
การนำด่างทับทิมมาใช้ในจุ ดประสงค์ฆ่าเชื้อโรคในน้ำใช้ ไม่ใช้ใส่น้ำแล้วนำมาดื่ม
ฆ่าเชื้อโรคได้จริงหรือ
จริงค่ะ แต่ ก็ไม่ทุกชนิด สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ตลอดจนสาหร่าย ได้บางชนิด แต่ทั้งนี้ขึ้นกับความเข้มข้น และระยะเวลาที่ใช้ หากเข้มข้นเกินไปก็เป็นอันตรายต ่อเรา
ใช้ปริมาณเท่าใดจึงไม่อันตราย
เนื่องจากเราชาวบ้านไม่สามารถที ่จะมีเครื่องมือในการ ชั่ง ตวง วัด ได้ดังนั้นจึงขอให้ใช้วิธีที่ง่ ายที่สุดคือดูจากสี ซึ่งเป็นการประมาณที่ไกล้เคียง ถ้าจะใช้ฆ่าเชื้อในน้ำใช้ ให้ค่อยๆใส่แล้วคนให้ละลายหมดก่ อน สังเกตสี สีที่สามารถนำมาใช้ในระดั บปลอดภัยเป็นสีชมพูอ่อนหรือม่ วงอ่อน (ดูสีเทียบจากภาพ)
สีชมพูใส หลอดที่สองจากขวาไปซ้าย หลอดกลางเริ่มเข้ม ขวาสุดเข้มมากไป อันตรายต่อผิวหนังแล้ว
หากเป็นสีชมพูใส ก็ประมาณได้ว่าความเข้มข้ นจะประมาณ 1 ส่วนในล้านส่วน และหากสารละลายเป็นสีม่วงแล้วก็ ประมาณได้ว่าความเข้มข้ นจะประมาณ 1 ส่วนใน 76,000 (65 mg/4.5 l) ซึ่งเริ่มเป็นอันตรายต่อผิวหนั งได้แล้ว
หากใช้ด่างทับทิมเพื่อฆ๋าเชื้ อในน้ำล่ะก็ ต้องทิ้งไว้อย่างน้อยครึ่งชั่ วโมง จึงจะนำน้ำนั้นไปใช้
หากใช้ด่างทับทิมเพื่อฆ๋าเชื้
นอกจากนี้ด่างทับทิม (เข้มข้น 1-4%) สามารถใช้กำจัดเหล็ก และแมกนีเซียมที่เจือปนมาในน้ำ เรา จะพบปริมาณแมกนีเซียมมากในอุ จจาระ ดังนั้นการใช้มีการใช้ด่างทับทิ ม จะช่วยฆ่าแบคทีเรีย รา ไวรัส และสาหร่าย ด้วยความเข้มข้นขนาดนี้ สามารถกำจัดกลิ่นดินกลิ่ นสาบของน้ำ ได้ด้วย
ข้อควรระวังในการใช้ด่างทับทิม
ด้วย คุณสมบัติที่เป็นสารที่เกิดปฎิ กิริยารุนแรง กระทั่งสามารถลุกไหม้ได้เมื่อถู กกับสารละลายบางชนิด ดังนั้นควรระมัดระวังในการเก็บ วางให้พ้นมือเด็กด้วย
เนื่องจากเป็นสารที่สามารถเกิ ดปฎิกิริยารุนแรงกับสารบางชนิ ดได้ ดัง นั้นการใช้สารนี้จึงควรระมั ดระวังไม่ให้สัมผัสผิวหนั งโดยตรง (ไม่เอามือหยิบผลึก) เพราะจะทำให้ผิวแห้งเป็นขุย ถ้าสารละลายเข้มข้นจะทำให้เป็ นผื่นแดง ปวด หรือเป็นแผลไหม้ หรือเป็นจุดด่างสีน้ำตาล ระวังการปลิวเข้าตาเพราะผลึ กเบาจะทำให้การมองเห็นไม่ชัดหรื อตาบอดได้ การหายใจเข้าไปก็ทำให้ระคายเคื อง ไอ หายใจถี่ขึ้น
กลืนกินเข้าไปอันตรายหรือไม่ อย่างไร
การ กลืนกินด่างทับทิมเข้าไปก็อั นตรายไม่ว่าในสภาพของแข็ง หรือของเหลวที่มีความเข้มข้นสูง จะทำให้กระเพาะเป็นแผลไหม้รุ นแรง บวมน้ำ ความดันเลือดต่ำถึงตายได้
พบว่าที่ความเข้มข้นเพียง 1% ทำให้ลำคอไหม้ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง
ความเข้มข้น 2-3% ทำให้เป็นโรคโลหิตจาง คอบวม หายใจไม่ออก
แม้ ว่าด่างทับทิมจะมีประโยชน์ มากมาย แต่หากใช้ได้ไม่ถูกต้องอาจทำ ให้เกิดอันตรายหรือเป็นพิษต่อร่ างกายได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้นผู้ใช้จะต้องใช้อย่างเข้ าใจ และระมัดระวัง ผลข้างเคียงจากการใช้ด่างทับทิม
ตอนหน้าจะเขียนเรื่องการใช้ด่ างทับทิมในการล้างผักสด ผลไม้ ตลอดจนการใช้เป็นสารแก้พิษ และอื่นๆ
เรียนครูโต
ตอบลบอยากให้ครูโตกรุณาแสดงอ้างอิงที่มาของชื่อผู้เขียนบทความนี้ให้ถูกต้องค่ะ เพราะผู้เขียนมีความตั้งใจอยู่แล้วที่จะเผยแพร่ข้อมูล โดยไม่หวังผลประโยชน์อื่นใด จึงไม่แสดงตัว แต่กระนั้นด้วยความเป็นนักวิชาการจึง ยังคงมีความต้องการให้มีการเคารพสิทธิของผู้เขียน เพื่อมรรยาททางวิชาการ ให้คนรุ่นต่อๆไปได้เรียนรู้เช่นกัน
http://meepole.blogspot.com/2011/10/blog-post_28.html
ขอบคุณครูโตที่เป็นส่วนหนึ่งของการเผยแพร่สิ่งดีๆเพื่อสังคมค่ะ
meepole